ฟิล์มโทรศัพท์แบบไหนดีที่สุด

กระจกนิรภัย (Tempered Glass) มีคุณสมบัติป้องกันรอยขีดข่วน ดูดซับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันการแตกกระจาย อีกทั้งยังมีความใสสีสันคมชัดใกล้เคียงกับหน้าจอจริง ซึ่งความทนทานต่อแรงกระแทกของฟิล์มกระจกสังเกตุจากสัญลักษณ์ XH ซึ่งตัวเลขด้านหน้าตัว H จะเป็นตัวบอกระดับความแข็งของหน้าจอ ยิ่งค่าตัวเลขมากยิ่งแข็งแรงมาก ซึ่งระดับความแข็งสูงสุดคือ 9H อย่างไรก็ตาม ตัวแผ่นฟิล์มกระจกมีลักษณะแข็งและมีความหนา จึงอาจจะตอบสนองต่อการสัมผัสได้ไม่รวดเร็วเท่าฟิล์มพลาสติก

ทั้งนี้ทั้งนั้น ความแข็งระดับ 9H ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันจอแตกได้ 100% แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นฟิล์มกันรอยที่สามารถปกป้องหน้าจอของเราจากรอยขีดข่วนและแรงกระแทกได้ดีที่สุดค่ะ 

ฟิล์มกระจกแบบเต็มจอกับไม่เต็มจอต่างก็มีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันไป การเลือกขนาดฟิล์มที่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใส่เคสโทรศัพท์แบบไหนค่ะ ฟิล์มกระจกแบบไม่เต็มจอจะครอบคลุมเฉพาะบริเวณจอแสดงผล และเหลือพื้นที่ขอบรอบ ๆ หน้าจอเอาไว้ ข้อดีของฟิล์มแบบนี้คือเราสามารถใส่เคสมือถือแบบไหนก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าขอบเคสจะดันขอบของฟิล์มกระจก แถมราคามักจะถูกกว่าแบบเต็มจอ แต่ข้อเสียที่แลกมาคือจะไม่สามารถป้องกันแรงกระแทกหรือรอยขีดข่วนที่เกิดบริเวณขอบจอได้ ถ้าทำโทรศัพท์ตกหรือขอบจอกระแทกกับของแข็ง ก็มีโอกาสที่กระจกจริงของหน้าจอจะเกิดรอยแตกร้าวค่ะ

ส่วนฟิล์มกระจกแบบเต็มจอนั้นจะกินพื้นที่ทั้งหน้าจอจรดขอบ ทำให้ขอบจอเองก็ได้รับการป้องกันจากฟิล์มไปด้วย เวลาทำโทรศัพท์ตก ตัวฟิล์มกระจกนี้เป็นเสมือนด่านแรกที่ป้องกันกระจกของหน้าจอมือถือไม่ให้แตก ข้อควรระวังในการเลือกฟิล์มแบบนี้ เราต้องดูว่าฟิล์มกระจกนั้นมีแถบกาวเก็บขอบกันฝุ่นหรือไม่ เนื่องจากฝุ่นผงเล็ก ๆ อาจเข้าไปตามขอบฟิล์มที่ไม่มีแถบกาว จนเป็นอุปสรรคในการมองเห็นจอแสดงผลได้ และใครที่ใช้มือถือจอโค้งก็อาจประสบปัญหาติดฟิล์มกระจกไม่แนบสนิท ส่งผลให้ประสิทธิภาพการป้องกันของฟิล์มลดน้อยลงเช่นกัน นอกจากนี้ ก็ต้องเลือกเคสมือถือที่ไม่ดันขอบฟิล์มแบบเต็มจอด้วยค่ะ

ตั้งแต่ที่สมาร์ทโฟนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้มือถือแบบทัชสกรีนกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันในชีวิตประจำวันกันซะแล้ว แถมยังทำให้ “ฟิล์มกันรอย” กลายเป็นไอเทมเสริมสุดฮิต เพราะแน่นอนว่าหลายคนอาจจะกลัวรอยขีดข่วน จอแตก จากการทำโทรศัพท์ตก หรือกระแทก การติดฟิล์มกันรอยช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันฟิล์มกันรอยโทรศัพท์ มีให้เลือกหลายรูปแบบมาก ๆ วันนี้ผมเลยจะชวนทุกคนมาเลือกฟิล์มกันรอยให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองเพิ่มขึ้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย!

ฟิล์มกันรอยแบบใส สามารถป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอได้ด้วยการเคลือบฟิล์มแข็งบาง (Hard Coating) เนื้อฟิล์มติดง่าย ป้องกันการเกิดรอยบนแผ่นฟิล์มด้วยครับ ถือเป็นฟิล์มกันรอยขั้นเบสิกที่หลายคนนิยมใช้ เพราะเมื่อติดแล้วหน้าจอยังคมชัด สีสันสดใสเหมือนปกติ โดยตัวแผ่นฟิล์มจะมีความใสและบางเป็นพิเศษ นอกจากนี้แผ่นฟิล์มกันรอยยังช่วยกรอง UV ที่มาจากหน้าจออีกด้วย จึงช่วยถนอมสายตาได้ในระดับหนึ่ง

และด้วยความคมชัดของหน้าจอและสีสันนี่แหละครับ ที่ผมว่าน่าจะตอบโจทย์สายซีรีส์ หรือเกมเมอร์ ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ เพราะไม่ทำให้เสียอรรถรสอย่างแน่นอน แต่อาจจะต้องระวังการเกิดรอยนิ้วมือ คราบมัน คราบเหงื่อ ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย จนทำให้เราต้องเช็ดหน้าจอบ่อย ๆ กันด้วยนะครับ

ฟิล์มกันรอยแบบด้าน เป็นฟิล์มกันรอยที่เมื่อแปะแล้วอาจจะไม่คมชัดเท่าฟิล์มแบบใส แต่ยังสามารถมองเห็นและใช้งานได้ตามปกติ โดยข้อดีคือยังช่วยป้องกันรอยนิ้วมือ และคราบมันบนเนื้อฟิล์มได้พอสมควร อีกทั้งยังลดแสงสะท้อนบนหน้าจอได้ดีใช้งานกลางแจ้งได้สะดวกมาก ซึ่งฟิล์มกันรอยแบบด้านมาพร้อมคุณสมบัติกันรอยขีดข่วนสูง และยังช่วยถนอมสายตา ทั้งนี้หากเราเลือกซื้อฟิล์มที่คุณภาพไม่ดี ก็อาจจะทำให้การแสดงผลบนหน้าจอมีสีที่ผิดเพี้ยนได้เช่นกัน

โดยฟิล์มด้านตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้หลากหลายเลยครับ เช่น คนรักความสะอาด ไม่ชอบให้มีคราบมัน หรือคราบอื่น ๆ ที่มักจะติดอยู่บนฟิล์ม เหมือนเวลาใช้แบบใส หรือใครที่ต้องทำงาน ใช้สมาร์ทโฟนเกือบตลอดเวลา การใช้ฟิล์มด้าน ก็ช่วยลดแสงสะท้อนบนหน้าจอ และถนอมสายตาของคุณได้มากขึ้นด้วยนะครับ

ฟิล์มกันรอยแบบกระจก ความจริงแล้วฟิล์มกระจกสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายแบบ ดังนี้

  • ฟิล์มกระจก

    ผลิตจากเนื้อฟิล์มชนิดหนึ่งที่มีสารเคลือบพิเศษ ทำให้สามารถเห็นเงาบนแผ่นฟิล์ม โดยเมื่อหน้าจออยู่ในโหมด Stand by จะเห็นหน้าจอเหมือนกระจกเงาสะท้อนได้ เหมือนกระจกที่เราเอาไว้ส่องทั่ว ๆ ไปเลยครับ แต่เมื่อเราใช้งานหน้าจอ ก็จะสามารถมองเห็นหน้าจอและใช้งานได้ตามปกติ

  • ฟิล์มกระจกนิรภัย

    พูดถึงสิ่งนี้จะว่าเป็นฟิล์มก็ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ เพราะมันคือกระจกนิรภัยสำหรับปกป้องหน้าจอ โดยจุดเด่นหลัก ๆ คือ ความแข็งแรงทนทานกว่าแบบฟิล์ม ช่วยลดการแตกร้าวของหน้าจอหากทำตกพื้น อีกทั้งยังป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี ลดรอยนิ้วมือ หรือคราบมันต่าง ๆ ได้ ซึ่งถึงแม้พื้นผิวจะค่อนข้างหนากว่าฟิล์มก็ไม่เป็นปัญหาเลยครับ เพราะเรายังสามารถสัมผัสหน้าจอและใช้งานได้ตามปกติแน่นอน

    สำหรับใครที่รักษาของและขอปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อสมาร์ทโฟนสุดที่รักนั้น การเลือกใช้เป็นฟิล์มกระจกก็ถือว่าแข็งแรง และช่วยป้องกันการกระแทกได้ไม่น้อย ซึ่งใครที่เป็นสายเที่ยว หรือสายลุย ที่อาจเสี่ยงทำมือถือตกกระแทก การติดฟิล์มกระจกก็ช่วยเซฟได้ดีเลยทีเดียว

ฟิล์มน้ำ หรือฟิล์มไฮโดรเจล (Hydrogel Film) คือ ฟิล์มกันรอยรูปแบบใหม่ ที่จุดเด่นคือบางเฉียบจนเหมือนกับไม่ได้ติด ทำให้เราสัมผัสความคมชัด และสีสันของหน้าจอได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมาพร้อมกับความแข็งแรง ทนทาน ที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับฟิล์มกระจกด้วยนะครับ โดยตัวฟิล์มน้ำสามารถรับแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในท้องตลาดที่มีขายในปัจจุบันมีทั้งแบบใสและแบบด้าน ให้เลือกใช้งานอีกด้วย

จริง ๆ ต้องบอกเลยว่าฟิล์มน้ำ อาจจะเหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว แต่ด้วยความบางของฟิล์มชนิดนี้ เราสามารถมั่นใจได้เลยว่าไม่มีปัญหาฟิล์มขอบลอย หรือ ฟิล์มดันเคสโทรศัพท์ เลยครับ ใครที่กังวลเรื่องการใช้งานตรงนี้ก็สบายใจได้เลย

ฟิล์มกันรอยแบบป้องกันความเป็นส่วนตัว ปกติแล้วฟิล์มทุกชนิดจะสามารถมองเห็นหน้าจอได้จากทุกมุมตามปกติใช่ไหมครับ แต่สำหรับฟิล์มกันรอยชนิดนี้ จะสามารถมองเห็นหน้าจอสมาร์ทโฟนได้แค่มุมด้านหน้าเท่านั้น หากมองจากมุมข้าง หรือมุมอื่น ๆ จะมองเห็นเป็นแค่จอมืด ๆ นั่นเอง เพื่อป้องกันผู้อื่นแอบดูหน้าจอ

ใครที่หวงความเป็น Privacy ให้ความสำคัญเป็นส่วนตัวมาก ๆ ฟิล์มกันรอยชนิดนี้ถือว่าตอบโจทย์ได้มากเลยครับ ยิ่งถ้าต้องใช้สมาร์ทโฟนท่ามกลางฝูงชนอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะบนรถสาธารณะ หรือสถานที่ต่าง ๆ ก็ค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว 

เห็นคุณสมบัติของฟิล์มกันรอยชนิดต่าง ๆ รวมถึงข้อแนะนำกันไปแล้ว น่าจะพอเลือกกันได้แล้วนะครับว่าฟิล์มกันรอยแบบไหนที่มีฟังก์ชันเหมาะกับการใช้งานของเรา ยังไงอย่าลืมเลือกใช้ให้ตรงกับความชอบและไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันด้วยนะครับ งานนี้จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกันบ่อย ๆ แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้สมาร์ทโฟนของคุณได้อีกด้วยนะครับ

ติดฟิล์มโทรศัพท์ มีแบบไหนบ้าง

ฟิล์มกันรอยมือถือมีกี่แบบ เลือกติดฟิล์มยังไงให้เหมาะกับคุณ.
1. ฟิล์มแบบใส (Clear Screen Protector) ... .
2. ฟิล์มแบบด้าน (Anti-glare Screen Protector) ... .
3. ฟิล์มกันเสือก (Privacy Screen Protector) ... .
4. กระจกนิรภัย (Tempered Glass Screen Protector).

กระจกกันรอยแบบไหนดี

10 อันดับ ฟิล์มกระจก ยี่ห้อไหนดี กันรอยขีดข่วน ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือ.
NILLKIN - ฟิล์มกระจก รุ่น CP+ Pro..
FOCUS - ฟิล์มกระจกมือถือ รุ่น เต็มจอ.
HI-SHIELD - ฟิล์มกระจก รุ่น 3D UV Glue..
ZEELOT - ฟิล์มกระจกมือถือ รุ่น PureGlass..
Commy - ฟิล์มกระจก รุ่น 3D UV Curve..

ติดฟิล์มกันรอยไอโฟน แบบไหนดี

1. ฟิล์มกันรอยนิรภัย (ฟิล์มกระจก) ทำมือถือตก/หลุดมือบ่อย เพราะฟิล์มกระจกมีความแข็งแรงและหนา ถ้าติดฟิล์มกระจกก็จะเป็นเรื่องยากที่ทำมือถือตกแล้วหน้าจอจะแตก ใครที่ทำมือถือตกบ่อยควรติดฟิล์มกระจกเพื่อเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดครับ

ฟิล์มถนอมสายตารุ่นไหนดี

รีวิว ฟิล์มมือถือตัดแสงสีฟ้า ช่วยถนอมสายตา ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี....
HI-SHIELD (ไฮชิลด์).
Hoco (โฮโค่).
Zeelot (ซีลอต).
SND To Vision (เอสเอ็นดี ทู วิชั่น).
Venderguard (เวนเดอร์การ์ด).
Baseus..
Focus (โฟกัส).
Commy (คอมมี่).

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita