หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นยังไง

            �����·���件�����ä�������� ��è��ѡ�ҵ�����ᾷ���йӤ�è��Ѻ��зҹ���������Ͷ֧�����Ҩ�������ҡ�üԴ���� ����ᾷ���ԹԨ�������������ä���㨤�èзӵ��ᾷ���й� ��è��ҵ�Ǩ����Ѵ����Ѻ��зҹ���������� ��л�ͧ�ѹ�����á��͹�ҡ���㨷���������� ��������������ä����������� ���èд����آ�Ҿ������ç ����͡���ѧ�������� �ҹ����÷���ռŴյ���آ�Ҿ ��ա����§����÷���ռ����յ�ҧ �  ��С��Ǩ���آ�Ҿ������ � ��è�����ҡ������ҡ�����ͧ�鹢ͧ�ä��ҧ � �����ҧ��  㹡óշ�����ҡ�üԴ���Ԥ�èл�֡��ᾷ�� �����Ѻ����ԹԨ��µ�Ǩ�������������

►ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการใจสั่น ใจหวิวๆ เป็นลมหน้ามืดหมดสติ หรือมีอาการเนื่อยร่วมด้วย หรือมีอาการหัวใจกระตุก รู้สึกไม่สะบายในอก

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

►ส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าหัวใจ ร่างกายจะมีหัวใจที่เป็นอวัยวะที่สามารถสร้างไฟฟ้าได้เอง จะเกิดขึ้นจากการที่หัวใจสร้างไฟฟ้าช้าผิดปกติหรือสร้างไฟฟ้าเร็วผิดปกติ หรือมีจะดกำเนิดจากที่ที่ไม่ควรจะดำเนิดมา

►สาเหตุส่วนใหญ่ นอกจากตัวหัวใจเอง อาจจะมีปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

เบื้องต้นการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการติดอุปกรณ์ไว้ที่หัวใจและแขน ขา ทั้งสองข้าง และมีแผ่นกระดาษที่ปริ้นออกมา แล้วทำให้เราเห็นเป็นคลื่นไฟฟ้า หรืออาจมีการเอาอุปกรณ์ติดไปบ้านให้ไปทำกิจวัตรประจำวัน แล้วติดไว้อาจจะ 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง หรือแล้วแต่เครื่อง หรืออาจจะมีการเจาะเลือดหาสาเหตุอื่นๆ หรืออาจจะมีการเดินสายพานดูสมรรถภาพหัวใจ หรืออาจะมีการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อดูว่าการทำงานของหัวใจเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นแล้วสุดท้ายถ้าเกิดยังหาสาเหตุไม่พบ อาจจะมีการทำการสวนหัวใจเข้าไปดูภาวะการเดินวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ

การรักษา เช่น ยา หรือปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นที่มีอาการให้ใจสั่นเหล่านี้ ก็ต้องงดที่สาเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มกาแฟ อะไรเหล่านี้  แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ก็จะมีการสวนหัวใจเข้าไป แล้วก็จี้ที่มันลัดวงจรนั้น ถ้าสาเหตุเกิดจากภวะหัวใจขาดเลือด เราก็จะรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด หรือถ้าสาเหตุนั้นแก้ไขไม่ได้ เช่น ไฟฟ้าเต้นผิดปกติเต้นรัวก็จะต้อง ซ็อตหัวใจ ก็อาจจะต้องใส่อุปกรณ์ เข้าไปในหัวใจแล้วก็ช็อตไฟฟ้า อย่างไรก็แล้วแต่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ก็เป็นโรคที่มีอันตรายน้องถึงอันตรายมาก อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องส่งมาปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ

คือภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น

การเต้นของหัวใจจะถูกควบคุมโดยเครื่องกระตุ้นหัวใจตามธรรมชาติที่เรียกว่า Sinus Node ที่อยู่บริเวณหัวใจห้องบนด้านขวา มีหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเต้นของหัวใจ กระแสไฟฟ้าจะเดินทางไปยังหัวใจห้องบนเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้สูบฉีดเลือดเข้าไปในหัวใจ จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะเดินทางต่อไปยังสถานีส่งสัญญาณที่เรียกว่า Atrioventricular Node ก่อนส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องล่างทำให้เกิดการบีบตัวจากบนไปล่างอย่างสม่ำเสมอ และสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายรูปแบบ แบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

  • Atrial Fibrillation หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น
  • Supraventricular Tachycardia อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • Bradycardia อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • Ventricular Fibrillation หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น

  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที)
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที)
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ

ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย แผลเป็นที่เนื้อเยื่อหัวใจจากหัวใจวายในอดีต รวมถึงการผ่าตัดหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และทำให้ผนังของหัวใจห้องล่างด้านซ้ายหนาขึ้น
  • ปัญหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น ไฮเปอร์ไทรอยด์หรือไทรอยด์เป็นพิษ และไฮโปไทรอยด์หรือไทรอยด์ต่ำ
  • โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้อัตราการหายใจไม่ปกติ และมีความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เกลือแร่ในเลือดไม่สมดุล (Electrolyte Imbalance) อิเล็กโทรไลต์ในเลือด ได้แก่ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม และแมงกานีส มีหน้าที่กระตุ้นและเป็นสื่อให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจ หากระดับของเกลือแร่ในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานของกระแสไฟฟ้าในหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะส่งผลต่อกระแสไฟฟ้าในหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน จะไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด หรือยาแก้ไอ เป็นต้น ที่มีส่วนผสมที่ไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากกว่า รวมถึงผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และรับประทานยาที่ส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของการเต้นของหัวใจเป็นประจำ

การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น โรคหัวใจ ปัญหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยเฉพาะเมื่อตรวจในขณะมีอาการ แพทย์จะติดตั้งอุปกรณ์ที่บริเวณหน้าอก เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้ Holter Monitor เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ หรือ Event Monitor ซึ่งจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือในขณะที่สวมใส่อุปกรณ์ มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อย แต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา ในบางครั้งผู้ป่วยอาจต้องกดปุ่มเมื่อรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุปกรณ์จะทำงานอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติของการเต้นหัวใจ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจในขณะออกกำลังกาย และช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกายได้
  • การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (Electrophysiology Studies) โดยติดตั้งสายสวน (Catheter) บริเวณหลอดเลือดที่มุ่งสู่หัวใจ เพื่อตรวจและบันทึกการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจ และหาสาเหตุหรือความผิดปกติที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจวัดระดับสารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น โพแทสเซียมในเลือด ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น หากพบว่ามีระดับที่ผิดปกติจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • การเอกซเรย์หน้าอก เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจโต เป็นต้น
  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอกและใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ชนิดฝัง (Implantable Loop Recorder) โดยติดตั้งอุปกรณ์ลงไปใต้ผิวหนังที่บริเวณหน้าอก เพื่อตรวจจับการเต้นของหัวใจ

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออาการที่มีความรุนแรงมากขึ้นหรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจยังไม่จำเป็นต้องรักษา ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

  • การรักษาผู้ที่มีการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ โดยการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ที่ติดตั้งเข้าไปในร่างกายที่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใช้สายไฟต่อจากเครื่องผ่านหลอดเลือดเข้าสู่หัวใจ เพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด
  • การรักษาผู้ที่มีการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ ทำได้หลายวิธี เช่น
    • การกระตุ้นเวกัส (Vagal Maneuvers) เป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุให้หัวใจเต้นช้าลง แต่การกระตุ้นเวกัสอาจไม่สามารถใช้รักษาผู้ที่หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะได้ทุกประเภท และเป็นการรักษาเพียงชั่วคราวเท่านั้น
    • การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ ถึงแม้จะไม่ช่วยให้หายขาด แต่ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการได้ โดยพบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายประเภทตอบสนองดีต่อการใช้ยา โดยแพทย์อาจสั่งยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Antiarrhythmic drugs) สำหรับผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะเพื่อควบคุมหรือฟื้นฟูการเต้นของหัวใจให้อยู่ในจังหวะที่ปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงแพทย์อาจสั่งยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ Atrial Fibrillation เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง
    • การช็อคหัวใจ (Cardioversion) ใช้ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือหมดสติ โดยแพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกายซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่
    • การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (Ablation Therapy) วิธีนี้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุซึ่งอาจช่วยให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทหายขาดได้ โดยเป็นวิธีการรักษาที่ต่อเนื่องจากการตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ เมื่อสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติ แพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเป็นจุดเล็กๆ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น
    • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter-Defibrillator: ICD) โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (Ventricular Fibrillation) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  • การผ่าตัด เช่น
    • การผ่าตัด Maze Procedure ที่เนื้อเยื่อหัวใจห้องบนให้เกิดแผลเป็น เพื่อควบคุมจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการทำบายพาสหัวใจ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเกิดอาการใจสั่น หัวใจจะทำงานและสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดลิ่มเลือด ลิ่มเลือดอาจเดินทางจากหัวใจไปที่สมอง ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด และเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ในที่สุด
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว การเต้นของหัวใจที่ช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทำให้หัวใจทำงานและสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่ หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน และส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

การป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เพียงปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 รวมถึงผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช เป็นต้น
  • ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการสุบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ
  • อ่านคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง และใช้ยาด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะยาแก้ไอหรือยาแก้หวัดที่อาจมีส่วนผสมที่ไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ

    จะรู้ได้ยังไงว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    ฉะนั้นสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ เช่น วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหมดสติ หากตรวจวินิจฉัยตรวจพบว่าป่วยการรักษาทั่วไปแพทย์จะใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ และ ...

    หัวใจเต้นผิดจังหวะ กี่ครั้ง

    หัวใจเต้นผิดจังหวะมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุ อาการ การพยากรณ์โรคและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือเต้นช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที

    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอันตรายไหม

    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

    หัวใจกระตุกอันตรายไหม

    ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะควรมีการดูแลรักษาตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทั้งนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการใจสั่นมาก รู้สึกเป็นตลอดเวลา เจ็บแน่นหน้าอก เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วไม่ส่งผลต่ออันตราย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita