ใบงานประวัติศาสตร์ ม.4 พร้อมเฉลย

Category Archives: :: เฉลยใบงานประวัติศาสตร์ ม.6 ::

06/08/2012 · 2:22 pm

:: ประว้ติศาสตร์หน้า 8 ::

  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แก่
    • ชักชวนให้ประชาชนเปลียนแปลงการแต่งกาย โดยหันมาสวมกางเกงและสวมเสื้อนอกผูกเนคไทตามแบบตะวันตก
    • ประกาศยกเลิกพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
    • ยกย่องสติว่ามีความสามารถและมีฐานะเท่าเทียมบุรุษ
    • การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อวางระเบียบประเพณีวัฒนธรรม
  • จงยกตัวอย่างวัฒนธรรมไทย สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้แก่
    • ลัทธิทหารนิยม ตั้งกรมยุวชนทหาร
    • แนวคิดการสร้างชาติ
    • รัฐนิยม
  • รัฐนิยมซึ่งมีส่วนสร้างความทันสมัยในสังคมไทย ได้แก่
    • เปลี่ยนชื่อสยามเป้นไทย
    • เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เมษา เป็น 1 มกรา
    • เปลี่ยนเนื้อร้อง และทำนองเพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมีให้เข้ากับชื่อใหม่ของประเทศ
    • กำหนดวันชาติขึ้นใหม่เป็น 24 มิถุนายน
    • ปรับปรุงวิถีชีวิตของคนในสังคม เช่น กำหนดให้ประชาชนเคารพธงชาติ เลิกกินหมาก พลู ใช้ช้อนส้อมแทนรับประทานด้วยมือ
    • การใช้ภาษาเขียน และภาษาพูด รัฐบาลสั่งงดใช้สระ 5 ตัว พยัญชนะ 13 ตัว
    • บังคับให้ใช้คำสรรพนามให้ถูกต้อง เช่น ฉันสำหรับ บุรุษที่ 1 ท่านสำหรับบุรุษที่ 2 และยกเลิกใช้ภาษาต่างประเทศทั้งหมด
    • การล้มเลิกการพระราชทานราชทินนามเป้น ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา ยกเลิกราชทินนามกลายเป็นนายกันหมด
  • ปัญหาสังคมไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่  ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยภายใน ได้แก่ ปัญหาโจรผ้ร้าย การทุจริต ฉ้อราษฏร์บังหลวง
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีขึ้นในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  • การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือ
    • การขยายตัวด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
    • เกิดภาวะความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
    • การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
    • การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก

06/08/2012 · 2:21 pm

:: ประวัติศาสตร์หน้า 7 ::

  • ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยดังนี้
    • การใช้ พ.ร.บ.ประถมศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔ เมื่อคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วิทยาการและวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่เมืองไทยทั้งทางตรง และผ่านทางการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น
    • มีการใช้นามสกุล
    • แนวความคิดเรื่องการมีภรรยาเดียว
    • จัดตั้งกองลูกเสือ
    • เลิกบ่อนเบี้ย เลิกหวย ก ข ค
    • ให้สตรีไว้ผมยาว
    • สวมเสื้อแบบตะวันตก พร้อมผ้าซิ่น ผ้าถุงหรือกระโปรงและรองเท้า

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

  • ผลกระทบของการปฏิวัติ พ.ศ.2475 ต่อสังคมไทย มีดังนี้
    • มีการขยายการศึกษาอย่างกว้างขวางโดยเสมอภาค ไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติและศาสนาตามกำลังภูมิปัญญาและทุนทรัพย์
    • ระบบชนชั้นในสังคมไทยถูกยกเลิกไป รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่าบุคคลมีความเสมอภาคกันตามกฏหมาย
    • ในด้านวัฒนธรรม มีการนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทย โดยเฉพาะการแต่งกาย การรับประทานอาหาร การดำรงชีวิตที่มีการนำเทคโนโลยีแบบตะวันตกเข้ามาใช้
  • หลัก 6 ประการของคณะราษฏรได้แก่
    • เอกราช
    • ความสงบภายใน
    • การบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฏร หรือหลักเศรษฐกิจ
    • สิทธิเสมอภาค
    • เสรีภาพ
    • การศึกษา
  • การศึกษาเป็นนโยบายสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่
    • การขยายการศึกษา
    • ความเสมอภาคในสังคม
  • การขยายการศึกษา ประกอบด้วย
    • ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติในปี พ.ศ.2475 เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
    • ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา 2478 ทำให้ทุกตำบลมีโรงเรียนและถือเป็นการศึกษาภาคบังคับ
    • ในปี พ.ศ. 2486 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยชึ้นอีก 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศีลปากร

06/08/2012 · 2:20 pm

  • จงสรุปขั้นตอนของการเลิกทาส ตามลำดับ
    1. ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ. 2417 มีผลให้ลูกทาสในเรือนเบี้ยและลูกไทย ส่วนหนึ่งสามารถหาเงินมาไถ่ตนได้ และพระราชบัญญัตินี้ยังบังคับให้ลูกทาสลูกไทยที่เกิดในปี พ.ศ. 2411 ปีที่รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ เป็นอิสระในปี พ.ศ.2432 คือ เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์
    2. ในปี พ.ศ.2420 รัชกาลที่ 5 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ทาส 44 คน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ขุนนางในการเลิกทาส
    3. รัชกาลที่ 5 ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะทาส ซึ่งมีผลให้เลิกทาสในมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ
    4. รัชกาลที่ 5 ทรงออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ. 124 อันเป็นการบังคับให้เลิกทาสหมดทั้งประเทศ
  • ผลกระทบของการเลิกทาสต่อสังคมไทย ได้แก่
    1. การเลิกทาสทำให้เกิดแรงงานอิสระ ไพร่กลายเป็นพลเมืองเสรีที่มีอิสระในการดำเนินชีวิตและอาชีพ
    2. เป็นผลดีต่อการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินในรูปกระทราวง ทบวงและกรม
    3. ทำให้ราษฏรหันมาจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้พระองค์มีพระราชอำนาจมากขึ้น
    4. การเลิกระบบไพร่แล้วเปลี่ยนราษฏรมาเป็นทหารอย่างแท้จริง ทำให้เกิดกองทัพแผ่นใหม่
    5. การเลิกระบบไพร่และทาสทำให้รัชกาลที่ 5 สามารถลดอิทธิพล และอำนาจของขุนนางลงได้
    • ปัจจัยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่
      1. การเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของมิชชันนารี
      2. การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ทำให้ทรงพบเห็นความเจริญก้าวหน้าของต่างชาติ และเห็ความสำคัญของการจัดการศึกษา
      3. ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสมัยใหม่
      • จุดประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่
        1. เพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการเป็นสำคัญ
        2. การจัดการศึกษาในสมัยนี้ ช่วยสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
        3. เปิดโอกาสให้คนสามัญเข้ารับราชการได้
        4. สามัญชนมีโอกาสเลื่อนฐานะในสังคมของตนได้
      • การปฏิรูปการยุติธรรมและกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่
        1. ตั้งกระทรวงยุติธรรม
        2. ตราพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
        3. การชำระกฏหมาย

      06/08/2012 · 2:17 pm

      :: ประวัติศาสตร์หน้า 5 ::

      การปฏิรูปสังคมสมัยรัชกาลที่ 5

      • สาเหตุสำคัญของการปฏิรูปสังคมสมัยรัชกาลที่ 5 คือ
        1. สภาพสังคมไทยยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกฏระเบียบของสังคมเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมไท เช่น ระบบการคุมกำลังคน ระบบกฏหมาย ระบบการศึกษา
        2. เพื่อให้รอดพ้นจากภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก
        3. เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ราชบัลลังก์ เอกภาพและเอกราชของชาติ
        4. เพื่อลดทอนอิทธิพลอำนาจของขุนนาง
      • การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ การเลิกไพร่ และการเลิกทาส
      • สาเหตุสำคัญของการเลิกไพร่สมัยรัชกาลที่ 5 คืออะไร
        1. ระบบการควบคุมไพร่ที่มีมาแต่เดิมไร้ประสิทธิภาพ  พระมหากษัตริย์ไม่สามารถควบคุมคนได้ ขณะทีมูลนายอื่นได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากไพร่ และใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง
        2. ไพร่บางพวกได้รับการกดขี่จากมูลนาย หนีเข้าป่า
        3. การเกิดวิกฤติการณ์วังหน้า พ.ศ. 2417 เป็นเหตุการณ์แสดงให้เห็นว่า ไพร่พลที่ถูกผึกหัดตามแบบทหารตะวันตก สามารถสร้างความไม่มั่นคงให้แก่ราชบัลลังก์ได้
        4. การทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ทำให้เกิดการขยายตัวทาการค้า โดยเฉพาะข้าว ทำให้ความต้องการแรงงานสูงขึ้น
        5. การคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยม มองว่า ไพร่ การเกณฑ์แรงงาน การสักเลกเป็นเรื่องเลวร้าย
        6. ความจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานเกณฑ์ไพร่ลดความต้องการลง เพราะคนจีน มีค่าแรงถูกและมีประสิทธิภาพกว่าไพร่
        7. เพื่อลดทอนอิทธิพลอำนาจมูลนาย / ขุนนาง ให้กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์
      • ขั้นตอนการเลิกไพร่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่
        1. การแก้ไขปรับปรุงระเบียบบริหารในกรมพระสุรัสวดี ปิดทางไม่ให้มูลนายทุจริตหาประโยชน์จากไพร่
        2. การฟื่นฟูกรมทหารหน้า ซึ่งพระมหากษัตริย์ควบคุมโดยตรง
        3. การควบคุมคนให้ขึ้นสังกัด ตามท้องที่การทำสำมะโนครัว โดยมีข้าราชการท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล และเป็นการยกเลิกการควบตุมไพร่ผ่านมูลนาย
        4. พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์จ้าง พ.ศ. 2443 กำหนดว่า การเกณฑ์แรงงานถ้าไม่ใช่เพื่อป้องกันราชอาณาจักร ต้องให้ค่าจ้างแก่ผู้ถูกเกณฑ์
        5. พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ. 2448 กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนอายุ 18-60 ปีต้องเป็นทหาร กฏหมายฉบับนี้เป็นขั้นตอนสุดทด้ายของการยกเลิกการควบคุมไพร่แบบเดิม
      • สาเหตุสำคัญของการเลิกทาส คือ
        1. การเสด็จประพาสต่างประเทศทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นความเจริญด้านการปกครองและสถานภาพของประชาชนประเทศ อื่นๆ การที่ไทยมีทาสทำให้ถูกดูถูกว่าป่าเถื่อนล้าหลัง
        2. ปัญหาเกี่ยวกับทาส เช่น การกดขี่ข่มเหง การพิพาทระหว่างนายเงินและทาส

      06/08/2012 · 2:02 pm

      :: ประวัติศาสตร์ หน้า 4 ::

      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6

      • ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยยุคใหม่ ได้แก่ ระบบสังคมเดิมมีจุดอ่อน 
      • ระบบสังคมเดิมมีจุดอ่อนอย่างไร และเพราะสาเหตุใด    ระบบการควบคุมกำลังคนในระบบไพร่เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพเพราะ
        1. สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังคนมากเหมือนในอดีต
        2. กลไกของรัฐบาลในการควบคุมไพร่เสื่อมลง ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกแก่มูลนาย 
        3. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จากพึ่งตนเองมาเป็นการค้า  ข้าวเป็นสินค้าออกสำคัญ ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มการผลิต
      • ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือ อิทธิพลตะวันตก
      • อิทธิพลตะวันตกที่สำคัญที่แพร่เข้าสู่ประเทศไทยมี 3 ประการ คือ
        1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
        2. การปกครองระบบประชาธิปไตย
        3. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าเมืองขึ้น

      การปรับตัวของสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 4

      • รัชกาลที่ 4 ถือเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างระบบเก่าและระบบใหม่ ได้มีการปรับตัวทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่
        1. ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฏรเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
        2. ออกหมายประกาศรับฏีกาจากราษฏรเดือนละ 4 ครั้ง
        3. ให้สิทธิผู้หญิงในด้านต่างๆ เช่น การสมรส การศึกษา
        4. ประกาศให้ราษฏรทำงานกับฝรั่งได้ เป็นการเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทย
        5. สถาบันหนังสือพิมพ์เริ่มมีบทบาท ในสมัย รัชกาลที่ 4 มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับได้แก่ บางกอกรีคอร์เดอร์ บางกอกคาเลนดาร์ สยามไทม์สวีคลี ซึ่งล้วนเป็นของมิชชันนารี

      06/08/2012 · 1:48 pm

      :: ประวัติศาสตร์ หน้า 3 ::

      ความสัมพันธ์ของชนชั้นต่างๆ ในสังคม

      • ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างชนชั้นในอดีตเป็นไปโดยผ่านการควบคุมในระบบ  มูลนาย ไพร่ และเป็นความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
      • ลักษณะของการควบคุมภายใต้ระบบมูลนายไพร่ของสังคมไทยเป็นอย่างไร ไพร่ต้องจงรักภักดีต่อมูลนาย และมูลนายต้องให้ความคุ้มครองไพร่ การควบคุมภายใต้ระบบมูลนายไพร่  จึงแบ่งคนในสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ มูลนาย และไพร่
      • ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์มีลักษณะ  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่ใช่ญาติ และผู้หนึ่งอยู่ในฐานะเหนือกว่าาอีกผู้หนึ่ง โดยเฉพาะระบบมูลนาย กับไพร่ หรือที่เรียกว่า ผู้อุปถัมภ์กับผู้ใต้อุปถัมภ์
      • ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ต่อสังคมไทย ได้แก่
      1. ทำให้สังคมไทยเป็สังคมที่เน้นเรื่องความแตกต่างในฐานะของคนในสังคมเป็นสำคัญ
      2. ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดตัวบุคคลเป็นสำคัญมากกว่ากฏเกณฑ์หรือระเบียบใดๆ 
      3. ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่เน้นการพึ่งพาผู้อื่นเป็นสำคัญ
      4. ระบบอุปถัมภ์นำไปสู่การเกิดระบบเส้นสายในสมัยต่อมา
      • จงอธิบายการเลื่อนฐานะของคนในสังคมไทย
      1. เป็นไปได้ยากโดยเฉพาะจากไพร่สู่ขุนนาง ขึ้นกับพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้ง ตำแหน่งขุนนางเป็นตำแหน่งที่เปิดโอกาสให้เฉพาะบุตรหลานในแวดวงของขุนนางหรือเจ้านาย  แต่บรรดาขุนนางก็อาจถูกถอดถอนได้ เช่น ทุจริตในหน้าที่ หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กดขี่ข่มเหงหรือกรรโชกไพร่ เป็นต้น
      2. ทาสมีโอกาสเป็นอิสระได้  เมื่อนายเงินอนุญาตให้บวช  / พ่อหรือพี่น้อง ลุกหลานนายเงินเอาทาสเป็นภรรยา / ทาสไถ่ถอนตนเอง
      3. พระสงฆ์เมื่อลาสิกขาบทก็คืนสู่สภาพเดิม เช่น คืนสู่การเป็นไพร่ หรือเป็นไทยหลุดพ้นจากการเป็นทาส
      4. การเลื่อนฐานะทางสังคมครั้งสำคัญๆ จะเกิดขึ้นเมื่่อมีการเปลี่ยนแปลงทารการเมือง เพราะผู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองได้สำเร็จก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ และแต่งตั้งญาติให้มีฐานะเป็นเจ้า และแต่งตั้งผู้ช่วยเหลือให้เป็นขุนนาง เป็นต้น

      06/08/2012 · 12:45 pm

      :: ประวัติศาสตร์ หน้า 2 ::

      • การแบ่งสมาชิกของสังคมเป็นลำดับขั้นตอนระบบศักดินา มีดังนี้
        • เจ้า หมายถึง พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
        • ขุนนาง หมายถึง บุคคลที่กฏหมายแบ่งแยกฐานะออกจากไพร่อย่างเด่นชัด โดยกำหนดเอาผู้มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นเป็นเกณฑ์
        • ไพร่ หมายถึง บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของชนชั้นนาย และเป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย
        • ทาส หมายถึง กลุ่มชนในชนชั้นผู้ใต้ปกครอง ซึ่งไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของนายทาส
      • พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงสุดของสังคม ฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาแตกต่างกันอย่างไร

      สมัยสุโขทัยพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นพ่อขุน ต่อมามีฐานะเป็นธรรมราชา ในสมัยพระยาลิไทตามคติที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา และสมัยอยุธยาได้รับคติและอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาจากกัมพูชา ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราช สมัยรัตนโกสินทร์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชาอยู่แต่ทรงประพฤติพระองค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ทรงเป็นธรรมราชาด้วย

      • เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีฐานันดรสูงศักดิ์ ได้แก่บรรดาเจ้านายหรือพระญาติเกี่ยวดองใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นที่มีการสืบสายเลือด โดยได้รับเกียรติยศและอภิสิทธิ์มาตั้งแต่เกิด เจ้านายแต่ละองค์จะมีอำนาจมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่การงาน กำลังคนในความควบคุมและความโปรดปรานของพระมหากษัตริย์
      • ความเป็นขุนนางจะเกิดขึ้นได้เมื่อ พระมหากษัตริย์พระราชทานบรรดาศักดิ์ ตำแหน่ง ราชทินนามและศักดินาให้ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหรือถอดออก ขุนนางไทยไม่สืบสายโลหิต แต่ลูกหลานก็มักได้รับราชการเป็นขุนนางเหมือนบรรพบุรุษ
      • ขุนนางมีอภิสิทธิ์เหนือไพร่ คือ
        • ขุนนางได้อยู่ใกล้ชิดกับศูนย์อำนาจและได้รบส่วนแบ่งแห่งอำนาจนั้น
        • ขุนนางไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่
        • ได้รับสิทธิในการครอบครองไพร่ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากไพร่ในรูปของแรงงานหรือสิ่งของทำให้ฐานะเศรษฐกิจดี
        • เมื่อต้องคดี  สามารถให้ทหารแก้ต่างคดีได้โดยตัวเองไม่ต้องมา
      • จงบอกความแตกต่างระหว่างไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มี 3 ประเภท ไพร่หลวงเป็นคนหรือข้าของรัฐโดยตรง เป็นผู้รับราชการในสังกัดของรัฐบาลและราชการในพระมหากษัตริย์  ไพร่สมเป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางไม่ได้สังกัดกรมกองของทางราชการ เมื่อมูลนายตายก็จะโอนเป็นไพร่หลวง หรือเป็นไพร่สมของมูลนายคนใหม่  ส่วนไพร่ส่วยคือ ไพร่ที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เนื่องจากส่งสิ่งของที่ทางราชการต้องการแทนการเกณฑ์แรงงาน
      • สถานภาพและบทบาทของไพร่ มีดังนี้
        • ไพร่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมทั้งชายและหญิง มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ต้องสังกัดมูลนาย มิฉะนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฏหมาย  ไพร่มีหน้าที่รับราชการ หรือเข้าเดือนทำงานให้ทางราชการทุกปี การเกณฑ์แรงงานนี้จะอยู่อยู่จนกระทั่งอายุถึง 60 ปี
        • ฐานะของไพร่มีมาตั้งแต่เกิด  แต่จะแยกขึ้นสังกัดมูลนาย หรือกรมกองเมื่ออายุ 9 ปี ตั้งแต่สมัยธนบุรีเป็นต้นมา ไพร่จะต้องถูกสักหมายหมู่ คือ สักเลก เมื่อส่วนสูงถึงกำหนด
        • ไพร่เป็นกำลังผลิตในทางเศรษฐกิจ เป็นแรงงานให้แก่ราชการ  เป็นกำลังรบในยามสงคราม และยังเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของมูลนาย เพราะมูลนายที่มีไพร่พลขึ้นสังกัด มาก จะทำให้มีกำลังผลิต กำลังแรงงานและกำลังรบมากขึ้นด้วย
      • ไพร่สามารถเลื่อนฐานะทางสังคมได้โดย
        • ออกบวช และศึกษาพระธรรมจนจบเปรียญแล้วลาสึกมารับราชการ
        • ออกรบถ้าได้รับชัยชนะกลับมากก็อาจได้รับการแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นขุนนางต่อไป
      • ทาสที่มากที่สุดในสังคมไทยคือ ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่มีหนี้สินผูกพัน จะเป็นอิสระได้ต่อเมื่อนำเงินมาไถ่ตนเอง
      • จงสรุปสถานภาพและบทบาทของทาสได้แก่
        • กฏหมายระบุให้บิดามารดามีสิทธิ๋ขายบุตร สามีมีสิทธิขายภรรยาไปเป็นทาส นาเงินมีสิทธิ์ขายทาสในครอบครอง การซื้อขายต้องมีสารกรมธรรม์ ซึ่งมีตำหนิรุปพรรณของทาสไว้ด้วย ค่าตัวของทาสจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนถึงจุดหนึ่งจะลดลงตามลำดัีบ
        • ทาสเป็นสมบัติของนายเงินที่ยกขายให้ใครก็ได้ มีสิืทธิลงโทษทาส แต่ไม่ให้ถึงตาย ส่วนไพร่หลวงที่ขายตัวเป็นทาสนั้นต้องรับภาระที่จะต้องเข้าเดือนต่อไป ทาสอื่นๆ นั้นก็ต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเสียส่วยตอบแทน คือ ปีละ 8 วัน หรือเสียเงิน 6 สลึง ทาสทั้งหลายนั้นยกเว้น ทาสเชลย สามารถไถ่ถอนตัวเองได้
      • เหตุใดจึงกล่าวว่า พระสงฆ์และชาวจีนเป็นชนชั้นพิเศษในสังคมไทย  ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานในระบบไพร่ตราบเท่าที่ยังบวชอยู่  เนื่องจากพระสงฆ์เป็นธรรมทายาทและเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูงจึงได้รับการยอมรับนับถือจากคนในสังคมอย่างสูง   ส่วนชาวจีนมีบทบาทต่อสังคมไทย โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทำให้มีอิสระเดินทางไปทำการค้าได้ทั่วประเทศ เป็นแรงงานรับจ้างมีโอกาสดีกว่าไพร่ไทย สามารถสร้างตัวจนกลายเป็นผู้มีฐานะทางสังคมได้ ต่อมาคนจีนเหล่านี้ได้อาศัยทุนไปสร้างฐานะเป็นเจ้าภาษีนายอากรและนายทุนในสังคมไทย

      06/08/2012 · 12:30 pm

      :: ประวัติศาสตร์ หน้า 1 ::

      ใบงานที่ 4 พัฒนาการสังคมไทย

      พัฒนาการสังคมไทยสมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

      สังคมไทยสมัยสุโขทัย มีดังนี้

      • สภาพสังคม สังคมแบบระบบครอบครัวและเครือญาติ เริ่มตั้งแต่คนไทยตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย โดยมีลักษณะการรวมกลุ่มเพื่อช่วยตนเองในหมู่ญาติและอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่
      • ลักษณะสังคมและการปกครอง พ่อบ้านกับลูกบ้าน หรือพ่อขุนกับลูกขุน ขนาดของชุมชนก็เป็นเพียงหมู่บ้าน ต่อมาจีงพัฒนาจากบ้านมาเป็นเมืองและขยายเป็นแคว้นในที่สุด
      • สถานะของคนในสังคม  ไม่มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน การแบ่งชนชั้นแบบศักดินายังไม่เด่นชัด แต่ในตอนปลายสุโขทัยเริ่มมีการแบ่งชนชั้นในสังคม คือ แบ่งเป็นชนชั้นสูงและล่าง หรือผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง เพราะได้รับอิทธิพลการปกครองตามระบบเทวสิทธิ์หรือสมบูรณาญาสิทธิราช ทำให้สังคมการปกครองแบบพ่อกับลูกเสื่อมคลาย กลายเป็นสังคมแบบนายกับบ่าวหรือเจ้ากับข้า

      สังคมไทยสมัยอยุธยาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์

      สังคมศักดินา

      • สังคมไทยสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังคมไทยถือว่าเป็นสังคมศักดินา คือมีการแบ่งชนชั้นซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในสังคมอย่างชัดเจน
      • สภาพสังคมไทยเป็นสังคมศักดินา เพราะปัจจัยสำคัญคือ  ความต้องการกำลังคนหรือแรงงาน
      • ระบบศักดินาสมัยอยุธยาได้รับการจัดให้มีระเบียบและมั่นคงตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      • การกำหนดศักดินาหรือกำหนดฐานะของคนในสังคม มีดังนี้
        • พระมหากษัตริย์             มีศักดินา        สูงสุดจนไม่อาจนับจำนวนได้
        • ขุนนาง                            มีศักดินา        เกินกว่า 400-1000 ไร่
        • ไพร่                                  มีศักดินา        ตั้งแต่ 10 ถึง 25 ไร่
        • ทาส                                 มีศักดินา        5 ไร่

      การแบ่งชนชั้นในสังคม

      • การแบ่งชนชั้นสังคมไทยสมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แบ่งได้เป็น 2 ชนชั้นใหญ่

      โดยชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย กษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง

      ส่วนชนชั้นผู้ใต้ปกครองประกอบด้วย ไพร่ ทาส

      • การแบ่งชนชั้นในสังคมไทยเห็นได้ชัดเจนในสมัย อยุธยา ตั้งแต่สมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และมีการออกกฎหมายศักดินาในสมัย  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

      กฎหมายเกี่ยวกับศักดินาเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

      ซึ่งข้อดีของระบบศักดินา คือ เป็นเครื่องมือในการวางหลักปฏิบัติของคนในสังคม

      Toplist

      โพสต์ล่าสุด

      แท็ก

      flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita