วิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ในการลงลายมือชื่อที่มีผลผูกพันตามกฎหมายการลงลายมือชื่อ มี 2 ประเภท คือ การลงลายมือชื่อจริง และ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-signature)

หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

โดยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 รับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับลายมือชื่อจริงบนเอกสารกระดาษ โดยจะมีผลทางกฎหมายเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

•  เป็นลายมือชื่อที่สามารถระบุตัวผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อได้

•  เจ้าของลายมือชื่อแสดงเจตนาที่จะลงลายมือชื่ออย่างชัดเจน

•  ต้องเป็นการใช้ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หรือลักษณะเป็นลายมือชื่อดิจิตัล (Digital signature)

ตัวอย่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้

•  การพิมพ์ชื่อท้ายอีเมล

•  การสแกนภาพลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

•  การคลิกปุ่มยอมรับหรือตกลง

•  การทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ

•  การใช้สไตลัส (Stylus) เขียนลายมือชื่อบนหน้าจอหรือบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

•  การเข้ารหัส, ลายนิ้วมือ

•  การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล

•  public key infrastructure (PKI)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2556

การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ดังนั้นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการทำธุรกรรม เช่น การยินยอม อนุมัติ เห็นชอบ รับรอง หรือการรับข้อความ ฯลฯ หากกระทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่ได้กล่าวไป ถือว่าการลงลายมือชื่อมีผลผูกพันตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์

      ระบบนี้เป็นระบบงานที่ ผู้นำเข้า-ส่งออกใช้ในการ ส่งคำร้องผ่าน Web Site ของระบบ โดยระบบจะทำการพิมพ์ตราประทับและลายเซ็นของผู้มีอำนาจลงในหนังสือสำคัญฯ  ในขั้นตอนการพิมพ์เอกสาร  ประเภทของหนังสือรับรองที่เปิดให้ใช้งานได้  มีดังนี้

  • ฟอร์ม FTA ไทย-ออสเตเรีย,
  • ฟอร์ม JTEPA
  • ฟอร์ม AJCEP เฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น
  • ฟอร์ม AANZ (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) เฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย
  • ฟอร์ม ASEAN-KOREA เฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปประเทศเกาหลี

ขั้นตอนการขอจดทะเบียนการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal)

  1. เข้าสู่ web site //reg-users.dft.go.th/
  2. คลิกปุ่ม “Login” เพื่อเข้าสู่ระบบ
  3. จากนั้นให้ทำการ ป้อน User Name และ Password ของนิติบุคคล เพื่อทำการส่งคำร้อง จากนั้นคลิกปุ่ม Login
  4. หลังจากเข้าสู่ระบบได้แล้วนั้น ให้ไปที่เมนู “บริการที่เกี่ยวข้องกับ User Name กลาง” จากนั้น ให้คลิกเมนู “คำขอจดทะเบียน Electronic Signature and Seal
  5. จากนั้นจะเข้าสู่หน้า “คำขอจดทะเบียน การลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal)” ที่ช่อง เขียนที่ สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ถ้าต้องการ
     

ขั้นตอนการ Upload ลายเซ็นกรรมการ

  1. จากนั้นในส่วนของกรรมการ ระบบจะทำการดึงข้อมูลกรรมการ ที่ได้ทำการสมัครไว้ในตอน สมัครใช้งาน User Name กลาง 
  2. จากนั้นให้ทำการ คลิกเลือกชื่อกรรมการ ที่ช่องด้านซ้าย (หมายเลข 1) จากนั้น คลิกที่เครื่องหมายลูกศร   (หมายเลข 2) 
  3. จากนั้น ชื่อกรรมการที่ได้ทำการเลือก จะมาอยู่ด้านขวามือ

หมายเหตุ : เลือกกรรมการที่ต้องการจะทำการ upload ลายเซ็นจนกว่าจะครบ
 

ขั้นตอนการเตรียมลายเซ็น Scan

  1. ก่อนที่จะดำเนินการขั้นถัดไป ต้องทำการเตรียมลายเซ็นพร้อมตราประทับให้เรียบร้อยก่อน โดย คลิกที่ “Link – กรอบแบบตัวอย่างเพื่อใช้ลงลายเซ็น เพื่อ Scan ตามขนาดกรมฯ” 
  2. จากนั้นระบบจะเปิด หน้าต่างขนาดตัวอย่าง ที่กรมกำหนด

      หมายเหตุ : ถ้าไม่สามารถเปิด Link ได้ ให้ดูวิธีการแก้ปัญหาที่ด้านล่างของระบบ

  3. ให้ทำการ พิมพ์ กรอบที่กรมกำหนด
  4. จากนั้น ให้ทำการลงตราประทับของบริษัทก่อน และทำการ เซ็นลายเซ็นกรรมการ โดยทั้งตราประทับและลายเซ็น ห้ามเกิน กรอบสี่เหลี่ยมที่กรมกำหนด เนื่องจาก กรอบที่กำหนดมา เป็นกรอบที่มีขนาดพอดีกับช่องฟอร์มหรือช่องหนังสือรับรอง
  5. โดยสามารถดู ตัวอย่างการทำลายเซ็น กรรมการได้ ดังรูป
  6. ตัวอย่าง ลายเซ็นกรรมการ 1 คน ดังรูป
  7. ตัวอย่าง ลายเซ็นกรรมการมากกว่า 1 คน
  8. โดยหลังจากที่ ลงตราประทับและลงลายเซ็น กรรมการ แล้วนั้น ให้ทำการ Scan เป็นรูปภาพ จะเป็นไฟล์นามสกุล JPG, GIF ก็ได้ โดยจะต้อง ตัดขนาดตามกรอบสี่เหลี่ยม ห้ามเอากรอบสี่เหลี่ยมสีดำติดมา ถ้ามีกรอบสีเหลี่ยมสีดำติดมาจะทำให้ตอนพิมพ์ลายเซ็นลงฟอร์มหรือหนังสือรับรอง มีเส้นกรอบด้วย

    หมายเหตุ : โดยลายเซ็นผู้รับมอบนั้น ใช้กรอบตัวอย่างแบบเดียวกัน แต่เซ็นแค่ผู้รับมอบคนนั้น คนเดียว และลงตราประทับ Scan เหมือนกรรมการทุกอย่าง

ขั้นตอนการ Upload รูปภาพลายเซ็น

  1. หลังจากที่เตรียม ลายเซ็น Scan เรียบร้อยแล้วนั้น ให้ทำการคลิกปุ่ม “เพิ่มรูปภาพลายเซ็นกรรมการ” ดังรูป
  2. จากนั้น ให้คลิกเลือกชื่อ กรรมการ ที่จะ upload ลายเซ็น ดังรูป
  3. ส่วนนี้ สำหรับลายเซ็น 1 รูป มีกรรมการ มากกว่า 1 คน โดยระบุชื่อ กรรมการที่อยู่ในรูปลายเซ็น โดยจะระบุหรือไม่ระบุก็ได้ แต่ถ้ามีมากกว่า 1 คน ใน 1 รูปลายเซ็นควรจะระบุเพื่อ จะได้ง่ายต่อการเลือกลายเซ็น ตอนขอฟอร์มหรือหนังสือรับรอง

    ตัวอย่าง การป้อนลายเซ็น กรรมการ 1 รูปลายเซ็นมีมากกว่า 1 คน

      หมายเหตุ : ถ้ารูปลายเซ็น 1 รูป มีกรรมการเซ็นเพียงคนเดียว ช่องนี้ไม่ต้องป้อนข้อมูล

  4. จากนั้น ให้ทำการ คลิกปุ่ม “Browse…” เพื่อทำการ upload ลายเซ็น 
  5. จากนั้น ให้ทำการเลือกรูปภาพลายเซ็นที่ได้เตรียมไว้ ในตอนแรก และทำการ คลิกปุ่ม “Open” 
  6. จากนั้น ให้ทำการคลิกปุ่ม “บันทึก Sign & Upload” ดังรูป

      หมายเหตุ : โดยในส่วนนี้ ทางบริษัทต้องทำการติดตั้ง Digital Certificate ให้เรียบร้อยเนื่องจากระบบจะทำการ Sign รูปลายเซ็น เพื่อเข้ารหัส ป้องกันการแก้ไขข้อมูล โดยสามารถอ่านรายละเอียด ได้ตาม Link นี้ //edi.dft.go.th/ดาวนโหลด/ขอมลการยนคำรองผานเวบฯดวยDigitalSignature/tabid/69/Default.aspx
     
    กรณีไม่ได้ทำการติดตั้ง Digital Certificate ระบบจะแจ้งเตือน ดังนี้

      และ แจ้งเตือน ดังนี้

  7. ถ้าติดตั้ง Digital Certificate เรียบร้อยแล้วนั้น จะสามารถบันทึกข้อมูลและ Upload ลายเซ็นได้ 
  8. จากนั้น ให้ทำการ เพิ่มรูปภาพลายเซ็นกรรมการท่านอื่น ให้ครบ
     

ขั้นตอนการเรียกดูลายเซ็นที่ได้ทำการ Upload

  1. การเรียกดู ตัวอย่างลายเซ็น ที่ได้ทำการ Upload ให้คลิกที่ปุ่ม รูป   
  2. ระบบจะเปิดหน้าต่าง เพื่อแสดง รูปลายเซ็น

      หมายเหตุ : โดยถ้ารูปลายเซ็น ที่ได้ทำการ Upload ไปนั้น เกินจาก กรอบสี่เหลี่ยม แสดงว่ารูปลายเซ็นนั้นไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจาก เกินจากกรอบที่ทางกรมฯ ได้กำหนดไว้ ต้องทำการ Scan และตัดรูปลายเซ็นใหม่ แล้ว Upload ใหม่

ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูล

  1. การแก้ไข ลายเซ็นที่ได้ทำการ Upload คลิกที่รูป   
  2. จากนั้น ระบบจะเปิดหน้าต่างเพื่อให้ทำการแก้ไขข้อมูล หลังจากแก้ไขข้อมูลแล้วนั้น ให้ทำการคลิกปุ่ม “บันทึก Sign & Upload” ดังรูป
     

ขั้นตอนการลบข้อมูล

  1. การลบข้อมูล ที่ได้ทำการ Upload ลายเซ็น ให้คลิกที่รูป   ดังรูป
  2. ระบบจะแจ้งเตือน ว่าต้องการลบข้อมูลใช่หรือไม่ ถ้าต้องการให้คลิกปุ่ม “ยืนยัน” ถ้าไม่ต้องการให้คลิกปุ่ม “ยกเลิก”
     

ขั้นตอนการ Upload ลายเซ็นผู้รับมอบ

  1. คลิกเลือกชื่อผู้รับมอบ ที่ช่องด้านซ้าย (หมายเลข 1) จากนั้น คลิกที่เครื่องหมายลูกศร   (หมายเลข 2)
  2. จากนั้น ชื่อผู้รับมอบที่ได้ทำการเลือก จะมาอยู่ด้านขวามือ ดังรูป

      หมายเหตุ : เลือกผู้รับมอบที่ต้องการจะทำการ upload ลายเซ็นจนกว่าจะครบ

  3. หลังจากที่เตรียม ลายเซ็น Scan เรียบร้อยแล้วนั้น ให้ทำการคลิกปุ่ม “เพิ่มรูปภาพลายเซ็นผู้รับมอบ”
  4. จากนั้น ให้คลิกเลือกชื่อ ผู้รับมอบ ที่จะ upload ลายเซ็น 
  5. จากนั้น ให้ทำการ คลิกปุ่ม “Browse…” เพื่อทำการ upload ลายเซ็น 
  6. จากนั้น ให้ทำการเลือกรูปภาพลายเซ็นที่ได้เตรียมไว้ ในตอนแรก และทำการ คลิกปุ่ม “Open” 
  7. จากนั้น ให้ทำการคลิกปุ่ม “บันทึก Sign & Upload” 

      หมายเหตุ : โดยในส่วนนี้ ทางบริษัทต้องทำการติดตั้ง Digital Certificate ให้เรียบร้อยเนื่องจากระบบจะทำการ Sign รูปลายเซ็น เพื่อเข้ารหัส ป้องกันการแก้ไขข้อมูล โดยสามารถอ่านรายละเอียด ได้ตาม Link นี้ //edi.dft.go.th/ดาวนโหลด/ขอมลการยนคำรองผานเวบฯดวยDigitalSignature/tabid/69/Default.aspx

    กรณีไม่ได้ทำการติดตั้ง Digital Certificate ระบบจะแจ้งเตือน ดังนี้

      และ แจ้งเตือน ดังนี้

  8. ถ้าติดตั้ง Digital Certificate เรียบร้อยแล้วนั้น จะสามารถบันทึกข้อมูลและ Upload ลายเซ็นได้ 
  9. จากนั้น ให้ทำการ เพิ่มรูปภาพลายเซ็นผู้รับมอบท่านอื่น ให้ครบ
  10. การใช้งานในการเรียกดู ลายเซ็น, แก้ไข, ลบข้อมูล จะใช้งานเหมือนกับ ของกรรมการ
  11. ช่องกรรมการลงนาม ให้เลือกให้ตรงกับข้อมูลหนังสือรับรองบริษัท
     

ขั้นตอนการเอารายชื่อ กรรมการหรือผู้รับมอบ ออกจากการ upload ลายเซ็น

  1. เลือกรายชื่อ กรรมการหรือผู้รับมอบที่ต้องการจากช่องด้านขวามือ จากนั้นคลิกที่รูป   

การพิมพ์คำขอจดทะเบียน

  1. จากนั้น ให้คลิกปุ่ม “พิมพ์คำขอจดทะเบียน” หรือ “พิมพ์คำขอจดทะเบียน [สำหรับผู้ที่พิมพ์ไม่ได้]” เพื่อใช้ในการยื่นคำร้อง ที่กรมฯ

    ตัวอย่างคำร้อง

  2. จากนั้น คลิกปุ่ม “ส่งคำร้อง”
  3. ระบบจะเปิดหน้าต่างเพื่อให้ทำการยืนยันการส่งคำร้อง ถ้าต้องการให้คลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

      กรณีระบบแจ้งเตือน ดังรูป

      เกิดจาก กรรมการหรือผู้รับมอบ มีรายชื่อที่ยังไม่ได้ upload ลายเซ็น ต้องทำการ upload ลายเซ็นให้หมดทุกคน หรือถ้าคนไหนไม่ต้องการ upload ลายเซ็นให้ทำการลบข้อมูลคนนั้นออก

  4. หลังจากพิมพ์ คำร้องแล้ว ให้นำเอกสาร มายื่นที่กรมฯ รอให้เจ้าหน้าที่อนุมัติ จึงจะใช้งานได้
  5. จบขั้นตอนการ การขอจดทะเบียนการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal)

ขั้นตอนการใช้งานลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal) ในการขอฟอร์ม
 

  1. เข้าสู่ Web Site //edi.dft.go.th
  2. Login ด้วยเลขบัตรผู้ส่งออก – นำเข้า และรหัสผ่าน

  3. เมื่อเข้าสู่ระบบ คลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

  4. คลิกปุ่ม “กรอกแบบคำขอ” ดังรูป

  5. เลือกผู้รับมอบอำนาจ และคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

  6. เข้าสู่หน้าเลือกวิธีกรอกแบบคำขอ โดยในส่วนนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ยังไม่อนุมติการใช้งาน “การลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal)” ระบบจะไม่แสดงช่องการล์อกลายเซ็น ที่ด้านล่าง
  7. ถ้าเจ้าหน้าที่อนุมัติการใช้งานแล้ว จะมีส่วนการใช้งานการเลือกลายเซ็น จากนั้น ให้เลือก “กรณีใช้ลายเซ็นกรรมการหรือผู้รับมอบ” และคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

  8. เลือกรูปแบบการกรอกคำขอ โดยเลือก “กรอกแบบคำขอแบบลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature)” และคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

  9. เลือกสถานที่รับหนังสือรับรอง และคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

  10. เลือกฟอร์ม และคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังรูป

     

    หมายเหตุ : โดยในช่วงแรกจะเปิดให้ใช้งานฟอร์ม FTA (ไทย – ออสเตรเลีย)

  11. จะเข้าสู่การป้อนฟอร์ม โดย ส่วนการเลือกใช้ลายเซ็น จะแสดง ดังรูป

  12. เลือกใช้ลายเซ็น ตามต้องการ ดังรูป

      หมายเหตุ : โดยเงื่อนไขการใช้เลือกลายเซ็น จะมีดังนี้คือ ไม่สามารถเลือกกรรมการและผู้รับมอบด้วยกันได้

  13. ทำการป้อนรายละเอียดในส่วนอื่น ตามปกติ และบันทึกข้อมูล
  14. จากนั้น ส่งข้อมูล
  15. ดำเนินขั้นตอนการใช้งานลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal) ในการขอฟอร์มเสร็จเรียบร้อยแล้ว
     

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita