ข้อใด ต่อ ไป นี้ ไม่ใช่ ขั้น ตอน การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

    การจัดเก็บฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ได้เริ่มรู้จักกัน บทความชื่อ A Relational Model of Data for Large Shared Data Banks  ของ Dr.Edgar Frank Codd  หรือ Dr. E. F. Codd ซึ่งขณะนั้นเป็นนักวิจัยอยู่ที่บริษัท IBM ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Association of Computer Machinery (ACM) journal เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1970   การสร้างโมเดลเชิงสัมพันธ์ได้ใช้ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเซต (Set) มาอธิบายการทำงาน  แนวคิดของ Codd นี้ได้ถูกพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลที่ชื่อว่า Oracle จากบริษัท Relational Software หรือ บริษัท Oracle ในปัจจุบัน

ความหมายของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

    ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นฐานข้อมูลที่ใช้โมเดลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model) ซึ่งผู้คิดค้นโมเดลเชิงสัมพันธ์นี้คือ Dr. E.F. Codd โดยใช้หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เนื่องด้วยแนวคิดของแบบจำลองแบบนี้มีลักษณะที่คนใช้กันทั่วกล่าวคือมีการเก็บเป็นตาราง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและการประยุกต์ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ระบบฐานข้อมูลแบบนี้จึงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในแง่ของ entity แบบจำลองแบบนี้คือ แฟ้มข้อมูลในรูปตาราง และ attribute ก็เปรียบเหมือนเขตข้อมูล ส่วนความสัมพันธ์คือความสัมพันธ์ระหว่าง entity

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ การเก็บข้อมูลในรูปของตาราง (Table) หลายๆตารางที่มีความสัมพันธ์กัน ในแต่ละตารางแบ่งออกเป็นแถวๆ และในแต่ละแถวจะแบ่งเป็นคอลัมน์ (Column) ในทางทฤษฎีจะมีคำศัพท์เฉพาะแตกต่างออกไป เนื่องจากแบบจำลองแบบนี้เกิดจากทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เรื่องเซ็ท (Set) ดังนั้น เราจะมีคำศัพท์เฉพาะดังตารางที่ 3.1นี้

ศัพท์เฉพาะ

ศัพท์ทั่วไป

รีเลชั่น (Relation)

ตาราง (Table)

ทูเปิล (Tuple)

แถว (Row) หรือ เรคคอร์ด (Record) หรือ ระเบียน

แอททริบิวท์ (Attribute)

คอลัมน์ (Column) หรือฟิลด์ (Field)

คาร์ดินัลลิติ้ (Cardinality)

จำนวนแถว (Number of rows)

ดีกรี (Degree)

จำนวนแอททริบิวท์ (Number of attribute)

คีย์หลัก (Primary key)

ค่าเอกลักษณ์ (Unique identifier)

โดเมน (Domain)

ขอบข่ายของค่าของข้อมูล (Pool of legal values)


คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

     รีเลชัน (Relation)  หรือจะเรียกอีกอย่างว่า  ตาราง (table) หรือในรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Model) เรียกว่า เอนทิตี (Entity)  เป็นการแสดงถึงรูปแบบของตาราง  2  มิติ  ที่ประกอบด้วยคอลัมน์และแถวของข้อมูล

      แอททริบิวท์ (Attribute) หรือ คอลัมน์ (Column)   เป็นการแสดงถึงคุณลักษณะของรีเลชัน  อาจจะเรียกว่า เขตข้อมูล  เช่น  รีเลชัน  สินค้า”  ประกอบด้วยคอลัมน์ที่แสดงถึงแอททริบิวท์ต่างๆ  ได้แก่  รหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนสินค้าคงเหลือ  เป็นต้น

      ทัพเพิล  (tuple)จะเรียกอีกอย่างว่า แถว (Row) หรือ  เรคอร์ด  (record)  แถวจะเป็นที่เก็บสมาชิกของรีเลชัน  ดังนั้น  แถวแต่ละแถวในรีเลชันจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกันหมด  หรือ  มีข้อมูลตามคอลัมน์ที่เป็นคุณลักษณะของรีเลชันเดียวกัน

       คาร์ดินอลลิตี้ (Cardinality) คือ จำนวนของทัพเพิลในหนึ่งรีเลชัน หรือ จำนวนแถวในหนึ่งตาราง

      ดีกรี (Degree) คือ จำนวนแอททริบิวท์ในหนึ่งรีเลชัน หรือ จำนวนคอลัมน์ในหนึ่งตาราง               ยกตัวอย่างข้อมูลพนักงาน เพื่ออธิบายองค์ประกอบของรีเลชัน

    โดเมน (Domain) คือ กลุ่มหรือขอบเขตของข้อมูลที่เป็นไปได้ของแต่ละแอททริบิวท์ เช่น โดเมนของแอททริบิวท์กำหนดเพศ ประกอบด้วย เพศหญิง กับ เพศชาย   โดเมนของแอททริบิวท์อายุของพนักงานมีขอบเขตระหว่าง 18-60 ปี  เป็นต้น

    ค่าว่าง (NullValue) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการกำหนดให้เป็นศูนย์ หรือ ช่องว่างแต่เป็นแอททริบิวท์ที่ยังไม่มีค่าข้อมูลเก็บอยู่ อาจจะยังไม่ทราบค่าข้อมูลที่จะต้องใส่ลงไปในแอททริบิวท์นั้นๆ เมื่อทราบค่าข้อมูลในแอททริบิวท์นั้น อาจมีการกลับมาใส่ข้อมูลลงไปใหม่ได้  ยกเว้นแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักที่ไม่สามารถทำให้เป็นค่าว่างได้

    คีย์หลัก (Primary Key)คือ  แอททริบิวท์ที่สามารถใช้เจาะจงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชัน โดยข้อมูลแต่ละแถวจะไม่ซ้ำซ้อนกัน  บางครั้งอาจเรียกสั้น ๆ  ว่า คีย์ 

 คุณสมบัติของคีย์หลัก

                1. ข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลัก  จะมีความเป็นหนึ่งเดียว  (uniqueness)  กล่าวคือทุกๆ แถวของตารางจะต้องไม่มีข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักนี้ซ้ำกัน

                2. ต้องประกอบด้วยจำนวนแอททริบิวท์ที่น้อยที่สุด  (minimality)  แต่สามารถใช้เป็นตัวชี้เฉพาะเจาะจงหรืออ้างอิงถึงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชันได้

                3. ค่าแอททริบิวท์คีย์หลักต้องไม่เป็นค่าว่าง (Not Null)

    คีย์ร่วม (Composite Key)  คือ คีย์หลักที่ประกอบด้วยแอททริบิวท์มากกว่าหนึ่งแอททริบิวท์

    นัลคีย์แอททริบิวท์ คือ แอททริบิวท์อื่น ๆ ในรีเลชันที่ไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก เช่น จากรูปที่ 3.3   ถ้ากำหนดให้คีย์หลักคือแอททริบิวท์รหัสนักศึกษา ดังนั้น แอททริบิวท์ชื่อนักศึกษา สาขาวิชา และหมายเลขบัตรประชาชน เป็นนัลคีย์แอททริบิวท์

     คีย์นอก หรือคีย์อ้างอิง เป็นแอททริบิวท์หรือกลุ่มแอททริบิวท์ในรีเลชันหนึ่ง ซึ่งจะไปปรากฏเป็นคีย์หลักกับอีกรีเลชันหนึ่ง ดังนั้นค่าคีย์นอกจะมีค่าเท่ากับค่าคีย์หลักในแถวในแถวหนึ่งของอีกรีเลชัน หรือค่าในคีย์นอกจะต้องมีค่าอยู่ในโดเมนเดียวกับคีย์หลัก

คุณสมบัติของคีย์นอก

                1. คีย์นอกจะเป็นแอททริบิวท์  หรือกลุ่มของแอททริบิวท์ที่อยู่ในรีเลชัน หนึ่งๆ  ที่ค่าของแอททริบิวท์นั้นไปปรากฏเป็นคีย์หลักในอีกรีเลชัน  (หรืออาจเป็นรีเลชันเดิมก็ได้)

                2. คีย์นอกเปรียบเสมือนกาวเชื่อมข้อมูลในรีเลชันหนึ่งกับอีกรีเลชันหนึ่ง  ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน

                3. คีย์นอกและคีย์หลักของอีกรีเลชันที่มีความสัมพันธ์กัน  จะต้องอยู่ภายใต้โดเมนเดียวกัน  และคีย์นอกไม่จำเป็นต้องมีชื่อเหมือนกับคีย์หลักของอีกรีเลชันที่มีความสัมพันธ์กัน

                4. รีเลชันหนึ่งๆ  อาจจะมีคีย์นอกอยู่หรือจะไม่มีก็ได้  แต่ทุกรีเลชันจะต้องมีคีย์หลักเสมอ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita