ยาปรับสารเคมีในสมอง ผลข้างเคียง

ในระยะหลังจะพบเห็นข่าวการฆ่าตัวตายซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงกับ “โรคซึมเศร้า” อย่างต่อเนื่อง ดังในข้อมูลของกรมสุขภาพจิตที่ระบุว่า คนไทยป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคน ขณะที่ ยังมีคนอีกจำนวนมากเข้าใจผิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความรุนแรงกว่าที่คิดหากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Advertisment

เพื่อเข้าใจกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น นพ.อดิศร มนูสาร อายุรแพทย์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน (Serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพกาย มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สารเคมีในสมอง สภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิด การเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ ลักษณะนิสัย โดยเฉพาะคนที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก

ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้น ดังนี้ มีอาการเศร้า หดหู่ หงุดหงิด โกรธง่าย มีอารมณ์รุนแรง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในการทำกิจกรรมที่เคยชอบมาก ๆ นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับมากเกินไป เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ไม่มีพลัง ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มั่นใจในตัวเอง โทษตัวเอง มีความคิดทำร้ายตัวเอง อยากฆ่าตัวตาย หากมีอาการดังกล่าวอยู่เกือบตลอดเวลา เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วัน ถือว่ามี “ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า” ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

Advertisement

ส่วนในด้านการใช้ชีวิต ควรหลีกเลี่ยงการนำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้จิตใจหดหู่ ฝึกคิดบวก ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี สนุกสนาน ทำให้ตนเองรู้สึกมั่นใจและมีคุณค่า ได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่น ๆ มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว

หากมีคนรู้จักหรือคนใกล้ตัวมีอาการของโรคซึมเศร้า นพ.อดิศร แนะนำว่า ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และย้ำเตือนให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ระวังเรื่องการใช้คำพูดที่บั่นทอน ซ้ำเติม หรือดูเหมือนปัญหาของเขาเป็นเรื่องเล็ก เช่น เรื่องแค่นี้เอง คนอื่นยังไม่เห็นเป็นอะไรเลย ให้กำลังใจด้วยคำพูดดี เช่น ฉันอยู่ข้าง ๆ เธอนะ เธอยังมีฉันอยู่นะ พูดคุยแบบรับฟังโดยไม่ตัดสิน แต่แสดงออกผ่านการกระทำ เช่น กอด จับมือ เป็นต้น

Advertisement

“จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่ความอ่อนแอทางด้านจิตใจของผู้ป่วยแต่อย่างใด และไม่ใช่โรคประหลาด โรคนี้เป็นได้ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องกลัวที่จะเข้ารับการรักษา เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่อาการก็จะยิ่งดีขึ้นเร็วเท่านั้น” อายุรแพทย์กล่าวทิ้งท้าย

งานวิจัยที่บอกว่าภาวะซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากการที่เซโรโทนิน หรือ "ฮอร์โมนความสุข" มีระดับต่ำ กลายเป็นหนึ่งในงานวิจัยทางการแพทย์ที่ถูกแชร์มากที่สุดในโลก

สิ่งนี้นำไปสู่ข้อกล่าวอ้างผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเศร้า (antidepressants) ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยการเข้าไปเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองของผู้ป่วย

งานวิจัยที่เป็นประเด็นดังกล่าวไม่ได้บอกว่ายาต้านเศร้าเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพ ทว่าผลตอบรับต่องานวิจัยดังกล่าวนำไปสู่คำถามสำคัญว่าผู้คนรักษาและมองถึงอาการป่วยทางจิตอย่างไร

คำบรรยายภาพ,

ซาราห์และแม่ของเธอที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1

หลังจากที่ซาราห์ต้องเผชิญหน้ากับภาวะทางจิตเวชชั่วคราว (psychiatric episode) ครั้งใหญ่เมื่อตอนที่เธออายุได้ 20 ปี ทีมแพทย์ผู้ดูแลอากาาอธิบายกับเธอว่ายาที่พวกเขาสั่งจ่ายนั้นคล้ายกับ "ฮอร์โมนอินซูลินที่ใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน" ยาเหล่านี้มีความสำคัญ พวกมันจะเข้าไปจัดการให้สารเคมีในสมองของเธอกลับมาเป็นปกติ และเธอจะต้องทานยาเหล่านี้ไปตลอดชีวิต

แม่ของซาราห์ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 [ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ] ดังนั้นเธอจึงจริงจังกับการทานยาอย่างมาก

ซาราห์ทานยาต่อไปแม้มันจะดูราวกับว่าอาการของเธอแย่ลง สุดท้ายเธอได้ยินเสียงในสมองสั่งให้ฆ่าตัวตาย และเธอเริ่มหันไปรักษาด้วยการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองเพื่อให้เกิดอาการชัก (electroconvulsive therapy) หรืออีซีที

คำกล่าวอ้างว่าเธอต้องการยาต้านเศร้าเช่นเดียวกับที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการอินซูลินไม่ตั้งอยู่บนหลักฐานทางการแพทย์ใด ๆ ทั้งสิ้น

"ฉันรู้สึกถูกทรยศจากคนที่ฉันเชื่อใจ" ซาราห์กล่าว

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาต้านเศร้าของเธอรุนแรงมาก ทว่าข้อความว่า "ความไม่สมดุลของสารเคมี" ที่เธอได้รับมานั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร

จิตแพทย์จำนวนมากรู้มาเป็นเวลานานแล้วว่าฮอร์โมนเซโรโทนินในระดับต่ำไม่ใช่สามารถเหตุหลักของภาวะซึมเศร้า และงานวิจัยชิ้นนี้ก็ไม่ได้พูดถึงการค้นพบอะไรใหม่ ๆ

ท่วาการตอบสนองอย่างท่วมท้นจากสาธารณะทำให้มองได้ว่านี่เป็นข่าวใหม่สำหรับอีกหลายคน

ทว่าคนบางส่วนกลับไปด่วนสรุปโดยไม่ดูข้อเท็จจริง โดยเปลี่ยนจากยาต้านเศร้าไม่ได้ทำงานด้วยการเข้าไปปรับระดับสารเคมีที่ไม่สมดุลให้กลายเป็นยาต้านเศร้าไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง

และบรรดาแพทย์เกรงว่าประชาชนผู้ตกอยู่ในความสับสนของข้อมูลนั้นจะเลือกหยุดยาอย่างกระทันหันและมีความเสี่ยงสูงจากฤทธิ์ที่เกิดจากการหยุดยา

สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ (NICE - ไนซ์) ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่าผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเหล่านี้อย่างกะทันหัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์เท่านั้น และการค่อย ๆ ลดโดสยาลงจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงความเสี่ยงจากการหยุดยาได้มากขึ้น

คำบรรยายภาพ,

ซาราห์สื่อสารและการขยับร่างกายได้ยากขึ้นหลังเข้ารับการรักษาด้วยอีซีที

งานวิจัยชั้นนี้บอกอะไรกันแน่

ชิ้นล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อ 20 ก.ค.2022 ที่ผ่านมานี้นั้น เข้าไปศึกษา 17 งานวิจัย และพบว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้าไม่ได้มีระดับฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองแตกต่างจากคนปกติ

การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถตัดตัวเลือกจากคำถามว่ายาต้านเศร้าทำงานอย่างไรออกได้ หลายคนเคยเชื่อว่ายาต้านเศร้าทำงานด้วยการเข้าไปปรับระดับฮอร์โมนในสมอง

"พวกเรารู้ว่าพาราเซตามอลสามารถลดอาการปวดศรีษะได้ และผมไม่คิดว่าจะมีใครที่เชื่อว่าอาการปวดศรีษะเกิดขึ้นจากระดับพาราเซตามอลในสมองที่ไม่เพียงพอ" ดร.ไมเคิล บลูมฟีลด์ ชี้

สรุปแล้วยาต้านเศร้ามีประสิทธิภาพไหม

งานวิจัยชี้ว่ายาต้านเศร้ามีประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอก [ยาปลอมที่นักวิจัยบอกกับผู้ร่วมทดลองว่าเป็นยาจริง] ไม่มาก มีการโต้เถียงมากมายในแวดวงนักวิจัยว่าความแตกต่างระหว่างยาจริงกับยาหลอกมีมากแค่ไหนกันแน่

ขณะเดียวกันกลุ่มกลาง ๆ คือผู้ที่รู้สึกอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังการทานยาต้านเศร้า ปัญหาคือทีมแพทย์ยังหาหนทางดี ๆ ในการตรวจสอบว่าพวกเขาเป็นใครไม่ได้เมื่อมีการสั่งจ่ายยา

ศ.ลินดา แก็สค์ จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ยาต้านเศร้า คือ "บางสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็ว" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต

ทว่าหนึ่งในผู้เขียนงานศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับฮอร์โมนเซโรโทนินชิ้นที่สร้างให้เกิดข้อถกเถียงอย่างหนักอย่าง ศ.โจแอนนา มอนครีฟฟ์ ชี้ว่างานวิจัยส่วนมากที่มีบริษัทยาเป็นผู้สนับสนุนทุนมักเป็นการวิจัยระยะสั้น จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ใช้ยาต้านเศร้าอาการเป็นอย่างไรหลังกินยาไปแล้ว 2-3 เดือน

คำบรรยายภาพ,

แพทย์ในสหราชอาณาจักรได้รับคำแนะนำให้รักษาผู้ป่วยผ่านการออกกำลังกาย การฝึกจิต การทำสมาธิ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้มีอาการรุนแรงมากนัก ก่อนที่จะมีการสั่งจ่ายยา

"คุณต้องบอกว่าเราจะเดินหน้าทบทวนมันต่อไปและเราจะไม่ให้คุณใช้ยาพวกนี้นานกว่าที่คุณต้องการพวกมัน" ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ศ.แก๊สค์ เห็นด้วย

แม้การไม่เข้ารับการรักษาอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยง ทว่าผู้ป่วยบางคนเผชิญหน้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรงต่อยาต้านเศร้าเช่นกัน ซึ่งเหล่าผู้เขียนงานวิจัยเกี่ยวกับเซโรโทนินออกมาชี้ว่าจำเป็นต้องมีการพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น

ตามข้อมูลจากไนซ์ ผลข้างเคียงของยาต้านเศร้าอาจรวมถึงความคิดและความพยายามฆ่าตัวตาย, ความผิดปกติทางเพศ, การมีอารมณ์เฉยชา (emotional numbing) และอาการนอนไม่หลับ

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา แพทย์ในสหราชอาณาจักรได้รับคำแนะนำให้รักษาผู้ป่วยผ่านการออกกำลังกาย การฝึกจิต การทำสมาธิ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้มีอาการรุนแรงมากนัก ก่อนที่จะมีการสั่งจ่ายยา

ผู้คนพูดถึงงานวิจัยชิ้นนี้อย่างไร

หนึ่งในคำกล่าวอ้างผิด ๆ ที่ผู้คนชี้ว่าสรุปมาจากงานวิจัยคือการสั่งจ่ายยาต้านเศร้า "อ้างอิงมาจากเรื่องปลอม"

ทว่างานศึกษาดังกล่าวไม่ได้ศึกษาการใช้ยาต้านเศร้าเลยด้วยซ้ำ

ฮอร์โมนเซโรโทนินมีบทบาทกับอารมณ์ของเรา ดังนั้นการปรับแต่งระดับของมันสามารถทำให้ผู้คนรู้สึกมีความสุขขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในเวลาสั้น แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีระดับฮอร์โมนดังกล่าวที่ต่ำกว่าปกติมากก็ตาม มันยังอาจช่วยให้สมองสร้างการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทใหม่ ๆ ได้ด้วย

ขณะที่คนอีกกลุ่มอ้างว่างานวิจัยดังกล่าวเผยให้เห็นว่าแท้จริงแล้วภาวะซึมเศ้ราไม่ใช่อาการป่วยที่เกิดจากสมองของคน แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองจากสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่

"แน่นอนว่ามันคือทั้งคู่" ดร.มาร์ค โฮโรวิตซ์ หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยดังกล่าวชี้

"พันธุกรรมของคุณส่งผลต่อความอ่อนไหวต่อระดับความเครียด" เขายกตัวอย่าง

ทว่าการได้รับ "คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ คำแนะนำทางการเงิน หรือการเปลี่ยนงาน" อาจดีกกว่าการทานยาสำหรับผู้คนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก

ทว่าโซอีผู้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประสบการณ์ทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะวิกลจริต (psychosis) กล่าวว่า การเปลี่ยนการเรียกชื่อภาวะซึมเศร้าเป็น "ทุกข์" (distress) ที่จะหายไปเมื่อเรา "แก้ไขปัญหาสังคมจนหมดไป" เป็นการตีความที่ง่ายเกินไป ทั้งยังมองข้ามผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการรุนแรงกว่า

ครอบครัวของโซอีมีประวัติเป็นโรควิกลจริตทว่าอาการของโรคจะถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่มีความตรึงเครียดอาทิ ช่วงสอบ

โซอีได้ "คำนวณ" แล้วว่าผลกระทบของยาต้ายเศร้า "คุ้มค่า" พอที่จะใช้หลีกเลี่ยงภาวะวิกลจริตรุนแรง

นั่นคือหนึ่งสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญั้งหมดที่คุยกับบีบีซี นิวส์ เห็นตรงกัน คือผู้ป่วยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่มาเพียงพอ และได้รับการอธิบายที่ดีกว่านี้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถคำนวณเรื่องยาก ๆ ให้กับตัวเองได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita