การประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม เหมืองแร่

สมมติบ้านของคุณตั้งอยู่บนภูเขาที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชีวิตประจำวันพึ่งพาดิน น้ำ ป่า อยู่ในทุกจังหวะชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย   จู่ ๆ วันดีคืนร้ายมีใครจากไหนไม่รู้มาบอกกับคุณว่า แร่สีดำที่อยู่ใต้ดินจะถูกขุดขึ้นมาเพื่อส่งไปผลิตไฟฟ้า พื้นที่ตรงนั้นเขามาขอซื้อไว้เมื่อนานมาแล้วก็จริง แต่ไม่ได้บอกตอนที่จะซื้อว่าจะซื้อไปทำอะไร แถมยังบอกคนแถวนั้นว่าหากไม่ขายจะโดนยึดที่ไปฟรี ๆ หลายคนก็เลยจำใจต้องขาย   คุณจึงเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้ตอนนี้เลยว่าจะมี “เหมืองแร่ถ่านหิน” มาตั้งอยู่ในเขตรัศมีไม่ไกลจากบ้าน   ทั้งนี้เขาคนนั้นยังบอกอีกว่าได้ปรึกษาพูดคุยกับผู้นำชุมชนและเพื่อนบ้านบางคน ตกลงกันเรียบร้อยว่าสามารถสร้างได้ โดยมีการลงลายมือชื่อยืนยัน แต่เมื่อคุณขออ่านดูก็พบว่าเป็นเอกสารที่เต็มไปด้วยความไม่ปกติของลายมือชื่อเต็มไปหมด

“เฮ้ย! จะเป็นไปได้ไง ฉันเขียนหนังสือไม่เป็น แต่ใครไม่รู้มาลงลายมือชื่อแทนฉัน”

“อ้าว! แต่ฉันที่เขียนหนังสือเป็น ทำไมกลายเป็นรอยปั๊มลายนิ้วมือ”  

“เอ๊ะ! ตอนนั้นหนูยังอายุไม่ถึง 18 ปีเลย ทำไมมีชื่อหนูในเอกสาร”

หลังคำถามเหล่านี้จบลงอย่างไม่มีคำตอบ คุณจะยังมีความมั่นใจหรือไม่ว่าเหมืองแร่ถ่านหินนี้จะไม่ทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไป ?

1.โครงการพัฒนาที่ไม่พัฒนา

อยากให้เรื่องข้างต้นนี้เป็นเพียงเรื่องสมมติ ทว่ากลับเป็นเรื่องจริงซึ่งเกิดขึ้นที่ หมู่บ้านกะเบอะดิน ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

การลงรายมือชื่อในเอกสารที่กล่าวไปในเบื้องต้นเป็นเพียงความไม่ปกติส่วนหนึ่งของ “รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “EIA” ที่เป็นคำย่อมาจาก “Environmental Impact Assessment” ของโครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ซึ่งตามกฎหมายในไทย ก่อนการสร้างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ รัฐระบุให้ภาคธุรกิจ และ/หรือ หน่วยงานรัฐจะต้องจัดทำรายงาน EIA เพื่อบรรลุเป้าหมายตามชื่อเต็มของรายงานไม่น้อยไปกว่านั้น “ประเมิน – ผลกระทบ – สิ่งแวดล้อม” (บางโครงการอาจอยู่ในเงื่อนไขการประเมินรูปแบบอื่น เช่น IEE รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ EHIA รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแต่ละโครงการ)

นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ได้จากการประเมินไม่ควรนำไปสู่คำตอบเดียว เพียงแค่ยึดว่าทำรายงาน EIA เสร็จแล้วสามารถดำเนินการก่อสร้างได้   แต่ควรนำไปสู่คำถามปลายเปิดต่อไปว่า ควรหรือไม่อย่างไรที่โครงการพัฒนาจะถูกสร้างในพื้นที่นั้น ๆ และความเป็นไปได้ของคำตอบควรมีทั้ง ควร หรือไม่ควร

หากกฎหมายระบุให้ภาคธุรกิจ และ/หรือหน่วยงานรัฐ จัดหาหน่วยงานที่ทำรายงาน EIA นี้ด้วยตนเองโดยการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อลงทุน “จ้าง” แล้ว ก็ปฎิเสธได้ยากว่าไม่ได้หวังจะ “ใช้” EIA นี้เป็นเพียงตรายางประทับรับรองให้โครงการนั้น ๆ  

ตำแหน่งแห่งที่อันถูกควรของรายงาน EIA ควรทำให้คนในพื้นที่เชื่อมั่นต่อโครงการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านของพวกเขา แต่กลับส่งผลในทิศทางตรงกันข้าม เพราะความไม่โปร่งใสในกระบวนการจัดทำ  ดังนั้น ในเมื่อคนสร้างโครงการ หรือคนจัดทำรายงาน EIA ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ แม้ในประกาศจากทางรัฐเองก็ระบุชัดเจนถึงการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น

แต่ปัญหาถัดมา คือ นิยามการให้คุณค่าความหมายของ “การมีส่วนร่วม” ของแต่ละภาคส่วนแตกต่างกัน

ชาวชุมชนบ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย เป็นชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์   ภาษาแม่ที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือภาษากระเหรี่ยงโปว์ การดำเนินการจัดทำรายงาน EIA ที่ทำโดยคณะทำงานที่ใช้ภาษาไทยกลางเป็นหลัก อาจทำให้สื่อความหมายคลาดเคลื่อน   และการเรียกชาวชุมชนมาร่วมเข้าฟังการสื่อสารทางเดียวจากภาคธุรกิจโดยปราศจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยบอกเพียงข้อดีของโครงการ เป็นการมีส่วนร่วมแค่ในมิติเพียงพิธีกรรม – หรือเพียงให้พอเป็นพิธี   ยังไม่ต้องนับการเลยเถิดไปจนถึงการลงนามในเอกสารที่ชาวชุมชนไม่เข้าใจว่าคืออะไรและจะนำไปสู่อะไร   การมีส่วนร่วมแบบนี้จึงไม่อาจนับว่าเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมที่แท้จริงได้

2.การประเมินผลกระทบที่ก่อผลกระทบ

10 ปี… นานพอจะทำให้อะไร ๆ เปลี่ยนไปมากแค่ไหน?

รายงาน EIA เหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อยนี้ถูกจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งก็นับว่าเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้ข้อมูลที่อยู่ในรายงานมีความล้าหลัง ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการกระจายตัวของคนในชุมชน ที่ตั้งบ้านเรือน และทำการเกษตรในพื้นที่โดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก   แม้แต่เรื่องประเด็นปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงโดยแทบจะเป็นวาระแห่งชาติในประเด็นมลพิษทางอากาศในปัจจุบัน ก็เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในสื่อหรือในชีวิตประจำวันได้ไม่กี่ปีมานี้   ดังนั้นแน่นอนว่าการประเมินผลกระทบทางอากาศในรายงาน EIA เหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อยจึง ไม่มีข้อมูลการประเมินฝุ่นอันเป็นวาระระดับชาติอย่าง PM 2.5 และยังไม่ต้องนับรวมถึงบรรดาสารพัดฝุ่นอื่น ๆ 

อมก๋อยนั้นเป็นภาษาลัวะที่แปลว่า “ต้นน้ำ” เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงผู้คนในเมือง ในขณะเดียวกันชาวชุมชนก็อาศัยน้ำจากลำห้วยหลัก 2 สายในการดำรงชีพ ทั้งการทำเกษตรกรรมและกินใช้ในครัวเรือน   จากข้อมูลใน EIA ที่ระบุการจัดการลำน้ำว่าจะมีการเบี่ยงน้ำจากห้วยไปสู่คลองที่สร้างโดยคอนกรีตนั้นเป็นการประเมินเพียงยึด “น้ำ” เป็นตัวตั้ง โดยขาดการคำนึงถึง “คน” ที่ใช้น้ำ   เช่นเดียวกับน้ำที่มองไม่เห็น เช่น น้ำใต้ดินซึ่งอาจเกิดการปนเปื้อนได้ เพราะโครงการไม่ได้ออกแบบบ่อกักเก็บน้ำที่ป้องกันการรั่วไหลของโลหะจากเหมืองแร่ถ่านหิน   ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะถ่านหินปนเปื้อนโลหะหนักเสมอ เพียงแต่ในรายงาน EIA ของเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อยไม่ได้กล่าวถึงโลหะหนักเลย   สิ่งที่หายไปจากรายงาน EIA ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่น และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีาตรการประกันความเสี่ยงเพื่อทำการชดเชยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นแต่ชดเชยมากขนาดไหนจึงจะคุ้มกับความเสี่ยงนี้ที่ชุมชนต้องแบกรับ?

3.การมีส่วนร่วมที่หมายถึงมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

เมื่อรายงาน EIA ชวนให้สงสัย ชุมชนกะเบอะดินจึงไขข้อข้องใจโดยการลงสำรวจชุมชนของตนเอง เก็บข้อมูลทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี อาชีพ และวัฒนธรรม โดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเข้ากับ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่ารายงาน CHIA (Community Health Impact Assessment: CHIA) โดยตัวข้อมูลชุมชนนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยมีชาวชุมชนและเยาวชนเป็นผู้วิจัยหลัก เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวมาค้านแย้งว่าข้อมูลบางอย่างของรายงาน EIA ที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทนั้นไม่ถูกต้อง   โดยรายงาน CHIA โดยชุมชนนี้ถูกใช้เป็นเอกสารแนบในการยื่นฟ้องศาลปกครองของชาวบ้านกะเบอะดิน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 โดยยื่นฟ้องให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณา EIA เหมืองถ่านหิน พร้อมขอศาลมีคำสั่งเพิกถอน EIA – คำขอประทานบัตร และ ให้ศึกษา EIA ใหม่ บนหลักการมีส่วนร่วม

ชวนจินตนาการกันต่อถึงโครงการพัฒนาที่มีความโปร่งใสมากพอที่จะทำให้เกิดความเชื่อใจระหว่างชุมชนและภาคธุรกิจ ก็คงต้องเริ่มตรงการกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก ร่วมทบทวนบทบาทหน้าที่ของ EIA ใหม่ และทำความเข้าใจให้ตรงกันในคุณค่าความหมายของการมีส่วนร่วม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita