การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

09 Aug

โดย รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์

ในเมื่อคนเรามีความแตกต่างหลากหลาย สังคมประชาธิปไตยควรมีหน้าตาแบบไหนจึงจะทำให้เราอยู่ต่อไปด้วยกันได้?

อคติในสังคมทำให้เราให้คุณค่าของ “ความแตกต่าง” ไม่เท่ากัน เราอดทนอดกลั้นกับความแตกต่างไม่ได้ และผลักให้คนที่คิดต่างและไม่เหมือนเราอยู่ในขั้วตรงข้ามเสมอ การตีตราประณาม กีดกัน และบังคับให้เกิดการหลอมรวมนำมาซึ่งความทุกข์ ความรุนแรงและความแตกแยกในสังคม ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมในโรงเรียนที่เน้นการบังคับหลอมรวมให้นักเรียนทุกคนมีลักษณะเหมือน ๆ กัน ความกดดันเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโรงเรียน ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นและยอมรับความแตกต่างที่แต่ละปัจเจกบุคคลพึงมีได้

ประชาธิปไตยในลักษณะการยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก 1คน1เสียง ใช้ระบบตัวแทน และเน้นการเลือกตั้ง อาจไม่ได้เป็นทางออกเสมอไป ประชาธิปไตยลักษณะนี้อาจตายไปแล้ว เพราะในที่สุดแล้ววิธีและระบบการเลือกตั้งทำให้เกิดช่องโหว่ ก่อให้เกิดปัญหาว่าด้วยเรื่องเสียงข้างมาก (adversarial democracy) สร้างความรู้สึกความเป็นผู้ชนะและผู้แพ้ และภาวะความเป็นศัตรูกัน

หากกล่าวถึง ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิต คือการร่วมกันคิด ให้เหตุผล ชักจูงโน้มน้าว เคารพซึ่งกันแลกัน การพยายามหาจุดที่ทุกฝ่ายรับได้ และที่สำคัญคือการมีความอดทนอดกลั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลาย สังคมที่ให้ค่านิยมกับเสรีภาพนั้นต้องมีความอดทนอดกลั้นอยู่คู่กันด้วย ความอดทนอดกลั้นจะเป็นหลักประกันที่ช่วยให้เราอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายได้มากขึ้น

มากไปกว่านั้น เราควรสำรวจความคิดและการกระทำของเราอยู่ตลอดเวลา ว่าเรากำลังรักษาฐานของการให้คุณค่าที่ไม่เท่าเทียมกันไว้อยู่ด้วยหรือไม่? เรากำลังหล่อเลี้ยงความเหลื่อมล้ำบางประการอยู่หรือไม่? หากเราสามารถให้คุณค่าประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตเช่นนี้ได้ มองเห็นคุณค่าของกันและกันจากทั้งมิติของความเหมือนและความต่าง เราจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขมากขึ้น

ดาวน์โหลด pdf

จดบันทึกแบบภาพ โดย ชลิพา จาก Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

จดบันทึกโดย นพวรรณ เลิศธารากุล

ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีหลากหลายวัฒนธรรมและใช้หลายภาษา (พหุภาษา) แต่ ‘คิดว่าตัวเองเป็นสังคมภาษาเดียว’ จากความพยายามในการสร้าง ‘ชาติ’ และวัฒนธรรม ‘ไทย’ เพื่อรวมคนทั้งประเทศด้วยแนวคิดชาตินิยม   ความหลากหลายในยุคนั้นจึงถูกมองเป็นภัยคุกคามประเทศ ผู้มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์จำนวนหนึ่งจึงได้มีความพยายามที่จะหลอมตัวเองเข้ากับวัฒนธรรมทางการเพื่อให้ได้การยอมรับจากสังคมภายนอก ซึ่งนอกจากจะทำให้คนรุ่นหลังพูดและแสดงออกทางวัฒนธรรมน้อยลงแล้ว ยังส่งผลให้ความคิดและโลกทัศน์ ภูมิปัญญา อย่างดนตรี ภาษาเขียน การแต่งกาย เรื่องเล่า นิทาน องค์ความรู้ สูตรอาหาร หายไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการเรียกร้องให้ให้รัฐเคารพอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการแสดงออก รวมถึงให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สามารถกำหนดวิถีชีวิตตนเอง อย่างไรก็ดีอคติทางสังคมยังคงอยู่ และกลายเป็นช่องว่างระหว่างผู้ที่มีวัฒนธรรมย่อย กับ ‘คนไทย’  ยกตัวอย่าง การที่รัฐไม่ยอมรับว่าคนกลุ่มชาติพันธุ์เป็นคนของรัฐด้วยการไม่ให้สัญชาติ ซึ่งส่งผลให้พวกเขาเสี่ยงถูกละเมิดสิทธิ์ (ถูกไล่ที่อยู่ที่ทำกิน) และมักถูกละเลยจากกระบวนการการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำปะปา การบริการสาธารณะ การศึกษา การบริการทางการแพทย์ และมากกว่านั้น  หนำซ้ำ ยังถูกผลิตซ้ำภาพจำของการ ‘เป็นอื่น’ เป็นผู้อพยพ ผู้ร้าย (เผาป่า ค้ายา) คนด้อยโอกาส และไร้การศึกษา ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความรู้สึกของผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยตรง

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา

เรามีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 70 กว่ากลุ่มที่อยู่ในพื้นที่หรือย้ายเข้ามาก่อนการแบ่งเขตแดน หรือก่อนการเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ ส่วนภาษาที่ใช้ในประเทศไทยก็มีถึง 72 กลุ่มภาษา เป็นอย่างต่ำ ซึ่งมีตั้งแต่ภาษาที่มีจำนวนผู้พูดหลักร้อย เช่น ภาษาบีซู (เชียงราย) ภาษากว๋อง (ผู้อพยพชาวจีน) และภาษาชอง (จันทบุรี ตราด) ไปจนถึงหลักแสน เช่น ภาษามลายูถิ่น (ชายแดนภาคใต้) ภาษาเขมรถิ่นไทย (ศรีสะเกษและชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-กัมพูชา) ภาษากะเหรี่ยง (กระจายอยู่ทั่วประเทศ) และภาษาม้ง (เชียงราย แม่ฮ่องสอน และแถบภาคเหนือตอนบน)  และหลักล้าน ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นตามภาคต่างๆ และภาษาไทยราชการ

เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมคนเข้ากับสังคมและการเรียนรู้ คนที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาจะใช้ภาษาต่างๆ ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น ใช้ภาษาท้องถิ่นในครอบครัว/ชุมชน ใช้ภาษาท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคเพื่อติดต่อและค้าขาย และใช้ภาษาไทยราชการเพื่อทำงานติดต่อกับคนนอกพื้นที่และเรียนหนังสือ 

บ้าน

บ้านเป็นกลุ่มสังคมแรกที่เราเข้าไปอยู่ นอกจากบ้านจะปฏิบัติและพูดภาษาตามรากเหง้าตัวเองแล้ว แต่ละครอบครัวมีวัฒนธรรมย่อยในบ้านอีกที  ไม่ว่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ระดับความเคร่งครัดของการปฏิบัติตามธรรม ไลฟ์สไตล์ การส่งเสริมคนในบ้านตามคุณค่าที่ยึดถือ บางบ้านสอนลูกฟังและพูดภาษาแม่ (ภาษาแรกที่เราเรียนรู้มักถูกสอนโดยแม่) บางบ้านสอนให้ใช้ภาษากลางเป็นภาษาแรก ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ในบ้านเป็นผู้นำ



ภาพจาก UNICEF – รายงานโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ–พหุภาษา (ภาษาไทย–มลายูถิ่น)

จากปัญหาการลดการแสดงออกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และผลกระทบจากกระแสโลกผ่านอินเทอร์เน็ต เศรษฐกิจ ค่านิยมด้านวัฒนธรรมสมัยใหม่ของสังคมและการเมืองทำให้มรดกทางวัฒนธรรมหลายอย่างหายไป  ยกตัวอย่างเรื่องการใช้ภาษาถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนจึงไม่มีการเก็บบันทึกและสืบทอดอย่างเป็นระบบและหลักฐาน และมีผู้พูดเพียงร้อยคนจึงยากที่จะรักษาไว้ มีกลุ่มภาษาอย่างน้อย 25 จาก 72 กลุ่มตกอยู่ในภาวะวิกฤติใกล้สูญหาย

โรงเรียน
จากการเรียนรู้ทักษะการฟังพูดจากภาษาแม่ (และการอ่านเขียน หากมี) ก่อนจะไปเรียนฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย ซึ่งหลายๆ ครั้ง บทเรียนที่ใช้ในหลักสูตรทั่วไปก็ไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงภาษาและวัฒนธรรมและประสบการณ์ชีวิตที่บ้านได้ เนื่องด้วยที่ผ่านมา การศึกษาที่รัฐจัดให้กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมบ่มเพาะและ ‘เปลี่ยน’ ให้เป็น ‘ไทย’ และในช่วงพ.ศ. 2500 โรงเรียนได้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการเรียนการสอนเท่านั้น และมีการสั่งห้ามไม่ให้นักเรียนพูดภาษาถิ่นในโรงเรียน (ปัจจุบันได้ยกเลิกคำสั่งนี้แล้ว) ทำให้ภาษาท้องถิ่นหมดความหมายและเยาวชนไม่เห็นประโยชน์ของภาษาท้องถิ่นของตน

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงเริ่มเกิดขี้นกับนักเรียนชาติพันธุ์ในโรงเรียน เพราะเด็กที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาแรกนั้นมีอุปสรรคในการสื่อสาร ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ครูพูดและบทเรียนได้ เมื่อสอบออกมาก็ได้คะแนนน้อย  และในกรณีเรียนรวมกับเด็กกลุ่มที่พูดภาษาไทยหรือภาษาท้องที่เป็นภาษาแม่ เด็กชาติพันธุ์ก็มักจะต้องต่อสู้กับการถูกล้อเลียนเรื่องสำเนียง การใช้คำมากกว่าเรียนรู้  สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุให้เด็กเกิดความทุกข์ ไม่สนุกกับการเรียน และไม่อยากไปโรงเรียน ขาดเรียนบ่อย และอาจออกกลางคันในที่สุด

ที่ทำงาน/ชุมชน/สังคม

นอกจากอคติที่ทำให้พวกเขาเป็นอื่นในสังคมและไม่ได้รับสิทธิ์สวัสดิการอย่างเท่าเทียมแล้ว กลุ่มผู้มีวัฒนธรรมหลากหลายยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่มีรายได้และที่ทำกิน   ย้อนกลับไป พวกเขาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าหรือแหล่งธรรมชาติทำให้อาชีพดั้งเดิมของพวกเขาเป็นการทำเกษตรหรือทำประมงเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการห้ามไม่ให้อาศัยหรือทำมาหากินในพื้นที่ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนหนึ่งถูกสั่งย้ายถิ่นฐาน ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยน อาจปรับตัวกับชุมชนใหม่ไม่ทันและไม่สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามข่าว

การเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งในหารายได้ แต่งานส่วนใหญ่ที่คนชาติพันธุ์ทำมักจะเป็นงานแรงงาน หาเช้ากินค่ำมากกว่างานในระดับสูงที่ได้ค่าตอบแทนมากกว่าและมั่นคงกว่า รวมไปจนถึงทำงานผิดกฎหมาย (เช่น เด็กไร้สัญชาติออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อไปทำงานบ่อนการพนัน เนื่องจากได้ค่าแรงมากกว่ารอเรียนจนจบมัธยมด้วยซ้ำ เพราะต่อให้เรียนจบสูง ออกไปทำงานก็ถูกกดค่าแรงอยู่ดี) 

Interesting Facts

  • จากผลการดำเนินการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาไทยเพียงอย่างเดียว (ที่ใช้กันมากว่า 70 ปี) นั้นพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเด็กนักเรียนไทยเชื้อสายอื่นๆ ยังคงมีผลการเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ และมักจะยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  การบรรจุภาษาแม่ของเด็กไปในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการจึงเป็นทางออกใหม่  ซึ่งตอบรับกับแนวโน้มที่โรงเรียนหลายแห่งมีเด็กต่างชาติและเด็กชาติพันธุ์หลากหลายเรียนอยู่รวมกันจะเพิ่มจำนวนขึ้น 
  • การเปิดพื้นที่ที่บ้านให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยียนเรียนรู้ก็เป็นอีกทางช่องทางที่กลุ่มชาติพันธุ์นิยม แต่ในความจริง รายได้เพียง 5% เท่านั้นที่ไปถึงมือเจ้าของบ้าน เพราะต้องเสียค่าผ่านให้กับโรงแรมและบริษัทท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยวจึงไม่สามารถยืนด้วยแข้งขาตัวเองได้ แถมวิถีชีวิตของผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ถูกทำให้กลายเป็น ‘สินค้า’ ของการท่องเที่ยว โดยไม่ได้รับการสนับสนุนการผลิตสินค้าเลย เช่น การทอผ้านั้นต้องใช้อุปกรณ์ตามวิธีการดั้งเดิม และบางอย่างอาจอยู่ในเขตป่าสงวน ป่าอุทยาน ไม่สามารถนำมาผลิตผ้าได้

Challenges!

  1. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมควรได้รับการให้ความสำคัญมากกว่านี้ โดยเป็นบทเรียนที่สำคัญในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการเน้นเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้เรียนหลากวัฒนธรรมเรียนอยู่เท่านั้น เพราะในความจริง สังคมคือการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายที่มา และวัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งตายตัวแต่เป็นวิถีชีวิตของคน  โรงเรียนจึงควรที่จะสอนทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม การเปิดใจมองวัฒนธรรมอื่นที่ต่างจากตนเองอย่างไม่ด่วนตัดสิน การพยายามทำความเข้าใจ ยอมรับ เคารพความแตกต่าง และลดอคติ เราทำอย่างไรได้บ้างให้นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ได้รู้จัก เรียนรู้ และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  2. หากภาษาถิ่น องค์ความรู้ที่มักอยู่ในภาษาเขียน และวัฒนธรรมสูญหายไปจะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นบ้าง ทำไมการรักษาวัฒนธรรมหลากหลายถึงมีความสำคัญ แล้วเราจะรักษาวัฒนธรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง
  3. มีผู้มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ทำงานระดับสูง ในระดับที่ได้ตัดสินใจน้อยมาก ทำให้เด็กชาติพันธุ์รุ่นใหม่ไม่มี Role Model ในการเรียนให้จบสูงๆ มากนัก เราสามารถผลักดันให้เกิดภาพจำใหม่ที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างไรบ้าง

Our favorite projects to bridge the gap

Hear & Found เข้าใจกันผ่านดนตรี


ขอบคุณภาพจาก Facebook Page: Hear & Found

เมและรักษ์ทำงานกับชุมชนและบ่อยครั้ง พบว่าดนตรีถิ่นนั้นมีความเฉพาะตัวสูง มีเครื่องเล่นดนตรีและเสียงที่แปลกและเพราะ แต่กลับเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ทั้งจากคนนอกชุมชนและคนในชุมชน อีกทั้งพวกเธอยังพบว่าคนชาติพันธุ์ถูกเข้าใจผิด จากภาพจำผิดๆ และภาพจำเหล่านั้นมีผลกับวิถีชีวิต ความรู้สึก สิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับ ซึ่งส่งผลให้วัฒนธรรมหลากหลายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  

พวกเธอพบว่าดนตรีเป็นสิ่งที่เชื่อมคนเข้าหากันได้ และด้วย background ที่เรียนด้านดนตรีและการสื่อสาร พวกเธอจึงก่อตั้ง Hear & Found เพื่อสร้างพื้นที่ให้คนเข้าใจกันผ่านดนตรี  เริ่มจากการทดลองจัดคอนเสิร์ตให้คนเมืองมาฟังดนตรีและเรื่องเล่าจากศิลปินโดยตรง ลบล้างความเชื่อผิดๆ ที่มีเกี่ยวกับชาติพันธุ์นั้นๆ และยังได้สนับสนุนรายได้ให้กับนักดนตรีด้วย  ปัจจุบัน Hear & Found กำลังทำ Music Library เพื่อเป็นศูนย์รวมดนตรีถิ่นและเสียงธรรมชาติให้คนทั่วโลกได้ฟังและหยิบไปใช้ต่อยอดในงานของตัวเอง โดยที่ให้ค่าลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมแก่เจ้าของดนตรี ซึ่งในกระบวนการเก็บเสียงดนตรีและที่มาที่ไปนั้น พวกเธอก็ได้ช่วยถอดตัวโน้ตให้ดนตรีถิ่นที่มักจะถูกสอนโดยไม่มีโน้ต ได้เทียบกับหลักดนตรีสากล เป็นการเก็บรักษาวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย

โครงการฝึกอบรมล่ามเพื่อให้บริการกับคนชาติพันธุ์ 


ขอบคุณภาพจาก The Cloud

วิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นคนชนเผ่าที่ทำงานกับกลุ่มคนชนเผ่า ทำให้เห็นชนกลุ่มน้อยถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบโดยตลอด รวมถึงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ด้วยปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดกันคนละภาษา หรือความพยายามที่จะการสื่อสารแต่เกิดความผิดพลาด ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เกือบ 5 แสนคน ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล  

โครงการฝึกอบรมล่ามจึงเกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่ชาวเผ่าและคนชายขอบตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกับบุคคลผู้ถือสัญชาติไทย  ปัจจุบันโครงการล่ามชนเผ่าทำงานกับ 4 กลุ่มชนเผ่าใหญ่ๆ ได้แก่ ลีซู ลาหู่ กะเหรี่ยง และไทใหญ่  โดยการอบรมล่ามนั้นมีความเข้มข้นเพราะต้องเรียนรู้คำศัพท์และเสริมความรู้ทางการแพทย์เชิงเทคนิคหรือองค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษด้วย

อ่านเพิ่มเติม

  • UNICEF – โครงการจัดการศึกษาแบบทวิ–พหุภาษา (ภาษาไทย–มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • The Cloud – วิวิธชาติพันธุ์ นิทรรศการบนรถบ้านพร้อมจอหนังที่สัญจรไปส่งความรู้เรื่องคนกลุ่มน้อย

สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ​TK DreamMakers เพื่อทำความเข้าใจประเด็นนี้ในชุมชนและพื้นที่ของตนเอง
ค้นหาไอเดียในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 มีนาคม 2564
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่


การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม คืออะไร

3.2 การยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม หมายถึง การที่ครูยอมรับและปรับเปลี่ยน ความคิดของตนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ประสบ ประกอบด้วย การปรับแนวคิดของตนตามบริบททาง วัฒนธรรมได้ มองเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอื่นๆ และความพร้อมจะรับค่านิยมใหม่ๆที่ไม่ขัดแย้งกับค่านิยมไทย 4. ความสามารถในการสื่อสาร หมายถึง ระดับพฤติกรรมของครูในการ ...

มีวิธีการยอมรับในสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างไร

- สังเกตทัศนคติของตนเองอยู่เสมอพยายามอย่าใช้ทัศนคติแบบเหมารวม รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นในเรื่องการเคารพความแตกต่างหลากหลายในสังคม - ระลึกอยู่เสมอว่าลูกคอยฟังสิ่งที่คุณพูดอยู่เสมอ แม้ว่าคุณไม่ได้พูดกับเขาก็ตาม ระวังถ้อยคำและน้ำเสียงที่คุณใช้พูดถึงคนที่แตกต่าง ไม่ควรล้อเลียนภาพลักษณ์ของคนอื่น

ความตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมหมายถึงอะไร

ความเข้าใจความแตกต่างทาง วัฒนธรรม (Culture Awareness) คือ การตระหนักรู้เข้าใจและยอมรับ ความแตกต่างที่หลากหลาย ทั้งการ เลี้ยงดูจากครอบครัว สังคม และ วัฒนธรรม ท าให้สามารถตอบสนอง ต่อการท างาน และพัฒนาความ สัมพันธ์กับคนในองค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

การยอมรับความแตกต่างคืออะไร

การยอมรับความแตกต่าง (Inclusion) หมายความว่า การให้คุณค่าและการยอมรับต่อความ แตกต่างของบุคคล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita