หน้าที่ ของ จ ป วิชาชีพ 13 ข้อ

นอกจากการทำให้สถานประกอบการปฏิบัติข้อกฎหมายแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยมาให้ทุกคนทำร่วมกันมากมาย เช่น

  • การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง (Checklist, JSA, HAZOP, What if ฯลฯ)
  • การรายงานสภาพการณ์ที่อันตราย
  • การรณรงค์อุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ด้วย KYT
  • กิจกรรมข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย
  • Safety Talk การสนทนาความปลอดภัย
  • การสอบสวนอุบัติเหตุ
  • จัดอบรมความรู้เรื่องความปลอดภัยในหัวข้อต่างๆ
  • จัดกิจกรรม Safety Week / Safety Day
  • การรณรงค์ให้ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • การเดินตรวจความปลอดภัย

เป็นต้น

 

เพราะเรื่องของความปลอดภัยฯ เป็นหน้าที่ของทุกคน

ในแต่ละงานของ จป. วิชาชีพ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ทุกระดับ ทุกส่วนงาน ในองค์กร/สถานประกอบการ

เมื่อ จป. วิชาชีพ ต้องขอความร่วมมือ เรื่องความปลอดภัย...จะทำอย่างไร??  ให้ทุกคนพร้อมทำกิจกรรม/โครงการต่างๆ ไปด้วยกันกับเรา

สิ่งที่ จป.วิชาชีพ ไม่อยากได้ยิน ไม่อยากได้เจอ เมื่อต้องไปขอความร่วมมือ แต่กลับต้องเจอคำพูด/การกระทำที่ปฏิเสธเราเหล่านี้

  • งานของเรานี่ จป. เราก็ทำไปเองสิ ไม่เกี่ยวกับงานของพวกพี่
  • เรื่องเซฟตี้เหรอ เอาไว้ก่อนก็ได้
  • ยังปรับปรุงไม่ได้หรอก งบยังไม่มี
  • จะมาเปลี่ยนแปลงอะไร แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว
  • ทำแบบนี้มาตั้งนานไม่เห็นเป็นอะไรเลย ทำไมต้องทำอะไรเพิ่มด้วย
  • คนในแผนกพี่ไม่มีเวลาหรอกแค่งานที่ทำอยู่ก็ล้นมือกันหมดทุกคนแล้ว

    ฯลฯ

คำพูดต่างๆ เหล่านี้ นานทีที่ได้ยินน่าจะพอไหว แต่ในหนึ่งปี มีกิจกรรมเรื่องความปลอดภัยให้ทำมากมาย ได้ยินคำพูด/การกระทำที่ปฏิเสธบ่อยๆ  อาจทำให้ จป.วิชาชีพหลายๆ คน รู้สึกหมดกำลังใจ หมดแรงทำงานเพื่อสร้างความปลอดภัยฯ ได้

 

แบบนี้ต้องมาเติมพลังใจ มาเติมพลังไฟ เพื่อให้ จป.วิชาชีพ มีกำลังใจในการทำสิ่งดีๆ ที่ต้องการให้ทุกคนปลอดภัยกันต่อไป

15 ข้อ ที่ จป.วิชาชีพ ต้องใช้!!!

เมื่อต้องการให้เรื่องความปลอดภัยได้รับความร่วมมือ

1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยร่วมกัน (ดูจังหวะ ดูเวลาความพร้อมของคนที่เราจะพูดคุยด้วยนะ)

2. จัดการความคิดของเราก่อนนะ จป.

  • จป. เชื่อว่า ทุกคนมีสิ่งที่ดีที่จะสามารถมาช่วยให้งานดียิ่งขี้น “I am OK and You are OK” (ฉันก็มีดีในแบบของฉัน เธอก็มีดีในแบบของเธอ เราต่างมีดีที่จะมาส่งเสริมและร่วมกันทำเรื่องความปลอดภัย)

3. เข้าใจความคิด อารมณ์ของตนเอง ควบคุมตนเองได้ (ทำตัวเราให้พร้อมสำหรับการพูดคุย)

  • เมื่อเข้าใจตนเอง เราจะได้สามารถเข้าใจคนอื่น ใช้เหตุผลในการพูดคุยให้มากกว่าใช้อารมณ์ (เข้าใจตนเองและผู้อื่น เราเปิดใจเพื่อทำงาน เราก็จะได้ความร่วมมือ ความเข้าใจและเห็นใจกัน)

4. สร้างความเข้าใจระหว่างกัน  (พื้นฐานของการสร้างสัมพันธ์ภาพ) 

  • เคารพความต่าง เข้าใจว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีประสบการณ์ในชีวิตที่เจอมาต่างกัน ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง จึงมีประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อให้เกิดความหลากหลายของแนวทาง/วิธีการ

5. ให้ใจเราก่อน เพื่อให้ได้ใจจากคนอื่น 

  • จริงใจเพราะต้องการเห็นทุกคนมีความปลอดภัยในการทำงาน

6. สร้างความสัมพันธ์ให้แข็งแรง

  • สร้างความคุ้นเคยกับคนที่เราคุยด้วย/ส่วนงานที่เราต้องการขอความร่วมมือ
  • สื่อสารให้ตรงกับความเข้าใจ/สไตล์ของคนที่เราคุยด้วย

7. จป.วิชาชีพ ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง มั่นคงจากภายใน พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างมีสติ คิดรอบคอบ

8. จป.วิชาชีพ เห็นภาพกว้างเรื่องความปลอดภัย

  • เมื่อเห็นภาพชัดก็ต้องสามารถส่งต่อภาพความปลอดภัยที่อยากให้เกิดขึ้นให้กับทุกคนได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้ร่วมกันทำให้ภาพความปลอดภัยเกิดขึ้นจริง จากการร่วมมือในการลงมือทำของทุกคน

9. นำเสนอภาพที่อยู่ในสมองเราไปสู่คนอื่นๆ

  • โดยใช้ทักษะการสื่อสาร โน้มน้าวใจ สามารถสร้างภาพในฝันให้ทุกคนจินตนาการตามได้ จนเกิดการตัดสินใจลงมือทำ  (ทุกคน/ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมองเห็นจุดที่เป็นเป้าหมายปลายทางจุดเดียวกัน “ทุกคนปลอดภัย ทุกคนช่วยกัน”)

10. โน้มน้าว สร้างแรงบันดาลใจ 

  • จป.วิชาชีพ มีอิทธิพลในการนำพาทุกคน (ทำให้ทุกคนเชื่อมั่น ศรัทธา) ไปสู่เป้าหมายปลายทางที่ต้องการมีคำพูดที่ดีและผสมผสานท่วงท่า อารมณ์ ความรู้สึกที่จริงใจลงไปในการสื่อสาร

11. ให้โอกาสสมาชิก/คนที่เราคุยด้วยได้เสนอความคิด

รับฟังคำอธิบายจนจบ ไม่รีบให้ข้อสรุปสิ่งที่ได้ฟัง รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกัน

- ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

คำจำกัดความ
- กรรมการความปลอดภัย หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- คณะกรรมการความปลอดภัย หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อรองทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้
- หน่วยงานความปลอดภัย หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวด 1 : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- นายจ้างของสถานประกอบกิจการ (ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง) ที่มีจำนวนลูกจ้างตามเกณฑ์กำหนด ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี  2 ประเภท ดังนี้
   1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง (จป.โดยตำแหน่ง : ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร)
   2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ (จป.โดยหน้าที่เฉพาะ : ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ)

ส่วนที่ 1  :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยตำแหน่ง

หัวหน้างาน

ผุ้บริหาร

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 และ 3 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับบริหารภายใน 120 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยตำแหน่ง โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยตำแหน่ง มีดังนี้
1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเพื่อเสนอคปอ.หรือนายจ้างแล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยฯ ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยฯ ทันที่ที่เกิดเหตุ
(8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลกาารตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้าง หรือจป.ระดับบริหารมอบหมาย

2. จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา
(2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยบกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(4) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานตามข้อเสนอแนะของจป. คปอ. หรือหน่วยงานความปลอดภัย

ส่วนที่ 2 :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยหน้าที่เฉพาะ

ระดับเทคนิค

ระดับเทคนิคขั้นสูง

ระดับวิชาชีพ

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่  2  คนขึ้นไป

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน (20-49 คน)

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน (50-99 คน)

อย่างน้อย 1 คน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับเทคนิค และจป.ระดับเทคนิคขั้นสูง ภายใน 180 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ มีดังนี้
1. จป.ระดับเทคนิค มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(5) รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(6) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


2. จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(4) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(6) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(7) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(8) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(9) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


3. จป.ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(6) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(7) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(8) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(9) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(10) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(11) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือ การเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อลูกจ้าง
(12) ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(13) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ทั้งนี้ ต้องจัดให้ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ ได้รับการฝีกอบรมและพัฒนาความรู้ฯ เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และกรณีที่ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องจัดให้มี จป.ดังกล่าวแทน ภายใน 90 วันนับจากวันที่พ้นตำแหน่ง

หมวด 2 : คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็น ประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการ

จำนวน คปอ.
 (คน)

ประธานกรรมการ

(ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา = ระดับหัวหน้างาน)
 (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนลูกจ้าง)
 (คน)

กรรมการและเลขานุการ
(บัญชี 1 หรือบัญชี 2)
 (คน)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่  50  คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน
 (50-99 คน)

ไม่น้อยกว่า 5 คน

1

1

2

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 100 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 500 คน
 (100-499 คน)

ไม่น้อยกว่า 7 คน

1

2

3

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

ไม่น้อยกว่า 11 คน

1

4

5

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

หมายเหตุ กรณีสถานประะกอบกิจการตามบัญชี 3 ให้แต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่ม 1 คน เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ  ทั้งนี้ คปอ.ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการปลอดภัย ภายใน 60 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก

จป.วิชาชีพ มีหน้าที่อะไรบ้าง

1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง 3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน

จป หัวหน้างาน มีหน้าที่อะไรบ้าง

กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ

จป.สำคัญอย่างไร

หน้าที่ของ จป. วิชาชีพ 13 ข้อ วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง

ความปลอดภัยในการทํางานเป็นหน้าที่ของใคร

ความปลอดภัยไม่ใช่เป็นเพียงความรับผิดชอบดูแลของ จป หัวหน้างาน หรือเป็นหน้าที่ของจป บริหาร บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น จะต้องเป็นการร่วมมือกันทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ผู้บริหารลงมาถึงแม่บ้านทั้งหมด จะต้องมีความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ ให้ได้เป็นอย่างดี การทำงานทุกอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งที่จะ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita