เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาใดเราควรไปทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ฝึกสมาธิ และเวียนเทียน

ในวันสำคัญของพระพุทธศาสนาชาวพุทธอย่างเราก็ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเด็กถึงเรื่องการเข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม เพราะนั่นคือสิ่งที่ช่วยให้เรามีสติ กล่อมเกลาจิตใจของเราได้เป็นอย่างดี

และยิ่งเป็นวันสำคัญอย่าง "วันอาสาฬหบูชา" กิจกรรมอะไรบ้างที่เราเหล่าพุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติกัน Sanook Horoscope มีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันค่ะ

ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในวันวันอาสาฬหบูชาทราบกันหรือไม่ว่า วันนี้มีความสำคัญอย่างไร

อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" ในวันอาสาฬหบูชาจะตรงกับ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันที่เกิดปรากฎการณ์ยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนา"ธรรมจักกัปวัตนสูตร" เป็นครั้งแรก แล้วทำให้ "พระโกณฑัญญะ" หนึ่งใน 5 ปัญจวัคคีย์ ได้เลื่อมใสในพระธรรมเทศนาจึงขอบวชและได้เป็นพระสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้านั่นเอง 

เมื่อทราบกันแล้วว่าประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชานั้นเป็นอย่างไร เรามารู้เรื่องราวกันต่อว่าสิ่งที่เราควรปฏิบัติในวันสำคัญนี้มีอะไรบ้าง

  • ตักบาตร ในช่วงเช้า ซึ่งบางคนก็มักจะทำกันอยู่แล้วในทุกๆวันพระ แต่สำหรับวันพระที่เป็นวันสำคัญแบบนี้ก็อาจจะมีการจัดงานตักบาตราที่ใหญ่ขึ้นตามวัดและสถานที่ต่างๆ ที่เตรียมจัดเอาไว้ให้ ใครสะดวกที่ไหนก็สามารถไปร่วมงานได้ตามสถานที่นั้นได้เลย
  • ทำบุญ บำเพ็ญกุศล ตลอดทั้งวัน สืบเนื่องจากการตักบาตร ก็จะมีการทำบุญในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถวายสังฆทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อเป็นการไถ่บาป หรือบางคนก็อาจจะ ถือศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ขัดเกลาจิตใจ เพื่อความสุขทางกายและใจ
  • เวียนเทียน ในตอนค่ำกิจกรรมสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งชาวพุทธพึ่งกระทำกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาก็คือ "การเวียนเทียน" ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีจัดกันเกือบทุกวัด

 

โดยจุดประสงค์ของการเวียนเทียนนั้น มีใจความสำคัญดังนี้

"การเวียนเทียนที่เรียกว่าทำประทักษิณนั้น มีความมุ่งหมายให้แสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งปวง ด้วยการเดินให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เบื้องขวาของตน และสำรวมใจนึกถึงพระคุณของพระองค์

วาจาบริกรรมคือกล่าวพระคุณของพระองค์ตลอดเวลาที่เวียนเทียน มือถือเครื่องสักการบูชา ถือธูปเทียนดอกไม้ประนมมือไว้ที่อก เพื่อให้จิตใจของตนอยู่กับพระ ไม่ส่งใจไปสู่ที่อื่นซึ่งมิใช่สิ่งที่ตนเคารพบูชาหรือมิใช่สรณะที่พึ่งสูงสุดของตน การเวียนเทียนนี้เป็นการแสดงความเคารพบูชาตามหลักวัฒนธรรมของไทย เป็นระเบียบที่นิยมปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาล"

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเวียนเทียน การได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยการเวียนเทียนก็ดี ด้วยการปฏิบัติบูชาตลอดวันนั้นก็ดี ย่อมเกิดผลดีต่อผู้กระทำเอง คือ

"ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามหน้าที่ที่พึงทำ ได้รับความแช่มชื่นเบิกบาน ได้สั่งสมบุญบารมีอันเกิดจากการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา  ได้ทำชีวิตตนให้มีค่ายิ่งขึ้นด้วยการงดเว้นจากอบายมุข มุ่งปฏิบัติธรรมความดีเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ได้ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยการบูชาอย่างยิ่งย่อมได้มงคลในชีวิตตลอด"

 

แต่ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การเวียนเทียนจึงกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจะเป็นเหมือนกิจกรรมทางโลก ที่ไม่ได้ทำให้จิตใจได้สงบอย่างแท้จริง เพราะมีบางครั้งที่หลายคนมักจะปฏิบัติตนไม่สำรวมหรือไม่ถูกต้องในการร่วมกิจกรรมเวียนเทียน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดัง การเดินอย่างไม่มีสติ

ทำให้เทียนหรือธูปนั้นไปโดนคนข้างๆ เกิดเป็นอารมณ์ฉุนเฉียวหรือผิดใจกัน แล้วสุดท้ายก็ทำให้จิตใจหม่นหมอง บุญที่ทำร่วมกันมาตั้งแต่เช้า ตักบาตร ทำบุญ ฟังเทศน์ ก็คงไม่มีประโยชน์ใดๆเลย หากแต่ไม่สามารถควบคุมสติตัวเองเอาไว้ได้ 

ดังนั้นเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งสิ่งดีๆ ที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนาเรา ก็ควรปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัดเพื่อจะได้อิ่มบุญสุขใจกันถ้วนหน้าค่ะ

ไลฟ์สไตล์

'วันมาฆบูชา' ชวนฟังธรรมรับอานิสงส์แรงในวันพระใหญ่

“วันมาฆบูชา 2563” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กำลังจะมาถึง ชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมใน “มาฆบูชา 2563” ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน หรือ “ฟังธรรม” ตามความเชื่อที่ว่าจะได้รับบุญหนักในวันพระใหญ่

“มาฆบูชา 2563” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กำลังจะมาถึง เชื่อว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมเสริมบุญในวันพระใหญ่แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน และโดยเฉพาะ "การฟังธรรม" ตามความเชื่อของชาวพุทธนิกายเถรวาทที่เชื่อว่าหากฟังธรรมในวันพระใหญ่จะทำให้ตัวเองได้ "บุญกุศล" มากมายมหาศาล แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? และมีข้อปฏิบัติในการฟังธรรมอย่างไรบ้าง? 

ความหมายของคำว่า "บุญ" โดยทั่วไปหมายถึงการกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า "ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเสมือนเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า "กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ต่างๆ นานา และช่วยให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุขสงบ โดยการฟังธรรมใน "วันมาฆบูชา" เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น มีข้อควรปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน ดังนี้

1. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนฟังธรรม

อย่างแรกที่ชาวพุทธควรทำก่อนการฟังธรรมในวันพระ คือ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส มีสมาธิและสงบนิ่งพร้อมฟังธรรมะ มีความศรัทธาและเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ และสนใจที่จะอยากฟังธรรมะจริงๆ หากฟังแบบไม่มีศีล ไม่มีสมาธิหรือไม่ได้ตั้งใจฟัง ฟังไปได้ 2-3 วินาทีก็คิดไปเรื่องอื่นแล้ว แบบนี้ก็จะไม่ เข้าใจในธรรมะได้อย่างถ่องแท้ เสมือนกับเวลาที่รองน้ำจากก๊อกน้ำใส่แก้ว ถ้ามือไม่นิ่ง ส่ายไปส่ายมา น้ำที่ไหลออกจากก๊อก ก็ไม่สามารถไหลลงแก้วได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไหลทิ้งไป การฟังธรรมก็เช่นกัน

  • อ่านข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เปิดคู่มือ 'เวียนเทียน' ที่ถูกต้องรับบุญใหญ่ 'มาฆบูชา 2563'

ประวัติ ‘วันมาฆบูชา’ พร้อมรู้ลึก 'โอวาทปาฏิโมกข์' คืออะไร?

2. ฟังธรรมตามกาล

คำนี้มาจากมงคลชีวิตที่ 26 นั่นคือ เมื่อมีโอกาส เวลา ในวันสำคัญต่างๆ ดังเช่น วันมาฆบูชา ที่จะถึงนี้ ก็ควรที่จะไปฟังธรรม เพื่อรับฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์ของหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงในพระบาลีซึ่งตรัสไว้ว่า..  

"กาเลนะ ธัมมัสสวนัง เอตัมมัง กลมุตตมัง" แปลว่าการฟังธรรมตามกาล ตามเวลา เป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะการฟังธรรมสามารถทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้

การฟังธรรมนี้ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัดหรือจากพระโดยตรง แต่อาจจะฟังจากวิทยุ สื่อออนไลน์ หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรมในทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด การฟังต้องมีหลัก 3 ประการ คือ ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำ และตั้งใจนำไปปฏิบัติ โดยจุดประสงค์ของการฟัง ก็เพื่อให้รู้แล้วนำไปคิดเพื่อใคร่ครวญด้วยปัญญา เมื่อใคร่ครวญแล้วเห็นว่าถูกต้องสอดคล้องกับเหตุผลก็นำไปใช้ได้ ทำให้เกิดประโยชน์ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นโทษต่อชีวิต

3. เป็นผู้ฟังที่ดี

นอกจากนี้ คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่จะทำให้ได้บุญหนักหรือได้อานิสงส์แรง โดยควรปฏิบัติตัวและปรับมุมมองต่อการฟังพระธรรมเทศนา ดังนี้

- ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป

- ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม

- ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้

- มีความตั้งใจในการฟังธรรม นำไปพิจารณา และนำเอาธรรมนั้นๆ ไปปฏิบัติให้เกิดผลเจริญขึ้น

4. อานิสงส์ของการฟังธรรมตามกาล

พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมตามกาลอย่างเช่นการฟังธรรมในวันมาฆบูชาไว้ 5 ประการ คือ 

4.1) ได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่: ผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

4.2) ได้ทบทวนความรู้เดิมถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้นตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิมให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน และแม่นยำยิ่งขึ้น

4.3) ปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้: ถ้าผู้ฟังยังมีความสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มแล้ว จะทำให้ความสงสัยนั้นหมดไป และตัดสินใจละทิ้งความชั่วและทำความดีง่ายขึ้น

4.4) ปรับความเห็นให้ตรงตามจริง: ในการดำเนินชีวิตของคนเรามักจะแวดล้อมไปด้วยสิ่งไม่ดีต่างๆ อาจทำให้มีความคิดเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวนออกนอกเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกการเห็นผิดเป็นชอบ

4.5) ฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น: การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้เราละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกามารมณ์ ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

5. ฟังธรรมช่วยเสริมมงคลชีวิต

การฟังธรรมถือเป็นการน้อมรับสิริมงคลเข้าสู่ชีวิตของผู้ฟังเอง หากย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาลพบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่สามารถบรรลุโสดาบัน หรือเป็นพระอรหันต์สำเร็จได้จากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว การฟังธรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ขัดเกลาจิตใจได้อย่างดี คนชั่วเลิกทำชั่วก็เพราะได้ฟังธรรม คนดีทำดีมากขึ้นก็เพราะได้ฟังธรรม สำหรับใครที่ไม่ยอมฟังธรรมก็จะพลาดโอกาสอย่างหนึ่งที่จะพัฒนาจิตใจตัวเองให้ดีขึ้น นอกจากการฟังธรรมโดยตรงแล้ว การอ่านหนังสือธรรมะหรือพระไตรปิฎกก็สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นในลักษณะใกล้เคียงกันได้

---------------------------

อ้างอิง: 

  • พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร รองเจ้าคณะภาค ๑๔
  • //www.kammatthana.com/D_161.htm
  • //www.palipage.com/watam/buddhology/42-07.htm
  • //www.haijai.com/3856/

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita