ใครเป็นผู้จดรายงานการประชุม

บทความงาน > บทความตามสายงาน > งานธุรการ > วิธีการเขียนรายงานการประชุม สำหรับมือใหม่

วิธีการเขียนรายงานการประชุม สำหรับมือใหม่

  • 20 March 2018

          รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น เมื่อมีการประชุม จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการที่จะต้องรับผิดชอบจัดทำรายงานการประชุม ปัญหาของการเขียนรายงานการประชุมที่พบบ่อยคือ ไม่รู้วิธีการดําเนินการประชุมที่ถูกต้อง ไม่รู้จะจดอย่างไร ไม่เข้าใจประเด็นของเรื่อง ผู้จดบันทึกการประชุมจะต้องรู้วิธีคิดก่อนเขียน รู้ลําดับความคิด รู้

โครงสร้างความคิด รู้องค์ประกอบเนื้อหา จะทําให้เขียนได้เข้าใจง่าย ไม่สับสนวกวน

รูปแบบ ให้จัดรูปแบบดังต่อไปนี้

แบบรายงานการประชุม

รายงานการประชุม……………………………………………………

ครั้งที่…………………..

เมื่อ…………………………….

ณ……………………………………………………………………………….

————————————-

ผู้มาประชุม…………………………………………………………………………………………………

ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี)

ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ………………………………………………………………………………….

เริ่มประชุมเวลา…………………………………………………………………………………………….

(ข้อความ) ………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………….

เลิกประชุมเวลา……………………………………………………………………………………………

ผู้จดรายงานการประชุม

          รายงานการประชุม : ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น เช่น “รายงานการประชุมคณะกรรมการ……………..”

          ครั้งที่ : การลงครั้งที่ที่ประชุม มี 2 วิธี ที่สามารถเลือกปฏิบัติได้ คือ

          1. ลงครั้งที่ที่ประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มครั้งแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุมเมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้ เริ่มครั้งที่ 1 ใหม่ เรียงไปตามลำดับ เช่น ครั้งที่ 1/2544

          2. ลงจำนวนครั้งที่ประชุมทั้งหมดของคณะที่ประชุม หรือการประชุมนั้นประกอบกับครั้งที่ที่ประชุมเป็นรายปี เช่น ครั้งที่ 36-1/2544

          เมื่อ : ให้ลงวัน เดือน ปี ที่ประชุม โดยลงวันที่ พร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราช เช่น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544

          ณ : ให้ลงชื่อสถานที่ ที่ใช้เป็นที่ประชุม

          ผู้มาประชุม : ให้ลงชื่อและ/หรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนหน่วยงาน ให้ระบุว่าเป็นผู้แทนของหน่วยงานใด พร้อมตำแหน่งในคณะที่ประชุม ในกรณีที่เป็นผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนและลงด้วยว่ามาประชุมแทนผู้ใด หรือตำแหน่งใด หรือแทนผู้แทนหน่วยงานใด

          ผู้ไม่มาประชุม : ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งมิได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุม ถ้าหากทราบด้วยก็ได้

          ผู้เข้าร่วมประชุม : ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้ามาร่วมประชุม และหน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี)

          เริ่มประชุม : ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

          ข้อความ : ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติดให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุมกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม (กรณีเป็นการประชุมที่ไม่ใช่การประชุมครั้งแรก)

วาระที่ 3 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ

วาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

          เลิกประชุมเวลา : ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

          ผู้จดรายงานการประชุม : ให้เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุล ไว้ใต้ลายมือชื่อในรายงานการประชุมครั้งนั้นด้วย

           ส่วนประกอบของข้อความในแต่ละเรื่อง ควรประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ความเป็นมา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการประชุมพิจารณาเรื่องนั้น ๆ

ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นหรือข้ออภิปรายต่าง ๆ ซึ่งคณะที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นหรือได้อภิปรายในเรื่องดังกล่าว

ส่วนที่ 3 มติที่ประชุม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ ที่จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐาน หรือใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อเรื่องต่าง ๆ ที่ได้ประชุม

          การจดรายงานการประชุม อาจทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 จดรายละเอียดทุกคำพูดของกรรมการ หรือผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พร้อมด้วยมติ

วิธีที่ 2 จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม อันเป็นเหตุผลนำไปสู่มติของที่ประชุม พร้อมด้วยมติ

วิธีที่ 3 จดแต่เหตุผลกับมติของที่ประชุม การจดรายงานการประชุมโดยวิธีใดนั้น ให้ที่ประชุมนั้นเองเป็นผู้กำหนด หรือให้ประธานและเลขานุการของที่ประชุม ปรึกษาหารือกันและกำหนด

          การรับรองรายงานการประชุม อาจทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 รับรองในการประชุมครั้งนั้น ใช้สำหรับกรณีเรื่องเร่งด่วนให้ประธานหรือเลขานุการของที่ประชุม อ่านสรุปมติที่ประชุมพิจารณารับรอง

วิธีที่ 2 รับรองในการประชุมครั้งต่อไป ให้ประธานหรือเลขานุการ เสนอรายงาน การประชุมครั้งที่แล้วมาให้ที่ประชุมพิจารณารับรอง

วิธีที่ 3 รับรองโดยการแจ้งเวียนรายงานการประชุม ใช้ในกรณีที่ไม่มีการประชุมครั้งต่อไป หรือมีแต่ยังกำหนดเวลาประชุมครั้งต่อไปไม่ได้ หรือมีระยะเวลาห่างจากการประชุมครั้งนั้นมาก ให้เลขานุการส่งรายงานการประชุมไปให้บุคคล ในคณะที่ประชุมพิจารณารับรองภายในระยะเวลาที่กำหนด

นอกจากวิธีการเขียนรายงานการประชุมแล้ว คุณสามารถหางานได้ง่ายผ่าน 3 ขั้นตอน (คลิกดูทีละขั้นตอนได้ทันที)

  • สมัครสมาชิกจ๊อบส์ดีบี เพื่อเริ่มหางาน
  • ฝาก Resume / Update เรซูเม่
  • หางาน ตามความต้องการได้ทันที

FutureLearn x JobsDB

           คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เกิดจากการจับมือกันระหว่าง JobsDB และ FutureLearn ภายใต้ชื่อแคมเปญ “ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่” ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ กับคอร์ส ฟรี! ที่จะอัพตัวคุณให้ก้าวล้ำนำใครในทุกเกมการแข่งขันกับเรา พันธมิตรด้านการหางานที่ดีที่สุดของคุณ และ FutureLearn ผู้ให้บริการคอร์สออนไลน์จากประเทศอังกฤษที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ดำเนินการมานานกว่า 9 ปี ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทั้งด้าน Emerging Skills และ Transferrable Skills ที่สามารถนำไป reskill หรือ upskill ใช้ในชีวิตการทำงานปัจจุบันได้

         เราพร้อมเคียงข้างคุณเสมอ เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ และสนับสนุนให้คุณประสบความสำเร็จในสายอาชีพหากคุณพร้อมออกจากกรอบ ติดปีกความรู้ และยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นกับเราแล้ว ลงทะเบียนฟรี ที่นี่

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

 เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รูปประโยคสำหรับเขียนอีเมลภาษาอังกฤษ

เทคนิคการประชุมแบบ Smarter Meeting

การเขียนรายงานการประชุม  ตัวอย่างรายงานการประชุม  รายงานการประชุม  วิธีเขียนรายงานการประชุม  เขียนรายงานการประชุม

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023วิธีการเขียนรายงานการประชุม สำหรับมือใหม่

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

ปีใหม่ต้องงานใหม่! 10 ข้อดีของการหางานใหม่ตั้งแต่ต้นปี

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

แนวทางพัฒนาตัวเองในยุค AI

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก จนบางครั้งมนุษย์อย่างเราๆ ก็ตามโลกดิจิทัลกันแทบไม่ทัน แต่นั่...

ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของผู้จดรายงานการประชุม

2.1 มีความรู้ดีหากไม่มีความรู้ในเรื่องที่ประชุม อาจจดหรือสรุปผิดได้ดังนั้น ผู้จดจึงต้องศึกษาเอกสาร ข้อมูลทุกระเบียบวาระอย่างละเอียดก่อนการประชุมเสมอ 2.2 มีสมาธิดีผู้จดจะต้องมีสมาธิดีกล่าวคือมีใจจดจ่ออยู่แต่เรื่องที่ประชุมตลอดเวลา บางครั้งแม้วอกแวก เพียงครู่เดียว อาจจับประเด็นไม่ได้หรือจดผิด

ลักษณะการเขียนรายงานการประชุมมีลักษณะอย่างไร

รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น เมื่อมีการประชุม จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการที่จะต้องรับผิดชอบจัดทำรายงานการประชุม ปัญหาของการเขียนรายงานการประชุมที่พบบ่อยคือ ไม่รู้วิธีการดําเนินการประชุมที่ถูกต้อง ไม่รู้จะจดอย่างไร ไม่เข้าใจประเด็นของ ...

การจดบันทึกการประชุมมีกี่วิธี

การเขียนรายงานการประชุมเปนการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในที่ประชุม ซึ่งวิธีจดบันทึก มีวิธี คือ จดละเอียดทุกคําพูด จดอยางยอ และจดแตเหตุผลและมติของที่ประชุม ทั้งนี้ รายงานการประชุมจึงมีทั้งสวนที่เปนสาระสําคัญและสวนที่เปนพลความ เปนรายละเอียด ปลีกยอยที่อาจไมจําเปนตองบันทึกไวในรายงานการประชุมก็ได ผูที่จะ ...

ในการจดบันทึกการประชุม ควรจดอย่างไร

ลักษณะรายงานประชุมที่ดี.
ผู้ที่จะทำการจดจะต้องเข้าใจก่อน เช่น จะต้องไม่จดคำพูดโต้แย้งในการประชุมลงไป แล้วก็ไม่จดในรายละเอียดปลีกย่อย แต่จะจดเฉพาะประเด็นที่เป็นประเด็นนำไป ... .
ตรงประเด็น การประชุมจะพูดกันด้วยสำนวนโวหารมากมาย พูดเก่งเป็นนักพูดแต่เวลาที่จดรายงานการประชุมนั้น จะไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยเยิ่นเย้อหรือสำนวนโวหาร.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita