ตัวละครในวรรณคดีไทย นางเงือก

บทบาทของนางผีเสื้อสมุทร และนางเงือกในเรื่อง พระอภัยมณี รามเกียรติ์ และ The Little Mermaid

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

บทบาทของนางผีเสื้อสมุทร และนางเงือกในเรื่อง พระอภัยมณี รามเกียรติ์ และ The Little Mermaid
 



ตัวละครผีเสื้อสมุทรและนางเงือก เป็นตัวละครที่โดดเด่นในวรรณคดีซึ่งผู้อ่านจดจำได้เป็นอย่างดี ในภาพของนางยักษ์ และหญิงสาวที่มีหางเป็นปลา โดยนางผีเสื้อสมุทรและนางเงือกปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง แต่ที่โดดเด่นคงหนีไม่พ้น เรื่อง พระอภัยมณี และรามเกียรติ์


(ภาพจาก topicstock.pantip.com)

ผีเสื้อสมุทร ในความหมายที่ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติไว้คือ ยักษ์พวกหนึ่ง เชื่อกันว่าสิงอยู่ในทะเล (dictionary.sanook.com) นางผีเสื้อสมุทรในวรรณคดีไทยตนแรกที่หลายคนจดจำได้อย่างขึ้นใจ คือนางผีเสื้อสมุทร ในเรื่อง พระอภัยมณี เกิดจากก้อนหินในมหาสมุทร โดยนางอสูรตนหนึ่งได้พรวิเศษ ถอดดวงใจฝากไว้กับก้อนหินนั้น แล้วขึ้นไปรบกับพระเพลิง ถูกไฟกรดไหม้หมดทั้งกาย แต่ดวงใจและอายุยังไม่หมด ก้อนหินนั้นได้ไอน้ำและ ไอดินก็งอกออกเป็นแขนขาอย่างแข็งแรง นับหมื่นปีก็มีชีวิตขึ้นมาเป็นผีเสื้อสมุทร เป็นใหญ่ในหมู่ภูตผี (sites.google.com/site/phaphatsorn11/nang-phiseux-smuthr)


(ภาพจาก phra-apai-mani2.blogspot.com)

นางผีเสื้อสมุทร มีบทบาทในเรื่องพระอภัยมณี ทั้งหมด 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 2 นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี ,ตอนที่ 14 พระอภัยมณีเรือแตก และตอนที่ 72 สุดสาคร สินสมุทรรบกับพระมังคลา โดยในตอนที่ 2 และ 14 เป็นตอนที่ผู้อ่านส่วนใหญ่ทราบเนื้อหากันดีอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่ทราบว่านางผีเสื้อสมุทรกลับมาปรากฏอีกครั้งในตอนที่ 72 ขณะที่มังคลา และวายุพัฒน์ ออกรบกับ สินสมุทร และหัสไชย ซึ่งตอนที่สินสมุทรไล่ตามวายุพัฒน์อยู่นั้น วิญญาณของนางผีเสื้อสมุทรก็ปรากฏขึ้นขวางทางเอาไว้ (vajirayana.org)


(ภาพจาก topicstock.pantip.com)

อีกทั้งในเรื่องรามเกียรติ์ ยังมีตัวละคร ผีเสื้อสมุทร เช่นเดียวกัน ในตอนที่หนุมานเดินทางไปหานางสีดาที่กรุงลงกา เพื่อถวายแหวนของพระรามให้กับนางสีดา ก็ได้พบนางผีเสื้อสมุทรและเกิดการต่อสู้กันขึ้น


(ภาพนางสุรสา จาก topicstock.pantip.com)

รามเกียรติ์ ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งตัวละครผีเสื้อสมุทรก็ได้ดัดแปลงมาจากตัวละครในรามายณะเช่นเดียวกัน คือนางสุรสา มารดาแห่งนาคทั้งหลาย ได้จำแลงตัวเป็นยักขินีขนาดมโหฬารขวางทางหนุมานไว้ พร้อมร้องท้าให้หนุมานเข้าปาก เมื่อหนุมานเข้าไปในปากของนางและกลับออกมาโดยที่ไม่รู้ตัว นางสุรสากล่าวชมเชยความฉลาดของหนุมาน แล้วอนุญาตทางให้ไป ต่อจากนี้ไปหนุมานจึงไปพบนางผีเสื้อชื่อสิงหิกา ผู้มีฤทธิ์ยึดเงาใครได้แล้วก็ยึดตัวได้ นางยึดเงาหนุมานไว้ได้ หนุมานจึ่งเข้าปากนางแล้วเข้าไปแหวกท้องออกมาได้ (my.dek-d.com/zennee/writer/viewlongc.php?id=1279933&chapter=182) ซึ่งบทบาทของนางสุรสากับนางสิงหิกา ในรามายณะ มีความคล้ายคลึงกับบทบาทของนางผีเสื้อสมุทรในรามเกียรติ์


(ภาพจาก Disney)

นางผีเสื้อสมุทร ถูกนำไปตั้งเป็นฉายาให้กับตัวละครในภาพยนตร์ต่างประเทศ เรื่อง The Little Mermaid ของวอลต์ ดิสนีย์ นั่นคือ เออร์ซูลา ที่ได้รับการตั้งฉายาให้ว่าเป็นผีเสื้อสมุทรเดนมาร์ก เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมของเดนมาร์กที่แต่งโดย ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน แม้ว่าเออร์ซูลาจะไม่ได้มีคุณสมบัติตรงตามคำนิยามของผีเสื้อสมุทรที่ราชบัณฑิตสภาบัญญัติไว้ก็ตาม


(ภาพจาก monsterbrains.blogspot.com)

ตัวละครเออร์ซูลา ถูกดัดแปลงมาจากตัวละครแม่มดทะเล ในวรรณกรรมต้นฉบับ โดยแม่มดทะเลในนิทานต้นฉบับนั้น อาจไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับที่วอลต์ดิสนีย์ได้รังสรรค์ให้ผู้ชมได้เห็นจนชินตา แต่ในภาพวาดจากนิทานเรื่องนี้ได้วาดแม่มดทะเลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหญิงที่มีลักษณะเหมือนเงือกทั่วไป หญิงที่มีลักษณะเหมือนคนธรรมดา หรือหญิงที่มีท่อนล่างเป็นหนวดปลาหมึกลักษณะคล้ายเออร์ซูลา


(ภาพจาก Disney)

ก่อนที่วอลต์ดิสนีย์จะได้ภาพของเออร์ซูลาที่ผู้ชมได้เห็นกันอย่างแพร่หลายนี้ ก็ได้ออกแบบเออร์ซูลาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างที่เห็นใน concept art เก่า ๆ ที่หลากหลายของดิสนีย์นั่นเอง


(ภาพจาก gangbeauty.com)
 

อีกตัวละครหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ และมีความน่าสนใจคือนางเงือก ซึ่งเงือกในวรรณคดีและวรรณกรรมมีหลากหลายความหมาย ไม่ว่าจะเป็นใน ลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่เงือกหมายถึงงู, พงศาวดารล้านช้าง ที่เงือกหมายถึงจระเข้ ฯลฯ แต่เงือกเป็นหญิงสาว มีหางเป็นปลานั้น ปรากฏในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี, รามเกียรติ์ รวมถึงปรากฏเป็นภาพวาดในสมุดภาพไตรภูมิ


(ภาพจาก baanmaha.com)

นางเงือกในเรื่องพระอภัยมณีถูกสันนิษฐานว่า มีเงือกอยู่ 2 ประเภทในเรื่องนี้ คือเงือกที่ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลาอย่างที่หลายคนคุ้นชินกัน ส่วนอีกประเภทคือเงือกที่มีลักษณะเหมือนคน มีขาปกติ เพียงแต่มีหางปลาอยู่ด้านหลังเท่านั้น เนื่องจากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีมีการกล่าวถึงเงือกหลายครั้ง หลายจำพวก ทั้งตอนที่ศรีสุวรรณและสามพราหมณ์ขึ้นเรือออกตามหาพระอภัยมณีแล้วได้พบเงือกว่ายน้ำระหว่างทาง, ครอบครัวเงือกที่พาพระอภัยมณีกับสมุทรหนีจากนางผีเสื้อสมุทร รวมถึงการกล่าวถึงบรรพบุรุษของครอบครัวเงือกที่ญาติฝ่ายพ่อเป็นมนุษย์ และญาติฝ่ายแม่เป็นเงือก


(ภาพจาก genonline.co/2018/06/25/the-sunthorn-phu-code/)

ซึ่งนางเงือกมารดาสุดสาครนั้น ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นเงือกประเภทที่มีขาเหมือนมนุษย์เพียงแต่มีหางปลาอยู่ด้านหลังเท่านั้น และในตอนสุดท้ายของเรื่องพระอภัยมณี นางเงือกก็ได้รับการตัดหางจากพระอินทร์แล้วอัตภาพเป็นมนุษย์ ถูกสถาปนาให้เป็นพระนางจันทวดีพันปีหลวง


(ภาพจาก topicstock.pantip.com)

ส่วนนางเงือกในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นหญิงสาวครึ่งยักษ์ครึ่งปลา คือนางสุพรรณมัจฉา บุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางปลา โดยนางสุพรรณมัจฉาเป็นผู้บัญชาฝูงสัตว์ทะเลให้ขัดขวางการจองถนนไปกรุงลงกาของพระราม แต่ไม่สำเร็จ และนางก็ได้เป็นเมียของหนุมาน มีบุตรชื่อมัจฉานุ และนางสุพรรณมัจฉาก็เป็นอีกตัวละครเงือกหนึ่งที่ได้รับการวิเคราะห์เป็นเงือกประเภทมีขาเหมือนคน แต่มีหางปลางอกออกมา


(ภาพซ้าย มกร จาก deviantart.com/wendigomoon

ภาพขวา มกรธวัช จาก วิกิพีเดีย)


นางสุพรรณมัจฉา ในรามเกียรติ์ เป็นตัวละครที่ได้รับอิทธิพลมาจากรามายณะเช่นกัน โดยในรามายณะนั้นไม่ใช่นางเงือก แต่เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งคือ มกร มีบทบาทคือตอนที่หนุมานเหาะข้ามมหาสมุทรได้ทำเหงื่อหยดลงไป แล้วนางมกรได้เผลอกลืนเข้าไป จึงตั้งครรภ์มีบุตรชื่อ มกรธวัช 


(ภาพบน จาก deviantart.com/ironshod

ภาพล่างจาก audubon.org)


ส่วนเงือกในลิลิตพระลอ เป็นผีน้ำชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายเงือก คือมีลักษณะแบบคนครึ่งปลา ผมยาว หน้าตาน่ากลัว ซึ่งทำให้นึกถึงไซเรน ปีศาจในตำนานเทพปกรณัมกรีก ที่มีลักษณะเป็นสาวงาม ท่อนล่างเป็นหางปลา มีเสียงไพเราะ เพื่อหลอกล่อให้ชาวเรือหลงใหลแล้วถูกจับไปฆ่า แต่ไซเรนในบางตำนานก็ยังมีอีกลักษณะหนึ่งที่เป็นหญิงสาวครึ่งนก คล้ายกับกินรี กินนร ของไทย เพียงแต่แฝงไปด้วยอันตราย


(ภาพจาก Disney)

หากกล่าวถึงนางเงือกตะวันตกก็หนีไม่พ้น แอเรียล จากภาพยนตร์ The Little Mermaid ที่ได้สร้างเป็นแอนิเมชันขนาดยาวถึง 3 ภาค รวมถึงกำลังจะมีภาพยนตร์ฉบับคนแสดงในเร็ว ๆ นี้ แต่ในวรรณกรรมเดนมาร์กต้นฉบับที่แต่งโดย ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน ไม่ได้จบอย่างมีความสุขเหมือนในภาพยนตร์ เพราะในตอนสุดท้าย นางเงือกจำเป็นต้องฆ่าเจ้าชายเพื่อรักษาชีวิตของตนเอง แต่นางทำไม่ลง จึงกระโดดลงทะเลแล้วหายกลายเป็นฟองคลื่น ทั้งนี้ยังมีตำนานเงือกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น กัมพูชา เยอรมนี สกอตแลนด์ ฯลฯ


(ภาพซ้าย ผีเสื้อสมุทร , ภาพขวา สุพรรณมัจฉา จาก dek-d.com)


นางเงือกและนางยักษ์ในวรรณกรรม เป็นตัวละครที่แปลกจากตัวละครที่เป็นคนทั่วไป ทำให้เกิดความน่าสนใจ รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากตัวละครเหล่านั้นไปต่อยอดในการศึกษาวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ

Credit เนื้อหากระทู้จาก : //pantip.com/topic/39072462 

  • #พระอภัยมณี
  • #รามเกียรติ์
  • #the little mermaid
  • #disney
  • #วรรณคดี

เจ้าชายป๊อกเด้ง 21 ก.ค. 62 เวลา 00:57 น.

0

like

5,361

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita