ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายหลักของฝรั่งเศสในการเจริญราชไมตรีกับไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดประสงค์แรกที่ฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับอยุธยาคืออะไร ลาลูแบร์เดินทางเข้ามาในอยุธยาด้วยจุดประสงค์ใด อยุธยากับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ลาลูแบร์ เดินทางเข้ามาอยุธยาด้วยจุดประสงค์ด้านใด ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสสมัยอยุธยา ชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา ได้แก่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสต้องการคานอำนาจชาติใด เปรียบเทียบ การปกครอง ไทยกับฝรั่งเศส ชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา คือชาติใด

จุดมุ่งหมายที่ฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยอยุธยาในระยะแรกนั้นคือเรื่องใด

                         ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับชาติตะวันตก

     1. โปรตุเกส ส่งทูตมาเจรจาทำสัญญาฉบับแรกกับกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 2059 ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทำให้ชาวโปรตุเกส ได้สิทธิพิเศษด้านการค้า การตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยา การทำสัญญาดังกล่าวทำให้การค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสเฟื่องฟูขึ้น จนกรุงศรีอยุธยากลายเป็นแหล่งสินค้าสำคัญสำหรับพ่อค้าโปรตุเกส  

        2. สเปน ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับสเปนเริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีทูตของสเปนเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อทำสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า โดยฝ่ายกรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้สเปนตั้งสถานีการค้าบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่การค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับสเปน 

   3. ฮอลันดา พ.ศ. 2146 ฮอลันดาได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ฮอลันดาจึงส่งทูตเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อขอตั้งสถานีการค้า แต่การค้าและความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาในระยะหลัง ไม่ค่อยราบรื่นนัก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเสื่อมลงตามลำดับ จนฮอลันดาต้องปิดสถานีการค้าไปในที่สุด 

     4. อังกฤษ อังกฤษเริ่มเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 2155 ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยต้องการเจริญสัมพันธไมตรีและการค้ากับไทย แต่การค้าของอังกฤษไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนัก ถึงแม้ว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะทรงให้อังกฤษเข้ามาค้าขายเพื่อถ่วงดุลอำนาจของฮอลันดาก็ตาม ในปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อังกฤษมีเรื่องบาดหมางกับไทย เพราะอังกฤษไม่พอใจออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางไทยเชื้อสายกรีก จึงมีอำนาจควบคุมพระคลังสินค้า อังกฤษกล่าวหาว่าออกญาวิไชเยนทร์ทำการค้าแข่งกับอังกฤษ ในที่สุดเกิดสงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2230 ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับอังกฤษจึงยุติลง 

     5. ฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงต้องการให้ฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยา เพื่อถ่วงดุลอำนาจของฮอลันดา ซึ่งมีท่าทีคุกคามไทย จึงมีการติดต่อทางการค้าและทางการทูตกัน พ่อค้าฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในอยุธยาเป็นครั้งแรก ทางฝรั่งเศสได้จัดส่งคณะทูตชุดใหญ่ ซึ่งมี เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าเดินทางมาเยือนกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังกรุงศรีอยุธยาได้ส่งออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ราชทูตไทย ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสและได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2230 ฝรั่งเศสได้จัดส่งกองทหารมาประจำที่เมืองมะริดและบางกอก มีจุดประสงค์ที่จะยึดเมืองทั้งสองไว้ แต่สมเด็จพระเพทราชาได้ทำการต่อต้านจนมีการสู้รบกับทหารของฝรั่งเศส ต่อมามีการเจรจาสงบศึกกันได้โดยทหารและชาวฝรั่งเศสต้องออกไปนอกอาณาจักร 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Simon de La Loubère; 21 เมษายน พ.ศ. 2185-26 มีนาคม พ.ศ. 2272) เป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และทหารของฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 600 คน

เดอ ลา ลูแบร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2230 ในการเจรจานั้นอยุธยาไม่สู้จักยินยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศส ทำให้เสียเวลาในการเจรจาหลายสัปดาห์ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ยินยอมรับข้อเสนอตามความประสงค์ของฝรั่งเศสและทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาการค้าที่เมืองลพบุรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม

นอกจากจะเป็นหัวหน้าคณะทูตจากฝรั่งเศสแล้ว เดอ ลา ลูแบร์ ยังได้รับคำสั่งให้สังเกตเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยาและบันทึกข้อสังเกตทั้งหลายเหล่านั้นกลับไปรายงานให้ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับทราบด้วย จดหมายเหตุเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อแวดวงวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา เพราะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร

ผลงาน[แก้]

  • Du Royaume de Siam, 1691 ลิงก์
  • Traité de l'origine des jeux floraux de Toulouse (1715)
  • De la Résolution des équations, ou de l'Extraction de leurs racines, 1732 ลิงก์

อ้างอิง[แก้]

  • จุดประกาย Archived 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ
  • Simon de La Loubère Archived 2007-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Du Royaume de Siam, 1691 Full text
  • Traité de l'origine des jeux floraux de Toulouse (1715)
  • De la Résolution des équations, ou de l'Extraction de leurs racines, 1732 Full text

ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายหลักของฝรั่งเศสในการเจริญราชไมตรีกับไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ปานได้บรรดาศักดิ์ ออกพระวิสุทธสุนทร และได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัยดังกล่าว ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศสคือเผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสตชน รวมทั้งพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยาด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมือง ...

จุดประสงค์แรกที่ฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับอยุธยาคืออะไร

15. จุดประสงค์แรกที่ฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับอยุธยา คืออะไร เป็นไมตรีและตั้งสถานีการค้าที่เมืองปัตตานี และใช้ไทยเป็นสะพานติดต่อกับจีนและอินเดีย 16. สมเด็จพระนารายณ์ทรงดำเนินนโยบายอย่างไรต่อการกระทำของฮอลันดาที่มีต่อความมั่นคงและ ปลอดภัยของอยุธยา

ลาลูแบร์เดินทางเข้ามาในอยุธยาด้วยจุดประสงค์ใด

เดอ ลา ลูแบร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2230 ในการเจรจานั้นอยุธยาไม่สู้จักยินยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศส ทำให้เสียเวลาในการเจรจาหลายสัปดาห์ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ยินยอม ...

อยุธยากับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นจากการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สนับสนุนให้มีการส่งคณะผู้สอนศาสนาเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชีย ซึ่งชุดแรกได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “สังฆราช” เอลิโอโปลิสและ “สังฆราช” เดอ บริธ ได้เฝ้า ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita