นอน กี่ โมง ถึง จะ ดี

ผมเชื่อว่าเราต่างรู้กันอยู่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่เรามักไม่รู้เลยว่าการระยะเวลาการนอนหลับกับอายุก็มีความสอดคล้องกันด้วย ลูนิโอเลยอยากชวนทุกคนมาสำรวจกันว่าวัยอย่างเราๆ ควรนอนตอนกลางคืนนานเท่าไหร่ ถึงจะเรียกได้ว่านอนหลับเพียงพอ เพื่อจะได้ตื่นมามีแรงไปทำกิจกรรมที่ชอบได้อย่างเต็มที่ไม่อ่อนเพลียระหว่างวัน!

มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติในสหรัฐอเมริกาได้ระบุเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมโดยแบ่งตามอายุไว้ดังนี้

อายุ 0-3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
อายุ 4-11 เดือน ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
อายุ 1-2 ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
อายุ 3-5 ปี ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
อายุ 6-13 ปี ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
อายุ 14-17 ปี ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
อายุ 18-25 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
อายุ 26-64 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรนอน 7-8 ชั่วโมง

จากเวลาที่เห็นคือเวลาที่แนะนำว่าดีต่อร่างกายที่สุด ทั้งนี้อาจบวกลบได้ 1 ชั่วโมง แต่จะวัยไหนๆ  ก็ไม่ควรนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง เพราะการนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง จะถือเป็นการนอนหลับไม่เพียงพอ!

ทางการแพทย์เคยทำการศึกษาไว้ว่าในคนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.ติดกัน 4 วันการทำงานจะแย่กว่าคนนอน 8 ชม. แต่จะแย่เท่ากับคนนอน 6 ชม. ในคนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.ติดกัน 7 วันการทำงานจะแย่กว่าคนนอน 8 ชม. และ 6 ชม. ในคนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.ติดกัน 14 วัน เท่ากับคนที่ไม่ได้นอนเลย 3 วัน ทั้งที่ทั้งนั้น เราก็รู้กันดีว่าในช่วงอายุ 18-25 ปี และ 26-64 ปี ที่เป็นช่วงวัยรุ่น และวัยทำงาน ผู้คนวัยนี้มักใช้เวลาส่วนมากไปกับการทำงาน ออกเดินทางท่องเที่ยว หรือใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการ เพราะยังเป็นวัยที่มีพลัง และฟื้นฟูตัวเองได้ง่าย ร่างกายเลยยังไม่แสดงอาการมาก จนทำให้หลายคนลืมให้ความสำคัญกับการนอนหลับไป

อย่างไรก็ตามเราไม่ควรละเลยเรื่องการนอน เพราะเมื่อนอนไม่พอนานเข้าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ในเวลา 24 ชั่วโมงของ 1 วัน สุขภาพคนเราจะดีได้ ต้องมีการนอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ การจะหลับให้มีคุณภาพนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าหลับไปเฉยๆ แต่หมายถึงการหลับลึก ให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาในการพักผ่อน และสภาพแวดล้อมระหว่างนอนหลับด้วย

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนที่อาจมีเวลาพักผ่อนน้อย คือทำให้ทุกวินาทีที่เรานอนหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุดและลูนิโอก็มีวิธีการเตรียมตัวและเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับการนอนหลับมาฝาก

ร่างกายของเราทุกคนต้องนอนหลับพักผ่อนตามตารางของนาฬิกาชีวิต แต่จะหลับอย่างไรจึงจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แล้วตื่นมาพร้อมความรู้สึกสดชื่น

เรื่องของการนอนต้องคำนึง 2 อย่างคือ

  1. ชั่วโมงการนอน ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบควรนอนให้ได้ 7 – 8 ชั่วโมง แต่ละวัยต้องการจำนวนการนอนจะไม่เท่ากัน ชั่วโมงการนอนของเด็ก 11 – 13 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ 7 – 8 ชั่วโมง
  2. คุณภาพการหลับ การหลับอย่างมีคุณภาพ คือ ครบวงจรทุกระยะการหลับ ทั้งหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ให้ครบทุกระยะเพราะมีความสัมพันธ์กัน

วงจรการหลับ 3 ระยะ

วงจรการนอนหลับในคนปกติทั่วไป มักใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที – 7 นาที เป็นสภาพที่แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จะตื่น จากนั้นเข้าสู่การหลับระยะต่าง ๆ

  1. หลับตื้น เป็นระยะแรกที่มีการหลับตื้นอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน
  2. หลับลึก ร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเมื่อเข้าสู่ระยะหลับลึกเป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอนใช้เวลา 30 – 60 นาที ช่วงระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที โกรทฮอร์โมนจะหลั่งในระยะนี้
  3. หลับฝันอีกระยะหนึ่งที่สำคัญคือ ช่วงหลับฝันร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่ นอกจากนี้การหลับฝันยังช่วยจัดระบบความจำในเรื่องของทักษะต่าง ๆ ดังนั้น การนอนหลับที่ดีต้องได้ทั้งชั่วโมงการนอนและคุณภาพการหลับด้วย

แม้ว่าบางคนนอนหลับเพียง 4 – 5 ชั่วโมง แล้วตื่นมาสดชื่น ต้องดูว่าเป็นแค่หลับตื้นหรือเปล่า เนื่องจากระยะการหลับตื้นทำให้สดชื่นได้ จึงต้องดูว่าความสามารถในเรื่องอื่น ๆ เป็นอย่างไร หากสังเกตว่าตื่นมาสดชื่นแต่ความสามารถในเรื่องอื่น ๆ ลดลง นั่นแสดงว่า ชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ ควรที่จะนอนหลับให้นานกว่านั้น เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์การนอนของแต่ละระยะให้นานขึ้น

หรือบางคนนอนมากกว่า 7 – 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เป็นไปได้ว่าชั่วโมงการนอนเพียงพอ แต่คุณภาพการนอนไมได้ คือได้แค่หลับตื้นไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก ซึ่งต้องไปหาสาเหตุต่อว่า ทำไมไม่สามารถเข้าสู่ระยะหลับลึกได้เป็นเพราะอะไร

ภัยเงียบจากหลับ ๆ ตื่น ๆ

บางคนชั่วโมงการนอนหลับสั้น แต่คุณภาพของการหลับได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยภายในร่างกายทางด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องและการปรับตัวของร่างกาย

ส่วนคนที่ชั่วโมงการนอนเยอะ แต่ตื่นมาแล้วกลับไม่สดชื่นนั้น เป็นเพราะนอนได้แค่ระยะหลับตื้นหรือสะดุ้งตื่นเป็นพัก ๆ มีผลทำให้การทำงานของระบบหายใจและหลอดเลือดทำงานหนัก กลายเป็นว่าตื่นมาแล้วรู้สึกเพลียแทนที่จะรู้สึกสดชื่น

ปัจจุบันผู้ป่วยจำนวนมากที่มารับการตรวจสุขภาพแล้วพบว่า มีปัญหาความผิดปกติในการนอนร่วมด้วยและพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ

อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนหลับไม่เต็มที่ซึ่งพบได้บ่อย เช่น ง่วงและเพลียกลางวัน ประสิทธิภาพความคิดความจำลดลง ลืมง่าย กลางคืนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจชั่วขณะ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

ฉะนั้นการนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาแค่จำนวน 7 – 8 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับระดับความลึกของการนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเวลาเข้านอน – ตื่นนอนที่เหมาะสม ไม่ควรนอนดึกหรือตื่นสายจนเกินไป

นอนเยอะชดเชยอดนอนได้ไหม

สำหรับชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมของคนวัยทำงาน 7 – 8 ชั่วโมงถือว่าเพียงพอแล้ว หากนอนมากกว่านั้นก็จะหลับไม่สนิท เพราะต้องรับรู้ว่าชั่วโมงการนอนครบแล้ว ทำให้นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่เป็นหลับระยะสนิทเหมือนช่วงแรก เนื่องจากร่างกายเก็บพลังงานได้เพียงพอแล้ว เปรียบเหมือนกับการชาร์ตแบตเตอรี่มือถือ ไม่ควรชาร์ตทิ้งไว้ข้ามคืน การนอนก็เช่นเดียวกัน เพราะแทนที่ร่างกายจะตื่นตัวกลับทำให้การตื่นตัวลดลง

กรณีนอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมงถือว่า “อดนอน” ถ้าอดนอนติดกัน 3 วันแล้วคืนวันที่ 4 ถ้าหลับ ไม่ว่าจะหลับกี่ชั่วโมงก็ตามร่างกายจะพยายามช่วยเหลือตัวเองคือ พอเริ่มหลับก็เข้าสู่ระยะหลับลึกเลย หากมีเวลานอนที่นานพอ ร่างกายจะเริ่มปรับวงจรการนอนหลับอีกครั้งหนึ่ง จากปกติต้องมีระยะเวลาการนอนช่วงแรก 30 – 60 นาที จะเป็นหลับตื้นแล้วค่อย ๆ หลับลึกไปเรื่อย ๆ

แต่ถ้าต้องตื่นก่อน 4 ชั่วโมงจะกลายเป็นว่า ครั้งต่อไปพอจะหลับอีกวงจรการนอนจะยังไม่ครบ การหลับจะเป็นหลับลึกในระยะเวลาสั้น ๆ แค่ทำให้สดชื่นแต่ประสิทธิภาพเรื่องความจำจะไม่เท่าเดิม

ฉะนั้นถ้ามีโอกาสที่จะหลับซ่อมแซมหรือหลับชดเชยควรนอนให้ครบชั่วโมง การนอนที่เหมาะสม จะทำให้สภาพร่างกายกลับมาเหมือนเดิมได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหรือถ้าหากมีโอกาสหลับเต็มที่หนึ่งวันเต็ม ๆ หลังจากอดนอนมา 3 วัน”

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ยังขึ้นอยู่กับวัยอีกด้วย เนื่องจากการทำงานของสมองแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกัน ถ้าอายุน้อยโอกาสกลับมาเหมือนเดิมเร็ว แต่ถ้าอายุมากขึ้นจะฟื้นตัวช้า ดังนั้นการนอนชดเชยจึงไม่มีสูตรสำเร็จแน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ว่าจะสามารถกลับมาได้เหมือนเดิมมากน้อยแค่ไหน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita