หลักการคิดทางพระพุทธศาสนาที่คล้ายคลึงกับความคิดทางวิทยาศาสตร์คือวิธีการคิดแบบใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์[1] มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์[2] ในปี ค.ศ. 1993 มีการตีพิมพ์แบบจำลองที่แปลงมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางประชาน (theory of cognitive development) ของฌ็อง ปียาแฌ ที่เสนอว่า ศาสนาพุทธเป็นวิธีการทางความคิดแบบที่สี่[3] นอกเหนือไปจากไสยศาสตร์ (magic) วิทยาศาสตร์ และศาสนา[4]

มีการกล่าวถึงศาสนาพุทธว่ามีเหตุผลและไม่ใช่ความเชื่อแบบหักล้างไม่ได้ (dogma) และมีหลักฐานที่แสดงว่า เป็นมาอย่างนี้แล้วมาตั้งแต่ต้น[5] แม้จะมีผู้ที่เสนอว่า ลักษณะเช่นนี้มีการให้ความสำคัญมากในปัจจุบัน และเป็นการตีความใหม่โดยบางส่วน[6]

แต่ว่า ไม่ใช่ว่า ทุกนิกายในศาสนาพุทธ จะหลีกเลี่ยงการมีความเชื่อที่หักล้างไม่ได้ หรือสามารถวางตัวเป็นกลางเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ หรือว่าเปิดใจที่จะยอมรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ (ที่อาจจะขัดกับหลักศาสนา) รูปแบบของศาสนาพุทธมีหลายอย่าง รวมทั้งแบบมีความเชื่ออย่างมั่นคงในลัทธิของตน (fundamentalism)[7] แบบเน้นการบูชา[8] แบบอ้อนวอนผีบ้าน และแบบที่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์ต่าง ๆ[9] อย่างไรก็ดี มีการอ้างถึงความเหมือนกันระหว่างการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดวิถีพุทธ ในปี ค.ศ. 2005 องค์ทะไลลามะที่สิบสี่ เทนซิน เกียตโซ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมของสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ (Society for Neuroscience) ในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ที่กำหนด "การตั้งความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสัมบูรณ์ (คือความเชื่อว่าสิ่งนี้ต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้น)" และการพึ่งอาศัยความเป็นเหตุผล (causality) และประสบการณ์นิยม (empiricism) ว่าเป็นหลักที่เหมือนกันในพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์[10]

พุทธศาสนาและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์[แก้]

โดยมีความสอดคล้องกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนาที่สืบ ๆ กันมาและที่อาศัยความเชื่ออื่น ๆ กาลามสูตรยืนยันให้ทำการประเมินหลักฐานอย่างถูกต้อง ไม่ให้อาศัยเพียงแค่ความเชื่อ เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมา หรือการคาดคิดเพียงเท่านั้น คือ

กาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ. ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่างแท้จริง. มาเถิด กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือ (คืออย่าปลงใจเชื่อ) โดยฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน), อย่าได้ยึดถือโดยการถือสืบ ๆ กันมา (มา ปรมฺปราย), อย่าได้ยึดถือโดยการเล่าลือว่า ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ๆ (มา อิติกิราย), อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา (มา ปิฏกสมฺปทาเนน), อย่าได้ยึดถือโดยเหตุแห่งการตรึก (มา ตกฺกเหตุ), อย่าได้ยึดถือโดยอนุมาน (มา นยเหตุ), อย่าได้ยึดถือโดยการตรึกตามเหตุ (มา อาการปริวิตกฺเกน), อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า สมกับทิฏฐิของตน ทนต่อการพิสูจน์ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา), อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า อยู่ในรูปแบบสมควรจะเชื่อได้ (มา ภพฺพรูปตาย), อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

แนวทางทั่วไปของพระสูตรนั้นเหมือนกับคำขวัญของราชสมาคมแห่งลอนดอนว่า "อย่าไปถือเอาเพียงคำของใครว่าเป็นจริง" (Take no-one's word for it)[11]

ศาสนาพุทธและจิตวิทยา[แก้]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีผลงานทดลองหลายงานที่เสนอว่า กรรมฐานในพุทธศาสนา สามารถให้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะทางจิตได้อย่างกว้างขวาง และความสนใจในการใช้กรรมฐานเป็นวิธีให้ความรู้เกี่ยวกับสภาวะทางจิตก็ได้เริ่มประทุขึ้นใหม่เร็ว ๆ นี้ เพราะเหตุแห่งเทคโนโลยีที่สามารถใช้สร้างภาพสมองเช่น fMRI และ SPECT

งานวิจัยเช่นนี้ได้รับคำสนับสนุนจากองค์ทะไลลามะที่สิบสี่ ผู้ได้แสดงความสนใจในการสำรวจหาความเชื่อมโยงกันระหว่างพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ และทรงเสด็จไปยังงานประชุมของสถาบันจิตและชีวิต (Mind and Life Institute) เสมอ ๆ[12]

ในปี ค.ศ. 1974 อาจารย์กรรมฐานของนิกายกาจูร์ปะแห่งพุทธวัชรยานได้พยากรณ์ว่า "พุทธศาสนาจะมาถึงประเทศตะวันตกโดยเป็นจิตวิทยา" ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยในช่วงนั้น แต่จริง ๆ แล้วแนวคิดต่าง ๆ ของศาสนาพุทธได้เผยแพร่ไปในประเทศตะวันตก มากที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับจิตวิทยา ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน เช่นที่คิดขึ้นโดยคาร์ล รอเจอร์ส มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกับแนวคิดพุทธ

น.พ. วิลเลียม เจมส์ ผู้นับถือกันว่าเป็นบิดาของสาขาจิตวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกา มักจะใช้แนวคิดจากศาสนาพุทธ เมื่อกำหนดแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ เช่น คำว่า "stream of consciousness" (กระแสจิต) ซึ่งมาจากคำบาลีว่า "วิญฺญาณโสต"[13] ในหนังสือ Varieties of Religious Experience (ความต่าง ๆ กันของประสบการณ์ทางศาสนา) เจมส์ได้โปรโมตการใช้กรรมฐานในจิตวิทยา[14] มีคนกล่าวว่า เขาได้ประกาศต่อหน้าเล็กเช่อร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า "นี่จะเป็นจิตวิทยาที่ทุกคนจะต้องศึกษาอีก 25 ปีต่อจากนี้"[15][16]

ศาสนาพุทธโดยเป็นวิทยาศาสตร์[แก้]

อาจารย์กรรมฐานโกเอ็นก้าอธิบาย "พุทธธรรม" ว่าเป็น "วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจิตและสสารล้วน ๆ"[17] และอ้างว่า ศาสนาพุทธใช้ศัพท์และเหตุผลทางปรัชญาและจิตวิทยา ที่แม่นยำ ที่เป็นเชิงวิเคราะห์[ต้องการอ้างอิง] อาจารย์พรรณนาคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ไม่ใช่เป็นความเชื่อในหลักคำสอนที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่เป็นการตรวจสอบธรรมชาติตามความเป็นจริง ซึ่งต้องอาศัยการทำ ไม่เอนเอียง และไม่ลำเอียง[ต้องการอ้างอิง]

สิ่งที่ยอมรับกันทั่ว ๆ ไปในคำสอนศาสนาพุทธก็คือ ผลต้องเกิดจากเหตุ เริ่มตั้งแต่ปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นต้นไป พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายความจริงของสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นเหตุและผล เช่น ความทุกข์และโทมนัสที่มีอยู่ในคนใดคนหนึ่ง ล้วนแต่มาจากเหตุ วิธีการหนึ่งที่จะอธิบายมรรคมีองค์แปดก็คือ การหันเข้าหาความจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และทำความเข้าใจความจริงนั้นโดยประจักษ์ แม้ว่า จะมีการถกเถียงกันว่า การตรวจสอบเช่นนี้เป็นไปทางอภิปรัชญาหรือญาณวิทยา

พระภิกษุนิกายเซน ทิก เญิ้ต หั่ญได้เขียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ไว้ว่า[18]

ในศาสนาพุทธ มีความจริงสองอย่างคือ สมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ เมื่อกล่าวถึงสมมุติสัจจะ ชาวพุทธจะพูดถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต การเกิดและการตาย การมาและการไป ภายในและภายนอก สัตว์หนึ่งหรือมากเป็นต้น และคำสอนและข้อปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่อาศัยสมมุติสัจจะ จะช่วยลดความทุกข์ และช่วยนำมาซึ่งความกลมกลืนและความสุข เมื่อกล่าวถึงปรมัตถสัจจะ คำสอนจะก้าวล่วงบัญญัติว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต การเกิดและการตาย การมาและการไป ภายในและภายนอก สัตว์หนึ่งหรือมากเป็นต้น และคำสอนและข้อปฏิบัติที่อาศัยปรมัตถสัจจะ จะช่วยผู้ปฏิบัติให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติ (ต่อบุคคลต่าง ๆ) ความหวาดกลัว และช่วยให้สัมผัสพระนิพพาน ซึ่งเป็นปรมัตถสัจจะ ชาวพุทธไม่เห็นข้อขัดแย้งระหว่างสัจจะทั้งสอง และมีอิสระในการประยุกต์ใช้คำสอนเกี่ยวกับสัจจะทั้งสองให้ดี

วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก ดังที่เห็นในทฤษฎีของไอแซก นิวตัน สร้างขึ้นบนรากฐานที่สะท้อนประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่วัตถุต่าง ๆ มีอยู่โดยตนเอง และสามารถกำหนดได้ในกาลเวลาและสถานที่ ส่วนกลศาสตร์ควอนตัมเป็นมูลฐานที่ใช้เพื่อเข้าใจว่า ธรรมชาติในระดับที่เล็กกว่าอะตอมมีความเป็นไปอย่างไร แต่เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกอย่างสิ้นเชิง เพราะว่า ในศาสตร์นี้ ไม่มีอะไรที่เรียกว่า ปริภูมิเปล่า (empty space) และตำแหน่งและโมเมนตัมไม่สามารถกำหนดได้อย่างแม่นยำพร้อม ๆ กัน อนุภาคมูลฐานสลับเปลี่ยนจากมีแล้วก็ไม่มี และไม่ได้มีอยู่จริง ๆ แต่มีเพียงแต่ "ความโน้มน้าวที่จะมี"

วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกดูเหมือนจะสะท้อนสมมุติสัจจะ และกลศาสตร์ควอนตัมดูเหมือนจะก้าวหน้าไปเพื่อจะแสดงปรมัตถสัจจะ โดยพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะทิ้งบัญญัติว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภายในและภายนอก ความเป็นเดียวกันและความเป็นอันอื่นเป็นต้น ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังทำความพยายามเพื่อจะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสัจจะทั้งสอง ที่วิทยาศาสตร์ทั้งสองแบบเป็นตัวแทน เพราะว่า สัจจะทั้งสองสามารถทดสอบได้และประยุกต์ใช้ได้ในชีวิต

ในวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีหนึ่ง ๆ ควรจะได้รับการทดสอบหลาย ๆ ทางก่อนที่จะมีการยอมรับโดยพวกนักวิทยาศาสตร์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำในกาลามสูตรด้วยว่า คำสอนและความเข้าใจที่ครูสอน ควรจะรับการทดสอบผ่านประสบการณ์ก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นความจริง ความเข้าใจที่แท้จริง หรือว่า สัมมาทิฏฐิ มีสมรรถภาพในการปลดเปลื้อง (ให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติเป็นต้น) และในการนำมาซึ่งความสงบและความสุข สิ่งที่ค้นพบในวิทยาศาสตร์ก็เป็นความเข้าใจเหมือนกัน และสามารถประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยี แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ในพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา เพื่อเพิ่มคุณภาพของชีวิตและเพิ่มความสุข ชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์สามารถแชร์วิธีการและข้อปฏิบัติแก่กันและกัน และสามารถได้ประโยชน์จากความเข้าใจและประสบการณ์ของกันและกัน

ข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสติและสมาธิจะนำมาซึ่งความเข้าใจ ซึ่งสามารถช่วยทั้งชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์ ความเข้าใจ (ปัญญา) ที่สอนโดยผู้ปฏิบัติที่แทงตลอดแล้วเช่นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ สามารถเป็นแรงจูงใจและแรงอุปถัมก์ สำหรับทั้งผู้ปฏิบัติชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์ และการทดสอบทางวิทยาศาสตร์สามารถช่วยผู้ปฏิบัติชาวพุทธ ให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้น มีความั่นใจมากขึ้น เกี่ยวกับความเข้าใจที่ได้มาจากโบราณจารย์ทั้งหลาย เป็นความเชื่อของข้าพเจ้า (พวกเรา) ว่า ในศตวรรษที่ 21 นี้ ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ะจะดำเนินไปด้วยกันเพื่อโปรโหมตเพิ่มความเข้าใจสำหรับเราทุกคน และนำมาซึ่งการปลดเปลื้องยิ่ง ๆ ขึ้น โดยลดการเลือกปฏิบัติ ช่องว่าง (ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ) ความหวาดกลัว ความโกรธ และความสิ้นหวังในโลก

คำกล่าวของนักวิทยาศาตร์สำคัญ[แก้]

นีลส์ บอร์ นักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1922 ได้กล่าวไว้ว่า

โดยขนานกับบทเรียนที่ได้เกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม [เราจะต้องหันไปสนใจ]ปัญหาทางญาณวิทยาประเภทที่นักปราชญ์เช่นพระพุทธเจ้าและเล่าจื๊อได้เผชิญมาแล้ว เมื่อเราพยายามจะทำความกลมกลืนระหว่างความเป็นผู้ชมและผู้แสดง ในละครชีวิตอันยิ่งใหญ่[19]

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ นักปราชญ์ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1950 ได้พรรณนาศาสนาพุทธว่าเป็นปรัชญาเชิงวิทยาศาสตร์และ speculative philosophy โดยกล่าวว่า

ศาสนาพุทธเป็นการผสมกันของทั้งปรัชญาเชิงวิทยาศาสตร์และ speculative philosophy ูซึ่งสนับสนุนระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ และทำการตามนั้นจนถึงที่สุด ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเหตุผลนิยม ในศาสนาเราอาจที่จะพบคำตอบต่อคำถามที่น่าสนใจเช่น "อะไรคือจิตและสสาร ในระหว่างทั้งสองนั้นอะไรสำคัญกว่า โลกนี้ดำเนินไปมีจุดประสงค์อะไรหรือไม่ มนุษย์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติอย่างไร มีแบบการใช้ชีวิตที่ประเสริฐหรือไม่" เป็นศาสตร์ที่รับช่วงต่อในที่ที่วิทยาศาสตร์พาไปไม่ได้เพราะว่าความจำกัดทางเครื่องมือของวิทยาศาสตร์

สิ่งที่พุทธศาสนาพิชิตก็คือเรื่องของจิต[20]

ส่วนนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เป็นบิดาของระเบิดปรมาณู ดร. เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ใช้อุปมาเกี่ยวกับศาสนาพุทธเมื่ออธิบายหลักความไม่แน่นอน คือ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า ตำแหน่งของอิเล็กตรอนอยู่ที่เดียวกันหรือไม่ เราต้องตอบว่า ไม่ใช่ ถ้าเราถามว่า ตำแหน่งของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่ เราต้องตอบว่า ไม่ใช่ ถ้าเราถามว่า อิเล็กตรอนกำลังอยู่เฉย ๆ หรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ ถ้าเราถามว่า อิเล็กตรอนกำลังเคลื่อนไปอยู่หรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าทรงให้คำตอบเช่นนี้เมื่อมีการถามถึงสภาพของอัตตาหลังจากตายแล้ว แต่คำตอบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องคุ้นเคยต่อนักวิทยาศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18[21]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • พุทธศาสนากับทฤษฎีวิวัฒนาการ

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Yong, Amos (2005). "Buddhism and Science: Breaking New Ground (review)". Buddhist-Christian Studies. 25: 176–180.
  2. Lopez, Donald S. Jr (2008). Buddhism and Science: A Guide for the Perplexed. University of Chicago Press.
  3. Kress, Oliver (1993). "A new approach to cognitive development: ontogenesis and the process of initiation". Evolution and Cognition. 2 (4): 319–332.
  4. Tambiah, Stanley Jeyaraja (1990). Magic, Science and Religion and the Scope of Rationality. Cambridge University Press.
  5. "Buddhist Scriptures: Kalama Sutta". Buddhanet.net. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  6. Snodgrass, Judith (2007). "Defining Modern Buddhism: Mr. and Mrs. Rhys Davids and the Pāli Text Society". Comparative Studies of South Asia, Africa and the Middle East. 27 (1): 186–202.
  7. "Journal of Buddhist Ethics ''A Review of Buddhist Fundamentalism and Minority Identities in Sri Lanka''". Buddhistethics.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-16. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  8. Safire, William (2007). The New York Times Guide to Essential Knowledge. p. 718. ISBN 0-312-37659-6.
  9. Deegalle, Mahinda (2006). Popularizing Buddhism: Preaching as Performance in Sri Lanka. p. 131. ISBN 0-7914-6897-6.
  10. "The Neuroscience of Meditation." November 12, 2005 speech given by the Dalai Lama
  11. "About Us - History". The Royal Society. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
  12. Reed, Christina (2006-02-06). "Talking Up Enlightenment". Scientific American.
  13. Wallace, B. Alan; Hodel, Brian (2008). Embracing mind: the common ground of science and spirituality. Shambhala Publications. p. 186. ISBN 1-59030-482-9, 978-1-59030-482-2. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21. CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. James, William (1902). Varieties of Religious Experience. New York: Longman.
  15. Fields, Rick (1992). How the Swans Came to the Lake (3rd ed.). Shambhala Publications. p. 134-135.
  16. Fessenden, Tracy; Radel, Nicholas F.; Zaborowska, Magdalena J. (2014). The Puritan Origins of American Sex: Religion, Sexuality, and National Identity in American Literature. Routledge. p. 209.
  17. Goenka, SN (2002). "Meditation Now: Inner Peace through Inner Wisdom" (PDF). Vipassana Research Publications. p. 12. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20. It is a pure science of mind and matter
  18. "Categories View | Events". Plumvillage.org. 2009-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  19. Niels, Bohr (1958). Atomic Physics and Human Knowledge. John Wiley and Sons. p. 20.
  20. Verhoeven, Martin J. (2001-06). ""Buddhism and Science: Probing the Boundaries of Faith and Reason,"". Religion East and West (1): 77–97. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-14. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  21. Oppenheimer, J. R (1954). Science and the Common Understanding. Oxford University Press. pp. 8–9.

ข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือและวารสาร
  • Sarunya Prasopchingchana & Dana Sugu, 'Distinctiveness of the Unseen Buddhist Identity' (International Journal of Humanistic Ideology, Cluj-Napoca, Romania, vol. 4, 2010)
  • Donald S. Lopez Jr., Buddhism and Science: A Guide for the Perplexed (University of Chicago Press 2008)
  • Matthieu Ricard, Trinh Xuan Thuan, The Quantum and the Lotus (Three Rivers Press 2004)
  • Richard H. Jones, Science and Mysticism: A Comparative Study of Western Natural Science, Theravada Buddhism, and Advaita Vedanta (Bucknell University Press, 1986; paperback ed., 2008)
  • Richard H. Jones, Piercing the Veil: Comparing Science and Mysticism as Ways of Knowing Reality (Jackson Square Books, 2010)
  • Tenzin Gyatso, The Dalai Lama XIV, The Universe in a Single Atom: The Convergence of Science and Spirituality, (Morgan Road Books 2005)
  • McMahan, David, “Modernity and the Discourse of Scientific Buddhism.” Journal of the American Academy of Religion, Vol. 72, No. 4 (2004), 897-933.
  • B. Alan Wallace, Hidden Dimensions: The Unification of Physics and Consciousness (Columbia Univ Press 2007)
  • B. Alan Wallace (ed), Buddhism and Science: breaking new ground (Columbia Univ Press 2003)
  • B. Alan Wallace, Choosing Reality: A Buddhist Perspective of Physics and the Mind, (Snow Lion 1996)
  • Robin Cooper, The Evolving Mind: Buddhism, Biology and Consciousness, Windhorse (Birmingham UK 1996)
  • Daniel Goleman (in collaboration with The Dalai Lama), Destructive Emotions, Bloomsbury (London UK 2003)
  • Rapgay L, Rinpoche VL, Jessum R, Exploring the nature and functions of the mind: a Tibetan Buddhist meditative perspective, Prog. Brain Res. 2000 vol 122 pp 507-15
เว็บไซต์
  • What is the science when compare to Buddhism?
  • Australian Institute for Consciousness Studies Archived 2015-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Buddhism and Science
  • Full text of 2004 paper examining effects of long-term meditation on brain function
  • Full text of 2003 paper examining the effect of mindfulness meditation on brain and immune function
  • The Mind and Life Conferences Archived 2015-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Buddha on the Brain - Dalai Lama on the Society for Neuroscience's annual conference
  • Collection of quotes regarding Buddhism and science Archived 2012-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • [Science meets Dharma] Pratityasamutpada. //philpapers.org/rec/KOHPIE

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita