องค์การสันนิบาตชาติก่อตั้งเมือใด

                      หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  1 (ค.ศ.1913-1921) ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น
        ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก
        โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็น องค์กรกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษาสันติภาพอันถาวรไว้ โดยประชุมครั้งแรก
        ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ.1920

                                        ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา

องค์การสันนิบาตชาติ

สมาชิกภาพ

  ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญา    สันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ
                ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา สันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน   ส่วนประเทศอื่น จะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบ   จากการออกเสียงสองในสามของประเทศสมาชิก
               ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน

วัตถุประสงค์

          การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต ประเทศสมาชิกต่างให้   สัตยาบันที่จะเคารพเอกราช และบูรณภาพแห่ง อาณาเขตของประเทศต่าง ๆ

         ในกรณีที่ประเทศสมาชิกใดถูกรุกรานทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือกำลังทหาร ต้องเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกอื่นในการร่วมมือกันต่อต้านผู้รุกราน

 องค์การสันนิบาตชาติมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้
1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต

การดำเนินงาน

 

                   การดำเนินงานขององค์การสันนิบาตชาติมีองค์กรต่าง ๆ ทำหน้าที่และรับผิดชอบ  ดังนี้
             - สมัชชา ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด   คือ  ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนไปประจำได้ประเทศละ 3 คน เป็นอย่างมากแต่การออกเสียง แต่ละประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
             - คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวร ที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ
              
คณะมนตรีนี้ประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา

             - สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมีหน้าที่เป็นสำนักงานจัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัยและประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ

              - คณะกรรมาธิการ   มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้าน
เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่    องค์การอนามัยระหว่างประเทศ  สำนักแรงงานสากล  และคณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติ
              - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่าง ๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน

ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ

           การปฏิบัติงานขององค์การสันนิบาตชาติในฐานะองค์การระหว่างประเทศอาจนับได้ว่าล้มเหลวแม้ได้ทำการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้สำเร็จอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสังคมโลกและเป็นปัญหาที่ชาติมหาอำนาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง
                       ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ประสบความสำเร็จ เช่น
กรณีหมู่เกาะโอลันด์ (Aland Islands) ที่สวีเดนและฟินแลนด์ต่างแย่งชิงกันจะเข้าครอบครองใน ค.ศ. 1917 สวีเดนถือโอกาสส่งกองทหารเข้าไปยึดหมู่เกาะนี้ แต่ถูกกองทัพเยอรมนีซึ่งสนับสนุนขบวนการกู้ชาติของฟินแลนด์ขับไล่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเสนอปัญหานี้ให้องค์การสันนิบาตชาติพิจารณาตัดสินให้มอบหมู่เกาะโอลันด์อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดนปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระ


           ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น


                เหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู(Corfu Incident)ใน ค.ศ. 1923
อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีซ เพื่อบีบบังคับรัฐบาลกรีซให้ชดใช้ค่าเสียหายกรณีฆาตกรรมนายพลอิตาลี เหตุการณ์นี้ท้าทายความมีประสิทธิภาพของการประกันความมั่นคงร่วมกันขององค์การสันนิบาตชาติซึ่ง  ไม่สามารถยับยั้งหรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้ง ๆ ที่กรีซและอิตาลีต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ


               เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีนในค.ศ. 1931

องค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถใช้มาตรการใดลงโทษญี่ปุ่น

ได้วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศที่แสดงถึงความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ

             ที่ชัดเจนที่สุด คือ สงครามอะบิสซิเนีย(Abyssinian War) ที่อิตาลีส่งกองทัพบุกอะบิสซิเนียโดยไม่ประกาศสงครามเมื่อ ค.ศ.1935และสามารถยึดกรุงแอดดิสอาบาบาได้ในค.ศ. 1936 ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่าเป็นฝ่ายรุกรานอิตาลีจึงตอบโต้องค์การสันนิบาตชาติด้วยการลาออกจากการเป็น
สมาชิกองค์การสันนิบาตชาติใน ค.ศ. 1937
             เหตุการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ทำให้
     - ญี่ปุ่น    ถอนตัวออกไปใน ค.ศ. 1933
     - อิตาลี   ถอนตัวออกไปใน  ค.ศ. 1937
             ตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ประเทศมหาอำนาจที่ยังคงเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจึงมีเพียง
        อังกฤษ และ ฝรั่งเศส


 

จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ

              แม้องค์การสันนิบาตชาติจะได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จในช่วงต้น ๆ หลายกรณี  แต่ต่อมาก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                    1.  การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้กฎข้อบังคับขององค์การ  สันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศสมาชิก
ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่

                    2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น
                       มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครองเหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี
            เยอรมนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศการที่ประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำสันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำให้การดำเนินงานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ

                     ดังนั้นแม้ว่าจะมีองค์การสันนิบาตชาติ แต่เมื่อประเทศมหาอำนาจต้องการผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ มหาอำนาจเหล่านี้จะเพิกเฉยต่อบทบาทและหน้าที่ขององค์การสันนิบาตชาติ    หรือลาออกจากการเป็นสมาชิก ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถปฏิบัติการใดๆอันเป็นการตอบโต้ต่อประเทศ เหล่านั้นได้ หลังจากการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติมาได้ 20 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น

องค์การสันนิบาตชาติสร้างขึ้นเพื่ออะไร

28 มิถุนายน 2462 (ค.ศ. 1919) : สันนิบาตชาติ (The League of Nations : LN) สมาชิกก่อตั้ง : 42 ประเทศ สำนักงานใหญ่ : นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต

บทบาทสําคัญขององค์การสันนิบาตชาติ คือข้อใด

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติคือการดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต โดยมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้ 1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ 2. เป็นองค์การกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ 3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์

อาคารสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติตั้งอยู่ที่ใด

สำนักงานใหญ่ เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ภาษาทางการ อังกฤษ, ฝรั่งเศส

สาเหตุที่ทำให้องค์การสันนิบาตชาติล่มสลายคือข้อใด

จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ 2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความ ก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครอง เหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita