Digital economy” ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นเป็นคนแรกคือใคร

“Digital Economy”

ลิงค์: //iqepi.com/22670/
เรื่อง: เศรษฐกิจดิจิทัล

เศรษฐกิจดิจิตอล (digital economy)

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดของสังคมโลก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล การจะใช้ระบบเดิมๆ โดยไม่ปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกก็คงเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าปัจจุบันหลายประเทศผ่านช่วงเวลานี้ไปนานแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มขยับ

นอกเหนือจากการป้องกันการจะเป็นคำถามในหัวข้อเหตุการณ์ปัจจุบัน บางทีเรื่อง Digital Economy อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับบางท่าน เพราะไม่ใช่เรื่องไกลตัวและขอบเขตของระบบนี้ครอบคลุมไปทุกส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ไม่เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดเล็ก และประชาชนทั่วไป ในอนาคต และไม่ว่าจะยินยอมพร้อมใจหรือไม่ ช้าเร็วก็หนีไม่พ้น Digital Economy ในระหว่างที่ประเทศไทยกำลังวางโครงสร้างพัฒนาส่วนต่างๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบ Digital Economy การทำความคุ้นเคยกันเสียแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่าเพราะเรื่องของอนาคตยิ่งช้ายิ่งเสียโอกาส

ความหมายของ Digital Economy

เมื่อ เอ่ยถึง “เศรษฐกิจดิจิตอล” e-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำธุรกรรมผา่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกๆ ช่องทาง น่าจะเป็นความคิดแรกของหลายๆ ท่าน ซึ่งจริงๆ แล้ว e-commerce เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital Economy เท่านั้น

“Digital Economy” หมายถึง เศรษฐกิจที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ซึ่งมีอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นปัจจัยสำคัญ หรือ ระบบเศรษฐกิจที่ยืนบนฐานความรู้ อันเป็นผลผลิตจากการค้าเสรีและการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยระบบเศรษฐกิจใหม่ เน้นเทคโนโลยีกับความรู้ของบุคคล สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพกว่าระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่มุ่งลดต้นทุนเป็นสำคัญ

ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นเป็นคนแรกคือ Don Tapscott ผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Digital Economy : Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence” ในปี 1995

Digital Economy มีชื่ออื่นอีกเช่น The Internet Economy / The New Economy หรือ Web Economy อย่างไรก็ดีชื่อที่คนนิยมที่สุดคือ Digital Economy

Digital Technology เป็นฐานสำคัญของ IT ซึ่งอาศัยการใช้เลข 0 และ 1 ซึ่งอยู่ในลักษณะของ Binary System (ถ้าเป็น Decimal System ก็จะเป็นฐาน 10 กล่าวคือประกอบด้วยเลข 0 ถึง 9) ในการส่งสัญญาณ ซึ่งการส่งสัญญาณ 0 และ 1 ส่วนใหญ่กระทำผ่านใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

IT คือ การผนวกเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคม สังคมที่มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (เช่นเครือข่ายใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางนำเสียง ข้อมูลและภาพสู่โทรศัพท์และอุปกรณ์ไอทีทั้งหลาย / ชุมสาย / เสาส่งสัญญาณ / สถานีรีเลย์สัญญาณ ฯลฯ) ที่มีคุณภาพและครอบคลุมกว้างขวาง มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ตลอดจนมีการประยุกต์ซอฟต์แวร์ และมีกลไกในการประสานการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ดี จะเป็นกุญแจสำคัญสู่การเป็น Digital Economy

ในช่วงปลายปี 2557 เศรษฐกิจดิจิตอล (digital economy)ได้รับความสนใจและกล่าวถึงมากขึ้นไม่ว่าจากสื่อหรือบุคคลในแวดวง ต่างๆ เมื่อ “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ออกมาระบุว่า รัฐบาลมีแผนที่จะผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้อยู่บนเศรษฐกิจฐานดิจิตอล ให้เป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกระทรวง กรม หรือส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอย่าง และทำงานทับซ้อนกัน และยังต้องปรับแก้กฎหมายหลายฉบับ เช่น

  • พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
  • พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
  • พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
  • พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
  • พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การตั้ง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการโอนย้ายตั้งกรม กอง ใหม่ในกระทรวงและต้องแก้ พ.ร.ฎ. ของซิป้า

แนวคิดหลักของนโยบายนี้คือ ต้องนำ ดิจิตอล เข้าไปเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้องตลอด จนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

ล่าสุดกลางเดือน ธ.ค. 57 ครม. มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT” เป็น..

“กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”

เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล สำหรับอำนาจและ หน้าที่ของ “คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล 5 ด้านที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 5 ด้าน (Digital Economy Initiative)

  1. Hard Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร ทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ สัญญาณต้องไม่สะดุด มีดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อรองรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  2. Soft Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน ความมั่นคง ความปลอดภัยสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในธุรกรรมที่จะทำผ่านออนไลน์ สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจ เช่น การทำระบบยืนยันตัวบุคคล เพื่อให้ผู้ทำธุรกิจรู้ว่าใครเป็นใครในโลกไซเบอร์ จะต้องมีการดูแลความมั่นคง ปลอดภัย ให้กับระบบที่ใช้ในการทำธุรกิจ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายรองรับ จะฟ้องร้องกันได้ทางศาล ศาลจะรับฟัง
  3. Service Infrastructure ด้านโครงสร้างบริการส่งเสริมการใช้ในระดับ Application การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ เช่น Google search engine, Google map
  4. Digital Economy Promotion ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล การส่งเสริมอุตสาหกรรมด้าน Digital Economy รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้าน Digital Economy (Promotion & Innovation) เพื่อจะนำพาผู้ที่มีศักยภาพทางธุรกิจไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการในประเทศ โดยการพัฒนา Digital Skill ควบคู่กันไปให้ผู้ประกอบการ หมายความว่า จะใช้ digital รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจทุกภาคส่วน
  5. Digital Society & Knowledge
    – Knowledge ด้านการสร้างองค์ความรู้และสังคมดิจิตอล
    ส่งเสริมความตระหนัก ความสำคัญ และความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาให้เกิด
    – Digital Society ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากระบบ Digital ลดความได้เปรียบ เสียเปรียบ ลดความแตกต่างในการเข้าถึงเครือข่ายข้อมูลมหาศาลได้ ทุกคนเข้าถึงได้ ในราคาต้นทุนต่ำลง

โดยจะมีคณะกรรมการเฉพาะ ด้านทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการ ดิจิตอลฯ ในการกลั่นกรอง ติดตาม และประเมินผลการทำงานตามนโยบายอย่างใกล้ชิด

 

 

วัตถุประสงค์ของนโยบาย Digital Economy

  1. เพื่อ นำดิจิตอลเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้อง ตลอดจนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็ม อี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
  2. เพื่อทำให้ดิจิตอลเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน
  3. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ไอซีทีอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการควบคุมดูแลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

สิ่งที่จะได้รับจากนโยบาย Digital Economy

  1. การ ลดต่ำลงของต้นทุนในการประกอบการไม่ว่าในด้านการผลิต ด้านการขาย (ลองจินตนาการสังคมที่ไม่มีอีเมล์ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มี Conference Call ดูว่าจะมีโสหุ้ยหรือ Transaction Cost ในการดำเนินการสูงเพียงใด)
  2. อำนวย ให้เกิดการต่อยอดในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกสู่ตลอดเพื่อสนองความ ต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่นการได้รับข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ จากแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลกเพื่อนำมาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ฯลฯ
  3. การ ขยายตัวอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นของ E-commerce ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ต้นทุนในการดำเนินการลดต่ำลง เช่น การขายของทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีร้านค้า ความสะดวกของผู้ซื้อที่ไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อของ เกษตรกรเปิด Application และรู้ได้ทันทีจากตำแหน่ง GPS ที่ตนอยู่ว่าในพื้นที่นั้นในปีนั้นควรปลูกพืชอะไร ฯลฯ
  4. ขยายการจ้าง งานและสร้างการจ้างงานในลักษณะใหม่ ๆ อันเป็นผลจากการเกิดสินค้าการตลาดและรูปแบบการค้าขายใหม่ เช่น นักกลยุทธ์การตลาดทาง social media ที่ปรึกษา E-commerce นักโฆษณาสินค้าทาง Social Media ฯลฯ
  5. อำนวยให้เกิดการลงทุนธุรกิจข้ามพรมแดนมากยิ่ง ขึ้น เช่น การจองโรงแรมและ ทริปท่องเที่ยว การลงทุนซื้อหุ้นต่างประเทศ การค้าขายเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ
  6. สนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์และแรงงาน เช่น การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต / E-Learning ฯลฯ

ประการ สำคัญ Digital Economy อำนวยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคต่างๆ มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังสนับสนุนความแข็งแกร่งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอันเนื่องมาจาก การมีข่าวสารข้อมูลที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์ดิจิทัล อีโคโนมี

  1. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทุกตำบล 8 หมื่นล้านบาท
  2. บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ
    1. Smart-Auction การจัดซื้อ-จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marking,e-Bidding)
    2. Smart-Education โครงข่ายการศึกษาไปยังโรงเรียนห่างไกล
    3. Smart-Health รักษาพยาบาลทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
    4. Smart-Government บริการภาครัฐผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
    5. Smart-Agricuture พัฒนาระบบศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลทางการเกษตร
  3. ให้เอกชนใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อลดค่าบริการ
  4. จัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง
  5. เพิ่มการใช้บริการและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
  6. สนับสนุนการให้บริการ Mobile 3G 4G/LTE, WiFi หรือ FTTx
*จาก นสพ. post today

แนวคิดในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ 3 ขั้นตอน

  1. การค้าบนระบบดิจิตอล (Digital Commerce)การพัฒนาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการซื้อขายสินค้าบริการทางอินเตอร์เน็ต ในอดีตมักกล่าวถึง e-commerce แต่ในยุคปัจจุบันตลาดการค้าดิจิตอลได้แตกแขนงไปสู่ mobile-commerce และ Social Commerce ที่ขายของผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ หรือการค้าบนระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยพัฒนากระบวนการต่างๆ ในการซื้อขายบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่การส่งคำสั่งซื้อ ชำระเงิน และการจัดส่ง
  2. การปรับตัวด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Transformation) โดยนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากการค้า มุ่งเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า มากกว่ายอดขาย
  3. การบริโภคเนื้อหาดิจิตอล (Digital Consumption)พัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นช่องทางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ที่มีอยู่เดิม และพัฒนาการใช้เทคโนโลยี Digital มาประยุกต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ

โครงการนำร่อง

  1. ระบบ Enterprise Resource Planning(ERP)
  2. ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV)
  3. Application Program Interface(API)
  4. e-Market Place
  5. เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำสำหรับผู้พิการ
  6. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์)

ตลอด จนจัดทำข้อมูลการบูรณาการโครงข่ายไฟเบอร์ออพติคส์ภาครัฐ เพื่อเตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการ Digital Economy แห่งชาติ ในส่วนของ Hard Infrastructure

ผู้มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

  • ภาครัฐ
  • ภาคสังคม
  • ธุรกิจขนาดใหญ่, ธุรกิจขนาด SMES, เศรษฐกิจฐานราก (ธุรกิจครัวเรือน,เกษตรกรขนาดเล็ก)
  • ประชาชนทั่วไป

ดาวน์โหลดข้อมูล

  • บทบาทของภาครัฐต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล : มุมมองภาคธุรกิจ
  • Open Data Handbook (ฉบับภาษาไทย)

Comments

comments

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita