รัชกาลที่5 ทรงใช้วิธีการใดในการให้สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศษ

วันปิยมหาราช


วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่ามีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมากและลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้วต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระราชหฤทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก

2. การปฏิรูประบบราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกันจากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

3. การสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานและถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคมและส่งเสริมการเพาะปลูก การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 การไฟฟ้าพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2433 การไปรษณีย์โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลขซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

4. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จฯ

5. การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

6. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์

ความจำเป็นในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซีย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีมูลเหตุจากหลายด้าน ทั้งด้านความมั่นคง ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และการนำวิทยาการของตะวันตกมาพัฒนาประเทศ โดยความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดในช่วงเวลานั้นคือความจำเป็นด้านความมั่นคงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตยให้แก่มหาอำนาจตะวันตก 

จึงต้องทรงใช้ความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่ทรงได้วางรากฐานเอาไว้ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิช (Nikolas Aleksandrovich) แห่งจักรวรรดิรัสเซียมาช่วยลดกระแสกดดันของมหาอำนาจนักล่าอาณานิคม ส่วนความจำเป็นด้านการนำวิทยาการมาพัฒนาประเทศนั้นในกรณีของการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียเป็นผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง

นั้นได้เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436 หรือ ค.ศ.1893) จากการที่สยามถูกอังกฤษและฝรั่งเศสกดดันให้สยามต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับมหาอำนาจเพื่อที่มหาอำนาจจะใช้เป็นเหตุผลที่จะสามารถยึดครองดินแดนของสยาม จากความกดดันดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยนำรัสเซียเข้ามาคานอำนาจกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเริ่มต้นจากการใช้ความพยายามในการที่จะทำข้อตกลงว่าด้วยการค้ากับรัสเซียและการเชิญมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรสยาม ถึงแม้ว่าความพยายามแรกจะไม่ได้รับการตอบสนองและความพยายามที่สองก็ถูกขัดขวางทุกวิถีทางจากอังกฤษมหาอำนาจในภูมิภาค "ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในสยาม เมื่อรู้ว่าซาเรวิตช์จะมาเยือนกรุงเทพฯ ถึงกับปล่อยข่าวโคมลอยในหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีอหิวาตกโรคระบาดอยู่ที่นั่น เพื่อปลุกปั่นว่าไม่ปลอดภัยที่จะมากรุงเทพฯ"

การทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการต้อนรับพระราชอาคันตุกะอย่างสมพระเกียรติเพื่อให้ทรงซาบซึ้งในพระราชไมตรีนั้นก็ประสบความสำเร็จตามพระราชประสงค์ในระดับหนึ่ง ซึ่งนับเป็นความจำเป็นที่สยามพึงปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลานั้น และเป็นพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริงที่ทรงมีวิเทโศบายดังกล่าว ตามบทบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "เปนความยินดีที่เหนได้แน่ว่า พระราชทรัพย์และพระราชอุตสาหะที่ได้ออกไปในการรับซารวิตช์ไม่ขาดทุนเลย"

จากรายงานของอา. แอ็ม วืยวอดเซฟ กงสุลใหญ่รัสเซียประจำสิงคโปร์ถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม พ.ศ.1891 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1891  มีความตอนหนึ่งว่า (การเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส) 

"ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของชาวอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศอังกฤษพยายามที่จะให้อิทธิพลของประเทศอื่นๆ หมดไปจากภูมิภาคตะวันออก" 

และในรายงานถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเกี่ยวกับการที่สยามขอทำสนธิสัญญาทางการค้ากับรัสเซียเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ทางรัฐบาลรัสเซียว่า 

"สยามเป็นฝ่ายที่จะได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงเพียงฝ่ายเดียว และการที่สยามต้องการทำสนธิสัญญาก็เพียงเพื่อให้มีผู้ปกป้องคุ้มครองเมื่อเกิดความจำเป็นเท่านั้น" 

และในรายงานลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1891 นายอา.แอ็ม วืยวอดเซฟ ได้กล่าวถึงภัยของการล่าอาณานิคมที่กำลังคุกคามสยามว่า 

"ในรายงานของข้าพเจ้าฉบับหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รายงานถึงสถานการณ์ในราชอาณาจักรสยาม ความสำเร็จของสยามที่เกิดจากการพัฒนาที่ถูกต้อง ความก้าวหน้าด้านการเงิน การคลังตลอดจนความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับบนเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งปวงขึ้นอยู่กับการรักษาสันติภาพ แต่สันติภาพดังกล่าวได้ถูกคุกคามจากฝ่ายฝรั่งเศสอย่างรุนแรง"

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันเจตนารมณ์ของการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงบันทึกไว้ในปี พ.ศ.2434 ความว่า

"มูลเหตุของการเดินทางครั้งนี้ก็มีเหตุผลทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญของการเสด็จฯ ซึ่งจะพลิกโฉมการเมืองของประเทศสยามไปสู่ 'ทิศทางใหม่' ที่มีรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนับจากนี้ไป"

เหตุผลต่อเนื่องซึ่งในทางปฏิบัติต้องดำเนินการเป็นเหตุผลหลักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ในการเจริญพระราชไมตรีกับจักรวรรดิรัสเซียคือเหตุผลด้านความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ โดยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดังกล่าวได้เริ่มขึ้นจากการถวายการรับเสด็จการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชอาณาจักรสยามของมกุฎราชกุมารนิโคลัส อเล็กซานโดรวิชแห่งจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติซึ่งทำให้เกิดความผูกพันทางพระราชหฤทัย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสจักรวรรดิรัสเซีย ก็ได้รับการถวายการตอนรับอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเช่นกัน อีกทั้งยังได้กระชับความสัมพันธ์ส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถความว่า  สมเด็จพระพันปีหลวงของรัสเซีย (พระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิ) ทรงรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชบุตร และจากจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 บันทึกโดย พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ได้กล่าวถึงความมีพระราชหฤทัยที่ผูกพันของสองราชวงศ์ซึ่งได้ปราฏขึ้นอย่างชัดเจน

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทูลลาพระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิว่า     "...พอได้เวลาที่จะเสด็จฯ กลับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลลาเอมเปรสพระชนนี เอมเปรสพระชนนีทรงจุมพิตพระปรางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วพระราชทานพระปรางให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุมพิตและพระราชทานพรแสดงพระราชหฤทัยเมตตาอาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างว่าเป็นพระราชบุตร มิได้มีความรังเกียจอย่างใดเลย เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชทูลลา ก็ทรงจูบพระราชทานพรฉันว่าเป็นพระราชนัดดาอย่างสนิทเสร็จแล้ว ส่วนพระราชโอรสพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ เมื่อทูลลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงจุมพิตสั่งเสียเสมอด้วยพระญาติอันสนิท..."

ส่วนความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจักรพรรดินั้นได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่การรับเสด็จที่ยิ่งใหญ่ การถวายพระเกียรติตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในรัสเซีย นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่ทั้งสองพระองค์จะทรงลาจากกันได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของทั้งสองพระองค์ดังบันทึกของพระยาศรีสหเทพ ที่ว่า 

"...ทั้งสองพระองค์ ทรงพระอาลัยในการที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินจากกัน โดยอาการที่ปรากฏเห็นได้ถนัดทั้งสองพระองค์ จึงได้ทรงประทับสั่งสนทนาอยู่อีกกึ่งชั่วโมง แล้วจำพระทัยต้องทูลลากัน ทรงกอดรัดจุมพิตและมีพระราชดำรัสสั่งเสียเป็นอเนกประการ สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงรัสเซียยังให้ชักธงเครื่องหมายถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสำราญในระยะทางอีกครั้งหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นายเรือพระที่นั่งโปลาสะตาร์ชักธงขึ้นเสาหมายความตอบขอบพระราชหฤทัย..."

สำหรับเหตุผลในการเจริญพระราชไมตรีที่มาจากความต้องพัฒนาประเทศนั้นเกิดจากพระปรีชาญาณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงต้องการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงมีความจำเป็นที่สยามต้องรับศิลปวิทยาการจากประเทศที่ยอมรับกันว่ามีความเจริญแล้วมาสู่ประเทศ

จากจุดเริ่มต้นจากการที่ได้ว่าจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในหน้าที่ต่างๆ เป็นการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อให้กลับมาปฏิบัติราชการแทนชาวต่างประเทศ ดังที่ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "นักเรียนนอก" ว่า ประเทศไทยได้ "ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์"  ด้วยวิธีการส่งนักเรียนไทยออกไปศึกษาวิชาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะ "นักเรียนนอก" ที่เกิดจากการลงทุนดังกล่าวในระหว่างเวลาประมาณ 70 ปี  ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 จนกระทั้งถึงสงครามแปซิฟิกจำนวนประมาณ 1,300 คน ได้เป็นกำลังสำคัญในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความทันสมัย ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการรักษาเอกราชและอธิปไตยของบ้านเมืองตลอดเวลาดังกล่าว สำหรับนักเรียนไทยที่ได้ไปศึกษาในประเทศรัสเซียในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นจากข้อมูลของ ดร.วิชิตวงศ์ ได้กล่าวไว้ว่ามี 20 คนโดยในปี ค.ศ.1898 ( พ.ศ.2441) ได้มีการส่งนักเรียนไทยรุ่นแรกเข้าไปเรียนในรัสเซีย นักเรียนไทยกลุ่มนี้คัดเลือกจากนักเรียนไทยในอังกฤษประกอบด้วยพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และนักเรียนทุน นายพุ่ม สาคร อีกทั้งได้ส่งนายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทราชา) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการส่งไปศึกษาวิชาครูในประเทศอังกฤษให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ รวมทั้งการถวายพระอักษรภาษาไทย ("เป็นผู้ใหญ่ดูแลการในพระองค์") ซึ่งก็ต้องศึกษาภาษารัสเซียด้วย 

และเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงเป็นพระราชโอรสซึ่งทรงฐานันดรศักดิ์ต่อไปจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังนั้นระหว่างที่ประทับอยู่ที่รัสเซียจึงต้องมีราชองครักษ์ประจำพระองค์ด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งให้ร้อยโทหลวงสุรยุทธโยธาหาร (ชื่น ภัคดีกุล) ให้ไปทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้สมรสกับสุภาพสตรีรัสเซียระหว่างทำหน้าที่และได้นำบุตรและภรรยากลับมาเมืองไทย.
------------
อ้างอิง: หอจดหมายเหตุการเมืองระหว่างประเทศ จักรวรรดิรัสเซีย หมวดญี่ปุ่น
 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita