สัญญาเช่ารถยนต์จะสมบูรณ์เมื่อใด

           ��Ůա��ԹԨ������ "����ջѭ�ҵ�ͧ�ԹԨ��®աҢͧ⨷��੾�Т�͡����·����� �����˹ѧ����Ѻ�ͧ�ͧ�ӹѡ�ҹ����¹�����ǹ����ѷ��ا෾��ҹ�� �������¹��ä�� ��з�ǧ�ҳԪ�� �͡������� �.1 ������ҡ���� ��»ѭ�� ����Թ�� �繡�����ú���ѷ⨷�� ��⨷��������Ѻ��Ҷ����һ���ª�����ѭ����ҫ��� ��������⨷���繤���ѭ����ҫ��͡Ѻ����·�� 1 �֧���ӹҨ��ͧ�ѧ�Ѻ������·�� 1 �Ѻ�Դ����ѭ����ҫ��� ��������Ůա��դ�����Ѻ�աҢͧ⨷��㹢�͡����´ѧ������������ 㹡���ԹԨ��»ѭ�Ң�͡�������ŮաҨӵ�ͧ��͵������稨�ԧ�������ط�ó����ԹԨ��¨ҡ��ҹ��ѡ�ҹ��ӹǹ ����ط�ó�ѧ����稨�ԧ����ǡѺ�ѭ�Ң�͹����� ���˹ѧ����Ѻ�ͧ�ͧ�ӹѡ�ҹ����¹�����ǹ����ѷ��ا෾-��ҹ�� �������¹��ä�� ��з�ǧ�ҳԪ�� ���⨷����ҧ �բ�ͤ����к���� ������âͧ����ѷ�� 7 �� �����ª��ʹѧ���仹�� 1. �����Է ���иѹ�� 2. �ҧ����� ������ˡ�� 3. ��»���ҳ �ҭ�����è�� 4. ����ӹ�� �ѧ����� 5. ����� ��ó����� 6. ����تҵ� ⪵��Է�С�� 7. ���ਵ�� ���ä�ѵ ������� 2 �� ¡��鹹���تҵ� ⪵��Է�С�� ŧ�����ͪ��������ѹ��л�зѺ����Ӥѭ�ͧ⨷���зӡ��᷹⨷���� �ѧ��� ���ŧ�����ͪ�����͡��÷��Ӣ��㹹���ͧ⨷�����繺���ѷ�ӡѴ �ռ��繡��ŧ�����ͪ��ͧ͢⨷��������ó��������͡�����÷���кت��������ŧ�����ͪ���᷹⨷�� 2 �����зѺ����Ӥѭ�ͧ⨷����� �����ѭ����ҫ��ͷ��⨷������Ѻ����·�� 1 ��ҡ�����չ����Է ���иѹ�� ��й�»ѭ�� ����Թ�� ŧ�����ͪ�����л�зѺ����Ӥѭ�ͧ⨷���·���»ѭ�������繡�����âͧ⨷�������ӹҨŧ�����ͪ������ ��ҡѺ�����Էŧ�����ͪ�������������л�зѺ����Ӥѭ�ͧ⨷�� �ѹ����ռ�����ó��������ͪ��ͧ͢⨷�� ��Ůա������� ��������š���������оҳԪ�� �ҵ�� 572 ��ä�ͧ �ѭ�ѵ���� "�ѭ����ҫ��͹�鹶����������˹ѧ��� ��ҹ���������" ������¶֧�����Ңͧ��Ѿ���Թ��������ҫ�����м����ҫ��ͨе�ͧŧ�����ͪ����˹ѧ����ѭ����ҫ��ʹ��¡ѹ����ͧ���� �ѭ����ҫ��֧ͨ���ռ�����ó��������� �����⨷��������Ңͧ��Ѿ���Թ��������ҫ����ա�����âͧ����ѷ⨷��ŧ�����ͪ����˹ѧ����ѭ����ҫ����ѹ����ռ�����ó��������ͪ��ͧ͢⨷������������⨷����ŧ������ѭ����ҫ��� �ѭ�Ҵѧ����Ǩ֧������ �������⨷���������Ѻ��Ҷ����һ���ª�����ѭ����ҫ��͡�����Ҩ��������⨷��ŧ�����繤���ѭ�ҡѺ����·�� 1 �ѹ�з�����ѭ����ҫ��ͫ�������С�Ѻ���ѭ����ҫ��ͷ���ռ�����ó�����������⨷��֧������Է�����¡��ͧ������·�� 1 �Ѻ�Դ����ѭ����ҫ�����������ط�ó�Ծҡ��¡��ͧ�ҹ�鹪ͺ���� �աҢͧ⨷��ѧ�����"

             ��Ůա�Ἱ���վҳԪ��������ɰ�Ԩ�ԹԨ������ �ѭ�ҷ���ͧ�ԹԨ�������� �ѭ����ҫ���������������� ����稨�ԧ�Ѻ�ѧ����� ����·�� 1 ���ѭ����ҫ���ö¹�������ö�ش仨ҡ⨷�����ѭ����ҫ�������ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ��� �ѭ�ҷ���ͧ��ǹ�ѧ����ǷӢ�鹾�����ѹ ����ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ��͢�� 1 �к���� �ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ�������ǹ˹�觢ͧ�ѭ����ҫ��� �����ѭ����ҫ�����������ҫ���ŧ�����ͪ��� ���������ҫ��������ŧ�����ͪ��� ��ǹ�ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ��ͷ�駼�������ҫ�����м����ҫ���ŧ�����ͪ��ʹ��¡ѹ����ͧ���� ��Ůա������� �.�.�. �ҵ�� 572 ��ä�ͧ �ѭ�ѵ���� "�ѭ����ҫ��͹�鹶��������˹ѧ��� ��ҹ���������" �������¶֧��� ��Ңͧ��Ѿ���Թ��������ҫ�����м����ҫ��ͨе�ͧŧ�����ͪ����˹ѧ����ѭ����ҫ��ʹ��¡ѹ����ͧ���� �ѭ����ҫ��֧ͨ���ռ�����ó��������� �ѭ����ҫ�������ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ��ͷ��Ӣ�鹾�����ѹ��Ф���ѭ�ҵ�ŧ����ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ�������ǹ˹�觢ͧ�ѭ����ҫ��� �������������ѭ����ҫ��� �ѧ��� ����ͤ���ѭ��ŧ�����ͪ��ʹ��¡ѹ����ͧ������ѭ�������§������ǡ������ռ����ѭ����ҫ��ͷ������ó��������� �����ͻ�ҡ����⨷��������Ңͧ��Ѿ���Թ��������ҫ�����Ш���·�� 1 �����ҫ�����ŧ�����ͪ��ʹ��¡ѹ����ͧ�����˹ѧ����ѭ�ҵ�ͷ����ѭ����ҫ������� �ѭ����ҫ��͡������ռ�����ó��������� ������Ҩе�ͧŧ�����ͪ��ʹ��¡ѹ����ͧ���·�����˹ѧ����ѭ�����ǹ�ѭ����ҫ����ա������� �ѭ����ҫ��֧ͨ��������� �������ط�ó�Ծҡ���ҹ�� ��Ůա���繾�ͧ����㹼� �աҢͧ����·�� 1 ��з�� 2 �ѧ����� �ѭ�ҷ���ͧ�ԹԨ��µ������� �ط�ó�ͧ⨷�����ͺ�������ͧ�ҡ���������¢�������·������Ѻ�Դ��§���������� ����·�� 1 ��з�� 2 �����������㹤����ط�ó� �֧�繢�ͷ��������ҡ���ǡѹ�����������ط�ó� ��ͧ������� �.��.�. �ҵ�� 249 ��駻ѭ������ط�ó�ͧ⨷�����ͺ����������� �������ǡѺ����ʧ����º���¢ͧ��ЪҪ� ��ŮաҨ֧����Ѻ�ԹԨ���

1 ผู้เช่า (รวมถึงผู้ที่ขอทำสัญญาเช่ารถยนต์) และ ผู้ขับขี่ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตามลำดับ) ยินยอมที่จะให้บริษัทใช้ข้อมูลส่วนตัวของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ได้ สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :

  1. เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทให้บริการเช่ารถยนต์ตามคำแนะนำพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่เช่า (การเดินทางด้วยรถยนต์เลขที่ 138 วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ.1995 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “คำแนะนำพื้นฐาน”) เช่น การจัดเตรียมใบรับรองการเช่า ฯลฯ ;
  2. เพื่อระบุและกลั่นกรอง “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ;
  3. เพื่อแจ้ง “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ผ่านโฆษณาสิ่งพิมพ์, อีเมล ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์, กรมธรรม์ประกันภัย, โทรศัพท์มือถือและธุรกิจด้านอื่นๆของบริษัทหรือกิจกรรมประเภทต่างๆ, แคมเปญ ฯลฯ ซึ่งจัดโดยบริษัท; และ
  4. เพื่อดำเนินการทำแบบสำรวจสอบถามของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือศึกษามาตรการต่างๆเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  5. เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวในเชิงสถิติ และจัดทำข้อมูลทางสถิติซึ่งประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถจำแนกหรือระบุเจาะจงตัวบุคคลได้

2ผู้เช่า ยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ “ผู้เช่า” ให้กับบุคคลที่สามภายในขอบเขตด้านล่างนี้ ทั้งนี้ “ผู้เช่า” อาจร้องขอให้บริษัทหยุดเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลที่สามได้

  1. เนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผย : ข้อมูลเกี่ยวกับการให้เช่ารถยนต์ที่เช่า เช่น ชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ใช้, วัตถุประสงค์ในการใช้, วันและเวลาในการเริ่มเช่า ฯลฯ และข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ, ที่อยู่ ฯลฯ ของ “ผู้เช่า”
  2. บุคคลที่จะเปิดเผยข้อมูลให้และจุดประสงค์ของการใช้ข้อมูลดังกล่าว : การส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการขายให้กับ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, บริการ ฯลฯบุคคลที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ข้อมูลอะไรที่จะถูกนำไปใช้โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันการส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการขายให้กับ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, บริการ ฯลฯโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและบุคคลที่ได้ทำสัญญาการเปิดเผยข้อมูลกับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันการดำเนินการทำแบบสำรวจสอบถามของ “ผู้เช่า” เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเช่ารถยนต์หรือเกี่ยวกับการบริการของบริษัทเพื่อที่จะใช้ข้อมูลสำหรับอ้างอิงในการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือในการปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและบุคคลที่ได้ทำสัญญาแฟรนไชส์ของโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งกับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สาขาโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่ง”อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของสัญญาเช่า การวางแผนมาตรการเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า และ การพัฒนาระบบแฟรนไชส์ที่ครอบคลุม
  3. บริษัทจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนตัวบนเว็บไซต์ของบริษัท ฯลฯ
    URL//www.toyota.co.jp/rent/

บทที่ 1 : บททั่วไป

ข้อ 1 (การบังคับใช้สัญญา)

  1. บริษัทจะให้เช่ารถยนต์ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “รถยนต์ที่เช่า” ) กับ “ผู้เช่า” ตามบทบัญญัติของสัญญาฉบับนี้ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สัญญา”) และข้อบังคับโดยละเอียดเรื่องที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดจะถูกดำเนินการตามกฎหมายและข้อกำหนดหรือประเพณีปฏิบัติทั่วไป
  2. บริษัทอาจยอมรับสัญญาพิเศษถ้าหากว่าสัญญานั้นไม่ละเมิด “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด กฎหมายและข้อกำหนดและประเพณีปฏิบัติทั่วไป หากมีการทำสัญญาพิเศษให้สัญญาพิเศษนี้ทดแทนและเข้าแทนที่ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด

บทที่ 2 : การจอง

ข้อ 2 (การสมัครเพื่อทำการจอง)

  1. สำหรับการเช่า “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” จะต้องทำการสมัครเพื่อทำการจองและตกลงตามตารางอัตราที่กำหนดโดยบริษัทและระบุล่วงหน้าถึงชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ใช้, วัตถุประสงค์ในการใช้, วันและเวลาในการเริ่มเช่า, สถานที่ในการเช่า, ระยะเวลาในการเช่า, สถานที่ในการส่งคืนรถ, ผู้ขับขี่, ความจำเป็นของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรืออุปกรณ์อื่นๆ และ เงื่อนไขอื่นๆ สำหรับการเช่า (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เงื่อนไขการเช่า” )
  2. เมื่อได้รับใบสมัครเพื่อทำการจองจาก “ผู้เช่า” บริษัทจะยอมรับการจองดังกล่าวภายในขอบเขตของ “รถยนต์ที่เช่า” ที่บริษัทเป็นเจ้าของและเงื่อนไขการเช่าต่างๆที่ได้รับอนุมัติในหลักการโดยบริษัทในกรณีดังกล่าว “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าสมัครให้กับบริษัทสำหรับการจองตามที่บริษัทกำหนดยกเว้นกรณีที่ได้รับการยกเว้นจากบริษัท

ข้อ 3 (การเปลี่ยนแปลงการจอง)

ในการเปลี่ยนแปลง “เงื่อนไขการเช่า” ใดๆ “ผู้เช่า” จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อน

ข้อ 4 (การยกเลิกการจอง)

  1. “ผู้เช่า” และบริษัทจะสรุปสัญญาเช่ารถยนต์สำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” ภายในวันที่และเวลาเริ่มต้นของการเช่าที่กำหนดไว้ในข้อ 2 วรรค 1
  2. “ผู้เช่า” และบริษัทอาจจะยกเลิกการจองตามวิธีการที่กำหนดโดยบริษัทหากสัญญาเช่าของ “รถยนต์ที่เช่า” (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สัญญาเช่า”) ยังไม่ได้รับการลงนามภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากเวลาเริ่มต้นของระยะเวลาการเช่า การจองจะถือว่าถูกยกเลิกไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆก็ตาม
  3. หากการจองถูกยกเลิกเนื่องจากสาเหตุของ “ผู้เช่า” “ผู้เช่า” จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการยกเลิกการจองตามที่บริษัทได้กำหนดให้กับบริษัทและบริษัทจะดำเนินการคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองให้กับ “ผู้เช่า” ในเวลาเดียวกันที่ได้รับค่าธรรมเนียมการยกเลิกการจอง
  4. หากการจองถูกยกเลิกเนื่องจากสาเหตุของบริษัท บริษัทจะจ่ายเบี้ยปรับตามที่บริษัทได้กำหนดให้กับ “ผู้เช่า” นอกเหนือจากการคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองที่บริษัทได้รับมาจาก “ผู้เช่า”
  5. หากไม่สามารถสรุป “สัญญาเช่า” ได้เนื่องจากสาเหตุอื่นๆที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในวรรค 2 ข้างต้น การจองจะถือว่าถูกยกเลิกในกรณีดังกล่าวบริษัทจะคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองที่ได้รับให้กับ “ผู้เช่า”
  6. “ผู้เช่า” และบริษัทจะไม่ทำการเรียกร้องใดๆระหว่างกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการยกเลิกการจองหรือความล้มเหลวในการสรุป “สัญญาเช่า” ยกเว้นตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อนี้และข้อถัดไป

ข้อ 5 (รถยนต์ที่เช่าทดแทน)

  1. หากบริษัทไม่สามารถที่จะจัดหา “รถยนต์ที่เช่า” ที่ตรงตามเงื่อนไขที่จองโดย “ผู้เช่า” เช่น ชนิดและประเภทของรถยนต์, อุปกรณ์เสริม, รถยนต์ที่มีการสูบบุหรี่หรือไม่มีการสูบบุหรี่, รายละเอียดทางเทคนิคของรถยนต์ ฯลฯ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เงื่อนไข” ) บริษัทจะดำเนินการแจ้งให้ “ผู้เช่า” ทราบในทันที
  2. ในกรณีของวรรคก่อนหากบริษัทสามารถจัดหา “รถยนต์ที่เช่า” ได้ตาม “เงื่อนไข” อื่นๆ นอกเหนือจากเงื่อนไขที่ได้จองไว้บริษัทอาจดำเนินการเสนอให้เช่า “รถยนต์ที่เช่า” ให้กับ “ผู้เช่า” ภายใต้ “เงื่อนไข” ที่แตกต่างกัน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ) โดยไม่คำนึงถึงวรรค 4 และวรรค 5 ในข้อก่อนหน้านี้
  3. หาก “ผู้เช่า” ยอมรับข้อเสนอในวรรคก่อน บริษัทจะดำเนินการให้เช่า “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ภายใต้เงื่อนไขการเช่าเดียวกันกับเงื่อนไขที่มีผลบังคับใช้ในเวลาการจอง ยกเว้นกรณีไม่สามารถทำตามเงื่อนไขดังกล่าวเหล่านั้นได้ ในกรณีดังกล่าว “ผู้เช่า” จะต้องชำระอัตราค่าเช่าของ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” หรือ อัตราค่าเช่าของ “รถยนต์ที่เช่า” ที่ได้จอง ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
  4. หาก “ผู้เช่า” ปฏิเสธข้อเสนอในวรรค 2 จะถือว่าการจองถูกยกเลิกและวรรค 5 ข้างต้น จะมีผลบังคับใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อการจอง ฯลฯ

ข้อ 6 (ตัวแทนสำหรับบริการรับจอง)

  1. “ผู้เช่า” อาจสมัครเพื่อทำการจองได้ที่ศูนย์การจองโตโยต้าเรนท์อะคาร์, ตัวแทนท่องเที่ยว, บริษัทที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ตัวแทน”) ซึ่งให้บริการรับจองในนามของบริษัท
  2. หากยื่นใบสมัครกับ “ตัวแทน” ที่ระบุในวรรคก่อนหน้า คำร้องขอในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการจองจะต้องดำเนินการผ่าน “ตัวแทน” ที่ดำเนินการสมัครเพื่อทำการจองดังกล่าว

บทที่ 3 : การเช่ารถยนต์

ข้อ 7 (การสรุปสัญญาเช่า)

  1. “ผู้เช่า” และบริษัทจะสรุป “สัญญาเช่า” กับ “ผู้เช่า” โดย “ผู้เช่า” เป็นผู้ระบุเงื่อนไขที่จะเช่าและบริษัทเป็นผู้ระบุ ”เงื่อนไขการเช่า” ตาม “สัญญา” ตารางอัตรา ฯลฯ
  2. ในการสรุป “สัญญาเช่า” ที่ “ผู้ขับขี่” จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของ “ผู้ขับขี่” ที่กำหนดไว้ใน “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด
  3. จากข้อ 2 (10) และ (11) ของคำแนะนำพื้นฐานเกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทจะร้องขอให้ “ผู้เช่า” แสดงใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของ “ผู้ขับขี่” ที่ได้รับมอบหมายจาก “ผู้เช่า” หรือสำเนาใบอนุญาตขับขี่ หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อที่จะใส่ชื่อที่อยู่ประเภทของใบอนุญาตขับขี่และหมายเลขใบอนุญาตหรือแนบสำเนาใบอนุญาตขับขี่กับทะเบียนการเช่ารถยนต์ (ต้นฉบับใบเสร็จการเช่ารถยนต์) และใบรับรองการเช่าตามที่กำหนดในข้อ 13 ในกรณีดังกล่าวหาก “ผู้เช่า” เป็น “ผู้ขับขี่” “ผู้เช่า” ต้องแสดงใบอนุญาตขับขี่หรือสำเนาให้กับบริษัท หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น หาก “ผู้เช่า” ไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกันกับ “ผู้ขับขี่” “ผู้เช่า” ต้องให้ “ผู้ขับขี่” แสดงใบอนุญาตขับขี่หรือสำเนาให้กับบริษัทหากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น
  4. ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจร้องขอให้ “ผู้เช่า” แสดงเอกสารระบุตัวตนอื่นๆนอกเหนือจากใบอนุญาตขับขี่และอาจทำสำเนาเอกสารดังกล่าว
  5. ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจร้องขอให้ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ให้หมายเลขติดต่อกรณีฉุกเฉินเช่นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
  6. ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจกำหนดวิธีการในการชำระเงินที่ “ผู้เช่า” สามารถใช้ได้เช่นบัตรเครดิต, เงินสด ฯลฯ
  7. หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามวรรค 5 ข้างต้น บริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ได้ ข้อกำหนดในข้อ 4 วรรค 5 เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อทำการจองจะถูกนำมาใช้ในกรณีดังกล่าว

ข้อ 8 (การปฏิเสธไม่ให้เช่า)

  1. หากรายการต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” บริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ได้ :

    (1) หากเขา/เธอ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่;
    (2) หากเขา/เธอ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์;
    (3) หากเขา/เธอ แสดงอาการว่าอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งมึนเมาหรือยาเสพติด ฯลฯ;
    (4) หากเขา/เธอ มีเด็กอยู่ในรถยนต์โดยที่ไม่มีเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก;
    (5) หากเขา/เธอ มีทะเบียนรายชื่ออยู่ในระบบบริหารสนเทศของสมาคมรถเช่าแห่งชาติตามที่ระบุในข้อ 23 (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติ”) หรือมีรายชื่ออยู่ในรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังที่ใช้ร่วมกันโดยโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งสาขาต่างๆ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “รายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวัง”);
    (6) หากเขา/เธอ ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดังกล่าวหรือถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรต่อต้านสังคมอื่นๆ ;
    (7) หากเขา/เธอ กระทำการรุนแรงทั้งทางพฤติกรรม หรือด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือสร้างภาระที่เกินขอบเขตอันสมควรให้กับพนักงานหรือบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับบริษัท;
    (8) หากเขา/เธอ ทำลายความไว้วางใจในบริษัทหรือรบกวนการทำกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทโดยการกระจายข้อมูลที่เป็นเท็จหรือใช้วิธีการฉ้อโกงหรือโดยการบังคับ ;
    (9) หากเขา/เธอ กระทำการที่ฝ่าฝืน “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด; และ
    (10) หากเขา/เธอ กระทำการใดๆที่บริษัทเห็นว่าไม่เหมาะสม

  2. แม้จะมีบทบัญญัติในวรรคก่อนบริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ :

    (1) หากบริษัทไม่มี “รถยนต์ที่เช่า” ว่างสำหรับให้บริการ;
    (2) หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่มีเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่จะนั่งไปด้วยในรถยนต์

  3. ในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อทำการจองเมื่อบริษัทได้ปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” ตามบทบัญญัติในวรรค 2 ข้างต้นให้นำบทบัญญัติในข้อ 4 วรรค 3 - 6 มาใช้แทน

ข้อ 9 (ความสำเร็จของสัญญาเช่า)

  1. “สัญญาเช่า” จะมีผลบังคับใช้เมื่อ “ผู้เช่า” ได้ลงนามใน “สัญญาเช่า” และบริษัทได้ส่งมอบ “รถยนต์ที่เช่า” (รวมถึงอุปกรณ์เสริม : จะถูกนำมาใช้บังคับเช่นเดียวกันต่อจากนี้) ให้กับ “ผู้เช่า” ในกรณีนี้ค่าสมัครเพื่อทำการจองที่ชำระแล้วจะถูกนำไปคิดคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าเช่า
  2. การส่งมอบ “รถยนต์ที่เช่า” ที่กล่าวถึงในวรรคก่อนจะมีขึ้นในสถานที่และวันที่และเวลาเริ่มต้นของการเช่าที่กำหนดในข้อ 2

ข้อ 10 (อัตราค่าเช่า)

  1. เมื่อการทำ “สัญญาเช่า” เสร็จสมบูรณ์ “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าเช่าตามอัตราที่ระบุไว้ในวรรคถัดไปให้กับบริษัท
  2. อัตราค่าเช่าจะต้องเป็นยอดรวมของจำนวนต่อไปนี้และบริษัทจะแสดงแต่ละจำนวนหรือจำนวนการอ้างอิงที่สอดคล้องกันในตารางอัตรา :
    (1) อัตราขั้นพื้นฐาน (2) อัตราหักค่าชดเชย (3) อัตราอุปกรณ์พิเศษ (4) อัตราเที่ยวเดียว (5) อัตราน้ำมันเชื้อเพลิง (6) อัตราการกำหนดและรับส่งรถยนต์ (7) อัตราค่าบริการอื่นๆ
  3. อัตราขั้นพื้นฐานจะเป็นอัตราที่ได้แจ้งไว้กับหัวหน้าสำนักงานขนส่งท้องถิ่น, ผู้อำนวยการกองการขนส่งทางบกของเฮียวโกของการบริหารจัดการขนส่งของโกเบ, หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งทางบกของสำนักงานทั่วไปของโอกินาวาซึ่งมีผลบังคับใช้ในเวลาของการเช่า “รถยนต์ที่เช่า”
  4. หากบริษัทมีการปรับอัตราค่าเช่าหลังจากเสร็จสิ้นการจองตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 “ผู้เช่า” จะชำระค่าเช่าในอัตราที่ต่ำกว่าระหว่างอัตราค่าเช่าที่มีผลบังคับใช้ในเวลาที่ทำการจองเสร็จสิ้นและอัตราค่าเช่าในเวลาของการเช่า

ข้อ 11 (การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะเช่า)

เมื่อจะทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะเช่าตามที่ระบุไว้ในข้อ 7 หลังจากที่ได้ทำการสรุป “สัญญาเช่า” แล้ว “ผู้เช่า” จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อน

ข้อ 12 (การตรวจสอบและบำรุงรักษา)

  1. บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 47-2 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน) และมาตรา 48 (การตรวจสอบและบำรุงรักษาตามปกติ) ของกฎหมายยานพาหนะขนส่งทางถนนและจะดำเนินการให้เช่า “รถยนต์ที่เช่า” ที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
  2. ในการเช่า “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยืนยันว่า “รถยนต์ที่เช่า” ตรงตามเงื่อนไขที่จะเช่าโดยการตรวจสอบลักษณะภายนอกของรถและอุปกรณ์เสริมตามแผ่นตรวจสอบที่ระบุไว้แยกจากกันและยืนยันว่ารถยนต์มีการบำรุงรักษาที่ดี

ข้อ 13 (การออกและถือครองใบรับรองการเช่า)

  1. เมื่อ “รถยนต์ที่เช่า” ถูกส่งมอบให้กับ “ผู้เช่า” บริษัทจะออกใบรับรองการเช่าให้กับ “ผู้เช่า” โดยมีเนื้อหาตามที่กำหนดโดยหัวหน้าสำนักงานขนส่งท้องถิ่น, ผู้อำนวยการกองการขนส่งทางบกของเฮียวโกของการบริหารจัดการขนส่งของโกเบ, หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งทางบกของสำนักงานทั่วไปของโอกินาวา
  2. ในระหว่างการใช้งาน “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องพกพาใบรับรองการเช่าที่ออกให้ตามความในวรรคก่อน
  3. หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ทำใบรับรองการเช่าสูญหาย เขา/เธอจะต้องแจ้งบริษัทให้ทราบในทันทีถึงการสูญหายของใบรับรองดังกล่าว
  4. “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องส่งคืนใบรับรองการเช่าให้กับบริษัทพร้อมกันกับการส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า”

บทที่4:การใช้รถยนต์

ข้อ 14 (ความรับผิดชอบในการจัดการของผู้เช่า)

  1. “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะใช้และดูแลรักษา “รถยนต์ที่เช่า” เสมือนเป็นผู้จัดการที่เหมาะสมตั้งแต่เวลาที่ได้รับมอบ “รถยนต์ที่เช่า” จนถึงเวลาที่ส่งมอบกลับคืนให้กับบริษัท (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” )
  2. เมื่อใช้ “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด, “สัญญา”, ข้อบังคับโดยละเอียด, คู่มือการใช้งานและคำแนะนำอื่นๆในการใช้งานที่นำเสนอโดยบริษัท

ข้อ 15 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน)

“ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ต้องดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษารายวันตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 47 - 2 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน) ของกฎหมายยานพาหนะขนส่งทางถนนโดยทำการตรวจสอบ “รถยนต์ที่เช่า” เป็นประจำทุกวันก่อนที่จะเริ่มใช้งาน “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน”

ข้อ 16 (การกระทำที่ต้องห้าม)

  1. “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้ “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” :

    (1) ใช้รถยนต์ที่เช่าสำหรับธุรกิจบริการขนส่งรถยนต์หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันโดยไม่ได้รับความยินยอมและการอนุมัติจากบริษัท ฯลฯ ตามกฎหมายการขนส่งทางถนน;
    (2) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือขับ “รถยนต์ที่เช่า” โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ “ผู้ขับขี่” ที่กำหนดไว้ในข้อ 7;
    (3) ให้เช่าช่วง “รถยนต์ที่เช่า” ให้บุคคลที่สามใช้หรือกระทำการอื่นๆเช่นนำ “รถยนต์ที่เช่า” ไปใช้เป็นหลักประกัน;
    (4) ปลอมแปลงหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของ “รถยนต์ที่เช่า” โดยการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนโฉมใหม่;
    (5) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” สำหรับการทดสอบหรือการแข่งขันประเภทใดๆ (รวมถึงกิจกรรมใดๆที่ถือว่าเป็น “การแข่งขัน” โดยบริษัท) หรือในการลากจูงหรือผลักดันยานพาหนะอื่นๆโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท;
    (6) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ในการละเมิดกฎหมายและข้อกำหนดหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณะและศีลธรรม;
    (7) ยกเลิกประกันอุบัติเหตุสำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท;
    (8) นำ “รถยนต์ที่เช่า” ออกนอกประเทศญี่ปุ่น; หรือ
    (9) กระทำการอื่นใดที่เป็นการละเมิดเงื่อนไขในการจะเช่าหรือ “เงื่อนไขการเช่า” ที่กำหนดไว้ในข้อ 7

ข้อ 17 (การจอดรถที่ผิดกฎหมาย)

  1. หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จอด “รถยนต์ที่เช่า” ผิดกฎหมายซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายจราจร เขา/เธอจะรายงานให้ตำรวจที่มีอำนาจในเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทราบในทันทีหลังจากที่จอดรถผิดกฎหมาย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“ตำรวจในพื้นที่”) และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าปรับเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการลากจูง, การจัดเก็บและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎจราจร (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“การจัดการการละเมิด”)
  2. เมื่อได้รับการแจ้งเรื่องการจอดรถที่ผิดกฎหมายของ “รถยนต์ที่เช่า” จากตำรวจ บริษัทจะแจ้งให้ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ทราบและสั่งให้เขา/เธอ ทำการโยกย้าย “รถยนต์ที่เช่า” ในทันทีและรายงานให้ตำรวจในพื้นที่ให้ดำเนินการจัดการกับการละเมิดกฎก่อนที่จะหมดอายุระยะเวลาการเช่าหรือตามเวลาที่ได้รับคำสั่งจากบริษัทและ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้หาก “รถยนต์ที่เช่า” ได้รับการโยกย้ายโดยตำรวจบริษัทอาจไปรับ “รถยนต์ที่เช่า” จากตำรวจเองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท
  3. หลังจากที่ให้คำสั่งตามวรรคก่อนบริษัทจะยืนยันสถานะของการจัดการการละเมิดผ่านการแจ้งให้ทราบถึงการละเมิดกฎจราจรและแจ้งการชำระเงิน/ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท; และหากการละเมิดยังไม่ได้รับการจัดการบริษัทจะให้คำสั่งตามวรรคก่อนซ้ำหลายครั้งกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จนกว่าการละเมิดจะได้รับการจัดการเรียบร้อย หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในวรรคก่อน บริษัทอาจยกเลิกสัญญาเช่าในทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือเรียกร้องและร้องขอให้ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับในทันที “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะลงนามในเอกสารที่บริษัทกำหนดโดยเขา/เธอจะยอมรับข้อเท็จจริงในการจอดรถผิดกฎหมาย และเขา/เธอจะรายงานแจ้งตำรวจและปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ฝ่าฝืน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “จดหมายรับทราบ”)
  4. แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ตกลงที่จะส่งเอกสารต่างๆให้กับคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะเช่นจดหมายคำอธิบายตามที่กำหนดในมาตรา 51 - 4 วรรค 6 ของกฎหมายการจราจร, “จดหมายรับทราบ” และใบรับรองการเช่าและจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยการส่งเอกสารต่างๆที่มีข้อมูลส่วนตัวให้กับตำรวจเช่น “จดหมายรับทราบ” และใบรับรองการเช่า หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น
  5. หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยังดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการละเมิดไม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนและหากบริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการค้นหา “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หรือรถยนต์ที่เช่า (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการค้นหา”) หรือหากบริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการลากจูง, การจัดเก็บและการมารับรถยนต์ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการจัดการยานพาหนะ”) กรณีนี้ “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ให้กับบริษัทภายในวันที่ครบกำหนดซึ่งจะกำหนดโดยบริษัท:

    (1) จำนวนเงินที่สอดคล้องกับค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมาย
    (2) เบี้ยปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายซึ่งจะถูกกำหนดไว้ที่ "การจอดรถที่ผิดกฎหมาย"ใน (//rent.toyota.co.jp/global_th/drive/parking.html) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมาย” พร้อมกับจำนวนเงินที่สอดคล้องกับค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายใน (1) ด้านบน
    (3) ค่าใช้จ่ายในการค้นหาและค่าใช้จ่ายในการจัดการยานพาหนะ

  6. หลังจาก “ผู้เช่า” ได้ชำระค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายกล่าวตามบทบัญญัติของวรรคก่อนให้กับบริษัทแล้ว และหากบริษัทได้รับเงินค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายคืน เนื่องจากได้มีการชำระค่าปรับสำหรับจอดรถผิดกฎหมายดังกล่าวแล้ว หรือมีการฟ้องร้องหรือคดีความถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลครอบครัว บริษัทจะคืนเบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายดังกล่าวให้กับ “ผู้เช่า”

ข้อ 18 (ระบบ GPS)

  1. ในบางกรณี อาจมีการติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ระบบ GPS”) ไว้ที่รถยนต์ที่เช่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ยินยอมให้ทำการบันทึกข้อมูลตำแหน่งปัจจุบัน เส้นทางที่สัญจร ฯลฯ ของรถยนต์ที่เช่าลงในระบบที่กำหนดโดยบริษัท และยินยอมให้บริษัทใช้ข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกดังกล่าวนั้น สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :
    (1) เพื่อตรวจสอบว่าได้ส่งคืนรถยนต์ที่เช่าไว้ที่สถานที่ที่กำหนดแล้ว ในตอนที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง
    (2) เพื่อตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของรถยนต์ที่เช่า ตามที่ได้ระบุไว้ในรายการใดรายการหนึ่งของวรรค 1 ในข้อ 24 และกรณีอื่นๆที่เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการจัดการรถยนต์ที่เช่าหรือเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ฯลฯ
    (3) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบให้แก่ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  2. จะถือว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตกลงยินยอมที่จะให้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในวรรคก่อนให้แก่โตโยต้า มอเตอร์ส ในรูปแบบที่ได้ดัดแปลงจนไม่สามารถระบุ หรือเจาะจงบุคคลที่เป็น“ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และให้โตโยต้า มอเตอร์ส นำข้อมูลที่บันทึกไปใช้เพื่อค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีในการสร้างระบบคมนาคม และการสร้างแผนที่
  3. หากบริษัทถูกขอให้เปิดเผยข้อมูลตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือได้รับคำสั่งหรือมีการร้องขอจากศาล หน่วยงานราชการ องค์การมหาชนอื่นๆ ให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งได้บันทึกไว้ด้วยระบบ GPS ในวรรค 1 “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” จะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลนี้เท่าที่จำเป็น

ข้อ 19 (กล้องติดรถยนต์)

  1. ในบางกรณี อาจมีการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ไว้ที่รถยนต์ที่เช่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ยินยอมให้ทำการบันทึกสถานการณ์การขับรถของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และยินยอมให้บริษัทใช้ข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกดังกล่าวนั้น สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :
    (1) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในตอนที่เกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
    (2) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การขับรถของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการจัดการรถยนต์ที่เช่าหรือเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ฯลฯ
    (3) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบให้แก่ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  2. จะถือว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตกลงยินยอมที่จะให้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในวรรคก่อนให้แก่โตโยต้า มอเตอร์ส ในรูปแบบที่ได้ดัดแปลงจนไม่สามารถระบุ หรือเจาะจงบุคคลที่เป็น“ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และให้โตโยต้า มอเตอร์ส นำข้อมูลที่บันทึกไปใช้เพื่อค้นคว้าพัฒนาการขับขี่อัตโนมัติ เทคโนโลยีในการเดินหน้าอย่างปลอดภัยและการสร้างแผนที่
  3. หากบริษัทถูกขอให้เปิดเผยข้อมูลตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือได้รับคำสั่งหรือมีการร้องขอจากศาล หน่วยงานราชการ องค์การมหาชนอื่นๆ ให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งได้บันทึกไว้ด้วยกล้องติดรถยนต์ในวรรค 1 “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” จะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลนี้เท่าที่จำเป็น

บทที่ 5 : การส่งคืนรถยนต์

ข้อ 20 (ความรับผิดชอบของผู้เช่าในการส่งคืนรถยนต์)

  1. “ผู้เช่า” จะต้องส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับให้กับบริษัทในสถานที่ที่กำหนดให้ส่งคืนภายในวันหมดอายุระยะเวลาเช่า
  2. หาก “ผู้เช่า” ไม่สามารถที่จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ภายในระยะเวลาเช่าอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือเหตุสุดวิสัยขา/เธอจะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้าและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท

ข้อ 21 (การตรวจสอบรถยนต์ที่เช่า)

  1. “ผู้เช่า” จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ต่อหน้าบริษัทโดยให้อยู่ในสภาพเช่นเดียวกับเมื่อเวลาที่ถูกส่งมอบยกเว้นการเสื่อมสภาพและการสึกหรออันเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือการชำรุดที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจาก"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"
  2. ก่อนที่จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” ยืนยันว่าจะไม่มีสิ่งของส่วนตัวของ “ผู้เช่า” “ผู้ขับขี่” หรือผู้โดยสารตกค้างอยู่ภายใน “รถยนต์ที่เช่า” บริษัทจะไม่มีภาระผูกพันใดๆในการดูแลสิ่งของส่วนตัวหลังจากที่ “รถยนต์ที่เช่า” ได้ถูกส่งคืนกลับให้บริษัทแล้ว

ข้อ 22 (เวลาในการส่งคืนรถยนต์ที่เช่า)

  1. หากระยะเวลาการเช่าถูกขยายออกไปตามข้อ 11 “ผู้เช่า” จะต้องจ่ายอัตราค่าเช่าที่สอดคล้องกับระยะเวลาการเช่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงหรือจ่ายอัตราค่าเช่ารวมก่อนการเปลี่ยนแปลงและอัตราสำหรับระยะเวลาการเช่าเพิ่มเติมแล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
  2. หาก “ผู้เช่า” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” หลังจากเปลี่ยนระยะเวลาการเช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทตามที่กำหนดในข้อ 11 เขา/เธอจะต้องจ่ายเบี้ยปรับเท่ากับสองเท่าของอัตราที่สอดคล้องกับชั่วโมงเพิ่มเติมของระยะเวลาเช่านอกเหนือไปจากอัตราที่กำหนดในวรรคก่อน

ข้อ 23 (สถานที่ส่งมอบคืนรถของเร้นท์อะคาร์)

  1. หาก “ผู้เช่า” เปลี่ยนสถานที่ที่กำหนดในการส่งคืนตามข้อ 11 เขา/เธอจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการส่งต่อรถยนต์ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ”)
  2. หาก “ผู้เช่า” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ไปยังสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สถานที่ที่กำหนดในการส่งคืนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทตามที่กำหนดในข้อ 11 เขา/เธอจะต้องจ่ายเบี้ยปรับเท่ากับสองเท่าของ “ค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ”

ข้อ 24 (มาตรการที่ต้องดำเนินการหากไม่ได้รับรถยนต์ที่เช่าคืน)

  1. หากเงื่อนไขใดๆต่อไปนี้สามารถใช้ได้กับ “ผู้เช่า” บริษัทจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อยืนยันตำแหน่งที่ตั้งของ “รถยนต์ที่เช่า” โดยการใช้ระบบสารสนเทศแสดงตำแหน่งที่ตั้งของรถยนต์และจัดส่งรายงานความเสียหายของรถยนต์ที่ไม่ได้รับคืนให้กับสมาคมรถเช่าแห่งชาติ นอกเหนือจากการดำเนินการตามกฎหมายเช่นการยื่นฟ้องคดีทางอาญากับ “ผู้เช่า”

    (1) หาก “ผู้เช่า” ไม่ตอบสนองต่อการร้องขอของบริษัทในการส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” แม้ว่าหลังจากระยะเวลาการเช่าได้สิ้นสุดลงแล้ว; และ
    (2) หากพิจารณาแล้วว่า “รถยนต์ที่เช่า” ไม่สามารถส่งคืนได้เนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของ “ผู้เช่า”

  2. หากเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งของวรรคก่อนสามารถใช้ได้ “ผู้เช่า” จะชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดในการค้นหา “ผู้เช่า” และมารับ “รถยนต์ที่เช่า”ให้กับบริษัท

ข้อ 25 (ข้อตกลงในการลงทะเบียนและการใช้ข้อมูลการเช่า)

  1. แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” หากเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งสามารถใช้ได้กับ “ผู้เช่า” จะยินยอมให้ลงทะเบียนข้อมูลที่ตรงไปตรงมาบนพื้นฐานของความเป็นจริงของการเช่า รวมถึงชื่อ,วันเดือนปีเกิด และหมายเลขใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ ของ“ผู้เช่า” (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ข้อมูลการเช่า”) ในระบบของสมาคมรถเช่าแห่งชาติและรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังสำหรับระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี

    (1) หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่สามารถจ่ายเบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายที่ระบุไว้ในข้อ 17 วรรค 5 ให้กับบริษัทได้ภายในวันที่ครบกำหนดซึ่งกำหนดโดยบริษัท; และ
    (2) หากรายการใดรายการหนึ่งของวรรค 1 ในข้อก่อนหน้านี้สามารถใช้ได้

  2. แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” “ผู้เช่า” ตกลงยินยอมในเรื่องดังต่อไปนี้:

    (1) ข้อมูลการเช่าที่ลงทะเบียนกับระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติจะถูกใช้โดยสมาคมรถเช่าแห่งชาติและสมาชิกของสมาคมรถเช่าแห่งชาติในแต่ละจังหวัดเช่นเดียวกับบริษัทสมาชิกต่างๆ
    (2) ข้อมูลการเช่าที่ลงทะเบียนกับรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังจะถูกใช้โดยโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งสาขาต่างๆ

บทที่ 6 : มาตรการต่างๆในกรณีที่มีการชำรุดเสียหายเกิดอุบัติเหตุหรือถูกโจรกรรม

ข้อ 26 (การชำรุดเสียหายของรถยนต์ที่เช่า)

หากมีการชำรุดเสียหายของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้น “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะหยุดการใช้งานรถยนต์ในทันทีแจ้งให้บริษัททราบและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท

ข้อ 27 (อุบัติเหตุ)

  1. หากมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับ “รถยนต์ที่เช่า” เกิดขึ้น “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะหยุดการใช้งานรถยนต์ในทันทีและดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้นอกเหนือไปจากมาตรการที่จำเป็นตามกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุ:

    (1) รายงานรายละเอียดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นให้บริษัททราบในทันทีและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท;
    (2) หาก “รถยนต์ที่เช่า” ต้องได้รับการซ่อมแซมตามคำสั่งในรายการก่อนหน้านี้ ให้ดำเนินการนำรถยนต์เข้าซ่อมที่สาขาของบริษัทหรือสาขาที่กำหนดให้ โดยบริษัทยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุมัติจากบริษัท
    (3) ให้ความร่วมมือกับบริษัทและบริษัทประกันภัยที่ทำสัญญากับบริษัทในการตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุและยื่นเอกสารทั้งหมดที่ร้องขอโดยบริษัทและบริษัทประกันภัย โดยทันที
    (4) ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อนจะดำเนินการตกลงหาข้อยุติหรือข้อตกลงอื่นๆกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ

  2. นอกเหนือไปจากเรื่องที่ระบุไว้ในวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะจัดการและระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนความรับผิดชอบของตน
  3. บริษัทจะให้คำแนะนำกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” เกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุและจะให้ความร่วมมือในการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
  4. สำหรับรถยนต์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์บันทึกอุบัติเหตุสำหรับรถยนต์ไว้แล้ว บริษัทจะบันทึกสถานการณ์ในตอนที่เกิดการกระทบกระเทือน หรือมีการเบรคกระทันหันเกิดขึ้น ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในตอนที่เกิดอุบัติเหตุ
  5. บริษัทจะดำเนินมาตรการ เช่น ทำการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกตามที่ระบุในวรรคก่อน ในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น

ข้อ 28 (การโจรกรรม)

หาก “รถยนต์ที่เช่า” ถูกโจรกรรมหรือได้รับความเสียหาย “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องดำเนินการตามมาตรการต่อไปนี้:

(1) รายงานเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดโดยทันที
(2) รายงานสภาพความเสียหายของรถยนต์ให้กับบริษัทโดยทันทีและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท
(3) ให้ความร่วมมือกับบริษัทและบริษัทประกันภัยที่ทำสัญญากับบริษัทในการสืบสวนการขโมย/ความเสียหาย และ ยื่นเอกสารทั้งหมดที่ร้องขอโดยบริษัทและบริษัทประกันภัยโดยไม่ชักช้า

ข้อ 29 (การยกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถใช้ได้)

  1. หาก “รถยนต์ที่เช่า” ใช้ไม่ได้ในช่วงระยะเวลาการเช่าเนื่องจากการชำรุดเสียหายเกิดอุบัติเหตุถูกโจรกรรมหรือปัญหาอื่นๆ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ“) สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง
  2. ในกรณีของวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการมารับและการซ่อมแซม “รถยนต์ที่เช่า” ในขณะที่บริษัทจะไม่คืนค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ โดยมีเงื่อนไขว่า “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดที่ระบุไว้ในวรรค 3 หรือ วรรค 5
  3. หาก “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” เกิดจากข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนที่รถยนต์จะถูกเช่า ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเช่ารถ “ผู้เช่า” อาจจะได้รับการเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” จากบริษัท ให้ใช้ข้อ 5 วรรค 3 บังคับโดยอนุโลมกับเงื่อนไขของบทบัญญัติของ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน”
  4. หาก “ผู้เช่า” ไม่ได้รับการเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ที่กล่าวถึงในวรรคก่อนบริษัทจะคืนเงินค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้เต็มจำนวนให้กับ “ผู้เช่า” มีการบังคับใช้เช่นเดียวกันเมื่อไม่สามารถนำเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ให้ได้
  5. หากไม่สามารถระบุสาเหตุ “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” ว่ามาจาก “ผู้เช่า” "ผู้ขับขี่" หรือบริษัท บริษัทจะคืนเงินที่เหลือจากการเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงสิ้นสุด “สัญญาเช่า”
  6. ยกเว้นสำหรับมาตรการตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ไม่อาจทำการเรียกร้องใดๆกับบริษัทได้ ยกเว้นในกรณีที่กำหนดไว้ในข้อนี้ในเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายใดๆที่เกิดจากการไม่สามารถที่จะใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ได้

บทที่ 7 : การชดใช้ค่าเสียหายและค่าชดเชย

ข้อ 30 (การชดใช้ค่าเสียหายและค่าชดเชยสำหรับธุรกิจโดยผู้เช่า)

  1. หาก “ผู้เช่า”หรือ “ผู้ขับขี่” ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆกับรถเช่าของบริษัท (รวมถึงรถยนต์ที่เช่าทดแทน ตามข้อบังคับมาตราที่ 37) ในช่วงระยะเวลาของการใช้รถเช่าที่ยืมไป "ผู้เช่า"จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท จะยกเว้นในกรณีที่ไม่สามารถระบุว่าเป็นเหตุผลที่เกิดจาก "ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"
  2. หากความเสียหายที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ดังที่กล่าวถึงในวรรคก่อนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุหรือการโจรกรรมและส่งผลให้บริษัทไม่สามารถที่จะใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ได้เพราะการชำรุดเสียหายเนื่องจากเหตุผลอันเนื่องมาจาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หรือเพราะ “รถยนต์ที่เช่า” มีรอยตำหนิหรือมีกลิ่นเหม็น ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าความเสียหายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในตารางอัตรา
  3. ในระหว่างที่ใช้รถยนต์ที่เช่าไป (รวมถึงรถยนต์ที่เช่าทดแทนตามข้อบังคับมาตราที่ 37) จะถือว่า"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่" จะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากความประมาทหรือความเลินเล่อของ"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"ให้กับบุคลลที่สาม หรือบริษัท
  4. แม้จะมีบทบัญญัติในวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยความเสียหายใดๆที่เกิดจากภัยพิบัติที่ถูกกำหนดให้เป็นภัยพิบัติใหญ่ตามมาตรา 2 ของพระราชบัญญัติความช่วยเหลือด้านการเงินพิเศษสำหรับภัยพิบัติใหญ่ (กฎหมายเลขที่ 150 ปี ค.ศ. 1962) (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ภัยพิบัติใหญ่”) หากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ“รถยนต์ที่เช่า”ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญหายการชำรุดเสียหายหรือผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยในภูมิภาคที่ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ที่ประสบภัยพิบัติ เว้นแต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรงของ"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"

ข้อ 31 (การประกันภัย)

  1. หาก “ผู้เช่า” ต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด และรวมถึงกรณีที่"ผู้ขับขี่" ต้องรับผิดชอบชดใช้ตามมาตรา 3 ในวรรคก่อน เงินประกันสูงสุดถึงวงเงินดังต่อไปนี้จะถูกจ่ายให้กับเขา/เธอตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุที่สรุปโดยบริษัทสำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” ทั้งนี้ การจ่ายเงินประกันดังกล่าวไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การยกเว้นในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย

    (1) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายส่วนบุคคล: ไม่จำกัดต่อคน (รวมถึงประกันภัยความรับผิดภาคบังคับของรถยนต์)
    (2) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สิน: ไม่จำกัด (ค่าความเสียหายส่วนแรก 50,000 เยน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง)
    (3) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อรถยนต์: สูงสุดตามมูลค่าตลาด (ค่าความเสียหายส่วนแรก 50,000 เยน แต่ 100,000 เยนสำหรับรถโดยสาร/รถบรรทุกขนาดใหญ่)
    (4) ค่าสินไหมทดแทนความบาดเจ็บส่วนบุคคล: สูงสุดไม่เกิน 30,000,000 เยน ต่อคน

  2. “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่เงินประกันจะไม่จ่ายหรือความเสียหายที่เกินจำนวนเงินประกันที่จะจ่ายตามบทบัญญัติในวรรคก่อน
  3. ในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบโดย “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ตามบทบัญญัติในวรรคก่อน “ผู้เช่า”หรือ “ผู้ขับขี่” จะจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทโดยทันทีสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
  4. ค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่สอดคล้องกับค่าความเสียหายส่วนแรกของเงินประกันที่ระบุไว้ในวรรค 1 จะต้องรับผิดชอบโดยบริษัทหาก “ผู้เช่า” ได้จ่ายเงินค่าความเสียหายส่วนแรกให้กับบริษัทล่วงหน้าแล้ว; จะต้องรับผิดชอบโดย “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หากเขา/เธอยังไม่ได้ชำระค่าความเสียหายส่วนแรกไว้
  5. จำนวนเงินที่เท่ากับเบี้ยประกันสำหรับกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุที่กำหนดในวรรค 1 จะถูกรวมอยู่ในอัตราค่าเช่า

บทที่ 8 : การยกเลิก

ข้อ 32 (การยกเลิกสัญญาเช่า)

หาก “ผู้เช่า” ละเมิด “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดในช่วงระยะเวลาการเช่า บริษัทอาจยกเลิก “สัญญาเช่า” โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือออกหมายเรียกและร้องขอให้ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับในทันที ในกรณีดังกล่าว บริษัทจะคืนเงินที่เหลือจากค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงสิ้นสุดการเช่า และค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการยกเลิกสัญญา

ข้อ 33 (การยกเลิกโดยสมัครใจ)

  1. “ผู้เช่า” อาจยกเลิก “สัญญาเช่า” ในช่วงระยะเวลาการเช่าได้โดยได้รับความยินยอมจากบริษัทในกรณีดังกล่าวบริษัทจะคืนเงินค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงการส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า”
  2. เมื่อ “สัญญาเช่า” ถูกยกเลิกตามที่อธิบายไว้ในวรรคก่อน “ผู้เช่า” จะชำระเงินค่าธรรมเนียมการยกเลิกต่อไปนี้ให้กับบริษัท : ค่าธรรมเนียมการยกเลิก = { (อัตราขั้นพื้นฐานสำหรับระยะเวลาการเช่าที่กำหนด) - (อัตราขั้นพื้นฐานสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันเริ่มต้นของการเช่าจนถึงการส่งคืนรถยนต์) } × 50%

บทที่ 9 : บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ 34 (การหักล้างภาระผูกพันร่วม)

หากบริษัทมีภาระผูกพันทางการเงินกับ “ผู้เช่า” ตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดบริษัทอาจหักล้างภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวออกจากภาระผูกพันทางการเงินที่ “ผู้เช่า” มีต่อบริษัทได้

ข้อ 35 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

“ผู้เช่า” จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่) ที่มีการเรียกเก็บจากการทำธุรกรรมภายใต้ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดให้กับบริษัท

ข้อ 36 (ค่าปรับในการชำระเงินล่าช้า)

หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” และบริษัทมีการเพิกเฉยหรือละเลยในการดำเนินการตามภาระผูกพันทางการเงินภายใต้ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด ฝ่ายนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับในการชำระเงินล่าช้าให้กับอีกฝ่ายในอัตราดอกเบี้ย 14.6% ต่อปี

ข้อ 37 (ตัวแทนเช่า)

หาก “รถยนต์ที่เช่า” ถูกเช่าจากบริษัทอื่นในนามของบริษัท (บริษัทดังกล่าวซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ตัวแทนเช่า”) คำว่า “บริษัท” ที่ใช้ใน “สัญญา” จะถูกแทนที่ด้วย “ตัวแทนเช่า” แต่ไม่รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “การจัดการข้อมูลส่วนตัว” ข้อ12, ข้อ16, ข้อ 26 -28 (แต่หมายเลขติดต่อในกรณีของการชำรุดเสียหาย อุบัติเหตุ โจรกรรม ฯลฯ จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทและ “ตัวแทนเช่า”) และ ข้อ 39

ข้อ 38 (กฎหมายที่ใช้บังคับ)

  1. กฎหมายที่ใช้บังคับคือกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น
  2. ในกรณีที่มีข้อความขัดแย้งกันระหว่างสัญญาภาษาญี่ปุ่นและสัญญาในภาษาอื่นๆเช่นสัญญาภาษาอังกฤษให้ยึดฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก

ข้อ 39 (การแสดงสัญญาและข้อบังคับโดยละเอียด)

  1. บริษัทอาจมีการแก้ไข “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดหรืออาจจะจัดทำข้อบังคับโดยละเอียดของ “สัญญา” แยกต่างหากโดยจะประกาศไว้ที่โฮมเพจของบริษัทไว้ล่วงหน้า
  2. หากมีการแก้ไข “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดเหล่านี้หรือมีการจัดทำข้อบังคับโดยละเอียดของ “สัญญา” แยก บริษัทจะจัดแสดงไว้ในสำนักงานขาย รวมทั้งอธิบายไว้ในแผ่นพับและตารางอัตราที่ออกโดยบริษัทและปิดประกาศไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท มีการบังคับใช้เช่นเดียวกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของ “สัญญา” หรือข้อบังคับโดยละเอียดดังกล่าว

ข้อ 40 (ศาลที่มีเขตอำนาจ)

หากมีข้อพิพาทใดๆเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด ศาลที่มีเขตอำนาจในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทจะเป็นศาลที่่มีอำนาจเด็ดขาดในการวินิจฉัยและตัดสินเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้

สัญญาเช่าซื้อจะสมบูรณ์เมื่อใด

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ที่กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะนั้น หมายถึงว่าเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย สัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อมีกรรมการของ ...

สัญญาเช่ารถยนต์ กี่ปี

การเช่ารถยนต์ตามวรรคหนึ่งมีก าหนดระยะเวลา ๕ ปี (ห้า) ปี นับตั้งแต่วันที่.......... เดือน........................พ.ศ....................ถึงวันที่.............. เดือน...........................พ.ศ....................

สัญญาเช่าสูงสุดกี่ปี

1. กำหนดระยะเวลาการเช่าไว้เกินกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี ซึ่งผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้มีกำหนดไม่เกิน 50 ปี นับแต่วันที่ตกลงกัน 2. การเช่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ 3. ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์

สัญญาเช่าซื้อต้องทำอย่างไรจึงจะสมบูรณ์

สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ ด้วยวาจาไม่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ทำให้ไม่มีผลตามกฏหมายที่จะผูกพัน ผู้เช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้ การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น จะทำกันเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะพิมพ์หรือจะเขียนก็ย่อมได้ แต่สัญญานั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อ ทั้งสองฝ่ายหากมี ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita