ศิลาจารึกเป็นหลักฐานชั้นใด

โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 17:44:48 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีชุม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม, ศิลาจารึกวัดศรีชุม ประมาณพุทธศักราช 1884-1910, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม), สท. 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 19-20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 212 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 107 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 95 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินดินดาน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา ด้านที่ 1 ส่วนบนแถบซ้ายแตกชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 67 ซม. สูง 275 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 2 (สท./ 2)”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดศรีชุม ประมาณพุทธศักราช 1884-1910”
4) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2526), ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2526) และ ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม 2526) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม)”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2430

สถานที่พบ

ในอุโมงค์วัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

พลโท หลวงสโมสรพลการ (ทัด สิริสัมพันธ์)

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 (พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2467), 13.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 33-58.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 58-79.
4) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2526) : 108-119.
5) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2526) : 93-114.
6) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม 2526) : 60-86.
7) ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) : ฉบับผลการสัมมนา พุทธศักราช 2523 (กรุงเทพฯ : กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2527), 1-49

ประวัติ

พลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นหลวงสโมสรพลการเป็นผู้พบศิลาจารึกหลักนี้ในอุโมงค์วัดศรีชุม เมื่อขึ้นไปตรวจค้นศิลาจารึกเมืองสุโขทัย พ.ศ. 2430 แล้วได้ส่งมาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน กรุงเทพฯ พ.ศ. 2451 พิพิธภัณฑสถานจึงได้ส่งมาให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกหลักนี้ เป็นคำสรรเสริญสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุณี ศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า ซึ่งเป็นบุตรของพระยาคำแหง (พระราม) เป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง แต่ผู้แต่งจารึกหลักนี้ เห็นจะไม่ใช่พระมหาเถรนั้น เป็นผู้อื่น ผู้ใช้คำว่า “กู” ในด้านที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 45 ไป แต่ผู้แต่งนั้นจะชื่ออะไรไม่ปรากฏ บางทีจะได้ออกชื่อไว้ในตอนต้นของจารึกหลักนี้แล้ว แต่ตอนต้นชำรุดเสียหมดอ่านไม่ได้ คำจารึกหลักนี้แบ่งออกเป็นหลายตอน คือ ตอนที่ 1 (ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ถึง 7) ชำรุดมาก แต่เข้าใจว่าเป็นคำนำมีชื่อพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 2 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 8 ถึง 20) เป็นประวัติของพ่อขุนศรีนาวนำถม ตอนที่ 3 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 21 ถึง 41) เป็นเรื่องพ่อขุนผาเมืองตั้งราชวงศ์สุโขทัยและเรื่องราชวงศ์สุโขทัย ตอนที่ 4 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 41 ถึง 52) เป็นคำสรรเสริญพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 5 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 53 ถึง 61) เป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในการเสี่ยงพระบารมี โดยวิธีอธิษฐานต่างๆของพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 6 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 61 ถึง ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5) ในตอนนี้เป็นประวัติของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ เมื่อยังอยู่ในคิหิเพศ แบ่งออกเป็นสามพลความคือ ก.(ตั้งแต่บรรทัดที่ 61 ถึง 75) เป็นเรื่องเจ้าศรีศรัทธาฯ ทรงทำยุทธหัตถี (ชนช้าง) กับขุนจัง ข. (ตั้งแต่บรรทัดที่ 76 ถึง 79) เป็นเรื่องประวัติเมื่อเจ้าศรีศรัทธาฯ ทรงเจริญวัยเป็นหนุ่ม ค. (ตั้งแต่บรรทัดที่ 79 ถึงด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5) เป็นเรื่องเจ้าศรีศรัทธาฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาต่างๆ แล้ว และทรงเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย แลมีศรัทธาเลื่อมใสออกผนวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 7 (ตั้งแต่ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 6 ถึง 19) เล่าเรื่องมหาเถรศรีศรัทธาฯ ได้บำเพ็ญการกุศลแลสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตอนที่ 8 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 20 ถึง 48) เป็นเรื่องพระมหาเถรได้ปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย ตอนที่ 9 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 49 ถึงบรรทัดสุดท้าย) เป็นเรื่องแสดงปาฏิหาริย์ของพระธาตุต่างๆ ในเมืองสุโขทัย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศักราชเมื่อจารึกไม่ปรากฏ แต่อย่างไรคงไม่ได้จารึกก่อนรัชกาลพระธรรมราชาที่ 1 เพราะมีออกพระนามพระธรรมราชาที่ 1 อยู่ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 38 และ 72 เข้าใจว่า จะได้จารึกในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 นั้นเอง เพราะอักษร สระ พยัญชนะ และภาษาเหมือนกับจารึกอื่นๆในแผ่นดินนั้น

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., 2546, จาก:
1) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 ([กรุงเทพฯ] : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 33-58.
2) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกวัดศรีชุม ประมาณพุทธศักราช 1884-1910,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 58-79.
3) ยอร์ช เซเดส์, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) : ฉบับผลการสัมมนา พุทธศักราช 2523 (กรุงเทพฯ : กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2527), 1-49.
4) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม),” ศิลปากร 26, 6 (มกราคม 2526), 108-119.
5) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม),” ศิลปากร 27, 1 (มีนาคม 2526), 93-114.
6) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม),” ศิลปากร 27, 2 (พฤษภาคม 2526), 60-86.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-17, ไฟล์; St_0201_c และ St_0202_c)

ข้อใดเป็นหลักฐานชั้นต้น

หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ) คือหลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดท าขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน สมัยนั้นทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารึก ต านาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึก ความทรงจ า เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย ...

วิทยานิพนธ์เป็นหลักฐานชั้นใด

หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิด เหตุการณ์นั้น ๆ วิทยานิพนธ์ สารานุกรม

บทความทางวิชาการเป็นหลักฐานชั้นไหน

๒. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิเป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น โดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตานาน บันทึกคาบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ ▪ ลักษณะสาคัญของหลักฐาน ...

หลักฐานชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีอะไรบ้าง

(1) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดย ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุกฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita