ภาพ สาม มิติ แบบ แค บิ เนต เป็น ลักษณะ แบบ ใด

ปัจจุบันมีการออกแบบสามมิติในหลายสาขางาน ไม่เว้นแม้กระทั่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอดีตเราจะพบภาพสามมิติบนหน้าจอภาพยนตร์หรือโทรทัศน์เท่านั้นส่วนงานสามมิติที่จับต้องได้ก็อาจนึกถึงเพียงงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมศิลป์ ประยุกต์ ศิลป์ หรือหัตถศิลป์เท่านั้น อย่างไรก็ตามพื้นฐานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบสองมิติหรืองานออกแบบสามมิติในศิลปะแทบทุกสาขางาน ย่อมต้องใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบเป็นแนวทางทั้งสิ้น

ความหมายของงานออกแบบสามมิติ

งานสามมิติ หมายถึง การจัดปริมาตรที่เป็นจริงในที่ว่างด้วยองค์ประกอบ พลาสติก คือ รูปทรง เส้น ระนาบ ที่ว่าง สี และผิวสัมผัส ฯลฯ ให้มีความเคลื่อนไหว และจัดให้องค์ประกอบเหล่านี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เลอสม สถาปิตานนท์. 2540: 140)

มิติมีความหมายว่า การวัดขนาดต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว หรือความสูง

ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dimension

การวัดเฉพาะความยาวเรียกว่า First dimension

การวัดเฉพาะความกว้างเรียกว่า Second dimension

การวัดเฉพาะความสูงหรือความหนาเรียกว่า Third dimension

แต่การวัดทั้งความยาว ความกว้าง และความสูงหรือหนารวมเรียกว่า Three dimension หรือ 3 มิติ

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า 3  มิติ จึงสามารถครอบคลุมไปถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่มีความยาว ความกว้าง และความสูงหรือความหนาด้วย เช่น คน สัตว์ สิ่งของ อาคารบ้านเรือน ฯลฯ

ในทางศิลปะ คำว่า 3 มิติตรงกับคำว่า ภาพลอยตัว (Round relief) ซึ่งหมายถึงภาพที่สามารถมองเห็นได้ทุกๆ ด้าน สามารถกินเนื้อที่ในอากาศและน้ำ ซึ่งก็ คืองานประติมากรรมนั่นเอง (สุวรรณา ศรีเพ็ญ. 2537: 11)

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า งานออกแบบสามมิติหมายถึง การจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีมิติของการมองได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง หรือความหนา งานสามมิติกินบริเวณพื้นที่ว่างสามมิติ งานสามมิติมีทั้งเคลื่อนไหวได้ และเคลื่อนไหวไม่ได้

1.      ภาพสามมิติแบบทัศนียภาพ

ภาพทัศนียภาพ เป็นภาพเขียนแบบที่มีลักษณะเป็นจุดรวมสายตา เมื่อภาพมองดูภาพที่ใกล้ก็จะมีขนาดใหญ่ และเมื่อไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงไปรวมจุด ภาพเขียนแบบชนิดนี้นิยมใช้เขียนในงานสถาปัตยกรรม มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

1.1  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 1 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มองเห็นด้านหน้าลักษณะตรงตั้งฉากและจะเห็นด้านอื่นเอียงลึกลงไปรวมจุดเพียงหนึ่งจุด มีอยู่ 3 ลักษณะคือ แนวระดับสายตา, แนวมุมสูง และแนวมุมต่ำ ดังแสดงในรูปที่ 1.1

1.2  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 2 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีจุดรวมสายตาอยู่ 2 จุด คือ จุดทางด้านซ้ายมือ (LVP) และจุดทางด้านขวามือ(RVP) ดังแสดงในรูปที่ 1.2

1.3  ภาพทัศนียภาพแบบรวมสายตา 3 จุด เป็นภาพเขียนแบบที่มีจุดรวมสายตาอยู่ 3 จุด คือจุดรวมสายตาทางด้านซ้ายมือ จุดรวมสายตาทางด้านขวามือ และจุดรวมสายตาทางด้านล่าง (หรือด้านบน) ดังแสดงในรูปที่ 1.3

2.       ภาพออบลิค เป็นภาพเขียนแบบที่ด้านหน้ามีลักษณะตั้งตรง ส่วนภาพด้านข้างและด้านบน

จะเอียงลึกลงไปเพียงด้านเดียว โดยมีขนาดที่ขนานเท่ากันตลอด โดยทั่วไปจะเป็นมุมเอียง 45 องศา มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

2.1 ภาพออบลิคแบบเต็มส่วน (Cavalier Drawing) เป็นแบบที่มีอัตราส่วนภาพระหว่างความกว้าง: ความสูง : ความลึกของภาพเป็น 1 : 1 : 1 ดังแสดงในรูปที่ 2.1

2.2 ภาพออบลิคแบบครึ่งส่วน
(Cabinet Drawing) เป็นแบบที่มีอัตราส่วนภาพระหว่างความกว้าง:
ความสูง : ความลึก ของภาพเป็น 1 : 1 :0.5 ดังแสดงในรูปที่ 2.2

3.      ภาพสามมิติแบบแอกโซโนเมตริก

แอกโซโนเมตริก (Axonometric) คำว่าแอกซอน (Axon) มาจากคำว่า Axis ซึ่งแปลว่าแกนฉะนั้นภาพแอกโซโนเมตริจึงเป็นภาพสามมิติที่วัดจากแกนสามแกนมุมรวมกัน 360 องศา โดยมีแกนหลักทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน ส่วนอีกสองแกนจะมีมุมเอียงลึกลงไปทั้งสองข้าง มีอยู่ 3 แบบดังนี้

3.1 ภาพไดเมตริก (Diametric Projection) เป็นภาพเขียนแบบสามมิติที่มีมุมรอบศูนย์กลางจำนวนสามแกน โดยสองแกนมุมเท่ากัน ส่วนแกนที่สามทำมุมต่างออกไป และแกนหลักต้องทำมุมตั้งฉากกับแนวนอน โดยมีรูปแบบอัตราส่วนความกว้าง ความสูง และความลึกของภาพอยู่หลายรูปแบบ ดังแสดงในรูป

ภาพสามมิติหมายถึง การเขียนภาพโดยการนำพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงาน ทำให้ภาพสามมิติมีลักษณะคล้ายกับการมองชิ้นงานจริง ภาพสามมิติที่เขียนในงานเขียนแบบมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันในการวางมุมการเขียน และขนาดของชิ้นงานจริง กับขนาดชิ้นงานในการเขียนแบบซึ่งผู้เขียนแบบต้องศึกษาลักษณะของภาพสามมิติแต่ละประเภทต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อสามารถปฏิบัติการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง

ภาพสามมิติสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

1 ภาพสามมิติแบบ TRIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีความสวยงาม และลักษณะคล้ายของจริงมากที่สุดและเป็นภาพที่ง่ายต่อการอ่านแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมุมที่ใช้เขียนเอียง 12 องศา และ 23 องศา และอัตราความยาวของแต่ละด้านไม่เท่ากัน

2 ภาพสามมิติแบบ DIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีลักษณะคล้ายกับภาพถ่ายและง่ายต่อการอ่านแบบ แต่ไม่ค่อยนิยมในการเขียนแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมุมที่ใช้เขียน เอียง 7 องศา และ 42 องศา และขนาดความหนาของภาพที่เขียนจะลดขนาดลงครึ่งหนึ่งของความหนาจริง

3 ภาพสามมิติแบบ ISOMETRIC เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนมาก เพราะภาพที่เขียนง่าย เนื่องจากภาพมีมุมเอียง 30 องศา ทั้งสองข้างเท่ากัน และขนาดความยาวของภาพทุกด้านจะมีขนาดเท่าขนาดงานจริง
ภาพที่เขียนจะมีขนาดใหญ่มากทำให้เปลืองเนื้อที่กระดาษ


4 ภาพสามมิติแบบ OBQIUE

เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนมาก สำหรับงานที่มีรูปร่างเป็นส่วนโค้ง หรือรูกลมเพราะสามารถเขียนได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากภาพ OBQIUE จะวางภาพด้านหนึ่งอยู่ในแนวระดับ เอียงทำมุมเพียงด้านเดียว โดยเขียนเป็นมุม 45 องศา สามารถเขียนเอียงได้ทั้งด้านซ้ายและขวาความหนาของงานด้านเอียงขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง ภาพ OBQIUE มี 2 แบบ คือ แบบคาวาเลียร์ (CAVALIER) และแบบคาบิเนต (CABINET)

ภาพสามมิติแบบ Cavalier

ภาพสามมิติแบบ Cabinet


5 ภาพสามมิติแบบ PERSPECTIVE หรือ ภาพทัศนียภาพ
เป็นภาพสามมิติที่มีมุมในลักษณะการมองไกล โดยจะเขียนภาพเข้าสู่จุดรวมของสายตา การเขียนภาพสามมิติชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
แบบ 1 จุด

แบบ 2 จุด

แบบ 3 จุด

การเขียนภาพสามมิติ
แกนไอโซเมตริก (ISOMETRIC AXIS) เส้น XO, YO, ZO ทำมุมระหว่างกัน 120 องศา เท่ากันทั้งสามมุม เส้นทั้งสามนี้เรียกว่า แกนไอโซเมตริก ซึ่งแกนไอโซเมตริกนี้สามารถวางได้หลายทิศทาง ขึ้นอยู่กับรูปร่างของชิ้นงานที่ต้องการแสดงรายละเอียด ดังรูป


1 การเขียนภาพ ISOMETRIC ทุกภาพจะเริ่มจากการเขียนเส้นร่างจากกล่องสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูง ซึ่งจะได้จากการกำหนดขนาดจากภาพฉาย จากนั้น เขียนรายละเอียดส่วนต่างๆ ของชิ้นงาน

ขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2

ขั้นที่ 3


ลำดับขั้นตอนการเขียนภาพ ISOMETRIC
ขั้นที่ 1 ขีดเส้นร่างแกนหลักทั้งสามแกน

ขั้นที่ 2 เขียนเส้นร่างกล่องสี่เหลียม โดยใช้ขนาด ความกว้าง ยาว และความหนาของชิ้นงาน


ขั้นที่ 3 เขีนเส้นร่างรายละเอียดของภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ลงบนกล่องสี่เหลียม

ขั้นที่ 4 ขีดเส้นเต็มหนาทับขอบเส้นร่างของ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน ของกล่องสี่เหลียม ISOMETRIC

การเขียนภาพ OBLIQUE ทุกภาพจะเริ่มจากการเขียนเส้นร่างจากกล่องสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดความยาว ความยาว และความสูงเท่ากับขนาดของชิ้นงานจริง ซึ่งจะได้จากการบอกขนาดในภาพฉาย ลากเส้นเอียง 45 องศา จากขอบงานด้านหน้าไปยังด้านหลัง โดยให้มีความยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งกับความกว้างที่กำหนดให้จากภาพฉายด้านข้าง ลากเส้นร่างเป็นรูปกล่องสี่เหลียม จากนั้น เริ่มเขียนส่วนต่างๆ ของชิ้นงาน ลบเส้นที่ไม่ใช้ออก และลงเส้นหนักที่รูปงาน

1. ลักษณะการฉายภาพ ภาพฉาย เป็นภาพลายเส้นที่บอกขนาดสัดส่วนต่างๆ ที่อ่านค่าแล้วเอามาทำงานได้ ภาพฉายส่วนใหญ่จะเขียนหรืออ่านมาจากภาพไอโซเมตริกหรือภาพของจริง มองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาตามภาพที่มองเห็นนั้นๆ ในแต่ละด้านของชิ้นงานตามปกติชิ้นงานจะมีทั้งหมด 6 ด้าน เหมือนลูกเต๋า แต่ภาพในการทำงานจริงจะใช้เพียง 3 ด้าน เท่านั้น ในส่วนที่มองไม่เห็นจะเขียนแสดงด้วยเส้นประ

ด้านของภาพที่ใช้งานจะเป็นด้านหน้า (Front View : F) ด้านข้าง (Side View : S) และ ด้านบน (Top View : T) เท่านั้น (ดังรูป 6.1 และ 6.2)

รูปที่ 6.1 ทิศทางการมองของภาพทั้ง 6 ด้านการฉายภาพในปัจจุบันจะฉายภาพได้ 2 แบบ ตามความนิยม คือ อุตสาหกรรมทางยุโรป และอุตสาหกรรมทางอเมริกา ดังนี้

1. การฉายภาพมุมที่ 1 (FIRST ANGLE PROJECTION) เป็นการเขียนภาพฉายในครอดแลนด์ที่ 1 อาจเรียกการฉายภาพแบบ E-TYPE ใช้เขียนกันทางยุโรปซึ่งนิยมในทางปัจจุบัน
2. การฉายภาพมุมที่ 3 (THIRD ANGLE PROJECTION) เป็นการเขียนภาพฉายในครอดแลนด์ที่ 3 อาจเรียกการฉายภาพแบบ A-TYPE เป็นที่นิยมในอเมริกา (ดังรูป 6.2)

รูปที่ 6.2 ตำแหน่งระนาบที่วางภาพ

การมองภาพที่อยู่ในตำแหน่งมุมที่ 1 หรือมุมที่ 3 จะใช้สัญลักษณ์บอกลักษณะไว้ที่มุมขอบขวาของแบบด้านใดด้านหนึ่ง ควรจำสัญลักษณ์ให้แม่นยำเพื่อจะได้ไม่สับสน (ดังรูป 6.3)

สัญลักษณ์ของมุมที่ 1

สัญลักษณ์ของมุมที่ 2

รูปที่ 6.3 สัญลักษณ์ตำแหน่งการมองภาพ

2. ตำแหน่งการมองภาพฉาย
แสดงการมองภาพในตำแหน่งต่างๆ เพื่อจะเขียนภาพฉาย ดังรูป 6.4

รูปที่ 6.4 การมองภาพด้านที่ใช้งาน

การมองภาพฉาย เกิดจากดวงตามองไปยังวัตถุ ถ้าเอาจอไปรับภาพของวัตถุวางไว้ด้านหลัง แล้วใช้ไฟฉายส่องไปยังวัตถุ แสงของไฟฉายผ่านวัตถุ ทำให้เกิดภาพบนจอ ในลักษณะของการขยายภาพให้โตขึ้น ซึ่งไม่ใช่ขนาดของภาพจริง ดังรูป 6.5 (ก) แต่ในทางการเขียนแบบต้องการขนาดภาพเท่ากับของจริง (วัตถุที่นำมามอง) ดังนั้นจึงต้องปรับเส้นในการฉายภาพให้เป็นภาพขนาน เพื่อจะให้ได้ขนาดตามความเป็นจริง โดยกำหนดให้เส้นการมองอยู่ในแนวระนาบพุ่งตรงจากวัตถุไปยังจอภาพ ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีขนาดเท่ากับวัตถุนั้นๆ ดังรูป 6.5 (ข) การฉายภาพในลักษณะเช่นนี้ จัดเป็นการฉายภาพในมุมที่หนึ่งของหลักการมองภาพฉาย วัตถุจะอยู่หน้าจอรับภาพ ด้านที่นิยมได้แก่ ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนที่ใช้ในการเขียนภาพฉาย ซึ่งช่วยให้อ่านภาพได้ง่ายขึ้น

รูปที่ 6.5 (ก) การมองขยายโตกว่าของจริง

รูปที่ 6.5 (ข) การมองภาพเท่ากับของจริง

รูปที่ 6.5 แสดงการมองภาพบนจอรับภาพ
ที่มา : ฉวีวรรณ รมยานนท์, 2541

3. ภาพฉายมุมที่ 1
การมองภาพฉายในตำแหน่งมุมที่ 1 ฉากรับภาพจะอยู่ด้านหลังของชิ้นงาน ทำการฉายภาพให้ไปปรากฏบนฉาก มองเห็นภาพอย่างไรภาพก็จะไปปรากฏบนฉากอย่างนั้นจากด้านที่มอง ซึ่งภาพในทางเขียนแบบจะใช้เฉพาะภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบนเท่านั้น ดังรูป 6.6

รูปที่ 6.7 วางชิ้นงานบนฉากรับภาพช่องที่ 1

ขั้นที่ 1 นำมุมที่ 1 ของฉากรับภาพออกมาพิจารณา จะสังเกตการมองได้ว่าจะมองเห็นชิ้นงานก่อน ภาพจะปรากฏบนจอรับภาพด้านหลังของชิ้นงานด้านที่มอง ดังรูป 6.8

รูปที่ 6.8 มองภาพด้านหน้า

ขั้นที่ 2 มองภาพตามทิศทางของการมอง ภาพจะปรากฏอยู่บนฉากรับภาพ ดังรูป 6.9 และ 6.10

รูปที่ 6.9 มองด้านข้าง

รูปที่ 6.10 มองด้านบน

ขั้นที่ 3 เมื่อนำชิ้นงานออก และหมุนฉากรับภาพไปตามทิศทางของลูกศร ดังรูป 6.11 ให้ฉากรับภาพให้อยู่ในแนวระนาบจะได้ภาพฉายสามด้าน ระบบมุมที่ 1 ดังรูป 6.12

รูปที่ 6.11 คลี่ฉากรับภาพตามลูกศร

รูปที่ 6.12 ภาพฉายสามด้าน

4. ภาพฉายมุมที่ 3
การมองภาพฉายในตำแหน่งมุมที่ 3 ฉากรับภาพจะอยู่ด้านหน้าของชิ้นงาน การฉายภาพ แสงส่องจะกระทบชิ้นงานแล้วสะท้อนมาปรากฎยังฉากรับภาพ จะได้ภาพตามที่มอง
ชิ้นงานจะวางอยู่ในมุมที่ 3 จะสังเกตได้ว่าเมื่อมองชิ้นงานตามทิศทางการมองภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ภาพจะสะท้อนกลับมาปรากฏบนฉากรับภาพ ดังรูป 6.13

รูปที่ 6.13 การมองภาพมุมที่ 3

เมื่อนำชิ้นงานออก คลี่ฉากรับภาพตามแนวลูกศร ดังรูป 6.14 จะได้าพฉาย 3 ด้าน คือ ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ดังรูป 6.15

รูปที่ 6.14 คลี่ฉากรับภาพตามแนวลูกศร

รูปที่ 6.15 ภาพฉายสามด้าน

ตารางเปรียบเทียบภาพฉายมุมที่ 1 และภาพฉายมุมที่ 3

หลักการเขียนภาพฉายมุมที่ 1

1.

ภาพด้านหน้าเป็นภาพหลัก

2.

ภาพด้านข้างมีความสูงเท่ากับด้านหน้า และวางอยู่ทางขวามือของภาพด้านหน้า อยู่ในระนาบเดียวกันกับภาพด้านหน้า

ภาพสามมิติมีลักษณะอย่างไร

ภาพสามมิติ คือ ภาพแสดงด้านต่างๆ ของชิ้นงานหรือวัตถุให้เห็นพร้อมกันทั้งสามด้าน มีลักษณะคล้ายกับการมอง ชิ้นงานจริง การเขียนภาพทาได้โดยการนาพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทาให้สามารถมองเห็น ลักษณะรูปร่างของชิ้นงาน ได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนา

ภาพสามมิติแบบ trimetric มีลักษณะอย่างไร

ภาพ 3 มิติแบบ Trimetric ได้แก่ภาพ 3 มิติที่มีการวาดให้มีลักษณะที่เหมือนของจริงมากที่สุด มีความสวยงาม เป็นภาพที่ง่ายต่อการมองภาพแต่ยากในการเขียนหรือวาดภาพ เนื่องจากเป็นภาพที่ต้องวางมุมเอียง 12 และ 23 องศา และมีอัตราความยาวภาพในแต่ละด้านที่ไม่เท่ากัน

ภาพไตรเมตริก มีลักษณะอย่างไร

ภาพ TRIMETRIC. ภาพสามมิติแบบ DIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีลักษณะคล้ายภาพถ่ายและง่ายต่อการอ่าน แบบ แต่ไม่ค่อยนิยมในการเขียนแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยากเนื่องจากมุมที่ใช้เขียน เอียง 7 องศา และ 42 องศาและขนาดความหนาของภาพที่เขียนจะลดขนาดลงครึ่งหนึ่งของ ความหนาจริง

ภาพออบลิคเป็นแบบลักษณะใด

ภาพออบลิค เป็นแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับรูปไอโซเมตริก ส่วนที่แตกต่างกันคือ ภาพออบลิค จะแสดงด้านหน้าตรง ๆ ส่วนด้านข้างจะทํามุม 45 องศา เพียงด้าน Page 21 21 เดียว คือด้านขวามือ เนื่องจากภาพออบลิคแสดงด้านหน้าได้ชัดเจนดี จึงนิยมเขียนภาพที่มีรายละเอียด ด้านหน้ามาก ๆ ลําดับขั้นการเขียนแบบภาพออบลิค คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita