Ropect rolar cap ม ผลอะไรก บหญ งต งครรภ หร อไม

  1. อาการไข้ : วิธีการดูแลตนเองเมื่อมีไข้ คือ ประคบผ้าเย็นที่บริเวณศีรษะ พิจารณาทานยาลดไข้

หากมีภาวะไม่สุขสบายจากอาการไข้สูง (ไม่แนะนำให้ทานยากลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน บรูเฟน) อาการไข้สูงจะเป็นอยู่ไม่นานเกิน 2-3 วัน หากเกินกว่านั้นแนะนำให้รีบพบแพทย์ ถ้าเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ปี อาจเกิดภาวะไข้สูงแล้วชักได้ มักเกิดในวันแรก ๆ ให้สังเกตหากเด็ มีอาการ หนาวในขณะที่มีอาการไข้และตัวซีดลง จับมือแล้วมือเย็น เสี่ยงต่อการเกิดอาการชักได้ การรักษาคือ หากเด็กมีอาการไข้ให้ใช้ผ้าเย็นประคบที่ ศีรษะเพื่อลดอุณหภูมิและหากมีอาการชักให้รีบพบแพทย์

  1. อาการน้ำมูก : รับประทานยาลดน้ำมูก ในเด็กเล็กใช้ลูกยางหรืออุปกรณ์เฉพาะเพื่อดูดน้ำมูกออกจมูก
  2. อาการคัดแน่นจมูก : ใช้กลิ่นหอมระเหย เช่น เปราะหอมแดง ใส่ผ้าขาววางไว้รอบห้อง เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหย สามารถช่วยลดอาการไอคัดแน่นจมูกตอนกลางคืน
  3. อาการไอ : แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยในการละลายเสมหะขับเสมหะออกง่าย น้ำขิงใส่มะนาว หรือน้ำผึ้ง ก็ช่วยลดอาการได้ หลีกเลี่ยงอาหารระคายคอ ของทอดของมัน รับประทานยาแก้ไอตามคำแนะนำของแพทย์
  4. อาการเจ็บคอ : บรรเทาอาการเจ็บคอด้วยยาแก้เจ็บคอ หรือใช้ยาสมุนไพร
  5. อาการท้องเสีย : จำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ และผสมน้ำเกลือเพื่อให้ได้สารน้ำและเกลือแร่ชดเชย

ในเด็กอาจจะทำผสมน้ำเกลือแร่และผสมน้ำหวานทำเป็นไอครีมแช่แข็งก็ช่วยให้กินได้ ให้ระวังถ้าเด็กมีอาการซึมลงให้รีบปรึกษาแพทย์

อาการไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจ การไอประกอบด้วยสามระยะ เริ่มจากการหายใจเข้าเพื่อเพิ่มปริมาตรอากาศและแรงดันในช่องอกและท้อง ส่งผลให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อท้องทำให้เกิดการหายใจออกอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปิดของกล่องเสียง จึงเกิดเสียงไอพร้อมกับขับเอาสิ่งตกค้างในทางเดินหายใจออกมา

อาการไอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามระยะเวลา ดังนี้

  1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์
  2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์
  3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

ไอเรื้อรัง เกิดจากอะไร?

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เป็นระยะเวลานาน
  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ
  • การใช้เสียงมาก ทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง
  • เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม
  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • โรคหืด
  • วัณโรคปอด
  • โรคกรดไหลย้อน

ประมาณร้อยละ 85 ของอาการไอเรื้อรัง มักเกิดจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด และโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยบางรายอาจมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังมากกว่าหนึ่งชนิด การตรวจวินิจฉัยที่อาศัยความร่วมมือจากแพทย์หลายสาขา เช่น แพทย์หู คอ จมูก อายุรแพทย์โรคภูมิแพ้และโรคปอด อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร จะทำให้ค้นหาสาเหตุของอาการไอได้ง่ายขึ้น

ไอเรื้อรัง วินิจฉัยได้อย่างไร?

แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยหาสาเหตุของอาการไอเรื้อรังที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะปฏิบัติ ดังนี้

  • การซักประวัติ เช่น การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการไอ (เช่น ฝุ่น ควัน อากาศเย็น), อาการทางจมูกหรือโรคไซนัส, ประวัติโรคภูมิแพ้ของผู้ป่วยและคนในครอบครัว, การสูบบุหรี่, ประวัติการใช้ยากลุ่ม ACE inhibitors, อาการของโรคกรดไหลย้อน (เช่น เรอเปรี้ยว ท้องอืด เจ็บหน้าอก)
  • การตรวจร่างกายโดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และอาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ส่งตรวจภาพถ่ายรังสีของโพรงไซนัสและปอด, การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ, การตรวจเสมหะ, การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด

ไอเรื้อรัง รักษาอย่างไร?

การรักษาอาการไอเรื้อรังที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอ และรักษาตามสาเหตุนั้นๆ นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวในขณะที่มีอาการไออย่างถูกต้อง ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น หรือไม่แย่ลง โดยสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติในขณะที่มีอาการไอ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น สารก่ออาการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
  • ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนห่มผ้า
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
  • ถ้าหากอาการไอมีไม่มาก อาจให้การรักษาเบื้องต้นโดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการไอ กรณีที่มีเสมหะร่วมด้วย ควรได้รับยาละลายเสมหะ เพื่อให้เสมหะที่เหนียวข้นมากขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ

ยาบรรเทาอาการไอ

ถึงแม้ว่าการใช้ยาบรรเทาอาการไอจะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่บางครั้งก็มีความจำเป็น เนื่องจากการไอมีผลรบกวนคุณภาพชีวิต โดยเราสามารถแบ่งยาบรรเทาอาการไอออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ

  1. ยาบรรเทาอาการไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ ได้แก่
  2. ยาขับเสมหะ ออกฤทธิ์ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจมีการหลั่งสารคัดหลั่งมากขึ้น และไอออกมาได้ง่ายขึ้น เช่น Glyceryl guaiacolate, Ammonium chloride
  3. ยาละลายเสมหะ ออกฤทธิ์โดยทำลายพันธะภายในเสมหะ ทำให้เสมะหะละลายน้ำได้ดีขึ้น เช่น Ambroxol, Bromhexine, Carbocysteine, Acetylcysteine
  4. ยาบรรเทาอาการไอสำหรับอาการไอแห้ง หรือยากดอาการไอ เช่น Dextromethorphan, Codeine เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยการกดศูนย์การไอ มักใช้สำหรับบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการแพ้หรืออาการไออื่นๆ ที่ไม่มีเสมหะ เพราะหากใช้ในอาการไอแบบมีเสมหะ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสมหะถูกขับออกมาจากทางเดินหายใจได้ยากขึ้น อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น ง่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก

จะเห็นได้ว่าอาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากโรคที่ไม่ร้ายแรง เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ได้แก่ โรคหวัด หลอดลมอักเสบ หรืออาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม ได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไอยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอ และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง

ยาแก้ไอขับเสมหะยี่ห้อไหนดี

แนะนำ 6 ยาแก้ไอและละลายเสมหะ ให้คล่องคอหายใจสะดวก.

Brown Mixture GPO ยาแก้ไอน้ำดำ 60ml. ยาแก้ไอน้ำดำชนิดช่วยขับเสมหะ จากองค์กรเภสัชกรรม ขนาด 60 มล. ... .

Bisolvon Ex 60ml. ... .

ยาแก้ไอน้ำดำ LP ตราเสือดาว 60 – 120 ml. ... .

ยาแก้ไอ Solmax ชนิดแคปซูล 500 mg. ... .

ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ชวนป๋วยปี่แปกอ ของ เนียมฉื่ออำ ... .

ยาแก้ไอ ตรา อาปาเช่.

ไอ มาก ๆ อันตราย ไหม

ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมาก การไอมากๆ อาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหัก, ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตกออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด, เกิดภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด, เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือ เกิดอาการหอบเหนื่อยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการไอมีเสมหะ กี่วันหาย

อาการไอมีเสมหะ มี 2 ชนิด คือ การไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน จะมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์ และการไอแบบเรื้อรัง มีอาการไอ 8 สัปดาห์ขึ้นไป สำหรับเด็ก 4 สัปดาห์ โดยทั่วไปแล้วไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน สามารถหายเองได้ 2-3 สัปดาห์ หากมีอาการในระยะเวลานานกว่านี้ ควรมาทำการพบแพทย์ เพื่อทำการรรักษา เพราะอาจจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ และหากไม่ ...

อาการไอแห้งๆ เกิดจากอะไร

ไอแห้ง เกิดจากการระคายคอหรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนกระตุ้นให้เกิดการไอ โดยไม่มีเสมหะปน สาเหตุที่พบได้ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ ยาลดความดันโลหิตกลุ่มของ ACEi inhibitor และเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ COVID-19.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita