ภาษีอากรประเภทใดจัดว่าเป็นภาษีทางตรง

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล (เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม นโยบายประชากร) ด้วย

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติ กฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล
- มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

การจำแนกประเภทภาษีอากร โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ประเภทที่สอง ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

   //www.gotoknow.org/posts/300089

ทั้งนี้ ทางบริษัท เอ็.ดี.ซอฟต์ จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ ERP เพื่อให้ตอบสนองความต้องการ และ ครอบคลุม การใช้งาน ทุกแผนกภายในองค์กร เพื่อการจัดการบริหารที่ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การออกเอกสารที่เกี่ยวกับบัญชีต่าง ๆ เช่น ใบแจ้งนี้, ใบวางบิล, ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จ, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบสำคัญต่าง ๆ, รายงานภาษีซื้อ - ขาย, รวมไปถึงงบการเงินต่าง ๆ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

หลายคนคงจะสงสัยกันไม่น้อยเลยเกี่ยวกับประเภทของ ภาษี หรือรายละเอียดของ ภาษี แต่ละแบบนั้น วันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับภาษีแต่ละแบบให้ชัดเจนกันดีกว่า

ภาษี

ภาษี มี 5 ประเภทจำแนกได้ ดังนี้

  1. ภาษีอากรตามระดับที่จัดเก็บ ได้แก่
  •  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต เรียกกันว่า ภาษีระดับประเทศ
  • ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีท้องที่ เรียกว่า ภาษีระดับท้องถิ่น
  1. ภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี ได้แก่
  • ภาษีทางตรง คือภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
  • ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
  1. ภาษีอากรตามวิธีการประเมินภาษี ได้แก่
  • ภาษีตามมูลค่า คือภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าของฐานภาษี ปกติจะ กำหนดอัตราภาษีเป็นร้อยละ เช่น ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
  • ภาษีตามสภาพ เป็นภาษีที่จัดเก็บตามปริมาณของฐานภาษี ดังนั้นการจัดเก็บภาษีจึงจัดเก็บเป็นอัตราต่อปริมาณ เช่นจัดเก็บตามกิโลกรรม ตามชิ้นภาษีที่ จัดเก็บตามปริมาณได้แก่ ภาษีสรรสามิตร ภาษีศุลกากร
  1. ภาษีอากรตามลักษณะการนำเงินภาษีไปใช้ ได้แก่
  • ภาษีทั่วไป จัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในกิจการทั่วไปของรัฐ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
  • ภาษีเพื่อการเฉพาะอย่าง จัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยเฉพาะจะนำไปใช้เพื่อกิจการอื่นไม่ได้ เช่น ภาษีน้ำตาล ภาษีที่เก็บจากน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นกองทุนน้ำมัน เป็นต้น
  1. ภาษีตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร ได้แก่
  • ภาษีถาวร คือภาษีที่เก็บอยู่เป็นปกติในแต่ละปี เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีโรงเรือน เป็นต้น
  • ภาษีชั่วคราว คือภาษีที่จัดเก็บเป็นการชั่วคราวเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือเพื่อ กิจการใดกิจการหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์นั้นแล้วก็จะยกเลิกการเก็บ เช่น การเก็บ ภาษีเพิ่มขึ้นในช่วงสงครามเพื่อนำไปใช้ในการป้องกันประเทศเป็นต้น

ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีอากร

การจัดเก็บภาษีในแต่ละปีนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลายด้าน ที่สำคัญคือ ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการกระจายรายได้ และผลกระทบต่อผลผลิตของชาติ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร การเก็บภาษีคือการโอนย้ายทรัพยากรจาก ภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐ ดังนั้นผลกระทบจะเกิดกับส่วนใด ขึ้นอยู่กับว่า รัฐเรียกเก็บภาษีแต่ละประเภทจากคนกลุ่มใด เช่น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ดังนั้น ถือว่าภาษีประเภทนี้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้สินค้าหรือบริการ ที่ต้องส่งหรือโอนเงินให้กับรัฐบาล เป็นต้น

ผลกระทบด้านการกระจายรายได้ อย่างที่กล่าวไว้ว่าการจัดเก็บภาษีจะจัดเก็บจากผู้ที่มีเงินได้ ซึ่งมีผลทำให้รายได้ที่แท้จริงของผู้มีเงินได้ลดลง การจัดเก็บภาษีจึงมีผลต่อการกระจายรายได้ด้วย หมายความว่า ถ้าภาษีส่วนใหญ่ของประเทศเป็นภาษีทางตรงในอัตราที่ก้าวหน้า ภาระภาษีก็จะตกอยู่กับคนที่มีรายได้สูง ทำให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรม หรือถ้าภาษีนั้นเป็นภาษี ทางอ้อมเช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาระภาษีก็จะกระจายให้กับคนทุกกลุ่มที่ใช้สินค้าหรือบริการ ผลกระทบต่อการผลิตของชาติ การเก็บภาษีจะมีผลต่อการบริโภค การออม และการ ลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงการผลิตด้วย การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการผลิตจึง ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละประเภทเป็นสำคัญ เช่น การเก็บภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจะทำให้ รายได้ของผู้เสียภาษีน้อยลง การทำงานลดลง การจ้างงานลดลง ส่งผลให้การผลิตรมของชาติลดลง ไปด้วย เป็นต้น

การหลบหนีภาษีกับการหลบหลีกภาษี

การหลบหนีภาษี คือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตกตัวอย่างเช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้ที่แท้จริงในแบบแสดงรายการโดยเจตนา เพื่อให้เสียภาษีน้อย การตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหลยหนีภาษีเช่นเดียวกัน การตั้งราคาโอนในที่นี้คือ การที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ (Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่ต้องเสียภาษีเลย

การหลบหลีกภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือเสียภาษีน้อยลง ด้วยการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายภาษีอากร (Tax Loopholes) ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษีเช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจาการทำงานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศมายื่นแสดงรายได้ในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้นๆ ซึ่งเป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวทางการปฏิบัติของกรมสรรพากร หากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรจะไม่เก็บภาษีจากเงินได้ดังกล่าว

ได้รู้ถึงรายละเอียดของภาษีแต่ละประเภทกันไปแล้ว ผู้มีเงินได้ทุกคนก็ควรยื่นแบบแสดงรายได้กันอย่างถูกต้อง ไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษี อย่าลืมว่า ภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปพัฒนาชาติ เมื่อชาติเจริญ ประโยชน์ก็จะกลับมาสู่ตัวเรานั่นเอง

ภาษีทางตรงกับทางอ้อมต่างกันอย่างไร

สำหรับภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ แต่จะเรียกเก็บโดยตรงจากบุคคลที่กฎหมายประสงค์ให้รับภาระนั่นเอง ในขณะที่ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้ คือ การจัดเก็บภาษีจากผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคให้เป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีประเภทใด ทางตรง ทางอ้อม

ผู้มีเงินได้ ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น เป็นภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องจ่ายภาษีเอง หรือภาษีที่เรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ต้องจ่ายภาษีเอง

ภาษีทางอ้อมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทย เป็นภาษีที่ผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคให้รับภาระภาษีแทนผู้ขาย ซึ่งมี 3 ประเภทด้วยกันที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อทำการซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่ - ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่คุ้นชินกันในคำว่า “แวต (VAT)

ภาระภาษีคืออะไร

ภาระภาษีตามกฎหมาย หมายถึง จำนวนหนี้ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายต้องชำระ กล่าวคือรัฐบาลเก็บภาษีจากใครบุคคลนั้นเป็นผู้รับภาระภาษีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ใครก็ตาม ที่ถูกเก็บภาษีเขาจะพยายามเลี่ยงภาษี หรือผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นเพื่อให้ตัวเองรับภาระภาษี น้อยที่สุด กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจากหน่วยธุรกิจซึ่งเป็น ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita