ข้อใดไม่จัดเป็นสมรรถภาพทางกลไก

สมรรถภาพทางกลไก from 593non

สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางกลไก

๑.สมรรถภาพทางกาย

                สมรรถภาพทางกาย คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีย่อมสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง ไม่เหนื่อยล้าเกินไป และยังมีพลังเพียงพอในการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย

                สมรรถภาพทางกาย สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑.สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะ (Health related fitness)

๒.สมรรถภาพทางกลไกหรือทักษะสมรรถนะ(Motor fitness) หรือสมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ

๑.๑ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะ

๑) องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๕ องค์ประกอบ ดังนี้

๑. องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) ตามปกติในร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายจะหมายถึงสัดส่วนของปริมาณไขมันภายในร่างกายกับมวลของร่างกายที่ปราศจากไขมัน โดยการวัดออกมาเป็นดัชนีมวลภายหรือวัดเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน(% fat) ด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีหลายชนิด

๒. ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ (Cardio respiratory Endurance) หมายถึง สมรรถนะเชิงปฏิบัติการของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) และระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อต่างๆ ทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะเวลานานได้

๓. ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของการเคลื่อนไหวที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ

๔. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง หรือกลุ่มกล้ามเนื้อในการหดตัวซ้ำๆ เพื่อต้านแรงหรือความสามารถในการคงสภาพการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลานาน

๕. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ(Muscular Strength) หมายถึง ปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ สามารถออกแรงต้านทานได้ในช่วงการหดตัว ๑ ครั้ง

๒) การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

                การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นการปรับปรุงสภาวะของร่างกายให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูง และมีการประสานงานกันของระบบต่างๆภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นการสร้างเสริมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี วิธีการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ คือ การออกกำลังกายนั่นเอง การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพที่นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี เช่น

๑. การเดิน-วิ่ง ๑,๖๐๐ เมตร

๒. การนั่งงอตัว

๓. การลุก-นั่ง

๔. การดันพื้น

                เมื่อนักเรียนปฏิบัติแล้วรู้ว่า สมรรถภาพทางกายของเราไม่แข็งแรงพอ หรือเราต้องการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี ก็ควรปฏิบัติเฉพาะในการสร้างเสริมทางกายด้านนั้น เช่น เรารู้ว่าเราไม่มีความอดทนเพียงพอในการวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เราก็ต้องฝึกหรือเพิ่มการปฏิบัติให้มากกว่าปกติ

๓) หลักสำคัญในการฝึกสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

                หลักสำคัญในการฝึกสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ คือ การเพิ่มงานมากกว่าปกติ หมายถึง การออกแรงทำงานหรือออกกำลังกายให้มากกว่าปกติและมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ร่างกายต้องรับได้โดยการเพิ่มน้ำหนักของงาน เพิ่มระยะเวลา หรือเพิ่มจำนวนชุดในการฝึกปฏิบัติให้มากขึ้น

                การออกกำลังกายที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพได้ ต้องปฏิบัติอย่างน้อย ๓-๕ ครั้ง ใน ๑ สัปดาห์ หรือบ่อยครั้งเท่าที่ทำได้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๓ ครั้ง ใน ๑ สัปดาห์ และในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรให้มีความหนักหรือความเหนื่อย โดยวัดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดร้อยละ ๕๕-๘๕ ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ถ้าออกกำลังกายแล้ว การเหนื่อยที่น้อยกว่าร้อยละ ๕o ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จะไม่เกิดผลต่อการเพิ่มสมรรถภาพทางกาย การออกกำลังกายในแต่ละครั้งต้องออกกำลังกายติดต่อกันให้นานอย่างน้อย ๑๕-๓o นาทีต่อครั้ง ซึ่งสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพได้ และกิจกรรมที่จะช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและหัวใจได้ต้องเป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการออกแรง เช่น การวิ่ง การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ

                ดังนั้น หลักในการฝึกสมรรถภาพทางกาย ต้องเน้นหลัก ๓ ประการ คือ ความถี่ ความนาน และความหนักในการออกกำลังกาย หรือดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย

                ดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย หมายถึง การประเมินกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างมีแบบแผน โดยมีการกำหนดความหนักหรือความเหนื่อย ช่วงเวลาเวลาหรือความนานและความถี่ของการกระทำกิจกรรมนั้นๆ

ค่าดัชนีกิจกรรมออกกำลังกาย = ความถี่ x ความนาน x ความหนัก

1.2  สมรรถภาพทางกลไก หรือทักษะสมรรถนะ หรือสมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ

                สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะการเล่นกีฬาได้ดี โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก

1. ความคล่องตัว (Ability) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้

2. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ได้ ทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนไหว

3. การประสานสัมพันธ์ (Coordination) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างตา มือ และเท้า

4. พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆส่วนของร่างกาย ในการหดตัวเพื่อทำงานด้วยความเร็วสูง แรงหรืองานที่ได้เป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเช่น การยืนอยู่กับที่ การกระโดดไกล การทุ่มลูกน้ำหนัก

5. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Time) หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเช่น แสง เสียง

ข้อใดเป็นสมรรถภาพทางกลไก

สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วน ร่างกายที่สามารถแสดงออกในร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการวิ่ง การกระโดด การหลบหลีก การล้ม การยกน้ำหนัก การทำงาน ที่ต้องใช้เวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ความสามารถทาง กลไกจึงเป็นความสามารถของร่างกายที่ใช้ประสาทการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ พลังงานของ 5.

สมรรถภาพทางกลไกมี 6 ด้าน อะไรบ้าง

ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว.
ปริมาณในการฝึก ( Volume).
ความหนักในการฝึก ( Intensity).
ความบ่อยครั้ง/ ความถี่ในการฝึก ( Frequency).
ระยะเวลาในการฝึก ( Duration).
ระยะเวลาในการพักฟื้นสภาพร่างกาย ( Recovery).
รูปแบบในการฝึก ( Pattern of Exercise).

Muscular Strength มีอะไรบ้าง

2. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular strength) คือ กำลังสูงสุดหรือแรงต้านของกล้ามเนื้อขณะใช้งานรูปแบบต่างๆ ในความพยายามครั้งหนึ่ง เช่น การยกน้ำหนัก การผลักประตูบานใหญ่ การยกเก้าอี้ เป็นต้น

สมรรถภาพทางกลไกลมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

3. องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไกองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก มีดังนี้  1. ความคล่องแคล่วว่องไว เป็นความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่าง รวดเร็ว  2. การทรงตัว เป็นความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ได้  3. การประสานสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น และมี ประสิทธิภาพ  4. พลัง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita