เอกสาร เปลี่ยนชื่อในโฉนด ที่ดิน

มาดูขั้นตอนการโอนที่ดิน โอนบ้าน โอนคอนโด พร้อมลิสต์เอกสารที่ต้องเตรียม และรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน สำหรับคนที่กำลังซื้อบ้านหรือคอนโด 

ไม่ว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดไม่ได้มีแค่ค่าผ่อนบ้านเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ ค่าโอนที่ดิน หรือ ค่าโอนบ้าน ที่ต้องจ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน สำหรับคนที่สงสัยว่ารายละเอียดค่าใช้จ่ายส่วนนี้มีอะไรบ้าง หากต้องการโอนบ้านหรือโอนที่ดินต้องเตรียมเอกสารอะไร มีขั้นตอนในการทำเรื่องอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ 

ค่าโอน คืออะไร

ค่าโอนที่ดิน หรือค่าโอนบ้าน คือ ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน ที่ผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยผู้ขายจะรับผิดชอบในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับผู้ซื้ออจะรับผิดชอบในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอน (จ่ายคนละครึ่งกับผู้ขาย) และค่าจดจำนอง ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อและผู้ขาย 

ค่าใช้จ่ายการโอนที่ดิน มีอะไรบ้าง ?

ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน มี 5 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ค่าธรรมเนียมการโอน: คิดเป็น 2% ของราคาประเมิน ตัวอย่างเช่น ราคาประเมิน 1,000,000 บาท ราคาขาย 1,500,000  บาท จะใช้ราคาประเมินมาคำนวณคือ 2% ของ 1,000,000 คือ 20,000 บาท

2. ค่าจดจำนอง : คิดเป็น 1% ของยอดจดจำนองกับธนาคาร ชำระเฉพาะผู้ที่ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน ตัวอย่างเช่น กู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อคอนโด 1,500,000 บาท จ่ายจดจำนอง 1% ของ 1,500,000 คือ 15,000 บาท  

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ภาครัฐมีนโยบายลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดจำนองจากเดิม 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัยใหม่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ มีประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ตึกแถว รวมถึงคอนโดมิเนียม ที่มีราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องทำการโอนและจดจำนองในเวลาเดียวกัน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563

3. ค่าอากรสแตมป์ : คิดเป็น 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยใช้ยอดที่สูงกว่าในการคำนวณ แต่ถ้าหากเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ 

4. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณจากราคาประเมินคิดแบบขั้นบันไดภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

5. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : คิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน โดยยึดราคาที่สูงสุดกว่ามาคำนวณ ยกเว้นผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน

นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ประกอบด้วย ค่าคำขอ 5 บาท ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท และค่าพยาน 20 บาท ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดการโอนที่ดินประเภทต่าง ๆ เช่น การโอนที่ดินให้ญาติพี่น้อง การโอนที่ดินมรดก นอกจากนี้ทางเว็บไซต์ของกรมที่ดินยังมีระบบคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีอากรในการทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งใช้ตรวจสอบค่าธรรมเนียมและภาษีอากรเบื้องต้น ในการทำนิติกรรมประเภท ขาย ขายฝาก ให้ โอนมรดก จำนอง และเช่า คลิกเข้าไปดูได้ที่  lecs.dol.go.th

เอกสารที่ต้องเตรียมในการโอนที่ดิน 

สำหรับเอกสารที่ใช้ในการโอนบ้านและที่ดิน มีดังนี้ 

เอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา 

► บัตรประชาชน (ฉบับจริง) 

► ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง) 

เอกสารประกอบกรณีมอบอำนาจ 

► หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) 

► บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด  และเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 

► ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด และเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 

เอกสารประกอบกรณีสมรส (ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส)

► หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน

► สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส

► สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส

► สำเนาทะเบียนสมรส

ขั้นตอนการโอนบ้านและที่ดิน 

หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ต่อไปถึงขั้นตอนโอน โดยไปที่กรมที่ดินที่บ้านหรือที่ดินที่จะขายตั้งอยู่ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจสอบเอกสาร และรอรับบัตรคิว 

2. เมื่อเจ้าหน้าที่เรียก ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนเซ็นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ 

3. เจ้าหน้าที่จะประเมินทุนทรัพย์และคำนวณค่าธรรมเนียมโอน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะมอบใบคำนวณค่าโอนให้เพื่อนำไปชำระค่าโอนที่ฝ่ายการเงิน

4. ชำระเงินค่าธรรมเนียมโอนที่ฝ่ายการเงิน เมื่อชำระเรียบร้อยแล้วจะได้ใบเสร็จ 2 ใบ สีฟ้ากับสีเหลือง ให้นำใบเสร็จสีเหลืองคืนเจ้าหน้าที่ ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ผู้โอนถ่ายสำเนาให้ผู้รับโอน 1 ชุด

5. เจ้าหน้าที่พิมพ์สลักหลังโฉนด แล้วให้ผู้โอนรอรับโฉนดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อ-ขาย (ทด.13) ให้กับผู้รับโอนหรือผู้ซื้อเป็นอันเสร็จสิ้นการโอน โฉนดนั้นก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้รับโอนหรือผู้ซื้อเรียบร้อย แต่สำหรับผู้กู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ทางธนาคารจะเก็บโฉนดตัวจริงไว้ แล้วมอบสำเนาโฉนดไว้ให้กับผู้รับโอน โดยโฉนดจะเป็นชื่อธนาคารเป็นผู้รับจำนอง

ทั้งนี้  เพื่อให้เสร็จสิ้นการซื้อ-ขายจริง ๆ หลังจากโอนที่ดินพร้อมบ้านแล้ว  ควรโอนมิเตอร์น้ำ  มิเตอร์ไฟฟ้า  พร้อมทั้งย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านด้วยจึงจะเรียบร้อย  แต่หากไม่สะดวกไปดำเนินการด้วยตัวเองได้  สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้เช่นเดียวกัน

การซื้อบ้านหรือคอนโดไม่ได้มีแค่ค่าซื้อบ้านเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ เช่น ค่าโอนที่ดิน หรือค่าโอนบ้าน ที่ควรรู้ พร้อมเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ที่นำมาฝากกันในวันนี้ เพื่อใช้สำหรับเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเดินทางไปดำเนินการที่กรมที่ดิน 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita