วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ในด้านใด

หลายปีมานี้ เทคโนโลยีด้านซอฟแวร์และคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปอย่างมาก เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม (Facebook, Line, Grab, Airbnb, ฯลฯ) แอปพลิเคชัน และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น รวมถึงเทรนด์ บิ๊กดาต๊า (Big Data) และวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ก็ถือว่าเป็นเทรนด์ที่มาแรงแห่งศตวรรษเลยก็ว่าได้
เมื่อเทรนด์เทคโนโลยีซอฟแวร์และบิ๊กดาต๊ามาแรงแบบนี้ สาขาหนึ่งที่มาแรงคงหนีไม่พ้นสาขา“วิทยาการคอมพิวเตอร์” (Computer Science) เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว พี่วีวี่จึงไม่รอช้า พาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ว่าเขาเรียนอะไรกัน มีวิชาเรียนไหนน่าสนใจ จบมาแล้วทำงานอะไร มหาวิทยาลัยไหนเปิดรับบ้าง และพาไปดูกันว่าจะสอบเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในระบบ TCAS ต้องยื่นคะแนนอะไรบ้าง

  • วิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนอะไรบ้าง

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเรื่องที่เรียนเป็น 6 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่
 

  1. หลักการหรือทฤษฏีการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
    ศึกษาถึงวิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอสคิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม การศึกษาวิธีการเขียนและออกแบบซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่จะเขียน และการศึกษาหลักการและการออกแบบระบบขนาดใหญ่
  2. หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
    ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาโปรแกรมพื้นฐานที่ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และศึกษาหลักการและวิธีการเข้ารหัส และการถอดรหัสคอมพิวเตอร์ ศึกษาการควบคุมความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
  3. หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร                                                                                          ศึกษาถึงพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ แทบเล็ต เป็นต้น
  4. หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติมีเดีย
    ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง
  5. หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานปัญญาประดิษฐ์
    ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็น
  6. หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการทำงานของการคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง
    ศึกษาถึงหลักการที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นทฤษฏีระดับสูง และศึกษาการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงซึ่งมีความยาก เช่น การประยุกต์ไปใช้งานด้านชีวภาพ การประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดียระดับสูง การวิเคราะห์บิ๊กดาต๊า เป็นต้น

 
เพื่อที่จะให้เห็นภาพมากขึ้นว่า สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนอะไรบ้าง พี่วีวี่จึงนำหลักสูตรระดับปริญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้น้อง ๆ ดูเป็นตัวอย่างว่าตลอด 4 ปี น้องจะต้องเรียนอะไรบ้าง

หมายเหตุ: ดูตัวอย่างหลักสูตรสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของจุฬาเต็ม ๆ คลิก //www.math.sc.chula.ac.th/www.math.sc.chula.ac.th/th/csugrad/index.html

  • การสอบเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ในระบบ TCAS

เมื่อรู้แล้วว่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนอะไรบ้าง พี่วีวี่ก็จะพาน้อง ๆ ไปดูต่อว่า ถ้าอยากเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในระบบ TCAS ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง และยื่นคะแนนอะไรบ้าง โดยพี่วีวี่จะขอยกตัวอย่าง การสอบเข้าในระบบ TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบ 4 แอดมิชชั่น นะคะ
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในระบบ TCAS รอบ 3
สำหรับ TCAS รอบ 3 นั้น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย ใช้คะแนน GAT/PAT หรือ 9 วิชาสามัญ แตกต่างกันไป บางที่ใช้เฉพาะคะแนน GAT/PAT และบางที่ใช้ทั้งคะแนน GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญ
ดังนั้นแล้วน้อง ๆ ที่จะยื่นรอบ 3 ต้องติดตามระเบียบการของมหาวิทยาลัยที่น้องจะยื่นให้ดีนะคะ ในที่นี้ พี่วีวี่ขอยกตัวอย่างค่าน้ำหนักคะแนน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ
 

                                                                            ค่าน้ำหนักคะแนน (%)คณิตศาสตร์ 1 วิชาสามัญเคมี วิชาสามัญชีววิทยา วิชาสามัญฟิสิกส์ วิชาสามัญGAT2020202020

 

 
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในระบบ TCAS รอบ 4
มาต่อกันที่ TCAS รอบ 4 สำหรับ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ คะแนนที่ใช้ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะเหมือนกัน เพราะใช้ค่าน้ำหนักคะแนนจากส่วนกลาง โดยค่าน้ำหนักคะแนนจากส่วนกลางที่ใช้ มีดังนี้
 

                                                                           ค่าน้ำหนักคะแนน (%)GPAX 20 %O-NET 30 %PAT 1 10 %PAT 2 30 %GAT 10 %

 
อย่างไรก็ตาม ทั้งรอบ 3 และรอบ 4 น้อง ๆ ควรติดตามระเบียบการเต็มจากมหาวิทยาลัยที่น้องจะสมัครอีกทีนะคะ เผื่อมีการเปลี่ยนเกณฑ์คะแนน หรือเงื่อนไขต่าง ๆ

  • ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดรับในระบบ TCAS

หลังจากดูค่าน้ำหนักคะแนนแล้ว ก็มาต่อกันที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งตัวอย่างที่ยกมา เช่น
 
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จบมาทำงานอะไร

มาถึงตรงนี้แล้ว น้อง ๆ หลายคงคนอยากรู้แล้วว่า คนที่จบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สามารถทำงานอะไรได้บ้าง คำตอบก็คือ คนที่จบสาขานี้สามารถทำงานได้หลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ

  • ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
  • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
  • ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
  • ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ผู้ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์
  • ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น

นอกจากนี้ น้องๆ ยังสามารถไปทำงานในสายอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงอย่าง นักพัฒนาแอปพลิเคชัน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือนักพัฒนาซอฟแวร์ก็ได้
โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ประเทศไทยกำลังขาดแคลนอย่างมาก จากรายงานของ EIC ระบุว่า ประเทศไทยมีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลกว่า 2,000 คน ขณะที่คนที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลกลับมีแค่ 200 – 400 คน เท่านั้น และในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า ความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 15 – 20 %

เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ เมื่อเห็นเนื้อหาที่เรียนกับงานที่ทำแล้วก็ต้องบอกว่า สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่น่าเรียนมาก ๆ สาขาหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะยุคที่ปัญญาประดิษฐ์และบิ๊กดาต๊ากำลังมาแรง ถ้าน้อง ๆ คนไหนมีความสนใจในด้านนี้ ก็ต้องขยันอ่านหนังสือเป็นพิเศษ เพราะเห็นแล้วว่า เนื้อหาที่เรียนในมหาวิทยาลัย ต้องมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ขั้นสูง พี่วีวี่เอาใจช่วยน้องทุกคนนะคะ: )

วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ทางด้านใด

วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าเพื่อสร้างสรรค์สังคมมนุษย์ให้ได้รับสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต บัณฑิตสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต้องมีทักษะและความชำนาญด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ระบบงาน เพื่อการออกแบบ ...

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ...

ศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

5 สาขาหลัก ของคณะทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง?.
วิศวะคอม (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) เดิมที่เป็นสาขาเฉพาะอยู่ในสาขาวิศวะไฟฟ้า ... .
วิทย์คอม (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ... .
วิศวะซอฟต์แวร์ (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) ... .
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT: Information Technology ) ... .
สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ หรือสาขาระบบสารสนเทศ.

เรียนสายวิทย์คอมเข้าคณะอะไรได้บ้าง

แผนการเรียนเตรียมวิทย์-คอม (PRE SCIENCE-COMPUTER).
คณะวิศวกรรมศาสตร์.
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์.
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.
คณะวิทยาการสารสนเทศ.
คณะวิศวกรรมซอฟแวร์.
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita