ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ชาวต่างชาติ 2563

ตามกรมสรรพกร  เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้ชาวต่างชาติ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ ตามมาตรา 50 (1) วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทจะจ่ายค่านายหน้า 567 US ประมาน 20,000 บาทไทยประมาณ
ต้อง หัก ณ ที่จ่าย ชาวกัมพูชา 15 % ใช่ไหมคะ
และเราต้องใช้เอกสารอะไรในการกรอกข้อมูลหัก ณ ที่จ่าย
ยื่นภงด อะไร คะ
ใบหัก ณ ที่จ่าย เราต้องออกให้เขาไหมคะ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบชำระภาษีของชาวต่างชาติผู้มิได้อยู่ในประเทศไทย

วันที่เอกสาร

3 ธันวาคม 2544

เลขที่หนังสือ

กค 0811(กม.15)/245

ข้อหารือ

นาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทในประเทศไทย ซึ่งไม่เข้า
เงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ
15.0 ของเงินได้พึงประเมินไว้ทุกคราวที่จ่ายและได้นำส่งครบถ้วนแล้ว แต่ชาวต่างชาติทั้งสองซึ่งมิได้มี
ภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยก็มิได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่
ประเทศไทย สำนักงานสรรพากรจังหวัดเห็นว่า
1. กรณีบริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ที่จ่ายให้แก่ นาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีในอัตรา
ร้อยละ 15.0 และนำส่งครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในการเสีย
ภาษี
2. ถึงแม้ว่าชาวต่างชาติทั้งสองจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) วรรคสี่
แห่งประมวลรัษฎากร ไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี เงินได้
บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร หากมิได้ยื่นแบบชำระภาษี เจ้าพนักงานย่อม
มีอำนาจประเมิน ตามมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งให้ชำระ
ภาษีอากรตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากชาวต่างชาติทั้งสองไม่เคยมี
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานในประเทศไทย อันเป็นกรณีไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม
สภ. มีความเห็นว่า เนื่องจากนาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
มีเงินได้จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ บริษัทในประเทศไทยอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีในประเทศไทย อันเป็นประเทศที่
เงินได้เกิดขึ้น ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้น
ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย ตามข้อ 15(ก)(ข) และ (ค) แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่าง
ประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี กรณีดังกล่าวชาวต่างชาติทั้งสองต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและ
ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าชาวต่างชาติทั้งสองมิได้อยู่ในประเทศไทย จึงไม่อาจบังคับให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
ในประเทศไทยได้ เว้นแต่จะได้เข้ามาในประเทศไทย อันเป็นกรณีที่จังหวัดจะต้องดำเนินการให้เป็นไป
ตามประมวลรัษฎากร และระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อไป สำหรับกรณีบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ หาก
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้หักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายไว้ครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการเสียภาษี
ดังกล่าวร่วมกับผู้มีเงินได้แต่อย่างใด ตามนัยมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

ความเห็นของสำนักงานสรรพากรภาคถูกต้องแล้ว เนื่องจากบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่
กำหนดให้บุคคลใดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ อย่างไร หรือกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดนั้น
คงใช้บังคับได้แต่เฉพาะบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น หากชาวต่างชาติดังกล่าวซึ่งมีหน้าที่ต้อง
ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย แต่มิได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว ก็
มิอาจบังคับให้ยื่นแบบฯ ในประเทศไทยได้เว้นแต่จะเข้ามาในประเทศไทยและบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งได้
หักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวร่วมกับผู้มีเงินได้

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

  • หน้าแรก

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • ภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

ทุกวันนี้มีชาวต่างชาติมากมายที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองไทย และอีกเช่นกันที่ผู้เขียนมักถูกถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของชาวต่างชาติว่า เสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งคนโดยทั่วไปมักเข้าใจว่า หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ

1.เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย* โดยผู้มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย เช่น บริษัทในอเมริกา ส่ง นาย A ซึ่งเป็นพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในไทย นาย A ต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

อย่างไรก็ตาม นาย A อาจจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย หากเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

2.เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย* เช่น นายเอกเปิดร้าน ขายอาหารในประเทศไทย นายเอกต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นเเบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3.เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย* ผู้รับเงินได้อาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ เช่น บริษัท ข. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ได้ส่ง นายเอก ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไปปฏิบัติงาน ณ สาขาของบริษัทที่ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท ข. จำกัด เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้ทุกเดือน นายเอกพนักงานต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

4.เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย* กรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เป็นต้น

ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ข้างต้น ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น

หลักถิ่นที่อยู่ จะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

1.ผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทำในต่างประเทศหรือจากกิจการ ที่ทำในต่างประเทศ หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

2.ได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ

3.ผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และได้อาศัยอยู่ในเมืองไทยถึง 180 วัน ก็ต้องนำเงินนั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ กรณีที่ไม่ครบเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ผู้มีเงินได้นั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

ได้มีผู้จ่ายเงินได้ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เมื่อจ่ายเงินได้ ให้ชาวต่างชาติ เข้าใจผิดคิดว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งแท้จริงแล้วถ้าเป็นกรณีแหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ชาวต่างชาติผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศที่ผู้มีเงินได้ มีถิ่นที่อยู่เท่านั้น

อบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita