หลักการ ทำงาน ของเบรครถยนต์

เบรคน้ำมัน(Hydraulic Brake)

ประกอบด้วย

1. แม่ปั๊มพ์เบรคประกอบด้วย

(1) คันเหยียบเบรค มีหน้าที่สำหรับดันลูกสูบในแม่ปั๊มพ์ ที่ปลายกระเดื่องเหยียบด้านที่ติดกับลูกสูบมีเกลียวสำหรับปรับให้ตัวกระเดื่องยาวออกหรือสั้นเข้าได้

(2) ปิ๊นและแหวนดักลูกสูบ  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสูบหลุดออกจากแม่ปั๊มพ์

(3) ลูกสูบมีหน้าที่ดักน้ำมันเบรค ให้เคลื่อนที่ออกไปจากแม่ปั๊มพ์ เพื่อให้เบรคทำงาน และที่ส่วนด้านท้ายของลูกสูบ มีลูกยาง ทำหน้าที่เป็นแหวนกันรั่ว

(4) ลูกยางรองหัวลูกสูบ ทำหน้าที่คล้ายแหวนลูกสูบ

(5) สปริง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ

1. ดันให้ลูกยางดันหัวลูกสูบติดกับลูกสูบและเคลื่อนที่ถอยกลับมาอยู่ที่เดิม ในเมื่อปล่อยคันเหยียบเบรค

2. ปลายอีกข้างหนึ่งดันวาวบังคับน้ำมัน

(6) วาวบังคับน้ำมัน ทำหน้าที่คอยเปิดให้น้ำมันไหลออกไปยังล้อเพื่อเบรค และเปิดไม่ให้น้ำมันผ่านกลับ เมื่อปล่อยคันเหยียบเบรค

(7) ลูกยางกันรั่วรองอยู่หลังวาว จะติดแน่นอยู่กับวาวและตัวแม่ปั๊มพ์ด้วยความดันของสปริง

(8) ท่อทางเดินของน้ำมัน ต่อไปยังล้อมีอยู่ 2 อย่าง คือ

1. แป๊บแข็ง

2. แป๊บที่ทำด้วยยาง และใช้กับล้อที่หมุนบังคับให้เลี้ยวได้ ซึ่งได้แก่ล้อหน้า

(9) ห้องพักน้ำมันเบรค อยู่ที่ส่วนเหนือของลูกสูบในแม่ปั๊มพ์และมีรูสำหรับน้ำมันลงในกระบอกสูบ 2 ทาง

(10) สปริงดังคันเหยียบเบรค ในระยะฟรีให้ขึ้นสูงสุด เพื่อป้องกันไม่ให้เบรคทำงานในเมื่อรถกระแทกหรือตกหลุม

2. ระบบเบรคที่ล้อ ประกอบด้วย

(1) กระบอกสูบ ทำหน้าที่บังคับลูกสูบ

(2) ลูกสูบมีอยู่ 2 ลูก ทำหน้าที่ดันขาแผ่นเบรคให้อ้าออกทั้งสองข้าง

(3) ลูกยางรองหน้าลูกสูบ ทำหน้าที่คล้ายแหวนลูกสูบ

(4) สปริงดันลูกยาง ให้ติดกับลูกสูบทั้งสองข้าง

(5) ขาแผ่นเบรค ทำหน้าที่อ้าออกดันให้หน้าสัมผัส ติดกับจานเบรค

(6) จานเบรคซึ่งติดกับล้อ

(7) สปริงดึงขาแผ่นเบรค ทำหน้าที่ดึงแผ่นเบรคกลับมาอยู่ในลักษณะเดิม เมื่อปล่อยการเหยียบเบรค

(8) สกรูไล่อากาศ ทำหน้าที่เปิดอากาศให้ออกหมดไปจากระบบน้ำมันเบรค

(9) สกรูปรับขาแผ่นเบรค ทำหน้าที่ปรับให้ขาแผ่นเบรคอ้าออกมากหรือน้อย เพื่อการทำงานของเบรค

การทำงานของระบบเบรค

เมื่อรู้จักชิ้นส่วนและหน้าที่ของระบบเบรคแล้ว ก็พอสรุปได้ว่า เมื่อเหยียบเบรค น้ำมันในแม่ปั๊มพ์เบรคจะออกไปดันขาแผ่นเบรคที่ล้อให้อ้าออกติดกับจานเบรค จานเบรคซึ่งติดกับล้อ ก็จะหยุดหมุนด้วย ความฝืดของแผ่นเบรค(ผ้าเบรค)

//www.nikoyobrake.com/wp-content/uploads/2019/09/videoplayback.mp4

การไล่อากาศในระบบเบรค

การไล่อากาศกระทำเมื่อน้ำมันเบรคในแม่ปั๊มพ์เบรคหมด หรือภายหลังจากการซ่อมแซมเบรคเรียบร้อยแล้ว โดยการเติมน้ำมันลงไปใหม่ (แต่ถ้าเพียงแต่เติมน้ำมันที่มีอยู่จำนวนน้อยให้เต็มก็ไม่ต้องไล่อากาศ) การไล่อากาศกระทำดังนี้ คือ

โดยการเหยียบเบรคแล้วปล่อย กระทำดังนี้เร็วๆ จนกว่าคันเหยียบเบรคจะมีอาการติดสูงขึ้นกว่าเดิม แล้วเหยียบกดไว้ให้แน่นพอสมควร พร้อมด้วยหมุนสกรูไล่อากาศออกให้น้ำมันและอากาศไหลออกมาให้หมด โดยมีภาชนะรองรับไว้แล้วปิดสกรู และให้ไล่อากาศดังนี้จนกว่าอากาศจะออกหมดโดยไม่มีฟองอากาศปนออกมากับน้ำมัน สำหรับคันเหยียบเบรคให้เหยียบกดตามลงไป(ตอนไล่อากาศออก) จนกว่าจะปิดสกรูไล่อากาศเรียบร้อยแล้ว จึงปล่อย แล้วให้เหยียบดูสักหนึ่งหรือสองครั้ง เบรคก็จะทำงานและเติมน้ำมันเบรคให้เติมตามจำนวนเดิมการเติมน้ำมันเบรคนี้ควรเติมน้ำมันที่สะอาดที่สุด และระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรกอื่นๆ เจือปนลงไปได้ ซึ่งอาจทำให้ระบบเบรคตันหรือไม่ทำงาน

การไล่อากาศนี้มีอยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือ

1.  ที่แม่ปั๊มพ์ ควรไล่อากาศก่อนที่อื่นๆ

2. ที่ล้อควรไล่ทีหลัง และไล่ทุกล้อให้อากาศออกหมดจริงๆ แต่ถ้าน้ำมันในแม่ปั๊มพ์ลดน้อยลงก็ควรเติมน้ำมันเสียก่อนจึงไล่ที่ล้อ

การตรวจเมื่อเบรคเสีย

1. เบรคไม่ทำงาน สาเหตุ

(1) น้ำมันเบรคหมด

(2) รั่วหรือซึม

(3) ลูกยางแม่ปั๊มพ์หรือตามล้อเสีย หรือสังเกตได้จากมีน้ำมันไหลออกมาจากส่วนนั้นๆ

(4) ไล่อากาศออกไม่หมด

(5) ตั้งระยะฟรีระหว่างแผ่นเบรคกับจานเบรคห่างมากเกินไป หรือตั้งระยะฟรีที่กระเดื่องคันเหยียบเบรคน้อยเกินไป

(6) ท่อทางเดินน้ำมันตัน เช่น ที่แม่ปั๊มพ์หรือตามแป๊บ

2. เมื่อเบรคปัดเสียหลัก สาเหตุ เกิดจากเบรคล้อจับไม่เท่ากัน ควรจะปรับเสียใหม่ เมื่อปรับแล้วควรขับดูและปล่อยพวงมาลัย พร้อมด้วยเหยียบเบรค ถ้ารถปัดไปทางใด ก็แสดงว่าล้อข้างนั้นเบรคจับมากเกินไปควรปรับเสียใหม่ ให้เท่ากัน

3. เมื่อเบรครถจะหยุด แต่เคลื่อนที่ไปได้อีกเกิดจากน้ำมันตามท่อทางเดินรั่วหรือซึม หรือลูกยางทำหน้าที่คล้ายแหวนลูกสูบในแม่ปั๊มพ์รั่ว หรือวาวในแม่ปั๊มพ์รั่ว

4. เบรคไม่หยุดทันที สาเหตุ

(1) หน้าสัมผัสของจานเบรคไม่เรียบต้องกลึงใหม่

(2) ไล่อากาศออกไม่หมดทุกล้อ

(3) แผ่นเบรค(ผ้าเบรค) มีหน้าสัมผัสลื่นควรขัดหน้าสัมผัสที่ลื่นออกให้หมด หรือเปลี่ยนใหม่

(4) ทางเดินน้ำมันในแม่ปั๊มพ์ตัน ควรถอดออกล้าง

(5) เมื่อเบรคล้อรถขยับออกได้ โดยบอลแบริ่งล้อหลวม

5. เบรคต้องปั๊มพ์หลายครั้ง เมื่อเหยียบแล้วจะมีน้ำมันไหลกลับ ดันขึ้นมาทางจุกที่ใช้ปิดน้ำมันของแม่ปั๊มพ์ สาเหตุ

(1) วาวในแม่ปั๊มพ์รั่วหรือซึม น้ำมันไหลกลับได้ ควรตรวจดูหรือเปลี่ยน

(2) เนื่องจากสปริงในแม่ปั๊มพ์อ่อน หรือเสื่อมคุณภาพ ควรเปลี่ยน

(3) ตั้งระยะฟรีของเบรคน้อยไป ควรปรับดังนี้คือ

1. หมุนเกลียวปรับที่กระเดื่อง เหยียบเบรคให้ยาวออกไปข้างหน้าอีก จนกว่าจะได้ตามความต้องการ

2.  หมุนสกรูปรับขาแผ่นเบรคที่ล้อให้อ้าออกจนรู้สึกว่า เมื่อหมุนล้อจะได้ยินเสียงแผ่นเบรคเฉี่ยวๆ กับจานเบรค

สำหรับข้อ 1. ใช้ปรับรักษาระดับคันเหยียบเบรคให้ได้ระยะอยู่ตลอดเวลา

6. เบรคติดกับจานล้อ อยู่ตลอดเวลา สาเหตุ

(1) ไล่อากาศออกไม่หมด ควรไล่อากาศออกใหม่ สำหรับล้อนั้น ๆ

(2) สปริงลูกสูบอ่อนเกินไป ควรเปลี่ยนสปริงใหม่ หรือสปริงดึงแผ่นเบรคทำงานไม่เท่ากัน

(3) เนื่องจากลูกสูบและลูกยางฝืด ควรถอดออกล้างทำความสะอาด

ในการถอดออกล้างหรือทำความสะอาดทุกครั้ง ควรเปลี่ยนลูกยางใหม่หมด และอย่าให้ลูกยางเหล่านั้นถูกกับน้ำมันชนิดอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ลูกยางเสียได้

credit :: //www.erakii.org/
credit :: //pirun.ku.ac.th
credit :: //www.carbibles.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita