คำประพันธ์มีคุณค่าต่อมนุษย์อย่างไร

คำประพันธ์ คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามรูปแบบที่กำหนดไว้ให้มีสัมผัสที่ไพเราะ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบและวิธีการประพันธ์ที่แตกต่างกัน

วิธีการแต่งคำประพันธ์
- กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะนำมาแต่งคำประพันธ์
- กำหนดชนิด รูปแบบของคำประพันธ์ว่าจะแต่งในรูปแบบใด
- กำหนดโครงเรื่อง พร้อมตั้งชื่อเรื่อง
- แต่งคำประพันธ์ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้และให้เนื้อหาสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้
- อ่านทบทวนคำประพันธ์ที่แต่งเสร็จแล้วอีกครั้งหนึ่งหากพบข้อผิดพลาดให้รีบแก้ไข

ลักษณะของคำประพันธ์ที่ดี
- รูปแบบถูกต้องตามลักษณะบังคับของแต่ละชนิด
- มีการใช้ข้อความหรือถ้อยคำที่ดี
- มีสัมผัสที่ดีเกิดความไพเราะ

โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย

โคลง คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอก-โท และบังคับสัมผัส คำประพันธ์ประเภทโคลงมีหลักฐานปรากฏว่ามีต้นกำเนิดมาจากทางภาคเหนือและภาคอีสานก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าสู่ภาคกลางของไทย วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงที่เก่าแก่ที่สุด คือ " โองการแช่งน้ำโคลงห้า " ซึ่งแต่งขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราว พ.ศ.๑๘๙๓ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทองสำหรับโคลงประเภทอื่น ๆ นั้น อาจได้รับอิทธิพลมาจากทางภาคเหนือหรือล้านนาเช่น โคลงสี่ดั้น ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (ไม่ว่าจะเป็น โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ )

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย ที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤษ คือ ปิงคลฉันทศาสตร์
แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่คัมภีรวุต โตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา
แต่งเมื่อ พ.ศ. 1702 เป็นที่มาของคัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทยเมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไป

กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับ ครุ-ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสไม่มีบังคับเอกโทและครุ-ลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์
(เป็นตัวหนังสือ)และวรรณกรรมมุขปาฐะ(เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้าน

ร่าย เป็นชื่อของคำประพันธ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กำหนดว่า จะต้องมีบท หรือบาท เท่านั้น เท่านี้ จะแต่งให้ยาวเท่าไรก็ได้ เป็นแต่ต้อง เรียงคำ ให้คล้องจองกัน ตามข้อบังคับ เท่านั้น ลักษณะบังคับต่างๆ ใช้อย่างเดียวกับ โคลง 2 และโคลง 3 คำร่าย "ร่าย" แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน ร่ายเป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ

งานประพันธ์
         งานประพันธ์ คือ งานที่มนุษย์ใช้ภาษาที่สละสลวยสร้างสรรค์ขึ้นเป็นเรื่องราว ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว อาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง และจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ งานประพันธ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลักฐานมาถึงปัจจุบัน ชิ้นแรกคือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง งานประพันธ์ที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่า " มุขปาฐะ " เช่น กลอนสด กลอนพื้นเมือง

องค์ประกอบของงานประพันธ์
        ๑. เนื้อหา บางทีเรียกว่าสาร หมายถึง เรื่องราวต่าง ๆ รวมไปถึงประสบการณ์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ผู้แต่งถ่ายทอดให้ผู้อ่านผู้ฟังรับรู้ เรื่องราวนี้ผู้แต่งอาจจะผูกขึ้นจากความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ จินตนาการ ชีวทรรศน์ หรือโลกทรรศน์ ก็ได้ เนื้อหายังรวมถึง " สาร " ที่ผู้แต่งต้องการสื่อถึงผู้อ่านผู้ฟังด้วย
        ๒. รูปแบบ หมายถึง ลักษณะรวมประเภทงานประพันธ์ที่ผู้แต่งใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาไปสู่ผู้อ่าน เช่น นิราศ นิทานคำกลอน กาพย์เห่เรือ คำฉันท์ ลิลิต บทความ บันทึก จดหมายเหตุ เรื่องสั้น นวนิยาย รูปแบบงานประพันธ์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ร้อยแก้วและร้อยกรอง งานประพันธ์ทุกชนิดรวมเรียกว่า วรรณกรรม แต่งานประพันธ์ที่แต่งได้ดีมีรูปแบบกลมกลืนกับเนื้อหา มีศิลปะงดงามเป็นที่ยอมรับ เรียกว่า วรรณคดี

การพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์
          ๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นคุณค่าทางด้านศิลปะการแต่ง การใช้โวหารภาพพจน์ ความไพเราะสละสลวยของภาษาที่ใช้ คุณค่าด้านวรรณศิลป์จะเกี่ยวกับความงามในภาษา และคุณค่าทางด้านนี้จะให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์
          ในการพิจารณาคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ที่เป็น " ร้อยกรอง " จะพิจารณาว่างานนั้นมีรูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาหรือไม่ กลวิธีการแต่งน่าสนใจหรือไม่ ใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวยและให้อารมณ์สะเทือนใจหรือไม่ นอกจากนี้ให้พิจารณาด้วยว่างานนั้นเสนอ " สาร " ที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์หรือไม่
           การพิจารณา " ร้อยแก้วประเภทสารคดี " จะพิจารณาว่ารูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาหรือไม่ วิธีเสนอเรื่องน่าสนใจหรือไม่ ให้ความรู้ถูกต้องหรือไม่ สำนวนภาษาสละสลวย และสื่อความหมายได้ชัดเจนหรือไม่
          สำหรับ " ร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี " จะพิจารณาตามเกณฑ์ของรูปแบบ เช่น ถ้าเป็นเรื่องสั้น จะพิจารณาว่ามีแก่นเรื่องสัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละครหรือไม่ มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่ น่าสนใจหรือไม่ มีจุดขัดแย้งที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจหรือไม่ ใช้ภาษาสละสลวยก่อให้เกิดจินตภาพหรือไม่ คำพูดเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร และเสนอสารที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ เป็นต้น
         ๑.๑ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
                  - รูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา
                  - กลวิธีการแต่งน่าสนใจ
                  - การใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวยความหมายลึกซึ้ง ทำให้เกิดภาพพจน์
                  - ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีการใช้จินตนาการของกวี
                  - ใช้สารที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์
                  - มีการเล่นสัมผัส เล่นคำ การใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ
         ๑.๒ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยแก้วที่เป็นสารคดี
                  - กลวิธีนำเสนอเรื่องน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม
                  - รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
                  - ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง
                  - สำนวนภาษากะทัดรัด สละสลวย สื่อความหมายได้ชัดเจน
                  - การใช้คำ ประโยคสื่อความหมายได้ชัดเจน
                  - มีสารที่แสดงความคิดสร้างสรรค์
         ๑.๓ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยแก้วที่เป็นบันเทิงคดี
                  - มีแก่นเรื่องที่สัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละคร
                  - มีแนวคิดสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
                  - มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่น่าสนใจ
                  - มีจุดขัดแย้งที่น่าติดตามและสร้างความสะเทือนอารมณ์
                  - ใช้ภาษาสละสลวยทำให้เกิดจินตภาพ
                  - บทสนทนาเหมาะสมเหมาะกับบุคลิกภาพของตัวละคร
                  - เสนอสารที่มีความคิดสร้างสรรค์
         ๒. คุณค่าด้านสังคม เป็นคุณค่าที่สะท้อนชีวิตของคนในสังคม ความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยมของคนสังคม ทำให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตของผู้อื่น เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คุณค่าทางด้านนี้ช่วยพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้อ่าน
           ในการพิจารณาคุณค่าทางด้านสังคม จะพิจารณาว่างานประพันธ์นั้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรม จริยธรรมของสังคมหรือไม่ มีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคม เช่น ช่วยประเทืองปัญญาของคนในสังคม ช่วยอนุรักษ์สิ่งมีค่าของสังคม และสนับสนุนค่านิยมอันดีงามของสังคมหรือไม่
          เนื่องจากวรรณคดีมีคุณค่าทั้งทางวรรณศิลป์และทางสังคม วรรณคดีจึงให้ประโยชน์ทั้งทางประเทืองปัญญาและความสำเริงอารมณ์ การให้นักเรียนเรียนวรรณคดีเพื่อจะให้เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น และทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วย

การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม
             งานเขียนทั้งประเภทร้อยแก้วและ ร้อยกรองมีหลักเกณฑ์การพิจารณาแบบเดียวกัน ดังนี้
             - เนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคม
             - มีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคม เช่น ยกระดับจิตใจ เพิ่มพูนสติปัญญา สนับสนุนค่านิยมอันดีงามของสังคม ส่งเสริมให้อนุรักษ์สิ่งมีค่าของบ้านเมือง ช่วยประเทืองปัญญาของคนในสังคม เป็นต้น

แนวคิดและค่านิยมในงานประพันธ์
             ๑. แนวคิดสำคัญ บางทีเรียกว่า " แก่นเรื่อง " หรือ " สาระสำคัญของเรื่อง " หมายถึง ความคิดสำคัญที่ผู้แต่งใช้เป็นแนวทางในการผูกโครงเรื่อง เช่น อัวรานางสิงห์ ผู้แต่งมีแนวคิดในการผูกเรื่องว่า " สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า ถ้ามันฝ่าฝืนกฎข้อนี้ มันจะต้องทุกข์ทรมาน " แนวคิดเรื่องความดี ความชั่ว ในเรื่องกฤษณาคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้เห็นแนวคิดว่า สัตว์ต่าง ๆ เมื่อตายไปแล้ว ยังทิ้งเขา งา ไว้เป็นประโยชน์ แต่มนุษย์นั้นคงทิ้งไว้ได้แต่ความดีความชั่วไว้ในโลก
             ๒. แนวคิดอื่น ๆ คือ ความคิด หรือข้อคิด หรือ " สาร " ที่ผู้แต่งแทรกไว้ในเรื่อง เช่น เรื่องอัวรานางสิงห์ ผู้แต่งได้แทรกข้อคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ ไว้ เช่น คนที่นำสัตว์มาเลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะสัตว์ก็มีจิตใจ ต้องการความรัก ความเอาใจใส่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเช่นกัน หรือจากนิทานเรื่องปลาบู่ทอง แนวคิดคือ ความอิจฉาริษยาของแม่เลี้ยงเป็นสาเหตุให้ลูกเลี้ยงถูกทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส เป็นต้น

ค่านิยม
        ค่านิยมในงานประพันธ์มี ๒ ลักษณะ คือ
        ๑. ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อ ความคิด หรือความรู้สึกของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นมีค่า มีความหมาย หรือมีความสำคัญต่อตน หรือกลุ่มของตน ความเชื่อ ความคิด หรือความรู้สึกนี้จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้คนนั้นหรือกลุ่มนั้นเลือกทำหรือไม่ทำสิ่งใด
        ๒. ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อมั่น การยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ค่านิยมจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมหมายถึงแบบแผนชีวิต คนไทยมีค่านิยมบางประการที่แสดงแบบแผนของชีวิต เช่น การนิยมทำบุญ เห็นความสำคัญในการเป็นไทแก่ตัว และชอบความสนุกสนาน
        เราอาจพิจารณาค่านิยมของบุคคลหนึ่งบุคคลใดจากสิ่งที่เขาสนใจ สิ่งที่เขาอยากจะได้ อยากจะเป็น หรือสิ่งที่เขาถือว่าจำเป็นต้องปฏิบัติ ค่านิยมอาจถ่ายทอดได้ด้วยการปลูกฝังและให้เห็นแบบอย่าง นอกจากนี้ค่านิยมยังเปลี่ยนแปลงได้เมื่อวัย ความรู้ ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

ตัวอย่างค่านิยม
        จามรีขนข้องอยู่ หยุดปลด ค่านิยม คือ เกียรติเป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้ยิ่งชีวิต ความรู้ดูล้ำค่า สินทรัพย์ ค่านิยม คือ ความรู้และการศึกษาเล่าเรียน เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ ค่านิยม คือ ความสัตย์ ความเข้าใจ เรื่องขุนช้างขุนแผน ค่านิยม คือ ความซื่อสัตย์ที่มีต่อพระมหากษัตริย์และกฎหมายของบ้านเมืองอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เทศน์มหาชาติ ค่านิยม คือ ชาวบ้านมีศรัทธาในการทำบุญฟังเทศน์

คุณค่าของวรรณคดี
         วรรณคดีเป็นศิลปะชั้นสูง มีถ้อยคำภาษาที่ไพเราะงดงาม ผู้อ่านจะได้รับรสแห่งความไพเราะ โดยไม่ปรากฏอย่างรูปปั้นหรือภาพเขียน ไม่ปรากฏเสียงไพเราะอย่างดนตรี ความงดงามทางภาษาถือว่าวรรณคดีเป็นศิลปะชั้นสูง ผู้ที่มีประสบการณ์จะอ่านวรรณคดีอย่างเข้าใจความรู้สึก คติชีวิต คำสอน ปรัชญา ความรู้ต่าง ๆ ได้มากกว่าผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ วรรณคดีมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน ๒ ประการ
         ๑. คุณค่าทางสุนทรียภาพทางภาษา สุนทรียภาพหรือความงามทางภาษาเป็นหัวใจของวรรณคดี ได้แก่ ศิลปะของ การแต่ง การบรรยายเปรียบเทียบ การเลือกสรรถ้อยคำให้มีความหมาย มีสัมผัสให้เกิดเสียงไพเราะเพราะพริ้ง
         ๒. คุณค่าด้านสารประโยชน์ เป็นคุณค่าทางสติปัญญาและสังคม กวีจะให้ข้อคิด คติสอนใจแก่ผู้อ่าน และยังนำสภาพของสังคมในสมัยที่เขียนสอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ของตน รวมถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และค่านิยมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญของชาติ ทำให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์กว้างขึ้น

ความงดงามของวรรณคดี
       วรรณคดี เป็นงานประพันธ์อันประกอบด้วยศิลปะแห่งการนิพนธ์ และมีเนื้อเรื่องอันมีอำนาจดลใจให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ต่าง ๆ มิใช่เรื่องที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียว วรรณคดีเป็นงานที่กวีสร้างขึ้นอย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดความไพเราะ ความงดงาม ซึ่งหมายถึงรสวรรณคดี อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เร้าให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ในแง่ต่าง ๆ

         //sites.google.com/site/maroothai/home/kar-suksa-ngan-praphanth

ร้อยกรองมีคุณค่าอย่างไรบ้าง

คุณค่าของบทร้อยกรอง ๑. ช่วยให้เข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน ๒. ช่วยให้ได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง ๓. ช่วยให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๔. ช่วยให้จำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ ๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น ๖. ช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของ

คำประพันธ์มีคุณค่าด้านใดบ้าง

คุณค่าของงานประพันธ์ งานประพันธ์มีคุณค่า 2 ด้าน คือ ด้านวรรณศิลป์ และ ด้านสังคม 1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นคุณค่าทางด้านศิลปะการแต่ง โวหารภาพพจน์ ความไพเราะ สละสลวยของภาษาที่ใช้ การใช้รูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา วิธีแต่งน่าสนใจ สื่ออารมณ์ดี และ สื่อความคิดที่สร้างสรรค์

คุณค่าของร้อยกรองมี 2 ด้านอะไรบ้าง

ลักษณะบทร้อยกรองที่มีคุณค่า คือ 1. ให้คุณค่าด้านอารมณ์ คำประพันธ์ที่ไพเราะจะใช้คำได้เหมาะสมลึกซึ้งกินใจ ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดอารมณ์และจินตนาการตาม 2. ให้คุณค่าด้านความรู้ต่างๆ เช่น ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ซึ่งสอดแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง

คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์มีอะไรบ้าง

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ในวรรณคดีและวรรณกรรม “วรรณศิลป์” หมายถึง ลักษณะดีเด่นทางด้านวิธีแต่ง การเลือกใช้ ถ้อยคา สานวน ลีลา ประโยค และความเรียงต่าง ๆ ที่ประณีต งดงาม หรือ มีรสชาติเหมาะสมกับเนื้อเรื่องเป็นอย่างดี วรรณกรรมที่ใช้วรรณศิลป์ชั้นสูงนั้นจะทาให้คนอ่านได้รับผลในทาง อารมณ์ความรู้สึก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita