ปัญหา เศรษฐกิจ เกิด จาก สาเหตุ ใด

วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีจุดกำเนิดจากประเทศไทยและแพร่ขยายไปหลายประเทศในเอเซียได้มิเพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแต่ยังรวมเศรษฐกิจของประเทศ เอเชียอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เป็นอันมากทั้ง ในแง่เศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานขยายตัว ธุรกิจล้มละลาย และปัญหาหนี้สินได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย

วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยเลือกใช้ดังต่อไปนี้


ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อใช้ในการผลิตสินค้านั้นมีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด

ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือว่าได้ว่า เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่บุคคล กลุ่มบุคคล และรัฐจะต้องหาทางแก้ไข้

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เกิดจากกรณีที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด จะเกิดขึ้นเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด หรือจะเป็นประเทศใดก็ตาม ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีดังนี้

1. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What to be produced)

ปัญหาแรกของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือ ควรผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง นั้นเพราะไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ทุกชนิด เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือมีความขาดแคลน ดังนั้น สังคมต้องตัดสินใจว่า ควรจะผลิตสินค้าอะไรบ้าง ถึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีที่สุด

ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไร ก็ต้องตัดสินใจต่อไปด้วยว่า จะผลิตสินค้าและบริการดังกล่าวนั้นในจำนวนเท่าใด เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าและบริการอื่น ๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ จะต้องไม่ลึมคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือมีความขาดแคลนด้วย

2. ปัญหาว่าผลิตอย่างไร (How to produce)

ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดนั้น อาจมีกรรมวิธีในการผลิตหลากหลายวิธี แต่จะต้องคำนึงว่า วิธีใดที่จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้มากที่สุดโดยได้ผลผลิตมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตนั้น มีอยู่อย่างจำกัด การที่จะนำปัจจัยการผลิตไปผลิตสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมทำให้เหลือทรัพยากรไปผลิตอย่างอื่นน้อยลง ดังนั้น จึงทำให้เกิดการเลือกว่า จะใช้วิธีการในการผลิตอย่างไร โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด

3. ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร (For whom)

เป็นปัญหาในเรื่องการพิจารณาว่า จะผลิตสินค้าไปเพื่อใคร หรือให้ใคร หรือควรจะจัดสรรไปให้กับใครบ้าง ใครจะได้รับสินค้ามากน้อยเพียงใด ถึงจะทำให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากร

นั้นก็เพราะว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่มนุษย์มีการเพิ่มประชากรขึ้นเรื่อย ๆ การจัดสรรสินค้าทุก ๆ อย่าง ให้แก่คนทุก ๆ คน ย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการเลือกว่า จะผลิตเพื่อใครและใครควรได้รับหรือไม่ได้รับสินค้าดังกล่าว

จากที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับ “ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ” สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาดังกล่าวทั้ง 3 ข้อก็คือ ทรัยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องจำนวนประชากร เป็นประเด็นสำคัญจนถึงขึ้นทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทีเดียว

ที่จำนวนประชากรเป็นปัญหานั้นก็เพราะว่า จำนวนประชากรมีผลต่อความขาดแคลน กล่าวคือ ทรัยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้เกิดความขาดแคลนได้

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส (Thomas Robert Malthas) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับประชากร กล่าวคือ ความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์มีอัตราก้าวหน้าเลขคณิต (Arithmetic Progression) คือ เพิ่มจาก 1 เป็น 2, 3, 4…. ส่วนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าเรขาคณิต (Geometric Progression) คือ เพิ่มจาก 1 เป็น 2, 4, 8, 16…

นอกจากการเพิ่มขึ้นของประชากรแล้ว อัตราการเสียชีวิตของประชากรก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านสาธารณสุข ทำให้ประชากรมีอายุยาวนานขึ้น

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร บวกกับการเสียชีวิตที่น้อยลง ทำให้จำนวนประชากรที่มีชีวิตมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ทรัพยากรยังคงมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดปัญหาความขาดแคลน และด้วยเหตนี้เอง จึงทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ว่า จะผลิตอะไร จะผลิตอย่างไร และจะผลิตเพื่อใคร

4.             ปัญหาขาดผู้นำในชุมชนที่มีความสามารถในการพัฒนา  คนไทยในชุมชนไม่กล้าแสดงออก ทำให้ขาดผู้นำในการจัดการบริหารงานของชุมชนให้มีประสิทธิภาพ   แนวทางแก้ไข คือ การสร้างภาวะผู้นำให้กับสมาชิกในชุมชน ฝึกอบรมภาวะผู้นำให้กับคนในชุมชน และให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นถึงปัญหาและแนวทางเพื่อร่วมกันการแก้ปัญหา 

คือ 1. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างประเทศและกลุ่มคนในสังคม 2. ความยากจนอัตคัดขาดแคลนของคนส่วนใหญ่ 3. สงครามและความรุนแรง 4. ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก

ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดที่เน้นการลงทุนและการหากำไรของบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งระบบทุนนิยมโดยรัฐในประเทศรัสเซีย จีน ฯลฯ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทุนปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุนเอกชนส่วนน้อยมุ่งผลิตเพื่อขายเน้นการกำไรสูงสุด และสะสมทุนเพื่อนำไปขยายการผลิตเพื่อขาย แบบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือตัวการเร่งรัดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ที่ไม่มีการคิดถึงต้นทุนทางธรรมชาติ ต้นทุนทางสังคม ความคุ้มค่าในแง่ประโยชน์ใช้สอยต่อส่วนรวม และผลกระทบในทางลบต่อสังคมและระบบนิเวศ

กระบวนการผลิตและการบริโภคดังกล่าว นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความยากจน แล้วยังเพิ่มมลภาวะ ทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ และระบบนิเวศเสื่อมโทรมทั่วทั้งโลก

ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศรายได้ต่ำเปลี่ยนจากการปลูกพืชเพื่อยังชีพแบบดั้งเดิม เป็นการปลูกพืชเพื่อการส่งออกแบบสมัยใหม่ โดยใช้น้ำ ปุ๋ย พลังงานเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืช ฯลฯ เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเอาเปรียบทั้งธรรมชาติและแรงงาน เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้น ขายพืชผลได้ราคาต่ำลงโดยเปรียบเทียบ ต้องพึ่งพาการซื้ออาหารอื่นๆ จากตลาดเพิ่มขึ้น เสี่ยงภัยอันตรายต่อการได้รับสารเคมีเป็นพิษเพิ่มขึ้น เป็นหนี้และยากจนเพิ่มขึ้น

บรรษัททุนข้ามชาติไปลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิต ใช้ทรัพยากร พลังงาน สร้างมลภาวะและขยะในประเทศรายได้ต่ำ ที่มีมาตรฐานการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่ำ และรัฐบาลประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่รวมทั้งไทยต้องการเอาใจ และหรือมีผลประโยชน์ส่วนตัวร่วมกับนักลงทุนต่างชาติ

ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและไม่เป็นธรรม เช่นเน้นการวิจัย ลงทุนและการผลิตสินค้าบริโภคฟุ่มเฟือยที่คนรวย คนชั้นกลาง มีรายได้พอที่จะซื้อ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ เสื้อผ้าหรูหรา ยารักษาโรคที่คนรวยส่วนน้อยเป็น ฯลฯ และนายทุนสามารถทำกำไรได้ดีมากกว่าจะสนใจวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจน เนื่องจากคนจนมีกำลังซื้อที่น้อยกว่าคนรวย

การที่นายทุนมุ่งแสวงแต่กำไรเอกชน นอกจากจะทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรมขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดภัยอันตรายต่อคนงาน ผู้บริโภค รวมทั้งอุบัติภัยต่างๆ จากกรณีสารเคมีเป็นพิษมากขึ้นด้วย รัฐบาลส่วนใหญ่โดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำไม่สนใจดูแลป้องกันและควบคุมเรื่องความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและบริโภคมากนัก เพราะรัฐบาลเป็นตัวแทนของชนชั้นนายทุนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวทางด้านวัตถุระยะสั้น มากกว่าจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมสำหรับแรงงานและผู้บริโภค

แรงงาน ผู้บริโภค ประชาชนส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนทำงานหาเงินเพื่อความอยู่รอดไปวันๆ รวมทั้งพวกเขายังถูกครอบงำด้านความรู้ความคิดอ่าน ให้มองด้านเดียวคือนิยมชมชอบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ว่าจะนำความเจริญ ความสุขมาให้ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ ไม่สนใจและไม่ตระหนัก ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงกำลังทำลายคุณภาพชีวิตของพวกเขาและลูกหลานมากเพียงใด และคุณภาพชีวิตมีความหมายต่างจากการมุ่งหาเงินและมุ่งบริโภคสูงสุดอย่างไร

ภายใต้โครงสร้างระบบทุนนิยมโลก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางสังคม และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ทำร้ายประเทศยากจนและคนจนมากที่สุด เพราะพวกเขาขาดแคลนทั้งทุน ความรู้และเทคโนโลยีพอที่จะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อมได้น้อยกว่าประเทศร่ำรวยและคนรวยมาก

ประเทศสังคมนิยมแบบวางแผนจากส่วนกลาง เช่นอดีตสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก จีน ฯลฯ นั้นจริง ๆ แล้วเป็นประเทศทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ที่เน้นการเพิ่มผลผลิตและสะสมทุนโดยรัฐเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ แข่งขันกับรัฐนายทุนอื่นๆ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยมโลกมากกว่าสังคมนิยม ซึ่งมุ่งประโยชน์สูงสุดของคนส่วนใหญ่ในระยะยาว รัฐบาลประเทศเหล่านี้บริหารแบบใช้อำนาจรวมศูนย์มากไป ทำให้เกิดปัญหาความไม่เสมอภาคและการขาดเสรีภาพทางการเมืองและสังคม การขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การทุจริตฉ้อฉล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูง เน้นการแข่งขันเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งเอาชนะทางเศรษฐกิจการเมืองประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรม โดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพของชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีในประเทศของตน

แนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเมือง และระบบนิเวศ ประชาชนจะต้องร่วมมือกันหาทางเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาด เอื้อผลประโยชน์นายทุนส่วนน้อย ไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ (Eco Socialism) ที่ผู้ผลิตเป็นเจ้าของผู้ควบคุมและผู้บริหารปัจจัยการผลิตร่วมกัน (Associative Producers) และฟื้นฟูระบบที่ทรัพยากรสำคัญเป็นของส่วนรวม (The commons) ขึ้นมาใหม่ เน้นการผลิตและการกระจายผลผลิตที่เป็นประโยชน์เพื่อการสนองความต้องการใช้สอยที่จำเป็นของสมาชิกในสังคม อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม กระจายอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และอย่างคำนึงถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อการพัฒนาต่อได้อย่างยั่งยืน นั่นก็คือ เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความสุขของประชาชน มากกว่าการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม ผลิตเพื่อขายสนองความต้องการฟุ่มเฟือยของคนรวย/คนชั้นกลาง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita