ศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดไหน

ความเป็นมาของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี

              ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุทัยธานี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาพิเศษสำหรับคนพิการ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเตรียมความพร้อมสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใด ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก 

เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ โดยใช้โรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัยอุทัยธานี เป็นสถานที่ให้บริการ ต่อมาวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี และได้รับความเมตตาจากนายพยุงศักดิ์ เสสะเวช อดีตผู้ว่าราชการจัดหวัดอุทัยธานี และหม่อมราชวงศ์จิยากร เสสะเวช อดีตนายกสมาคมเหล่ากาชาดจังหวัดอุทัยธานี จัดหาที่ดินราชพัสดุเป็นจำนวน ๑๒ ไร่ จัดหาเงินบริจาคทุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ ตลอดจน พ่อค้า ประชาชน 

ในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนอาคารเรือนนอนชาย-หญิง โรงอาหาร และวัสดุ ครุภัณฑ์ในการบำบัดฟื้นฟูดูแลช่วยเหลือเด็กพิการใช้งบประมาณกว่า ๑๕ ล้านบาท 

                พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งมูลนิธิรวมใจกาชาดเพื่อเด็กพิการจังหวัดอุทัยธานีเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี ในการหาเด็กพิการในจังหวัดอุทัยธานี จากนั้นได้ กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นประธานเปิดอาคารรวมใจกาชาด เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ และต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมการดำเนินงาน ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานีเป็นการ ส่วนพระองค์ อีกครั้ง ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๘ และวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณ ยิ่งสำหรับพวกเราชาวการศึกษาพิเศษ ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีนายไพฑูรย์ เรืองสุวรรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี มีคณะครูและบุคลากรจำนวน ๕๕ คนทำหน้าที่ประสานงาน บูรณาการกับทุกหน่วยงาน จัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตทั้งในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยครอบคลุม พื้นที่ในจังหวัดอุทัยธานี ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร ประชากร ๓๒๘,๖๗๕ คน ๘ อำเภอ ๗๐ ตำบล ๖๔๒ หมู่บ้าน ๔๙ อบต. มีคนพิการในจังหวัด อุทัยธานี จำนวน ๑๐,๑๕๑ คน 

 กระทรวงศึกษาธิการตระหนัก และเห็นความจำเป็นที่ต้องพัฒนาการศึกษาพิเศษ ให้แก่เด็กพิการหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และจิตใจ เพื่อให้คนพิการซึ่งเป็นกลุ่มด้อยโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างกว้างขวางทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ร่วมกันจัดทำแบบแผนพัฒนา
การศึกษาพิเศษด้านคนพิการขึ้น เพื่อให้เป็นแม่บท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำรายละเอียดแผนโครงการ และงบประมาณต่อไปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติแนวทางการจัดการศึกษา
โดยรัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (มาตรา 42)และระบุว่าบุคคลที่พิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 55) รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ
หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้ (มาตรา 80)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545) เป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกฎหมายลูกตามบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (มาตรา 81) กำหนดไว้หมวดที่ 2 เรื่องสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ น้อยกว่า สิบสองปีที่รัฐต้องจัดอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิโอกาส ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น(มาตรา 10)ในปี 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอมาตรการจัดการศึกษาเพื่อให้คนพิการต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 และได้ลงมติเห็นชอบในหลักการมาตรการจัดการศึกษาพิเศษ และได้ดำเนินการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ซึ่งในแผนดังกล่าว
ได้กำหนดเป็นนโยบาย และมาตรการด้านบริการว่าจัดให้มีศูนย์หรือหน่วยงานบริการให้คำปรึกษา แนะนำวินิจฉัยความพิการตลอดจนช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม แก่คนพิการทุกวัย และครอบครัวในระยะเร่งด่วนด้านโครงสร้างบริหารการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ คือให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด ทำหน้าที่เป็นศูนย์เตรียมการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จัดทำและจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้บริการ การศึกษา บำบัดฟื้นฟู และดำเนินการส่งต่อโรงเรียนและชุมชน โดยมีเงื่อนไขใน ขั้นนี้คือ ให้โรงเรียนศึกษาพิเศษในสังกัดกรมสามัญศึกษา ใน 35 จังหวัด ทำ หน้าที่เป็นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด และเลือกโรงเรียนอื่นที่เหมาะสมในอีก 40 จังหวัดซึ่งต่อมากระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษาได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษา
พิเศษ เขตการศึกษา จำนวน 13 ศูนย์ และศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอีก 63 ศูนย์ เมื่อวันที่ 31กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ได้มีการปฏิรูประบบการทำงานของกระทรวงต่างๆ ทำให้ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด และศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ได้ย้ายสังกัดเดิมไปอยู่ในสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือตอนบนของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542 ได้เห็นชอบในหลักการของการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ โดยอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ และจัดโครงสร้างการบริหารงาน การจัดการ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด โดยทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำและจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ในการให้บริการ การช่วยเหลือ
ระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อมทางการศึกษาการบำบัดฟื้นฟู ดำเนินงานระบบส่งต่อ การสนับสนุนการจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้พิการ สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งทางรัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2542 เป็นปีการศึกษาเพื่อคนพิการ โดยมีคำขวัญว่า“คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน” โดยให้โรงเรียนศึกษาพิเศษ สังกัดกรมสามัญศึกษา ใน 35 จังหวัดทำหน้าที่เป็นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดก่อน รวมทั้งสิ้น 40 จังหวัดสำหรับจังหวัดแพร่ ทางกรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาพิเศษแพร่คือ นางพิกุล เลียวสิริพงษ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาพิเศษแพร่ ในขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ สำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่อาคารเรียนกึ่งถาวร จำนวน 2 ห้องโดยเป็นห้องสำนักงาน และห้องกายภาพบำบัด ในปี พ.ศ. 2545กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศอนุมัติการกำหนดตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์การศึกษาพิเศษที่ ศธ 1305/980 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2545 โดยให้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด และได้แต่งตั้งให้นายธนพันธ์ สุริยาศรี อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ ตามคำสั่งกรมสามัญศึกษา ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2545ได้ประสานงาน และรับความอนุเคราะห์จากทางโรงเรียนศึกษาพิเศษแพร่ในการสนับสนุน งานด้านต่าง ๆมาตามลำดับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ ได้ขอใช้อาคารสำนักงานชั่วคราวของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองแพร่ (สปอ.เมืองแพร่ เดิม ) มาใช้เป็นอาคารสำนักงานชั่วคราว ตั้งอยู่ที่ 13ถนนสันเหมืองหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 11กรกฎาคม 2548 และในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ได้ย้ายสำนักงานแห่งใหม่ ซึ่งกรรมการโครงการกาดน้ำทอง
ประกอบด้วย
1. นายบุนกิ้ม แซ่ลิ้ม
2. นายทวีศักดิ์ ล้อบุณยารักษ์
3. นายวินัย สราญจิตกุล
ได้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยมี นายธีระ จันทรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้รับมอบ พร้อมกับทำบุญ โดยมีนายสันทัด จัตุชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระมหาโพธิวงศาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับนายประหยัด ทรงคำ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดแพร่ และศูนย์ใกล้เคียงร่วมในพิธี
ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่เลขที่ 444/6 หมู่ 9 ตำบลนาจักรอำ เภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000 หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 054-653281โทรสาร 054-653280 บริหารโดย นางบุณยรักษ์ ภู่พัฒน์ ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

ศูนย์การศึกษาพิเศษ คืออะไร

การจัดตั้งโรงเรียนและศูนย์การเรียนเฉพาะเพื่อการศึกษาพิเศษ - เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละลักษณะโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด หรือจัดตั้งเป็นชั้นเรียนเฉพาะในโรงเรียนปกติ เช่น ชั้นเรียนเด็กพิเศษ

ศูนย์การศึกษาพิเศษมีที่ไหนบ้าง

ศูนย์การศึกษาพิเศษ.

ศูนย์การศึกษาพิเศษมีกี่แห่ง

ประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศสถานที่ตั้ง “ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา” จำนวน 13 ศูนย์ และ “ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด” จำนวน 64 ศูนย์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและให้บริการการศึกษาพิเศษตามภารกิจของศูนย์การศึกษา ...

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ทํางานอะไร

การประเมินศักยภาพพื้นฐานของเด็กพิการ ●จัดหาสื่อ อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับความพิการของเด็ก ●การประเมินความก้าวหน้า การสรุปพัฒนาการตามแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล ●การนิเทศติดตาม ประเมินผล ●การส่งต่อเด็กพิการไปรับบริการที่เหมาะสม เช่น บริการทางการแพทย์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita