อิเหนาบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ดำเนินเรื่องตามต้นฉบับของใคร

ประวัติความเป็นมาของอิเหนา

            เรื่องอิเหนามีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ในเรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย

            ซึ่งกล่าวถึงการสมโภชพระพุทธบาทพรรณนาการมหรสพต่าง ๆ ไว้ตอนหนึ่งว่า

 “ร้องเรื่องระเด่นโดย  / บุษบาตุนาหงัน

  พักพาคูหาบรร  / พตร่วมฤดีโลม”

        ซึ่งแสดงว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีเรื่องอิเหนาเล่นแล้ว

        กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิพนธ์

        โดยฟังเรื่องจากนางข้าหลวงชาวมลายูชื่อยะโว เป็นผู้เล่า เห็นเป็นเรื่องสนุกจึงทรงนำมาแต่งเป็นบทละคร

        เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่)

        เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก)

        ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ต้นฉบับทั้งสองเรื่องคงเสียหายไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 

        เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

โดยรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอดเรื่อง 

        และรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน 

        อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  2 นี้ ถือว่าเป็นฉบับที่ดีเลิศทั้งในกระบวนวรรณศิลป์และนาฏศิลป์

        จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของกลอนบทละครรำ  วรรณคดีเรื่องอิเหนามีเนื้อหาเป็นพงศาวดาร

        แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง

และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก

        อิเหนาเป็นกษัตริย์ชวาที่มีตัวตนอยู่จริงตามประวัติศาสตร์ ชาวชวาถือว่าอิเหนาเป็นวีรบุรุษ 

        เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ทรงปราบปรามหัวเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในอำนาจ

จนได้ชื่อว่าเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งในพงศาวดาร 

        ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับอิเหนา จึงมีการต่อเสริมเติมแต่งกลายเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมา

        เนื่องจากนิทานปันหยีหรืออิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏหลายสำนวน 

        เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อนำมาทำเป็นบทละครก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

        พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนาไว้

        ดังที่ปรากฏในบทนำของอิเหนาว่า "แต่ต้นเรื่องตกหายพลัดพรายไป" คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่

        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว

เรื่องย่ออิเหนา

ตัวละคร

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องอิเหนา

          เป็นบทละครที่มีคุณค่าสมควรรักษาไว้เป็นมรดกไทย ประกอบด้วยศิลปะในการแต่งที่ประณีต บทละครมีขนาดกะทัดรัด รักษาขนบในการชมเมืองที่ได้แบบอย่างจากเรื่องรามเกียรติ์และเน้น องค์ห้าของละครดี จนกลายเป็นแบบ แผนของการแต่งบทละครในสมัยหลัง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงยกย่องว่าบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนี้ เป็นบทละครที่ครบองค์ห้าของละครดี คือ
๑. ตัวละครงาม (หมายถึง เครื่องแต่งตัวหรือรูปร่าง)
๒. รำงาม
๓. ร้องเพราะ
๔. พิณพาทย์เพราะ
๕. กลอนเพราะ

          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (ครองราชย์ปี พ.ศ ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗) เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณความดีทั้งในด้านการปกครอง การสาธารณสุขและศิลปวัฒนธรรมหลายด้าน เช่น ด้านสถาปัตยกรรม ดนตรี วรรณคดี และการละคร

          เนื้อเรื่องของบทละครเรื่องอิเหนามาจากพงศาวดารชวา กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวัญสื่อองค์ซึ่งเป็นพี่น้องกัน และครองนคร ๔ นคร คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาแห่งเมืองกุเปันได้หมั้นหมายกับบุษบาราชธิดาเมืองดาหา ต่อมาได้พบกับจินตะหราก็หลงรักเมื่อถูกบังคับให้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับบุษบา จึงลอบหนีออกจากเมืองไปหาจินตะหรา จนกระทั่งเมื่ออิเหนาไปช่วยท้าวดาหารบกับท้าวกะหมังกุหนิงและได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำอุบายเผาเมืองดาหา แล้วลักพาบุษบาไป ท้าวอสัญแดหวาโกธรแค้นในการกระทำอันมิชอบของอิเหนา จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปตกที่แคว้นปะมอตันอิเหนาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายระหว่างตามหาบุษบา จนกระทั่งได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส เรื่องจึงจบลงด้วยความสุข

          คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำและทำนองเพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถกำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน การดำเนินเรื่อง การแต่งบทร้อง ความยาวของบทเข้ากับลีลาท่ารำ นับเป็นศิลปะการแสดงที่ประณีต งดงามยิ่งของละครไทย

ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่แสดงให้เห็นลักษณะอาการของตัวละครเมื่อเสียใจ หรือผิดหวัง

ฯ๑๐คำฯ

(ร่าย)เมื่อนั้น                     โฉมยงองค์ระเด่นจินตะหรา
ค้อนให้ไม่แลดูสารา             กัลยาคั่งแค้นแน่นใจ
แล้วว่าอนิจจาความรัก          พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป   ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน           ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา         จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก           เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อฦาชั่วไปทั่วทิศ      เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร
เสียแรงหวังฝังฝากชีวี          พระจะมีเมตตาก็หาไม่

วรรณคดีสโมสร ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ให้บทละครเรื่องอิเหนาเป็น “ยอดของกลอนบทละคร”เพราะเนื้อเรื่องสนุก มีครบทุกรสทั้งบทรัก กล้าหาญ หึงหวง บทบาทของตัวละครมีความเหมาะสมทุกบทบาท

   เนื้อเรื่องบทละครเรื่องอิเหนาสำนวนรัชกาลที่ ๒ นี้ มีเนื้อเรื่องเหมือนกับบทละครเรื่องอิเหนาสำนวนรัชกาลที่ ๑

อิเหนาฉบับการ์ตูน

เพราะเหตุใดบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 จึงได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนบทละครร

ในบรรดาบทละครรําที่คนชอบ เรื่องอื่นเห็นจะไม่เสมอด้วยเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสโมสรก็ได้ตัดสินเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็น ยอดของบทละครรําทั้งสิ้น เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งความ ทั้งกลอน ทั้ง กระบวนที่จะเล่นละครประกอบกันทุกสถาน ที่จริงบรรดาบทละครพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ ก็ดีพร้อมเช่นนั้นทุก ...

รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใด

พระราชนิพนธ์ ร.๒.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแล้วเข้าห้องนางแก้วกิริยากับตอนขุนแผนพานางวันทองหนี.
บทละครเรื่องอิเหนา.
บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ สังข์ทอง คาววี ไกรทอง มณีพิชัย.
กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน.
บทพากย์โขน ตอน พรหมาพัตร์ นากบาส นางลอย และเอราวัณ.

ผู้แต่งเรื่องอิเหนาคือใครมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

บทละครเรื่องอิเหนาเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ประชุมกวีนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่จากบทของรัชกาลที่ 1 เพื่อใช้แสดงละครใน โดยทรงเปลี่ยนสำนวนภาษาให้ไพเราะงดงามขึ้น และเมื่อแต่งบทแล้วได้พระราชทานเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี พร้อมด้วยครูละครคือนายทองอยู่และนายรุ่งให้ช่วยกันคิดกระบวนรำ แล้ว ...

อิเหนาใหญ่เป็นผลงานของใคร

อิเหนาใหญ่ กวี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita