ข้อ ใด ไม่ใช่ นามสกุล ของไฟล์ภาพที่ใช้งาน ด้าน กราฟิก

ภาพกราฟิกสกุล GIF พัฒนาโดยบริษัท CompuServe จัดเป็นไฟล์ภาพสำหรับการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรก เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ

  • สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) หมายความว่า คอมพิวเตอร์ทุกระบบ ไม่ว่าจะใช้ Windows, Unix ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
  • มีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ ทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้รวดเร็ว
  • สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparent)
  • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
  • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
  • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
  • ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation)

จุดด้อย

  • ไฟล์ชนิดนี้ก็มีจุดด้อยในเรื่องของการแสดงสี ซึ่งแสดงได้เพียง 256 สี ทำให้ การนำเสนอภาพถ่าย หรือภาพที่ต้องการความคมชัดหรือภาพสดใส จะต้องอาศัยฟอร์แมตอื่น

ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่

GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987

เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace)

GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989

เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส (Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ (Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว

การบีบอัดภาพ

เทคนิคการบีบอัดภาพสกุล GIF เป็นเทคนิคการบีบอัดคงสัญญาณ LZW (Lempel-Ziv-Welch) Lossless compression โดยข้อมูลเดิมจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีสร้าง Index สีจากสีที่ซ้ำๆ และใกล้เคียงกัน โดยจะ Scan แนวตั้งของภาพทั้งหมด และ Scan แนวนอนของภาพทั้งหมด และเปรียบเทียบว่าแนวใดได้ข้อมูลที่จะบันทึกเป็นไฟล์น้อยกว่ากัน

LZW เป็นชื่อย่อของนักวิจัยชาวอิสราเอล Abraham Lempel และ Jacob Zif ซึ่งได้เผยแพร่ผลงานไว้ในเอกสารของ IEEE ภายใต้ชื่อเรียก LZ 77 และ LZ 78

การเลือกใช้ภาพฟอร์แมต GIF

ภาพที่เหมาะต่อการบันทึกในรูปแบบ GIF คือภาพที่มีสีไม่มากนัก ภาพขนาดใหญ่และมีสีทึบ เช่น ภาพจากคลิปอาร์ตของ Microsoft Office ภาพวาดลายเส้น ภาพตราสัญลักษณ์ ข้อความกราฟิก เป็นต้น

ในการทำงานกราฟิก การทราบชนิดภาพและประเภทไฟล์ในงานกราฟิกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้เราได้งานและอาร์ตเวิร์คตามที่ต้องการ เพื่อใช้ในงานโฆษณาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นชนิดภาพ ประเภทไฟล์ ความละเอียดของภาพ โหมดสีในงาน สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่กราฟิกดีไซน์ต้องมีความรู้

ชนิดภาพกราฟิก Bitmap&Vector

ภาพที่ใช้ในการทำงานกราฟิก จัดอาร์ตเวิร์ค หรือจัดเลย์เอาท์ จะมีอยู่ 2 แบบคือ ภาพแบบ Bitmap และภาพแบบ Vector

Bitmap

คือภาพที่เกิดจากจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีสีสันต่างๆ ที่เรียกว่า จุดพิเซล(pixel) มาเรียงต่อกันจนเกิดเป็นรูปภาพ ตัวอย่างของภาพชนิดนี้ก็คือ รูปภาพที่เราเห็นโดยทั่วไป เช่นภาพถ่าย และภาพที่เราเห็นใน Internet ข้อดีของภาพแบบBitmap คือสามารถเปิดดูได้ง่าย ไม่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ ข้อเสียคือขยายขนาดใหญ่มากๆ เกินความละเอียดภาพที่กำหนดไว้ไม่ได้เพราะจะทำให้ภาพแตก เห็นเป็นตารางPixel ทันที ดังนั้นหากต้องการใช้เป็นขนาดใหญ่ ต้องกำหนดความละเอียดไว้สูงๆ ตั้งแต่ต้นทาง นั้นก็จะทำให้ขนาดไฟล์ภาพใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ไฟล์ตระกูลรูปภาพ เช่น JPG, BMP, TIFF หรือ PNG

Vector

คือภาพที่เกิดจากสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพวาดลายเส้น เช่นภาพวาดจากโปรแกรม Illustrator ไฟล์ Vector จะเรียกว่าเป็นไฟล์ดิบ ข้อดีของไฟล์ภาพชนิดนี้คือ สามารถย่อ-ขยาดภาพได้โดยไม่เสียรายละเอียด คือไม่แตกนั่นเอง จนกว่าจะนำไปแปลงเป็นไฟล์ Bitmap เพื่อเปลี่ยนรูปภาพแล้วนำไปใช้งาน ข้อเสียคือ ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการเปิดไฟล์ เช่นไฟล์ Ai จะต้องเปิดกับโปรแกรม Illustrator เท่านั้น

 

กำหนดความละเอียดของภาพ (Resolution)

ในส่วนของภาพ Bitmap การกำหนด่าความละเอียดของภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ชิ้นงานได้ผลลัพธ์ออกมาดี ภาพนำไปใช้งานไม่แตกเบลอ เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ โดยแต่ละลักษณะงานมีการกำหนดค่าความละเอียดภาพดังนี้

  • ค่าความละเอียด 72 Pixel/Inch : สำหรับการแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ เช่น ภาพโฆษณาบนสื่อโซเซียลมีเดีย ภาพงานบนเว็บไซต์ รูปภาพต่างๆ บนออนไลน์
  • ค่าความละเอียด 150 Pixel/Inch : สำหรับภาพที่จะนำไปพิมพ์บนอุปกรณ์ Printer งานพิมพ์ทั่วไปขนาดเล็กและขนาดกลาง
  • ค่าความละเอียด 300 Pixel/Inch : สำหรับงานพิมพ์ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ ปกหนังสือ โปสเตอร์ ป้ายโฆษณาคัทเอาท์ งานพิมพ์ Inkjet ขนาดใหญ่ งานพิมพ์ออฟเซ็ตต่างๆ

ประเภทไฟล์ในงานกราฟิก

ไฟล์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานกราฟิกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกบันทึก Save เป็นไฟล์ในชนิดที่เหมาะสม จะทำให้ได้งานที่ต้องการ กระบวนการทำงานที่รวดเร็วขึ้นและเหมาะสม ดังนั้นผู้ใช้งานกราฟิกควรรู้จึกชนิดของไฟล์ และนักออกแบบกราฟิกเลือกใช้ให้เหมาะสม ได้แก่

ไฟล์ JPEG เป็นไฟล์ภาพที่นิยมใช้งานบนอินเตอร์เน็ต หรือรูปภาพดิจิตอล

ข้อดี : ไฟล์จะถูกบีบอัดจนมีขนาดไม่ใหญ่มาก เปิดได้เร็ว ใช้ในงานพิมพ์ Inkjet ได้
ข้อเสีย : ไม่เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง

 

 

ไฟล์ BMP เป็นไฟล์ภาพของระบบปฎิบัติการ Windows

ข้อดี : เก็บรายละเอียดของรูปได้มาก เหมาะสำหรับนำไปตกแต่งต่อ
ข้อเสีย : ไฟล์ใหญ่เปิดดูได้ช้าและไม่รองรับโหมดสีสิ่งพิมพ์ CMYK จึงนำไปใช้ในงานสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้

 

 

ไฟล์ TIFF เป็นไฟล์ภาพที่เก็บรายละเอียดของงานได้ครบถ้วนสมบูรณ์

ข้อดี : สามารถบันทึกเลเยอร์เก็บไว้ใช้ต่อได้ ใช้ได้ทั้ง Windows และ Mac รองรับโหมดสี CMYK
ข้อเสีย : ไฟล์ใหญ่เปิดดูได้ช้า และใช้โปรแกรมเฉพาะในการแก้ไข

 

 

ไฟล์ PNG เป็นไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดมีขนาดเล็กมากๆ

ข้อดี : สามารถบันทึกให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ เหมาะสำหรับงานเว็บไซต์ งานบนอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
ข้อเสีย : ไม่เหมาะสมกับงานพิมพ์

 

 

ไฟล์ PSD เป็นไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Photoshop 

ข้อดี : สามารถบันทึกการแก้ไขต่างๆ และแยกเลเยอร์เอาไว้ สำหรับนำกลับมาแก้ไขตกแต่งต่อไปได้ ส่งโรงพิมพ์ได้
ข้อเสีย : ไฟล์มีขนาดใหญ่มาก

 

 

ไฟล์ AI เป็นไฟล์ภาพ Vector ภาพที่เกิดจากการวาดภาพ สร้างจากโปรแกรม Illustrator

ข้อดี : สามารถส่งไฟล์นี้เข้าโรงพิมพ์ได้ สามารถแก้ไขและตกแต่งต่อไปได้ รองรับโหมดสี CMYK และ RGB
ข้อเสีย : ไม่สามารถเปิดในโปรแกรมทั่วไปได้ เปิดดูได้ในโปรแกรม Illustrator หรือโปรแกรมของ Adobe

 

 

ไฟล์ EPS เป็นไฟล์ภาพที่ถูกแปลงออกมาจากไฟล์ที่ทำงานในโปรแกรม Illustrator

ข้อดี : สามารถส่งไฟล์นี้เข้าโรงพิมพ์ได้ ตัวไฟล์จะดึงรูปภาพที่ใช้ในการทำงานมาฝังไว้ในไฟล์ด้วย รองรับโหมดสี CMYK และ RGB
ข้อเสีย : ไม่สามารถเปิดในโปรแกรมทั่วไปได้ เปิดดูได้ในโปรแกรม Illustrator หรือโปรแกรมของ Adobe

 

 

ไฟล์ PDF เป็นไฟล์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยค่อนข้างดี

ข้อดี : เก็บความละเอียดได้มาก ไฟล์มีขนาดเล็ก รองรับงานพิมพ์งานเอกสารในระดับโรงพิมพ์ สามารถเปิดดูได้ในหลายโปรแกรม และยังทำเป็นไฟล์ E Book หนังสือออนไลน์ได้อีกด้วย
ข้อเสีย : หากมีการแก้ไขงานหรือตกแต่งเพิ่มเติมอาจทำได้ยาก หรือต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการแก้ไข

 

 

 

โหมดสี RGB & CMYK

คือรูปแบบการผสมสี เพื่อนำไปใช้กับงานประเภทต่างๆ โดยโหมดสีทั้ง 2 แบบ มีความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกันออกไป

ไฟล์นามสกุลใดใช้ในการสร้างงานกราฟิกได้

นามสกุลไฟล์ต่างๆ.
JPEG , JPG ( .jpg ).
GIF ( .gif ).
TIFF ( .tif ).
EPS ( .eps ).
PNG ( .png ).
PNG ( .png ).
RAW ( .raw ).

ข้อใดเป็นไฟล์นามสกุลของภาพแบบ Bitmap

BMP ย่อมาจาก Bitmap (บิตแมป) ซึ่งเป็นไฟล์แบบราสเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาในยุคแรกๆ ของคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อให้แสดงรูปภาพได้โดยไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ เนื่องจากไฟล์ BMP มีข้อมูลในปริมาณมาก ไฟล์ประเภทนี้จึงมักมีขนาดใหญ่

นามสกุลของไฟล์รูปภาพมีอะไรบ้าง

นามสกุลไฟล์ภาพต่างกันอย่างไร.
GIF มาจาก Graphics Interlace File..
JPEG มาจาก Joint Photographer's Experts Group..
PNG มาจาก Portable Network Graphics..
TIFF มาจาก Tagged-Image File Format..

นามสกุลไฟล์ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ มีอะไรบ้าง

นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Vector มีหลายนามสกุลเช่น . EPS, . WMF, . CDR, .

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita