ใครถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียรอง

ความสำคัญและความมุ่งมั่น

  • ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการบริหารผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management) ซึ่งหมายถึง บุคคล หน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถสร้างผลกระทบ และ/หรือ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงมีความสนใจ หรือมีความเกี่ยวข้องต่อผลการดำเนินการของบริษัท
  • การระบุผู้มีส่วนได้เสียที่ชัดเจนจะช่วยให้สามารถกำหนดบทบาท ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

เป้าหมายสำคัญ

  • เพื่อให้บริษัทสามารถบริหารจัดการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความสัมพันธ์อันดี และสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียนับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยลดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ในการนี้ ปตท.สผ. ได้จัดทำเอกสารแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียขึ้น เพื่อให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ ซึ่งการระบุและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียจะช่วยให้ ปตท.สผ. สามารถวางแผนงานเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสม และการจะได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แนวทางการดำเนินงานที่มีความเหมาะสมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการ

การบริหารจัดการประเด็นปัญหาและผู้มีส่วนได้เสีย

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ ปตท.สผ. เป็นองค์กรที่มั่นคงและยั่งยืนคือ การสร้างและดำรงความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียและความสามารถในการบริหารจัดการผลกระทบจากการปฏิบัติงานต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ปตท.สผ. ได้พัฒนาระบบการบริหารประเด็นและผู้มีส่วนได้เสีย (Issue and Stakeholder Management System - ISMS) เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสังคมให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่ปฏิบัติการทั้งในและต่างประเทศ โดย ISMS เป็นระบบเชิงรุกที่แนะนำวิธีวิเคราะห์ วางแผน วัดผล และติดตามผลกระทบทางสังคม มุ่งเน้นในเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านสังคม ISMS จะแสดงให้เห็นถึงการบรรเทาความเสี่ยงทางสังคมโดยการควบคุมผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติงานของบริษัท การริเริ่มหรือปรับเปลี่ยนโครงการพัฒนาสังคมตามควร และการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

กรอบการดำเนินงานของ ISMS ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

  • การกำหนดเนื้อหา: ตั้งวัตถุประสงค์การวิเคราะห์ ระบุรายละเอียดโครงการ รวมถึงบริบททั้งจากภายในและภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • การวิเคราะห์: ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านสังคมและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการและทำการประเมินความสำคัญเพื่อนำมาพัฒนาแผนการบริหารจัดการ
  • การปฏิบัติ: ดำเนินแผนการบริหารประเด็นและผู้มีส่วนได้เสียและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน
  • การประเมินผลโครงการและสื่อสาร: ประเมินผลการดำเนินงานและแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ

ปตท.สผ. สนับสนุนให้ทุกพื้นที่ที่ ปตท.สผ. ดำเนินการนำระบบการบริหารประเด็นและผู้มีส่วนได้เสีย (ISMS) ไปใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านสังคมตั้งแต่เริ่มโครงการสำรวจและผลิตไปจนถึงการสละหลุม และได้นำ ISMS มาใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านสังคมในทุกโครงการที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมดตั้งแต่ปี 2558 โดยระบบดังกล่าวได้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเรื่องการจัดการทางด้านสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ปตท.สผ. กำหนดให้ทุกโครงการทบทวนและทำการประเมินความเสี่ยงทางด้านสังคมผ่านระบบออนไลน์ (ISMS Report Online System) ในทุกปีอีกด้วย นอกจากนี้พนักงานชุมชนสัมพันธ์จะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าและประเมินผลกิจกรรมต่าง ๆ ทุกเดือนให้กับสำนักงานใหญ่ โดยคาดหวังว่า ISMS จะแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงทางสังคมที่เป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจทางธุรกิจ และการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมด้วย ISMS จะนำไปสู่การพัฒนาแผนการลดผลกระทบและโครงการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม ทำให้ ปตท.สผ. สามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียและบริษัทได้อย่างสูงสุด

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

เพื่อความชัดเจนในการบริหารจัดการ การติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือ ประสานงาน และการให้การสนับสนุนกิจกรรมและการปฏิบัติงานของกันและกันอย่างยั่งยืน ปตท.สผ. ได้จัดกลุ่มกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท โดย ปตท.สผ. ได้แบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 9 กลุ่มหลัก ซึ่งประกอบด้วย

  1. หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล: หน่วยงานราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด และ หน่วยงานที่มีบทบาทในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงานโดยตรง
  2. ผู้ค้า คู่ค้า/ผู้รับเหมา:
    1. ผู้จัดหา บุคคลหรือองค์กร ที่เป็นผู้จัดหาสินค้าและ/หรือบริการให้แก่บริษัท
    2. ผู้รับเหมา บุคคลหรือองค์กร ที่ทำหน้าที่รับเหมาหรือรับจ้างให้ทำการงานอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับบริษัท ตามที่กำหนดในสัญญา
  3. ลูกค้า: ผู้ซื้อสินค้าและบริการของ ปตท.สผ.
  4. พนักงาน: พนักงานในสังกัด ปตท.สผ. และพนักงานบริษัทในกลุ่ม ปตท.สผ.
  5. ผู้ถือหุ้น สถาบันการลงทุน สถาบันการเงิน และเครดิตเตอร์
  6. พันธมิตรทางธุรกิจ หุ้นส่วน และผู้ร่วมลงทุนทางธุรกิจ
  7. ชุมชน: ชุมชน ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาสาสมัคร ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
  8. องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และสถาบันการศึกษา: อาทิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี-สสวท. องค์กรอิสระอื่น ๆ สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวของกับการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงาน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)
  9. สำนักข่าวและสื่อมวลชน: สื่อมวลชน สำนักข่าว สถานีข่าวทั้งในและต่างประเทศ Social Media Public influencer และ Bloggers

กิจกรรมสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย

กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นช่องทางในการสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นโอกาสให้บริษัทได้รับฟังข้อคิดเห็น ข้อกังวล และความคาดหวัง และได้สื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด โดยบริษัทจะนำประเด็นต่าง ๆ ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น

ในปี 2564 ปตท.สผ. ได้รับการร้องเรียนจำนวน 1 เรื่องเกี่ยวกับผลกระทบด้านการขนส่ง อย่างไรก็ตาม ข้อร้องเรียนนั้นได้ถูกแก้ไขและปิดประเด็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่เกิดการบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นความคาดหวัง

ปตท.สผ. ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างครอบคลุม (Stakeholder Inclusiveness) เป็นประจำทุกปี เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นต่อประเด็นด้านการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัท ผ่านการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ทั้งนี้ ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำไปพิจารณาจัดลำดับประเด็นสำคัญและปรับปรุงการบริหารจัดการของบริษัท โดยในปี 2564 มีประเด็นสำคัญและข้อมูลการนำไปดำเนินการที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

การรับเรื่องร้องเรียนผู้มีส่วนได้เสีย

การรับเรื่องร้องเรียน

ปตท.สผ. ได้จัดหากลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ในพื้นที่ปฏิบัติการ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งเรื่องร้องเรียนได้ที่เจ้าหน้าที่องค์กรสัมพันธ์ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หรือส่งมายังผู้รับผิดชอบในส่วนกลาง โดยกลไกการร้องเรียนมี 2 วิธีคือ

1. ระบบการจัดการเหตุการณ์ (i-SSHE System) เป็นระบบสำหรับรายงานเหตุการณ์และเรื่องร้องเรียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมจะรับและบันทึกคำร้องเรียนจากชุมชนเข้าระบบ

2. เว็บไซต์ของบริษัท ได้จัดช่องทางส่งคำร้องเรียนผ่าน "Contact Us" และเบอร์โทรศัพท์สายตรงที่เบอร์ +66 (0) 2537-4000 โดยช่องทางนี้เป็นการรวบรวมเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไว้ที่ศูนย์เดียวกัน เพื่อให้แต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาติดตามและแก้ไข โดยสามารถเข้าถึงได้จากการรับเรื่องร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.สผ.

นอกจากนี้ ปตท.สผ. ได้พัฒนาแนวทางการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อสร้างระบบการรับเรื่องร้องเรียนที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทสามารถแจ้งข้อร้องเรียน รวมถึงมีการติดตามสถานะและการบริหารจัดการประเด็นหรือข้อร้องเรียนในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการจัดการแก้ไขข้อร้องเรียนดังกล่าวภายในเวลาที่เหมาะสม

แบบการบันทึกข้อร้องเรียนจะใช้เพื่อติดตามข้อร้องเรียนจนกระทั่งปิดเรื่อง ในขณะที่ระบบการจัดการเหตุการณ์ (i-SSHE System) จะใช้เพื่อติดตามการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนดังกล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าถึงได้จาก Grievance Handling Guideline

การบริหารจัดการผลลัพธ์ทางสังคม

ด้วยสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติงานภายใต้มาตรการความปลอดภัยในระดับสากล และความมุ่งมั่นที่จะเติบโตไปกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ปตท.สผ. ทำการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบต่อชุมชนอย่างรอบด้านในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดมาตรการและแผนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ลดและขจัดความเสี่ยงและ/หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการปฏิบัติงาน กำหนดแผนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย พัฒนาเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ มาตรการการป้องกัน/ลดผลกระทบ รวมถึง ระบุช่องทางการสื่อสาร สอบถาม และ/หรือการร้องเรียนที่ชัดเจน พร้อมทั้งรับฟังข้อห่วงกังวลและ/หรือข้อคิดเห็นจากชุมชน เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรการและ/หรือแผนในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย

ในกรณีทีผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ และ/หรือความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงานของบริษัท ผู้มีส่วนได้เสีย/ผู้ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทและ/หรือผู้รับเหมาได้โดยตรง ผ่านช่องทางที่บริษัทได้แจ้งไว้ในเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ ซึ่งหลังจากได้รับการแจ้งข้อร้องเรียน ปตท.สผ. จะดำเนินการ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจผลกระทบ/ความเสียหาย ประเมินความเสียหาย กำหนดแนวทาง และแผนการกำจัด/บรรเทาความเสียหาย/การจ่ายค่าชดเชย (ถ้ามี) และสื่อสารให้ผู้ร้องเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และให้การยอมรับแนวทางการแก้ไข/บรรเทาปัญหา รวมถึงค่าชดเชยความเสียหาย (ถ้ามี) และดำเนินการแก้ไขผลกระทบและ/หรือความเสียหายนั้นโดยไม่ชักช้า ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management Guideline)

การย้ายถิ่น

ในการดำเนินกิจกรรมของการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบางครั้งไม่อาจเลี่ยงที่จะต้องเข้าใช้หรือผ่านเข้าพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคล ในหลาย ๆ ครั้งการได้มาซึ่งสิทธิ์ในการใช้พื้นที่เพื่อปฏิบัติงานนั้น อาจทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน อาทิ การย้ายถิ่นที่พักอาศัย หรือแหล่งประกอบสัมมาอาชีพ รวมไปถึงการสูญเสียทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง หรือการเข้าถึงทรัพย์ นำมาซึ่งการสูญเสียแหล่งรายได้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย

ในการให้ได้มาซึ่งพื้นที่ปฏิบัติการนั้นบริษัทมุ่งหวังที่จะได้รับความร่วมมือด้วยความเต็มใจจากเจ้าของพื้นที่หรือผู้ใช้พื้นที่ร่วมมากกว่าการบังคับใช้ตามกฎหมาย ดังนั้น ปตท.สผ. จึงได้พัฒนาคู่มือการลดผลกระทบจากการย้ายถิ่นฐาน (PTTEP Involuntary Resettlement Guideline) ดังแสดงในรูปภาพด้านล่างนี้ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการให้ได้มาซึ่งพื้นที่ปฏิบัติการนั้น

จนถึงปัจจุบัน ปตท.สผ. ไม่เคยต้องทำการย้ายถิ่นฐานของชุมชนใด ๆ เพื่อการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดี บริษัทได้จัดให้มีระบบรองรับเพื่อการบริหารจัดการและประเมินความมีประสิทธิภาพของการดำเนินการ

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าถึงได้จาก Involuntary Resettlement Guideline

การอนุรักษ์วัฒนธรรมและกลุ่มชนพื้นเมือง

ปตท.สผ. เคารพต่อสิทธิ ความเสมอภาคและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในทุกพื้นที่ที่บริษัทเข้าไปปฏิบัติงาน ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปตท.สผ. จะทำการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการปฏิบัติงาน การดำเนินโครงการ วิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชน รวมถึงกลุ่มชนพื้นเมือง เพื่อการวางแผนการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ ให้ความสนับสนุน และ/หรือสร้างการยอมรับให้กับชุมชน อันรวมถึง การกำหนดแผนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย พัฒนาเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ ในภาษาท้องถิ่นที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ มาตรการการป้องกัน/ลดผลกระทบ รวมถึง ระบุช่องทางการสื่อสาร สอบถาม และ/หรือร้องเรียนที่ชัดเจน พร้อมทั้งรับฟังข้อห่วงกังวลและข้อคิดเห็นจากชุมชน เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรการและ/หรือแผนในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ของ ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน และกลุ่มชนพื้นเมืองให้น้อยที่สุด

ในกรณีที่กลุ่มชนพื้นเมืองได้รับความเดือดร้อนรำคาญ และ/หรือความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงานของบริษัท กลุ่มชนพื้นเมือง สามารถแจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท และ/หรือผู้รับเหมาได้โดยตรง หรือ ผ่านตัวแทนซึ่งมีทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่น ตามช่องทางที่บริษัทได้แจ้งไว้ในเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการเช่นเดียวกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งหลังจากได้รับการแจ้งข้อร้องเรียน ปตท.สผ. จะดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่สำรวจผลกระทบ ความเสียหาย ประเมินความเสียหาย กำหนดแนวทาง และแผนการกำจัด บรรเทาความเสียหาย การจ่ายค่าชดเชย (ถ้ามี) และสื่อสารให้ผู้ร้องเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และให้การยอมรับแนวทางการแก้ไข บรรเทาปัญหา รวมถึงค่าชดเชยความเสียหาย (ถ้ามี) และดำเนินการแก้ไขผลกระทบและความเสียหายนั้นโดยเร็วที่สุด ตามที่กำหนดไว้ในแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management Guideline)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคืออะไร

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่ได้รับผลกระทบ และ/หรือส่งผลกระทบต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจเป็นบุคคลภายในหรือภายนอกองค์กร และมีความสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยอ้อมกับองค์กรก็ได้ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักสำหรับองค์กรทั่วไปมักหมายถึงนักลงทุน พนักงาน และลูกค้า อย่างไรก็ตาม แนวคิดในปัจจุบันมัก ...

ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท คือ คนกลุ่มใด

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นใครได้บ้าง - บุคลากรในองค์กร - เจ้าของ/ผู้ลงทุน (เช่น ผู้ถือหุ้น รายบุคคลหรือกลุ่ม รวมถึงภาคสาธารณะซึ่งมีส่วนได้เสียเฉพาะด้านกับองค์กร) - ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร และ - สังคม ในรูปของชุมชน หรือสาธารณชนผู้ได้รับผลกระทบจากองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ขององค์กร

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใคร ( Skateholder Management)

ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการบริหารผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management) ซึ่งหมายถึง บุคคล หน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถสร้างผลกระทบ และ/หรือ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงมีความสนใจ หรือมีความเกี่ยวข้องต่อผลการดำเนินการของบริษัท

ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

และวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ผู้รับผิดชอบในการ วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key) ขั้นพื้นฐาน (primary) และขั้นรอง (secondary) โดยหลักการสำคัญ คือ การ วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สามารถมีผลต่อกิจกรรมทั้งด้าน บวกและลบ ขั้นตอนต่อมา คือ การอธิบาย ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita