ทวีปใดที่ดินแดนส่วนใหญ่ เรียกว่า ละตินอเมริกา

อ่าน ชาตินิยมลาตินอเมริกาในบริบทของโลกาภิวัตน์ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2

ในบทความสองครั้งก่อน ผมได้พูดถึงบทบาทของโลกาภิวัตน์ที่มีผลกระทบต่อชาตินิยมในลาตินอเมริกา สำหรับบทความในคราวนี้ เรามาต่อกันให้จบในหัวข้อดังกล่าว ซึ่งยังมีประเด็นหลากหลายที่แยกย่อยตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชาตินิยมลาตินอเมริกาและระบบอินเตอร์อเมริกัน

การปะทะกันทางวัฒนธรรมระหว่างลาตินอเมริกาและแองโกลแซกซอนแสดงให้เห็นผ่านบริบททางเศรษฐกิจ โดยในช่วงก้าวย่างเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาตินิยมลาตินอเมริกาได้เน้นความสำคัญไปที่ชาตินิยมทางเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถที่จะเข้าใจชาตินิยมลาตินอเมริกาได้ถ้าไม่ได้ตระหนักถึงการปะทะกันของชาตินิยมลาตินอเมริกากับการขยายอำนาจของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในขณะนั้น สหรัฐอเมริกาได้สถาปนาอำนาจจักรวรรดินิยม ขณะที่ลาตินอเมริกาก็มีความเข้มแข็งทางการเมืองขึ้น หลังจากช่วงเวลาหลายทศวรรษของความอ่อนแอวุ่นวายอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากสงครามประกาศอิสรภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

การขยายอำนาจที่สำคัญสองครั้งของจักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกาสู่ดินแดนในลาตินอเมริกา ได้แก่ สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก (ค.ศ. 1846-1848) และสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1898 เนื่องจากปัญหาในคิวบา สหรัฐอเมริกาได้รบกับเม็กซิโกภายใต้แนวความคิดเรื่อง ‘อาณัติของพระเจ้า’ ที่มีความเชื่อว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ที่พระเจ้าได้กำหนดให้ครอบครองดินแดนในอเมริกาเหนือทั้งหมด ขณะเดียวกัน ก็เป็นการขยายความเป็นเสรีชนของสหรัฐอเมริกาให้แก่คนในพื้นที่ที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปยึดครองด้วย สงครามครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะของสหรัฐอเมริกาเหนือเม็กซิโก ทำให้สหรัฐอเมริกาได้พื้นที่ถึงหนึ่งในสามทางตอนเหนือของเม็กซิโกไปเป็นของตนเอง แน่นอนว่า สงครามนี้ย่อมส่งผลให้เกิดแนวความคิดชาตินิยมในเม็กซิโกที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา ส่วนผลของสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1898 ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ครอบครองฟิลิปปินส์และเปอร์โตริโก ขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลคุ้มครองคิวบาด้วย

จากความกลัวต่อการที่สหรัฐอเมริกาทำสงครามขยายดินแดน ประกอบกับบทบาททางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้จำเป็นต้องแสวงหาวัตถุดิบ ชาติต่างๆ ในลาตินอเมริกาจึงเกิดจิตสำนึกร่วมกันในความหวงแหนทรัพยากรของชาติตนเอง ไม่อยากให้ตกอยู่ภายใต้การกำกับของต่างชาติ (ซึ่งในขณะนั้นคือสหรัฐอเมริกา) จนกลายเป็นแนวความคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายในแต่ละประเทศลาตินอเมริกา ดังนั้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐสภาของประเทศต่างๆ อาทิ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และชิลี ได้เป็นแนวหน้าในการเคลื่อนไหวและออกกฎหมายเพื่อป้องกันต่างชาติไม่ให้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในประเทศของตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของชาตินิยมทางเศรษฐกิจ อนึ่ง การแสดงออกของประเทศเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เป็นผลสะท้อนจากความขมขื่นในอดีต ที่อังกฤษพยายามขยายอิทธิพลของตัวเองเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลาตินอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลาตินอเมริกาหาได้เกรงกลัวอิทธิพลของมหาอำนาจอย่างอังกฤษไม่ แต่พวกเขาหวาดเกรงการรุกคืบของสหรัฐอเมริกา บางประเทศลาตินอเมริกาถึงกับมีสมมติฐานว่า สหรัฐอเมริกากำลังจะจัดตั้ง ‘จักรวรรดิโรมันสมัยใหม่’ ในทวีปอเมริกา แน่นอนว่าประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกาต่างก็ต่อต้านการครอบงำของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการเข้ามาแสวงหาทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ เพื่อป้อนอุตสาหกรรมในประเทศของตน รวมถึงแนวความคิดเรื่อง ‘อาณัติของพระเจ้า’ ขณะเดียวกัน ผู้นำฝั่งสหรัฐอเมริกามองว่า การขยายอำนาจของตนเข้าสู่ลาตินอเมริกาถือเป็นความก้าวหน้าของประเทศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมา ในปี ค.ศ. 1903 สหรัฐอเมริกาได้หนุนหลังปานามาให้ประกาศเอกราชจากโคลอมเบีย เพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในการขุดคลองปานามาเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้นำของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นคือ ประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ได้แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า ไม่มีประเทศอื่นใดในโลกที่สามารถขุดคลองเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรได้ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาที่จะต้องทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปให้ได้ แม้จะต้องใช้กำลังอาวุธก็ตาม

จะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้มีแนวคิดจักรวรรดินิยมอย่างเต็มตัว และต้องการขยายอิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของตนไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ลาตินอเมริกาในฐานะที่มีพรมแดนประชิดกับสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นบททดสอบหรือห้องทดลองที่สำคัญในการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกในนามของการสร้าง ‘ความก้าวหน้า’ ให้กับมวลมนุษยชาติ

ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้นายทุนสหรัฐอเมริกามองลาตินอเมริกาว่า เป็นตลาดวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ก็เป็นตลาดที่จะรับซื้อผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา นอกเหนือไปจากการแสวงหาช่องทางการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในลาตินอเมริกาที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของลาตินอเมริกาซึ่งเป็นที่ต้องการของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ น้ำมันและแร่โลหะต่างๆ

ขณะเดียวกัน การลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในลาตินอเมริกา อาทิ ทางรถไฟในเม็กซิโกและเปรู ก็ทำกำไรให้กับบริษัทของสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น นักลงทุนชาวอเมริกันยังได้เข้าไปกว้านซื้อที่ดินในเม็กซิโกเพื่อขุดเจาะน้ำมันและทำเหมืองแร่โลหะเป็นจำนวนมาก นอกเหนือไปจากการลงทุนทางด้านการเกษตร ผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในเม็กซิโกถือเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติเม็กซิโกในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910-1940 เนื่องจากความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาลกลางของเม็กซิโกที่มีนโยบายเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนอเมริกัน

เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามายุ่งเกี่ยวทางเศรษฐกิจกับลาตินอเมริกาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฝั่งชาตินิยมลาตินอเมริกาจึงเริ่มมีปฏิกริยาตอบโต้ทางด้านเศรษฐกิจกับการกระทำของสหรัฐอเมริกา แนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจก็เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก สำหรับฝ่ายซ้ายในลาตินอเมริกา พวกเขามองว่าการที่สหรัฐอเมริกาดำเนินการเช่นนี้เป็นการขูดรีดทางเศรษฐกิจ เป็นการขายทรัพยากรธรรมชาติให้กับต่างชาติในราคาถูก และเป็นการยกสัมปทานกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้ต่างชาติเข้ามาควบคุม ซึ่งถือเป็นโศกนาฏกรรมสำคัญของประเทศในลาตินอเมริกา

ความกังวลของลาตินอเมริกาต่อการที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาตักตวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซี่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่สหรัฐอเมริกา รวมถึงยุโรป ได้ขยายอำนาจจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคลาตินอเมริกา และเพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาและยุโรป บางประเทศในลาตินอเมริกาได้ประกาศว่าทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นของประเทศ โดยห้ามมิให้ต่างชาติเข้ามายึดครอง รวมถึงมีการยึดกิจการของชาวต่างชาติ ตัวอย่างเช่นในเม็กซิโก ช่วงระหว่างการปฏิวัติระหว่างปี ค.ศ. 1910-1940 ได้ประกาศยึดอุตสาหกรรมน้ำมันให้ตกเป็นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1917 ระหว่างการปฏิวัติเม็กซิโก ซึ่งเม็กซิโกในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลี่ยมรายใหญ่ของโลกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนที่เวเนซุเอลาและกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจะค้นพบน้ำมันในพื้นที่ของตน การที่เม็กซิโกยึดกิจการน้ำมันปิโตรเลี่ยมมาเป็นของรัฐครั้งนี้สร้างความขัดแย้งให้เม็กซิโกกับชาติอุตสาหกรรมทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป เพราะกิจการข้ามชาติของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในขณะนั้นได้เข้าไปลงทุนในเม็กซิโกเป็นจำนวนไม่น้อย และรู้สึกปลอดภัยในช่วงที่รัฐบาลเม็กซิโกภายใต้การนำของผู้นำเผด็จการอย่างนายพล Pofirio Díaz ดำเนินนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ในช่วงที่เขาครองอำนาจระหว่างปี ค.ศ. 1876-1911

นอกจากเม็กซิโกที่ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว โบลิเวีย ซึ่งอยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีสและเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล กำลังอยู่ในสภาวะความยุ่งเหยิงทางการเมือง เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ ผู้นำในขณะนั้นได้ประกาศยึดกิจการน้ำมันปิโตรเลี่ยมให้ตกเป็นของรัฐในปี ค.ศ. 1937 ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 โบลิเวียได้เข้ายึดพร้อมกับจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทขนาดใหญ่สามบริษัทที่มีต่างชาติเป็นหุ้นส่วนและดำเนินกิจการเหมืองแร่ในโบลิเวีย หลังจากนั้นไม่นาน กัวเตมาลา ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ในอเมริกากลาง ก็ได้เข้ายึดกิจการส่วนใหญ่ของบริษัท United Fruit Company (UFCO) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ผู้ผลิตกล้วยหอมส่งออกรายใหญ่ของโลก โดยบริษัท United Fruit Company ได้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และได้ก่อร่างสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบอเมริกากลางหรือแถบทะเลแคริบเบียน และยังเข้าไปมีอิทธิพลทางการเมืองไม่น้อย สำหรับคิวบา ภายหลังการปฏิวัติปี ค.ศ. 1959 รัฐบาลสังคมนิยมได้เข้ายึดกิจการต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันและที่ดินที่มีชาวอเมริกันเป็นเจ้าของ ส่วนเปรูได้ประกาศยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของรัฐในปี ค.ศ. 1970 และอีกห้าปีต่อมา เวเนซุเอลาก็เดินตามรอยเปรู

การที่รัฐเข้าไปยึดกิจการข้างต้นของนักธุรกิจเอกชนให้ตกมาเป็นของรัฐนั้น ส่วนใหญ่จะมีการจ่ายค่าชดเชยคืนแก่บริษัทต่างๆ แต่สำหรับนักชาตินิยมลาตินอเมริกัน ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เงินซึ่งต้องจ่ายคืนไป แต่เป็นการได้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกลับคืนมามากกว่า พวกเขามองเห็นว่าการค่อยๆ ใช้และบริหารทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพจะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งในมุมมองของนักชาตินิยมลาตินอเมริกัน การดำเนินการเช่นนี้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ทุกชนชั้นในสังคมลาตินอเมริกาอย่างเท่าเทียมกัน

นักวิชาการส่วนใหญ่มองเห็นว่า ชาตินิยมลาตินอเมริกาเป็นพลังที่เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง และมีอยู่ได้ด้วยบริบทของสังคมในลาตินอเมริกา แม้ว่าในสังคมอื่นอาจจะไม่ปรากฏก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าชาตินิยมลาตินอเมริกามีความแตกต่างจากที่อื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลของการมีเชื้อสายและวัฒนธรรมที่ผสมกันของพวก Mestizo การผสมผสานกันของเชื้อชาติชนพื้นเมืองอินเดียน ยูโรเปี้ยน และแอฟริกันในลาตินอเมริกา จึงถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจความเป็นชาตินิยมในลาตินอเมริกา

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันว่ามีความขัดแย้งทางชาตินิยมด้านเศรษฐกิจของลาตินอเมริกากับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค ชาตินิยมลาตินอเมริกาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นในลักษณะที่เป็นรูปแบบของการต่อต้านสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่า ในฐานะประเทศมหาอำนาจ ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกามีได้หลายรูปแบบ แต่มีอยู่หนึ่งประเด็นที่สหรัฐอเมริกาดำรงนโยบายการต่างประเทศกับลาตินอเมริกามาโดยตลอดคือ ความพยายามที่จะเปิดตลาดสินค้าและการลงทุนในลาตินอเมริกาให้นักลงทุนจากชาติต่างๆ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา เข้าไปลงทุน ซึ่งสหรัฐอเมริกามีนโยบายเช่นนี้ นับได้ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมถึงนโยบาย Pan-Americanism ที่ต้องการให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในทวีปอเมริกาทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง ชาตินิยมลาตินอเมริกาจึงปะทะกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

ความแปลกแยกของชาตินิยมลาตินอเมริกา

หนึ่งในหลายสาเหตุที่ประเด็นเรื่องชาตินิยมในลาตินอเมริกาไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควรจากนักวิชาการสมัยก่อนมาจากความเข้าใจว่า ชาตินิยมลาตินอเมริกาไม่ทรงพลังเท่าชาตินิยมในเอเชียหรือตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกาไม่ได้ผลิตนักชาตินิยมคนสำคัญๆ อาทิ Ho Chi Minh, Mao Zedong, Gamal Abdel Nasser หรือ Nelson Mandela (อาจจะมีข้อยกเว้นในกรณี Fidel Castro ของคิวบาซึ่งเป็นที่รู้จัก แต่เมื่อเทียบจำนวนแล้วจะเห็นได้ว่า นักชาตินิยมลาตินอเมริกามีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น)

สาเหตุอีกประการที่ทำให้ชาตินิยมในลาตินอเมริกาไม่ทรงพลังคือ ถ้าเปรียบเทียบกับแนวคิดชาตินิยมในประเทศโลกที่สามด้วยกัน แนวคิดชาตินิยมของลาตินอเมริกาเก่ากว่าประมาณเกือบ 200 ปี จึงไม่อยู่ในกระแสความสนใจเท่ากับชาตินิยมที่เกิดขึ้นที่หลัง ไม่ว่าจะเป็นชาตินิยมในเอเชียหรือในแอฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง

เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายฝ่ายจึงเข้าใจร่วมกันว่า ชาตินิยมลาตินอเมริกาเป็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ตลอดเวลา และจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อถูกจุดติดจากวิกฤตหรือปัญหาต่างๆ อย่างไรก็ดี แม้ชาตินิยมลาตินอเมริกาจะแฝงตัวอยู่เงียบๆ แต่ผู้เขียนมองว่ามีความทรงพลังเช่นกัน และการจะทำความเข้าใจลาตินอเมริกาในปัจจุบันได้ ก็อาจจะต้องอาศัยการสำรวจประวัติศาสตร์ชาตินิยมลาตินอเมริกา ในบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือโลกาภิวัตน์ด้วย

รัฐชาติในลาตินอเมริกาเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างจักรวรรดิกับหมู่บ้าน นับตั้งแต่จักรวรรดิสเปนและโปรตุเกสเข้ามามีอำนาจในช่วงราวๆ ปี ค.ศ. 1500 จวบจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัตลักษณ์ของประชากรส่วนใหญ่ในลาตินอเมริกาถูกกำหนดไว้ในกรอบของวิถีชีวิตในหมู่บ้านและภูมิภาคที่พวกเขาอาศัยอยู่ ต่อมา สำหรับชนชั้นนำบางกลุ่ม ลัทธิจักรวรรดินิยมที่กำลังเติบโตในยุโรปส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา เมื่อจักรวรรดิสเปนและโปรตุเกสล่มสลาย การก่อตัวของรัฐชาติกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนในลาตินอเมริกาเริ่มคิดออกไปไกลกว่าเรื่องของตัวเองในระดับหมู่บ้าน แต่ก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมาย เพราะพวกเขามองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกินกว่าการควบคุมหรือการกำหนดของพวกเขา

มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ชาตินิยมลาตินอเมริกาแตกต่างไปจากชาตินิยมในยุโรป ประการแรก ชาตินิยมในลาตินอเมริกาถูกสร้างหรือกำหนดจากผู้นำเชื้อสายยุโรปที่อาศัยอยู่ในลาตินอเมริกา ไม่ได้มาจากคนในท้องถิ่นดั้่งเดิมอย่างพวกอินเพียน ทำให้เป็นชาตินิยมที่มีลักษณะเบื้องบนกำหนดเบื้องล่าง ผู้นำเชื้อสายยุโรปในลาตินอเมริกาบังคับให้ชนพื้นเมืองอินเดียนหรือคนเชื้อสายแอฟริกันต้องพูดภาษาสเปนหรือไม่ก็โปรตุเกส (ในกรณีของบราซิล) นอกจากนั้น ยังกำหนดค่านิยมยุโรปให้ถือเป็นค่านิยมหลักในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัจเจกชน การถือครองที่ดินอย่างเสรี ระบบการค้าแบบเสรี รวมถึงในประเด็นเสรีภาพทางการเมือง ก่อให้เกิดแรงต่อต้านจากคนเบื้องล่างอยู่เป็นระยะๆ

ประการที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีสงครามแย่งชิงพรมแดนเกิดขึ้นบ้างในลาตินอเมริกา แต่ชาตินิยมลาตินอเมริกาไม่ได้ถือกำเนิดหรือได้รับอิทธิพลโดยตรงจากสงครามแย่งชิงดินแดนดังที่เกิดขึ้นในยุโรป และประการสุดท้าย ชาตินิยมลาตินอเมริกามีความแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะได้รวมแนวคิดชาตินิยมของคนพื้นเมืองเข้าไปผสมผสานอยู่ด้วย

แม้ว่าในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีจะยังไม่สามารถระบุชี้ชัดเวลาและจำนวนของผู้ที่อพยพมาเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกของทวีปอเมริกา แต่หลักฐานเท่าที่พอมีอยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มแรกที่เข้ามายังทวีปอเมริกามาจากเอเชีย โดยข้ามช่องแคบแบร์ริ่งมาเมื่อกว่า 25,000 ปีมาแล้ว จึงอาจเป็นไปได้ว่า คนจากเอเชียคือคนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมในทวีปอเมริกา ในปัจจุบัน เราเห็นวงดนตรีพื้นเมืองของลาตินอเมริกามีคนญี่ปุ่นเป็นนักดนตรี เช่น วง Los Kjarkas ของโบลิเวีย ขณะเดียวกัน เราเห็นคนเอเชียหันมาสนใจการการเต้นแซมบ้าของบราซิล จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ชาตินิยมและโลกาภิวัตน์จะยังคงมีปฏิสังสรรค์ทางสังคมอยู่บนโลกนี้ไปอีกกาลนาน

ชาตินิยม ระบบอินเตอร์อเมริกัน ชาตินิยมในลาตินอเมริกา เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ โลกาภิวัตน์

นักวิชาการด้านลาตินอเมริกาศึกษา ผันตัวเองจากนักเศรษฐศาสตร์กลายเป็นลาตินอเมริกันนิสต้า เพราะหลงรักในกาแฟของโคลอมเบีย ปัจจุบันทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ของลาตินอเมริกา รวมถึงความรุนแรงและประชานิยมที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนั้น พร้อมๆ ไปกับการเลี้ยงหมาคอร์กี้และปักกิ่งอีก 6 ตัว

ทวีปใดที่ดินแดนส่วนใหญ่ เรียกว่า ละตินอเมริกา *

ความหมาย คำว่าละตินอเมริกา” เป็นชื่อที่ใช้เรียกพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาคือตั้งแต่เหนือสุด ของเม็กซิโกถึงตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ รวมถึงหมู่เกาะจำนวนมากในทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยประเทศเอกราชหลายประเทศรวมทั้งดินแดนที่เพิ่งได้รับเอกราชในคริสต์ศตวรรษ

ทวีปใดได้ชื่อว่าเป็นลาตินอเมริกา

latin america. n. ทวีปอเมริกากลางหรือลาตินอเมริกาเป็นบริเวณที่ใช้ภาษาRomance (ดู) ., See also: Latin-American n., adj Latin American n.

ประเทศใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มลาตินอเมริกา

กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา.
บราซิล 28 ม.ค. 2565. อ่านต่อ.
คอซอวอ 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
จอร์เจีย 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
คิวบา 23 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
ตุรกี 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
เปรู 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
เม็กซิโก 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.
โคลอมเบีย 21 เม.ย. 2563. อ่านต่อ.

ชาวละตินมาจากไหน

ละติน” (Latin) หมายถึง ชาวละติน ภาษาละติน หรือจารีตละติน ก็ได้ ชาวละติน ได้แก่ ชาวเผ่าอารยันที่อาศัยอยู่แถบกลางคาบสมุทรอิตาลี เดิมเรียกว่า แคว้นละติน ภาษาละติน คือ ภาษาที่ชาวละตินใช้มาแต่เดิม ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการของมหาอาณาจักรโรมัน จึงกลายเป็นภาษาวรรณคดี ภาษาวิชาการและภาษาศาสนาของมหาอาณาจักรโรมัน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita