Facebook จัดอยู่ในสังคมออนไลน์ประเภทใด

ก่อนที่โทมัส เอดิสันจะประดิษฐ์หลอดไฟ ผู้คนใช้แสงสว่างจากแหล่งอื่น เมื่อหลอดไฟถูกประดิษฐ์ขึ้น มันกลายเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทุกวันนี้หลอดไฟเป็นเรื่องปกติ เด็กเกิดมาก็เห็นหลอดไฟแล้ว มันจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ได้น่าว้าวอะไรมาก แต่เราเคยคิดไหมว่าคนที่เขาโตมาในยุคที่หลอดไฟกำลังถูกสร้างขึ้น พวกเขามองหลอดไฟเหมือนกับหลอดไฟของเราหรือเปล่า

ไม่ปฏิเสธว่าตอนนี้ Facebook เป็น Social Network อันดับหนึ่งของไทย และมีผู้ใช้งานเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะเมื่อ Smart Phone กลายเป็นสิ่งที่หาจับได้ง่ายในยุคนี้ และการมีบัญชี Facebook ไม่จำกัดเฉพาะคนที่สนใจด้านเทคโนโลยี หรือวัยรุ่นอย่างเดียว แต่ตั้งแต่วัยกลางคนหรือวัยสูงอายุก็มีบัญชี Facebook เป็นของตัวเองกัน

Facebook เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมในไทยช่วงประมาณปี 2010-2011 ในตอนนั้น ผู้ใช้งาน Facebook ส่วนมากจะเป็นคนในกลุ่มเทคโนโลยีและวัยรุ่นที่ใช้งาน Social Network ในเชิง Blog อย่าง Hi5 และ Exteen ที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ในสมัยนั้น

Social Network เชิง Blog และยุคก่อน Smart Phone

Mark Zuckerberg พัฒนา Facebook ในช่วงปี 2004 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มี Smart Phone การใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งโต๊ะหรือแบบโน๊ตบุ๊ค ในตอนนั้น Social Network ส่วนมากจึงเป็นในลักษณะของการเขียน Blog ด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้แรงเท่าปัจจุบัน การแทรกรูปจึงเป็นที่นิยมน้อยกว่าตัวอักษร (เนื่องจากเว็บโหลดตัวอักษรได้ไวกว่า) นอกจากการเขียน Blog แล้ว MySpace เป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่นิยามความเป็น Social Network สมัยนั้น

ดังนั้นไม่แปลกใจเลยว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตสมัยนั้นทุกอย่างแทบจะมาจากคอมพิวเตอร์ จนถึงการเปิดตัว iPhone ในปี 2007 ที่ Steve Jobs ก็ยังใช้เวลานานหลายปีกว่ามือถือจะกลายมาเป็นเครื่องมืออินเทอร์เน็ต จากรายงานของ StatCounter ในปี 2010 เป็นช่วแรก ๆ ที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือโตขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ จนถึงปี 2016 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยมือถือ ก็ได้แซงหน้าคอมพิวเตอร์ไปเรียบร้อยแล้ว

ออนไลน์เฉพาะหน้าคอม ที่เหลือฉันออฟไลน์

หลายคนคงยังจำยุคที่เราต้องรีบกลับบ้านเพื่อไปเปิด MSN คุยกับเพื่อนได้ นิยามของคำว่า “ออนไลน์” เป็นคำพูดที่ฮิตมากในยุคช่วงปี 2009 – 2010 ตอนนั้นผู้เขียนอยู่ช่วงประถมตอนปลาย “ออนเอ็ม” เป็นศัพท์ที่พูดกันอย่างติดปาก การออนไลน์ถูกจำกัดอยู่ที่คอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่เหมือนปัจจุบันที่เราแทบจะออนไลน์กันอยู่ตลอดเวลา

นอกจากการแชทแล้วการ อินเทอร์เน็ตสมัยนั้นอย่างที่บอก Social Network ในเชิง Blog สามารถทำให้คนธรรมดา ๆ สามารถออกมาสื่อสารความเป็นตัวเองได้

  • เราสามารถเขียนเรื่องราวของเราบน Blog ต่าง ๆ เช่น Exteen, Bloggang
  • สามารถสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ผ่านการพูดคุยหรือสิงสถิตตามเว็บบอร์ด
  • เล่นโซเชียลที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกผ่าน Facebook

เมื่อมี Smart Phone เข้ามาก็เป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเปลียนไปตลอดกาล Instagram และ Snapchat เป็นอีกสิ่งที่พิสูจน์สิ่งนี้

Instant เมื่อมือถือเปลี่ยนโซเชียลไปตลอดกาล

Instagram เป็น Social Network ยุคแรก ๆ ที่ออกแบบมาแบบ “Smart Phone Only” หรือใช้งานได้จากบน Smart Phone เท่านั้น การใช้งานของมันก็ง่าย ๆ ไอเดียของมันก็เพียงแค่ว่า เราสามารถโพสต์รูปภาพจากที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ขึ้นสู่โลกออนไลน์ได้ทันที ตามชื่อของมัน “Insta หรือ Instant“

สิ่งนี้แตกต่างจากไอเดียของ Facebook โดยสิ้นเชิง ลองย้อนกลับไปเมื่อก่อนในตอนที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อเล่น Facebook กัน สิ่งนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่นั้นแปลว่าเราจะต้องมีคอมพิวเตอร์ติดตัวอยู่ตลอดเวลา

การใช้งาน Facebook บนมือถือก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แม้ว่า Facebook จะไม่ได้เป็น Instant Social Network เหมือน Instagram แต่ปัจจุบันกลายเป็นว่า Facebook เน้นให้ความสำคัญของการใช้งานมือถือมากกว่าบน Desktop เสียอีก ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ในหัวข้อถัดไปอีกที ว่า Facebook ที่เป็นโซเชียลมีอายุขึ้นมาบ้างปรับตัวอย่างไร

กำเนิด Social Native สถานะทางโซเชียลอันได้มาโดยกำเนิด

เด็กบางคนที่เกิดมาในยุคที่ทุกคนไม่มีขีดจำกัดในการมีตัวตนบนโซเชียล ใคร ๆ ก็สามารถสื่อสารผ่านโซเชียลไปยังคนที่ติดตามหรือเพื่อน ๆ ได้ เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กในยุค Social Native นี้มองว่า “มันเป็นเรื่องปกติ” ถ้าลองสังเกตดูเราจะพบว่าการใช้งานโซเชียลของเด็กสมัยนี้จะไม่หวือหวามาก และเน้นการใช้งานสิ่งที่เป็น Private-Social Network

ผู้เขียนได้ลองคุยกับเพื่อน ซึ่งอยู่ในระดับ ม.ปลาย จนถึง มหาวิทยาลัยปี 1-2 พบว่า แต่ละคนจะมีกลุ่มแชทหรือโซเชียลเป็นของตัวเองซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อน บนโซเชียลเช่น IG หรือ Snapchat และจะเน้นพูดคุยและเล่าเรื่องราวผ่าน Story เข้าไปในกลุ่มดังกล่าวมากกว่าการโพสต์ลงบนสิ่งที่ Public อย่าง Facebook หรือ IG Story ที่เป็น Public

สำหรับเด็กในยุค Social Native การได้ยืนอยู่บนเวทีที่สามารถบอกเล่าความเป็นตัวเองให้ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตได้รับรู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าตื่นเต้นเหมือนคนที่เติบโตมาก่อน หรือพร้อมกับอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป

The Post-Facebook Era จุดจบแห่งยุค Blog Social Network

เมื่อหน้าจอมือถือ กลายเป็นจอที่เราสามารถหยิบขึ้นมามองได้ตลอดเวลา และอยู่กับเราทุกที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่สำคัญรองไปแล้ว เราจะเห็นว่าทุกฟีเจอร์ที่ออกแบบมาหลังจากการมาของ Smart Phone นั้นถูกออกแบบมาให้รองรับกับมือถือทั้งหมด โดยเฉพาะ Story

Story เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาสำหรับ Smart Phone โดยแท้จริง ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมือถือที่แรง ร่วมกับความสามารถของกล้อง Smart Phone ที่ไร้ขีดจำกัด ทำให้ Story สามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นออกมาได้ทันที

Story เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานบน Smart Phone เนื่องจากเราถือ Smart Phone แนวตั้งทำให้ Story ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแนวตั้ง ช่วงหลังเราจะพบว่า Trend ของวิดีโอแนวตั้งกำลังมาแรง เนื่องจากมันถูกออกแบบตามวิถีการใช้งาน Smart Phone ที่มีลักษณะเป็นแท่งตรง ๆ ขึ้นไป

ดังนั้นสรุปง่าย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลัง Post-Facebook นี้

  • Private Social Network กำลังจะมาแรงมากขึ้น
  • วิดีโอแนวตั้ง, Story หรืออะไรก็ตามที่เป็น Mobile First จะมาแรง แม้กระทั่งบน Facebook
  • คนจะเน้น พูดคุยกันในประเด็นต่าง ๆ เฉพาะกลุ่มมากขึ้น

อนาคตของวงการคอนเทนต์ ยุคแห่งมือถือ

สิ่งแรกที่เราควรจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือ เราไม่ควรวางใจวิธีหรือแนวทางของ Facebook แม้ว่า Facebook ก็กำลังพยายามปรับตัวต่าง ๆ นา ๆ ให้มีความเป็น Private Social Network และมีฟีเจอร์ที่เน้นการพูดคุยกันในกลุ่มย่อยหรือการส่งต่อทางแชทหมากกว่าทาง Comment แต่อย่าลืมว่า Facebook เป็น Social Network ที่ใหญ่และอุ้ยอ้าย อาจจะไม่คล่องตัวเท่า Snapchat หรือ Instagram

นั่นหมายความว่า เราต้องห้ามมองว่า Facebook คือนิยามของ Social Network หรือ Facebook คืออินเทอร์เน็ต (โซเชียลแต่ละตัว มีธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน ) แต่สิ่งที่เราต้องโฟกัสเลยก็คือ วิธีการเสพข่าวสารของคนและธรรมชาติของการรับรู้ข่าวสารในยุคปัจจุบัน ยังของข้อมูล ยุคที่เราเสพข้อมูลกันใน 1 วันมหาศาลและต้องตัดสินใจกันแทบ ณ ตอนนั้น เราจะมีวิธีทำคอนเทนต์อย่างไรเพื่อรองรับยุคที่กำลังจะเกิดขึ้น คือยุคที่ Social Network ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่น่าตื่นเต้นอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราอย่างแรกไม่ออกแล้ว

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Nutn0n

ผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการบริหาร Spaceth.co ทีมงาน MacThai.com บล็อกเกอร์วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เทคโนโลยี สังคม การเมือง วัฒนธรรม การออกแบบ อยากให้โลกออนไลน์น่าอยู่ขึ้นด้วยการทำคอนเทนต์ดี ๆ สร้างสรรค์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita