ลดหย อนประก นช ว ตค สมรสได ม ยบ

นอกจากนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร จะแนะนำประกันสะสมทรัพย์ที่เหมาะกับการนำไปใช้สิทธิลดหย่อนสามี-ภรรยาด้วย

การหักลดหย่อนสามี-ภรรยา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. สามีหรือภรรยา (คู่สมรส) ของผู้มีเงินได้ สามารถใช้หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  2. สามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน
  3. ต้องเป็นสามีหรือภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรสกัน)
  4. กรณีจดทะเบียนสมรสระหว่างปี, คู่สมรสตายระหว่างปี หรือหย่าระหว่างปี สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสได้
  5. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (180 วัน) ไม่ว่าจะเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม สามารถนำสามีหรือภรรยา ที่อยู่ต่างประเทศมาหักลดหย่อนได้ โดยสามีหรือภรรยาที่อยู่ต่างประเทศจะมีสัญชาติใดก็ได้
  6. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนเฉพาะคู่สมรสและบุตรที่อยู่ในไทยถึง 180 วันเท่านั้น
  7. กรณีคู่สมรสมีประกันชีวิต หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส อ้างอิงหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

แนะนำประกันชีวิต สำหรับสามี-ภรรยา แบบลดหย่อนภาษีได้

จากหลักเกณฑ์การหัดลดหย่อนสามี-ภรรยาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสไปหักลดหย่อนภาษีนั้น สามารถหักลดหย่อนได้แค่เพียง 10,000 บาทเท่านั้น แม้ว่าเบี้ยประกันชีวิตจะสูงกว่าจำนวนดังกล่าวก็ตาม ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จึงขอแนะนำประกันสะสมรัพย์ 3 แบบ ที่เบี้ยประกันชีวิตไม่เกิน 10,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

เป็นข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของผู้ที่มีรายได้ในระบบภาษีอากร ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย แน่นอนว่าประเทศไทยนั้นมีระบบฐานภาษีแบบอัตราขั้นบันได ยิ่งมีฐานรายได้สูงก็ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เราได้ผลประโยชน์เพิ่มเติม เราสามารถปฏิบัติตามข้อกฎหมายว่าด้วยการลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากรได้ประกาศไว้ ทั้งนี้การลดหย่อนจะให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมอย่างมากสำหรับผู้ที่มีรายได้สุทธิอยู่ในอัตราภาษีขั้นที่สูง

อัตราภาษีเงินได้บุคคล ปี 2565

ตัวอย่างเช่น นาย ก และนาย ข มีรายการลดหย่อนจำนวน 10,000 บาท เท่ากัน โดยที่ฐานภาษีของนาย ก เท่ากับ อัตรา 10% ผลประโยชน์ที่นาย ก จะได้รับจากรายการลดหย่อนนี้ คือการที่นาย ก จ่ายภาษีน้อยลง 10% x 10,000 = 1,000 บาท แต่นาย ข นั้นมีฐานภาษีเท่ากับ 30% ผลประโยชน์ที่นาย ข จะได้รับจากรายการลดหย่อนนี้ คือการที่นาย ข จ่ายภาษีน้อยลง 30% x 10,000 = 3,000 บาท จะเห็นว่านาย ข ได้ประโยชน์มากกว่านาย ก (เนื่องจากนาย ข ฐานภาษีสูงกว่า นาย ก) นั่นเอง

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนาย ก หรือ นาย ข หากไม่ได้วางแผนใช้ประโยชน์จากรายการลดหย่อนก็เปรียบเสมือนว่านาย ก ได้ละทิ้งผลประโยชน์เพิ่มเติมไป 1,000 บาท นาย ข ได้ละทิ้งผลประโยชน์เพิ่มเติมสูงถึง 3,000 บาท โดยเสียเปล่า ยิ่งเรามีรายได้ที่สูง ฐานภาษีของเราก็จะยิ่งสูงด้วย หากเราละเลยเรื่องของการลดหย่อนภาษีก็เปรียบเสมือนว่าเรากำลังละทิ้งผลประโยชน์ที่เราควรจะได้รับ

ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องของการลดหย่อนนั้นเราจะต้องเข้าใจวิธีการหารายได้สุทธิเสียก่อน โดยวิธีการหารายได้สุทธินั้นจะคำนวณได้จากสมการ

รายได้สุทธิ = (รายได้ที่ได้รับมา – ค่าใช้จ่าย) - ค่าลดหย่อน

ซึ่งรายได้ที่ได้รับแบ่งออกเป็นมาตราต่าง ๆ ในบางมาตรานั้นจะมีการหักค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งจะต้องหักให้เรียบร้อยก่อนจึงค่อยนำมาหักค่าลดหย่อน

ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท

    เงื่อนไข

    • คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท เงื่อนไข สามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้คือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  3. ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท

    เงื่อนไข

    • บุตรมีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปี ในปีภาษีนั้น
    • ถ้าบุตรมีอายุระหว่าง 21-25 ปี ในปีภาษีนั้น ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
    • ถ้าบุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไป ในปีภาษีนั้น ต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
    • หากเป็นบุตรตามกฎหมาย สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร
    • หากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
    • หากมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
  4. ลดหย่อนภาษี บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป 30,000 บาทต่อคน (เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนบุตรอีก 30,000 บาท เท่ากับลดหย่อนบุตรคนที่ 2 รวม 60,000 บาท)

    เงื่อนไข

    • ต้องเป็นบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่คลอดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
    • ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
    • นับลำดับของบุตรทุกคน ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม
  5. ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม)

    เงื่อนไข

    • บิดา มารดา จะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
  6. ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท

    เงื่อนไข

    • ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดา มารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  1. เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท เนื่องจากปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม)
  2. เบี้ยประกันชีวิต และประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    เงื่อนไข

    • ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้น และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท
  3. เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

    เงื่อนไข

    • บิดา มารดา มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และจ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF: Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  7. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF: Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี
  8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  10. เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    เงื่อนไข

    • ธุรกิจนั้นต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์แบ่งปันกำไร และต้องถือหุ้นจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกิจการ หมายเหตุ

1. สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท 2. สำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุน RMF หรือ SSF ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ต้องแจ้งความประสงค์เพื่อให้ บลจ. นำส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุน RMF/SSF ให้กับกรมสรรพากร เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สำหรับลูกค้าของธนาคารกรุงศรี สามารถกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุน SSF RMF เพื่อส่งให้กรมสรรพากรต่อไป

LTF ครบกำหนดแล้ว จะไปต่อหรือพอแค่นี้ : Krungsri The COACH EP.11

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  1. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  3. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

  1. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง โดยสินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)

เมื่อเราทราบแล้วว่ามีรายการลดหย่อนอะไรบ้างที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ในการวางแผนลดหย่อนนั้น เราจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ และความสำคัญของแต่ละรายการด้วย โดยผมจะออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. รายการลดหย่อนที่จำเป็น หรือเป็นรายการพื้นฐานที่เราได้รับอยู่แล้ว แม้ว่าไม่มีเรื่องการลดหย่อนก็จำเป็นจะต้องมี ได้แก่

  • 1.1 รายการลดหย่อนที่เราทุกคนได้รับตามกฎหมาย อาทิ ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  • 1.2 รายการลดหย่อนที่เป็นการป้องกันความเสี่ยงในชีวิต และรักษาสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ได้แก่ ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ กองทุนบำนาญ ประกันชีวิต (ในกรณีที่มีหนี้สินที่คาดว่าจะเป็นภาระต่อครอบครัวหากเราจากไป / มรดก)
  • 1.3 รายการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการอยู่อาศัย ซึ่งเราต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยอยู่แล้วหากยังไม่ปลอดภาระ

ซึ่งรายการเหล่านี้เราต้องดำเนินการให้ครบถ้วน ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง เพราะเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง เป็นสิทธิที่เรามีรวมถึงบางรายการจะส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตของเราและครอบครัวของเราอีกด้วย

2. รายการลดหย่อนที่พิจารณาแล้วได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิ์

  • 2.1 รายการลงทุนประเภทต่างๆ ซึ่งพิจารณาระยะเวลา ผลตอบแทน รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลดหย่อนแล้ว
  • 2.2 รายการอื่นๆ เช่น การบริจาค (มีความสุข ดีต่อใจ) โครงการช็อปดีมีคืน (ซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็น) ซึ่งรายการเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวมก่อนใช้สิทธิ์ เช่น การลงทุนกองทุนในภาวะที่ ไม่เหมาะสมโดยหวังผลเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเดียวอาจจะเกิดการขาดทุนแม้ว่าจะรวม ผลประโยชน์ทางภาษีเข้าไปแล้วก็ตาม หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่ได้มีความจำเป็น เป็นต้น

เมื่อเราวางแผนเรียบร้อยแล้ว เราสามารถทดลองกรอกข้อมูลรายการต่างๆ เพื่อคำนวณภาระภาษีที่เกิดขึ้น รวมถึงใช้ในการติดตามรายการต่างๆ ไม่ให้ตกหล่นได้ที่ เครื่องมือคำนวณภาษี

สำหรับบทความนี้ ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะนำหลักการในบทความนี้ไปวางแผนการลดหย่อนภาษี เพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดที่เราควรจะได้รับ ไม่ให้ขาดตกบกพร่องนะครับ หากคุณต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมในด้านวางแผนทางการเงิน ทางธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita