สิ่งใดไม่ควรส่งไปพร้อมกับจดหมายสมัครงาน

ช่วงนี้ก็อาจมีหลายคนที่กำลังมองหางานกันอยู่ แต่ก็สงสัยว่าทำไมไม่เห็นมีการตอบกลับหรือเงียบหายเลย ในทางหนึ่งเราอาจจะยังเป็นคนที่ไม่ใช่ก็ได้ (เศร้าเฉย) แต่ในอีกทางก็อาจต้องลองกลับมารีเช็กกันใหม่ว่าตอนเราส่งใบสมัครงาน เราเขียนอีเมลหรือทำเรซูเม่กันแบบไหนนะ

เพราะการส่งอีเมลกับการทำเรซูเม่คือการสร้างความประทับใจแรกให้กับบริษัทที่ยังไม่รู้จักเรามาก่อนเลย ดังนั้นนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราอาจจะต้องจริงจังกับการส่งใบสมัครงานกันหน่อยเนอะ

ส่งอีเมลแบบไหน?

ทุกวันนี้เราอาจไม่ต้องไปยื่นใบสมัครงานถึงบริษัท แค่ส่งผ่านอีเมลก็ถึงมือบริษัทได้ง่ายๆ แต่ว่าเมลของเราจะถูกปัดตกมั้ย ก็ต้องลองมาดูว่าเราเขียนอีเมลไปหาบริษัทยังไงกันบ้าง เพราะนี่คือ first impresstion ที่ทางบริษัทจะได้รู้จักกับคุณ และโปรดลบการเขียนอีเมลตอบกลับจากอาจารย์บางคนที่อาจพิมพ์มาหาเราในสมัยเรียนว่า ok krab / good job ka su su ไปได้เลย 

1. ใช้ชื่ออีเมลที่เป็นทางการ ไม่ควรเป็นอีเมลที่มีการใช้ฉายา หรือใส่ตัวอักษรแปลกๆ อย่าง fasai_lnwzaa หรือ nongfasai007 เพราะจะทำให้เราดูไม่จริงจังและสูญเสียภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือไป

2. เขียนหัวข้ออีเมลให้ชัดเจน หากบางบริษัทกำหนดว่าต้องเขียนหัวข้อแบบไหนก็ให้ทำตามรูปแบบของบริษัทนั้นๆ แต่ถ้าไม่ได้กำหนเมา เราก็ควรเขียนหัวข้อว่า สมัครงาน ตำแหน่ง … เพื่อแจ้งให้บริษัททราบ

3. เขียนอธิบายตัวเองคร่าวๆ เป็นใคร จบจากที่ไหน ทำอะไรอยู่ ทำไมสนใจสมัครตำแหน่งนี้ และจะติดต่อกลับได้ยังไง โดยเป็นภาษาที่ทางการ เพื่อให้บริษัทได้รู้จักคุณคร่าวๆ เพราะหากไม่เขียนอะไรมาเลย ก็มีโอกาสง่ายมากที่จะโดนปัดตกทันที

4. เช็กให้ดีว่าแนบไฟล์เรซูเม่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องแล้วเรียบร้อยหรือยัง และชื่อไฟล์ควรใช้ให้เป็นทางการ แจกแจงว่าไฟล์นี้คืออะไร เพื่อไม่ให้ทางบริษัทต้องเสียเวลามาเดาสุ่มว่าไฟล์ไหนคืออะไร และผลงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเกี่ยวข้องจริงๆ และเลือกมาเท่าที่เรารู้สึกว่าโดดเด่นจนบริษัทต้องว้าววววว (ไม่ควรเกิน 5-6 ผลงาน) และไฟล์ที่แนบมาก็ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะบริษัทอาจปิดใจระหว่างรอโหลดไฟล์ขนาดมหึมาของคุณก็ได้

5. สุดท้าย! ตรวจสอบความถูก-ผิดของตัวอักษรด้วยนะ

ทำเรซูเม่แบบไหน?

เรซูเม่ เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาแทนตัวเราที่บริษัทจะได้ทำความรู้จักอย่างแท้จริง ดังนั้นการทำเรซูเม่ให้น่าอ่าน น่าสนใจ ก็อาจจะทำให้ทางบริษัทประทับใจเราได้ แล้วเราควรจะใส่อะไรลงไปในเรซูเม่บ้างนะ?

1. ชื่อ-นามสกุล ประวัติส่วนตัว เช่น วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล สิ่งเหล่านี้ควรใส่เพื่อให้บริษัทได้รู้จักเราคร่าวๆ ว่าเป็นใคร มาจากไหน แต่ไม่ต้องถึงขั้นใส่น้ำหนัก ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด (ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งนะ บางที่ก็อาจจะจำเป็นแหละ) 

2. ประวัติการศึกษา ซึ่งอย่างน้อยควรใส่ระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย แต่จะเพิ่มระดับประถมศึกษาก็ได้เช่นกัน โดยบอกรายละเอียดเล็กน้อยว่าเรียนสาขาไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่

3. ประสบการณ์การทำงาน เป็นส่วนสำคัญมากๆ เพราะทางบริษัทจะได้รับรู้ว่าเราเคยทำอะไรมาก่อน เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครมั้ย และทำให้ทางบริษัทสามารถมองเห็นทักษะหรือความสนใจบางอย่างจากประสบการณ์ของเราได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม ประสบการณ์ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากเป็นเด็กจบใหม่ อาจจะใส่งานที่ทำในมหาวิทยาลัย รางวัลที่เคยได้รับ หรือการฝึกงานที่เคยไปร่วมก็ได้ เพื่อที่อย่างน้อยบริษัทจะได้เห็นว่าเรามีความพยายามและความสนใจในเรื่องไหนบ้าง

4. ทักษะ เป็นอีกส่วนที่สำคัญโดยเราจะต้องประเมินตัวเองว่าเรามีทักษะอะไรบ้างที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยอาจจะแบ่งเป็น Hard Skill กับ Soft Skill ในส่วนของ Hard Skill นั้นมีข้อควรระวังคือไม่ควรใช้เป็นสเกลหลอดพลัง เพราะจะเทียบเกณฑ์ได้ยากว่าหลอดนี้สัดส่วนเทียบกับอะไร ระดับไหน อย่างง่ายสุดก็คือใช้เกณฑ์ทั่วไป ดีมาก ดี พอใช้ หรือจะดีที่สุดหากมีคะแนนจากการสอบ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ ก็ใส่คะแนน Toeic ได้เลย 

5. งานอดิเรก สิ่งนี้อาจช่วยให้บริษัทประเมินได้ว่าเรามีความสนใจอะไรบ้าง เหมาะกับตำแหน่งงานมั้ย หรือเวลาที่ไม่ใช่งานเรามีการเรียนรู้หรือทำอะไรอย่างอื่นอีก ถือเป็นการทำความรู้จักคนคนหนึ่งให้มากขึ้น

6. รูปถ่าย ไม่ควรใช้รูปเซลฟี่ และควรเป็นรูปหน้าตรง ในบางบริษัทที่มีความยืดหยุ่น อาจเลือกภาพที่ยิ้มแย้มได้ ไม่ต้องถ่ายในสตูดิโอก็ได้ ขอแค่ให้เห็นหน้าชัดๆ เห็นแล้วรู้ว่าหน้าตาเป็นไงก็พอ

นอกจากที่บอกไปข้างบนแล้ว บางแห่งอาจต้องการให้เราใส่บุคคลอ้างอิงด้วย ซึ่งอาจเป็นเจ้านายจากที่ทำงานเก่า หรือเด็กจบใหม่ก็อาจเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ในคณะ แล้วถ้ายังพอมีที่เหลือๆ ก็อาจจะใส่เป้าหมายในการทำงานจากตำแหน่งที่เราสมัครเพื่อสร้างความมุ่งมั่นไปด้วยก็ได้เหมือนกันนะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรซูเม่นี้ก็ไม่ควรมีความยาวเกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่มีการเอาการ์ตูน หรือทำสีสันฉูดฉาดเกินไป หากไม่ได้สมัครตำแหน่งที่ต้องการความครีเอทีฟจริงๆ การใช้พื้นหลังสีขาวนั้นปลอดภัยที่สุดแล้วล่ะ

นี่เป็นคำแนะนำคร่าวๆ ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจจะมีข้อกำหนดที่ต่างกันไป เราเองก็ควรจะประเมินว่าตำแหน่งที่เราสมัคร บริษัทที่เราเลือกจะทำงานด้วยเขาเป็นแบบไหน เพื่อสร้างความประทับใจให้ตรงจุด เราเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังตามหางานนะ 🙂

illustration by Monsicha Srisuantang

You might also like

Share this article


ในการสมัครงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรซูเม่ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้จักเรซูเม่และรู้วิธีเขียนเรซูเม่กันเป็นอย่างดี แต่เป็นที่น่าแปลกใจมากว่าคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อยไม่อาจจะคุ้นหูกับจดหมายสมัครงาน แต่ไม่ได้รู้จักกับสิ่งนี้อย่างถ่องแท้จริงจัง.

และเพื่อให้คุณผู้อ่านที่กำลังอยู่ในวัยทำงานรู้จักกับจดหมายสมัครงานกันให้มากขึ้น GreatDay HR ก็ได้นำบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเขียนจดหมายสมัครงาน พร้อมอธิบายว่ามีความแตกต่างจากเรซูเม่อย่างไรมาฝากกัน.

จดหมายสมัครงาน คืออะไร

จดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Application Letter หรือที่คนทั่ว ๆ ไปรู้จักกันในชื่อของ Cover Letter จดหมายสมัครงาน คือ เอกสารที่ถูกส่งไปยังองค์กรเพื่อแสดงความสนใจในตำแหน่งงานที่ทางองค์กรเปิดรับสมัครอยู่ จดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่อธิบายว่าผู้สมัครงานเป็นใคร และเน้นถึงความสำเร็จและทักษะของผู้สมัครงาน จดหมายสมัครงานช่วยให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบและคัดกรองใบสมัครที่น่าสนใจ และเมื่อผู้สมัครงานเขียนได้ดี จดหมายฉบับนี้จะอธิบายให้ผู้ว่าจ้งรับทราบว่าทำไมองค์กรจึงควรขอสัมภาษณ์งาน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่เน้นย้ำถึงคุณสมบัติหลักที่ทำให้ผู้สมัครงานเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่นี้ในองค์กร

จดหมายสมัครงานสามารถสร้างความประทับใจให้องค์กรและทำให้ผู้สมัครงานมีความแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น ๆ ในจดหมายสมัครงานสามารถพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายและแรงบันดาลใจในเส้นทางอาชีพที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สิ่งสำคัญคือต้องพยายามเขียนเพื่อแสดงแง่มุมความคิดและบุคลิกภาพของผู้สมัครงาน

ภายในจดหมายสมัครงาน ผู้สมัครควรเขียนคุณสมบัติ ทักษะที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์การทำงานก่อนหน้านี้ให้ชัดเจน เพื่อเน้นว่าได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งงานที่สมัครนี้แล้วและเป็นการแสดงให้องค์กรเห็นด้วยว่ามีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมทีม

จุดประสงค์ของการเขียนจดหมายสมัครงาน คืออะไร

จุดประสงค์ของจดหมายสมัครงาน คือ ช่วยให้ผู้สมัครงานมีความโดดเด่นในฐานะผู้สมัครที่มีศักยภาพ เพราะผู้ว่าจ้างบางรายมักให้ความสำคัญกับจดหมายสมัครงาน ในขณะที่บางรายอาจให้ความสำคัญกับเรซูเม่เพียงเท่านั้น แต่การเขียนจดหมายสมัครงานจะช่วยให้ผู้สมัครงานได้รับความสนใจจากทีมผู้ว่าจ้างที่มีความสามารถ นอกจากนี้ การเจียนจดหมายสมัครงาน ยังมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้อีกด้วย

  • เป็นการบอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา
  • อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครงานและองค์กรที่เคยร่วมงานด้วย
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและผู้สมัครงาน
  • ถ่ายทอดความสำเร็จในอาชีพที่สำคัญ ๆ
  • อธิบายประเด็นที่น่าเป็นห่วง และต้องการการพัฒนา

ความแตกต่างระหว่างเรซูเม่และจดหมายสมัครงาน

เรซูเม่และจดหมายสมัครงานนั้นไม่เหมือนกัน! โดยเรซูเม่นั้นเป็นประวัติโดยย่อที่มีเนื้อหาในการแนะนำตัวเองว่าผู้สมัครงานเป็นใคร มาจากไหน เคยผ่านงานอะไรมาบ้าง และมีทักษะคร่าว ๆ อะไร ส่วนจดหมายสมัครงาน คือ การเขียนคร่าว ๆ ว่าทำไมผู้สมัครงานถึงสนใจสมัครงานในตำแหน่งนี้ และองค์กรจะได้อะไรหากทำการว่าจ้างเป็นพนักงาน สรุปง่าย ๆ ก็คือ เรซูเม่ คือ ประวัติย่อและประวัติการทำงาน ส่วนจดหมายสมัครงาน คือ ข้อความที่มีรายละเอียดมากกว่า ช่วยให้ผู้สมัครงานสามารถบอกนายจ้างได้ว่าทำไมถึงเป็นผู้สมัครงานที่เหมาะสมที่สุดในตำแหน่งงานนี้

แล้วแบบนี้ อะไรสำคัญกว่ากัน… ระหว่างเรซูเม่และจดหมายสมัครงาน

คำตอบก็คือ ทั้ง 2 อย่างมีความสำคัญพอ ๆ กัน โดยการแนบเรซูเม่พร้อมกับจดหมายสมัครงานจะสามารถช่วยนายจ้างมองเห็นเป้าหมายของคุณไปพร้อม ๆ กับประวัติและความสามารถในการทำงานที่ผ่านมาของคุณ.

เคล็ดลับการเขียนจดหมายสมัครงาน

เมื่อต้องเขียนจดหมายสมัครงาน ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อให้จดหมายสมัครงานมีข้อมูลที่ครบถ้วนที่ผู้จัดการว่าจ้างต้องการ.

เน้นทักษะและความสามารถของคุณ

จดหมายสมัครงานเป็นโอกาสในการขายตัวเองในฐานะผู้สมัครงาน แนะนำให้เขียนจุดมุ่งหมายในการสมัครงานในตำแหน่งนี้ ตัวอย่างการใช้ประสบการณ์ในการทำงานในการแก้ไขสถานการ์ในองค์กรที่เคยร่วมงานด้วย เขียนถึงความสามารถและทักษะของคุณเพื่อให้องค์กรทราบว่าจะได้อะไรบ้างหากว่าจ้างคุณ เป็นต้น

กระชับ เรียบง่าย

การเขียนจดหมายสมัครงานควรมีความกระชับ เรียบง่าย ถึงแม้ว่าการใส่ข้อมูลรายละเอียดมากมายอาจเป็นอะไรที่น่าดึงดูดใจและชวนอ่าน แต่สิ่งสำคัญคือต้องกระชับ หากผู้ว่าจ้างได้รับจดหมายสมัครงานที่ยาวจนเกินไป อาจทำให้เลื่อนผ่านไปได้โดยง่าย ดังนั้น จดหมายสั้น ๆ ที่สามารถจัดการเนื้อที่หน้ากระดาษได้ดีโดยมีข้อมูลครบถ้วน จะดูเป็นอะไรที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้อง

เนื่องจากจดหมายสมัครงานเป็นเหมือนความประทับใจแรกพบขององค์กรที่มีต่อผู้สมัครงาน คุณจึงต้องแน่ใจว่าจดหมายนี้ถูกเขียนออกมาดีที่สุด ไม่เพียงแต่ในแง่ของเนื้อหา แต่ยังรวมไปถึงความถูกต้องในการเขียน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจดหมายสมัครงานไม่มีการพิมพ์ผิดหรือการใช้ไวยากรณ์ผิด ๆ เพราะการเขียนผิดจะแสดงถึงความไม่รอบคอบ ไม่ใส่ใจ และสร้างความไม่น่าประทับใจได้

สรุป จดหมายสมัครงาน จำเป็นไหม

หลาย ๆ องค์กรมักจะเรียกดูแต่เรซูเม่เท่านั้น แต่จดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเป้าหมาย ความตั้งใจ และความมุ่งมั่น รวมไปถึงวัตถุประสงค์ในการสมัครงานเข้ามาในตำแหน่งนี้ ดังนั้น นอกจากจะมีเรซูเม่แล้ว การมีจดหมายสมัครงานแนบไปด้วยจะทำให้คุณเป็นผู้สมัครงานที่ดูโดดเด่นกว่าผู้สมัครงานคนอื่น ๆ.

Tags : cover letter

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita