เหตุใดจารึกวัดโพธิ์จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

raponsan:
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน "จารึกวัดโพธิ์มรดกโลก"

คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เปิดเผยวันที่ 15 มิถุนายนว่า ตามที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก

ได้เสนอจารึกวัดพระเชตุ พนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ต่อยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาตินั้น ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ม.ร.ว.รุจยา อาภากร กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยแผนงานมรดกความทรงจำของไทยว่า

ยูเนสโกได้ประกาศรับรองจารึกวัดโพธิ์เป็น มรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ (International Register) แล้ว ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยู เนสโก ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่าน ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร

คุณหญิงแม้นมาส กล่าวว่า ทั้งนี้วัดโพธิ์เคยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกของภูมิภาคเอ เซียแปซิฟิก (Regional Register) เมื่อปี 2551 หลังจากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้ดำเนินการสำรวจจัดทำทะเบียนและถ่ายภาพแผ่นจารึกวัดโพธิ์ จำนวน 1,440 ชิ้น และจัดทำแผนอนุรักษ์ตามแนวทางของยูเนสโก ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ เห็นว่าควรเสนอจารึกวัดโพธิ์ให้ ขึ้นบัญชีนานาชาติด้วย ตนและคณะกรรมการฯ

จึงได้เสนอให้ยูเนสโกพิจารณาเมื่อเดือนมกราคม 2554 และได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ของยูเนสโก จนถึงขั้นตอนสุดท้ายเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผน งานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ มีมติเอกฉันท์ให้จารึกวัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ

ทั้งนี้จารึกวัดโพธิ์ มีเรื่องวิชาความรู้ที่มีลักษณะที่เป็นสากล ไม่ใช่ความรู้เฉพาะในประเทศไทย เช่น เรื่องพระพุทธศาสนา เรื่องวรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจารึกเรื่องฤๅษีดัดตนเป็นสากลมาก

“วงการแพทย์หลายประเทศขณะนี้กำลังมองย้อนไปว่าความรู้ที่บรรพบุรุษให้ ไว้น่าจะมีประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ก็อาจจะนำกลับมาใช้โดยที่นำมาปรับปรุงบางสิ่งบางอย่าง และตำราฤๅษีตนมีมาตั้งแต่ก่อนตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์  โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้รวบรวมความรู้ที่มีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานำมาจารึกไว้เพราะ เกรงว่าจะสูญหาย” คุณหญิงแม้นมาส กล่าว

คุณหญิงแม้นมาส กล่าวอีกว่า สำหรับประชุมจารึกวัดโพธิ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก มีจำนวน 1,440 ชิ้น แบ่งเป็น 5 หมวด อาทิ หมวดประวัติศาสตร์ ได้แก่ จารึกรัชกาลที่ 1 เรื่องสร้างวัดพระเชตุพนฯ และเรื่องพระธาตุนครน่าน รายการปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯถอดจากโครงดั้น รายการแบ่งด้านปฏิสังขรณ์ถอดจากโครง หมวดพระพุทธศาสนา ได้แก่

จารึกเรื่อง พระสาวกเอกทัคคะ จารึกเรื่องอุบาสกเอกทัคคะ จารึกเรื่องอุบาสิกาเอกทัคคะ จารึกเรื่องอศุภ 10 และญาณ 10   จารึกเรื่องฎีกาพาหุง จารึกเรื่องพระพุทธบาท จารึกเรื่องธุดงค์ 13 จารึกเรื่องชาดก ตอนนิทานกถา จารึกเรื่องมหาวงศ์ จารึกเรื่องนิรยกถา จารึกเรื่องเปรตกถา

คุณหญิงแม้นมาส กล่าวว่า ส่วนหมวดวรรณคดี อาทิ จารึกเรื่องนารายณ์ 10 ปาง และเรื่องเบื้องต้นรามเกียรติ์ จารึกเรื่องสิบสองเหลี่ยม หมวดทำเนียบ ได้แก่ ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบหัวเมืองขึ้นกรุงสยาม และหมวดประเพณี ได้แก่

จารึกเรื่องเมืองมอญกวนข้าวทิพย์ จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ จารึกริ้วกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราทางสถลมารค อย่างไรคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกจะแถลงข่าวเรื่อง ดังกล่าววันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน เวลา 14.00 น. ณ ศาลาธรรมปัญญาบดี ที่วัดโพธิ์

ที่มา  //www.thaischool.co.cc/column/5072

raponsan:
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายเก่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร /-เชดตุพนวิมนมังคฺลาราม-/ หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551(1)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์(2) พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน(3)

ประวัติ

วัดพระเชตุพนในประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331

โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร”

พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ

ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า “วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน” และมีพระราชดำริว่า “ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ”(4)

สิ่งก่อสร้างภายในวัด
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

 เขตวัดโพธาราม (เดิม)
เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ (ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

วิหารพระพุทธไสยาส

วิหารพระพุทธไสยาส(5) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงโปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน

แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย (6)

ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน (6)(7)

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ (กลาง) , พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน (ซ้าย) ,พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน (ขวา) และพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย (หน้า)

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ(8)

เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง

จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น

โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2

ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย

เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ [9] ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็นแบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" [10] ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา

อ่านประวัติวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ได้ที่ //www.watpho.com/th/home/#1

ที่มา  //th.wikipedia.org/wiki/วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

อ้างอิง

    ^ //www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=10887
    ^ 2.0 2.1 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัด, กุมภาพันธ์ 2548
    ^ Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 2008
    ^ พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม, หน้า 86-87, จากเวปไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
    ^ ปัจจุบันทางวัดใช้ว่า “พระพุทธไสยาส” (ไม่มี น์) ตามมติของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.ธ.๙) โดยให้เหตุผลว่า คำว่า “ไสยาส” แปลว่า นอน ส่วนคำว่า ไสยาสน์ มาจาก ไสยา + อาสน แปลว่า นอนและนั่ง
    ^ 6.0 6.1 พระพุทธไสยาส
    ^ 7.0 7.1 ผู้จัดการออนไลน์,เที่ยว“วัดโพธิ์” สัมผัสวัดเก่า ในมุมมองใหม่, 29 มกราคม 2548
    ^ ผู้จัดการออนไลน์, ดูของดี ที่ “วัดโพธิ์”, 21 มกราคม 2548
    ^ 9.0 9.1 ผู้จัดการออนไลน์, วัดสุทัศน์, 17 ธันวาคม 2545
    ^ ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 15 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 ถึง 27) , องค์การค้าของคุรุสภา, 2507
    ^ พระระเบียง
    ^ 12.0 12.1 พระเจดีย์สี่รัชกาล พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว พระเจดีย์ราย จาก เวปไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ^ วัชรี วัชรสินธุ์, วัดพระเชตุพน มัชฌิมประเทศอันวิเศษในชมพูทวีป, สำนักพิมพ์มติชน,กันยายน 2548 ISBN 974-323-476-4
    ^ พระมหาสถูป กำแพงแก้ว จาก เวปไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ^ เขาฤๅษีดัดตน
    ^ การนวดตามแบบท่าฤๅษีดัดตน
    ^ ผู้จัดการออนไลน์, เที่ยว“ท่าเตียน”ชุมชนเก่าแก่คู่วัดโพธิ์, 19 กันยายน 2549
    ^ พิพิธพาเพลินมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita