ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นรูปอะไร

ตราสัญลักษณ์ หรือ เข็มที่ติดอยู่บนเสื้อ คือสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกว่าเราเรียนมหาวิทยาลัยไหน แล้วทุกคนรู้ไหมคะว่าตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเหล่านั้นมีความหมายหรือมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกเล่าถึงที่มาของตราสัญลักษณ์ของ 5 สถาบันในประเทศไทยกันค่ะ

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)



ถ้าหากพูดถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งหนึ่งที่นึกถึงคือ ตราพระเกี้ยว ที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่นิสิตจุฬาลงกรณ์ให้ความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และยังมีความเกี่ยวเนื่องกับพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีความหมายว่า “พระจอมเกล้าน้อย”

นอกจากนี้ชื่อของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคำว่า จุฬาลงกรณ์ ที่ให้ความหมายว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ และยังมีความเกี่ยวโยงถึงพระนามาภิไธยเดิมของ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงกำหนดให้ พระเกี้ยว เป็นพิจิตราชเลขาประจำรัชกาลของพระองค์

2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University)



ตราธรรมจักร ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบไปด้วยสีเหลืองและสีแดง มีพานรัฐธรรมนูญสีเหลืองสลับแดงอยู่ตรงกลาง โดยตรงขอบของธรรมจักรข้างบนจารึกอักษรว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ข้างล่างของขอบจารึกอักษรว่า THAMMASART UNIVERSITY

ตราธรรมจักร บ่งบอกถึงความหมายว่า สถาบันแห่งนี้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา และพานรัฐธรรมนูญที่อยู่ตรงกลางนั้นสื่อความหมายถึง การยึดมั่นในหลักรัฐธรรมนูญและการปกครองแบบประชาธิปไตย

3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University)



ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูป “ช้างชูคบเพลิง” และมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบน มีความหมายว่า “บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน” และด้ายล่างตรงกลางมีคำว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507” โดยระหว่างสองข้อความนี้มี “ดอกสัก” คั่นอยู่ตรงกลางทั้งซ้ายและขวา ซึ่งดอกสักนับว่าเป็นต้นไม้ที่มีค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ

นอกจากนี้ “ ช้าง” ถือเป็นสัญลักษณ์ของทางภาคเหนือ เพราะเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าอย่างมาก ในตราสัญลักษณ์มี “การก้าวย่างของช้าง” ซึ่งมีความหมายถึงการก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง สำหรับ “คบเพลิง” นั้นสื่อถึงความสว่างของแสงแห่งปัญญาและวิชาการ และในส่วนของ “รัศมี 8 แฉก” หมายถึง คณะทั้ง 8 ที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (University of the Thai Chamber of Commerce)





ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประกอบด้วย “สำเภาหัวนาค” เป็นสัญลักษณ์ของเรือสำเภาไทยและยังเป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายระหว่างประเทศที่มีมาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน ส่วนประกอบที่สองสำหรับการเดินเรือสำเภา “คลื่น” ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่นักเดินเรือทุกคนต้องเจอ ซึ่งในการที่จะก้าวข้ามอุปสรรคนั้น จำเป็นต้องมีความวิริยะ อุตสาหะ และอย่างสุดท้าย “อาร์ม” เป็นสัญลักษณ์รูปคล้ายโล่ ซึ่งมีความหมายในการเชิดชูเกียร์ติของผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน


5. มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University)



สำหรับมหาวิทยาลัยที่สุดท้ายที่เราได้นำมาแนะนำกันในวันนี้คือ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยสัญลักษณ์ของทางมหาวิทยาลัยประกอบด้วย “ปิ่น” ซึ่งมีความหมายถึง เป้าหมายอันดีงามสูงสุดของสังคม “ดวงอาทิตย์ส่องแสง” สื่อความหมายของความเจริญรุ่งเรือง อำนาจ และความมั่นคง “ฟันเฟือง” คือพลังแห่งวิทยาการและเทคโนโลยี “กลุ่มสามเหลี่ยม” อันหมายถึง การรวมกันเป็นสังคมของประชนทุกหมู่เหล่า และอย่างสุดท้ายคือ “ช่อชัยพฤกษ์” ซึ่งหมายถึงพลังแห่งความสามัคคีและคุณธรรม

เป็นยังไงบ้างคะกับความหมายของตราสัญลักษณ์ทั้ง 5 ที่นอกจากจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยไหนแล้ว ยังเป็นความภาคภูมิใจและเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของนิสิต นักศึกษา และบุคคลากรที่ทำงานทุกคนอีกด้วยนะ

โหลดเพิ่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมหาวิทยาลัยรังสิตTrendy ZoneTeen in TrendEDUCATIONเรียนต่อในประเทศมหาวิทยาลัยtrendyzone

ตรามหาวิทยาลัย ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ความภาคภูมิใจของมหาลัยแต่ละสถาบัน น้อง ๆ จะได้เห็นตราสัญลักษณ์นี้อยู่บนหนังสือบ้าง บนเครื่องแต่งกายบ้าง เช่น เข็มติดหน้าอก ตุ้งติ้ง หัวเข็มขัด เป็นต้น และที่สำคัญที่จะได้เห็นคือ บนปกใบปริญญา ในบทความนี้รวบรวม ความหมายของ ตรามหาวิทยาลัย แต่ละสถาบันในประเทศไทยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐบาล มาให้ทุกคนได้อ่านไว้เป็นเกร็ดความรู้

ความหมายของ ตรามหาวิทยาลัย ในไทย เฉพาะมหาลัยรัฐ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ตราพระเกี้ยว

พระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้

“พระเกี้ยว” เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน

“จุฬาลงกรณ์” แปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ

“จุลมงกุฎ” หมายถึง พระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ หรือ พระจอมเกล้าน้อย อันเกี่ยวโยงถึงพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธยเดิม คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ตราธรรมจักร

ตราธรรมจักร เป็นรูปธรรมจักรสีเหลือง ตัดเส้นด้วยสีแดง มีพานรัฐธรรมนูญสีแดงสลับเหลืองอยู่กลาง ที่ขอบธรรมจักรมีอักษรสีแดงจารึกว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” หรือ “ม.ธ.” อยู่ตอนบน กับ “THAMMASAT UNIVERSITY” หรือ “T.U.” อยู่ตอนล่าง และระหว่างคำว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” หรือ “ม.ธ.” กับ “THAMMASAT UNIVERSITY” หรือ “T.U.” มีลายกนกสีแดงคั่นอยู่  (คัดจากหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 19 วันที่ 1 มีนาคม 2509)

“ตราธรรมจักร” บอกความหมายว่า สถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพุทธศาสนา เป็นหลักกล่อมเกลาบัณฑิต สิ่งที่อยู่กลางธรรมจักร คือ พานรัฐธรรมนูญ หมายถึง การยึดมั่น เชิดชูรัฐธรรมนูญเป็นหลักการที่ มธก. ยึดถือ และประพฤติปฏิบัติ (จากหนังสือสำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง หน้า 54)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-พระพิรุณทรงนาค

พระพิรุณทรงนาค เป็นเครื่องหมายทางราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นเทพแห่งฝนที่ทรงนำความสมบูรณ์มาให้แก่พืชพรรณธัญญาหาร ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์) จึงดำริให้ทุกวิทยาเขตมีพระพิรุณทรงนาคประดิษฐานไว้เพื่อเป็นเอกลักษณ์ เชิดชูมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของบุคลากรและนิสิต

มหาวิทยาลัยมหิดล-ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ

ตรามหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบไปด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ ภายใต้จักรกับตรีศูล และอักษร ม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยพระมหาพิชัยมงกุฎ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ จักร กับ ตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย อักษร “ม” มาจากคำว่า “มหิดล”

ตราส่วนพระองค์ของพระราชบิดามีสีเหลืองทอง บนพื้นที่วงกลมสีน้ำเงินประจำมหาวิทยาลัย ล้อมรอบด้วยข้อความภาษาบาลี ตัวอักษรไทย “อตฺตานํ อุปมํ กเร”และชื่อมหาลัยมีสีทอง องค์ประกอบทั้งหมดอยู่ในเส้นกรอบวงกลมสีทอง ซึ่งอยู่ขอบนอกสุดของตราสัญลักษณ์

ทั้งนี้สีน้ำเงินสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระยศในขณะนั้น) พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2512

มหาวิทยาลัยศิลปากร-ตราพระคเณศ

พระคเณศ เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ทั้งยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนบัลลังก์เมฆที่เขียนด้วยลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า “มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2494 ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร

และเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยได้มีประกาศใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่แทนตราสัญลักษณ์ครุฑเพื่อใช้ในหนังสือราชการ หนังสือประทับตรา บันทึกข้อความ คำสั่ง และประกาศต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-ตรารูปช้างชูคบเพลิง

รูปช้างชูคบเพลิง มีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน) อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบนและคำว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 อยู่ด้านล่างตรงกลาง ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี ดอกสัก คั่นกลางปรากฏอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา มีความหมายดังนี้

– ช้าง เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ

– การก้าวย่างของช้าง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ไม่หยุดยั้ง

– คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ

– รัศมี 8 แฉก หมายถึง คณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยขอนแก่น-ตราพระธาตุพนม

ตราพระธาตุพนม ชั้นแรกนั้นเป็นรูปพระธาตุพนม ทั้งสองข้างมีลายช่อกนกเปลวลอย ส่วนล่างสุดขององค์พระธาตุเป็นชื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นบนแพรแถบ ต่อมาพระยาอนุมานราชธนได้นำร่างดังกล่าวปรึกษาหาหรือกับผู้ออกแบบและท่านผู้รู้แห่งราชบัณฑิตยสถาน เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขลายกนกเป็นรูปเทวดาอัญเชิญมิ่งขวัญสิริมงคลพนมประทานสู่สถาบัน และเปลี่ยนแถบแพรป้ายชื่อเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นอยู่บนขอนไม้ พื้นหลังแบ่งเป็น 3 ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา 3 ประการ ได้แก่

1. วิทยา คือ ความรู้ดี

2. จริยา คือ ความประพฤติดี

3. ปัญญา คือความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี

สาเหตุที่กำหนดให้พระธาตุพนม เป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น เนื่องจากตระหนักว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญ เป็นมิ่งขวัญสิริมงคลอันเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวไทย-ลาว ทั้งสองฝั่งโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องเป็นศูนย์รวมความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์-พระมหาพิชัยมงกุฎ

ตราประจำสถาบัน ได้แก่ อักษร ม.อ. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏ และ จักรกับตรีศูล

– พระมหาพิชัยมงกุฏ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าเป็นพระมหากษัตริย์

– จักรกับตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำราชวงศ์จักรี

– ม.อ. คือ อักษรย่อมาจากพระนาม “มหิดลอดุลเดช” อันเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

– สงขลานครินทร์ คือพระนามฐานันดรศักดิ์ที่พระบรมราชชนก(พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5) โปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้าฟ้า “มหิดลอดุลยเดช ดำรงพระนามอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้ากรม โดยพระราชทาน ชื่อเมืองสงขลา เป็นพระนามทรงกรมเพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองสงขลา เมื่อพ.ศ. 2446 เสมือนเป็นเจ้าแห่งนครสงขลา
– ดอกศรีตรัง เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สีน้ำเงิน เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง-พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ตราสัญลักษณ์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1826 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มหาลัยรามคำแหงได้อัญเชิญพ่อขุนรามคำแหงเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่รวมพลังใจของคณาจารย์และนักศึกษาให้มุ่งทำความดีต่อไป

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง-พระมหาพิชัยมงกุฎ

พระมหามงกุฎ มีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา “พระมหามงกุฎ” มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ตามนาม “พระจอมเกล้า” ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิ คุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ – พระมหาพิชัยมงกุฎ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ “พระมหาพิชัยมงกุฎ” ซึ่งเป็นพระบรมราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ให้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี-ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ

ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ลักษณะของตราเชิญมาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ (ตราประจำพระองค์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ลักษณะของตรา ประกอบด้วยลายกลางเป็นตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งนำมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม “มงกุฎ” และเป็นศิราภรณ์สำคัญหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ มีฉัตรบริวารขนาบอยู่บริเวณด้านข้างทั้งสอง โดยสัญลักษณ์ทั้งหมดจะอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น มีอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งแสดงนามมหาวิทยาลัย กำกับอยู่ภายในโค้งด้านล่างของวงกลม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-ตรากราฟ

ตรากราฟ สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มาจากกราฟที่เขียนแทนสมการทางคณิตศาสตร์ Y = ex หมายถึง การเพิ่มหรือการงอกงาม ซึ่งตรงกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (สิกขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-ตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำมหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกัน ภายใต้พระมหามงกุฏ นำมาประกอบกับส่วนยอดของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี-ท้าวสุรนารี

– ภาพท้าวสุรนารี สื่อความหมายถึง ปรัชญาและภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้นความเคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารีในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ
– ภาพเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้างของภาพ ข้างละ 4 เส้นเกยและเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งกระเบื้องมุงหลังคาคร่อมภาพ สื่อความหมายถึงความสำเร็จทาง
เทคโนโลยีที่ต่อเนื่องกันและความเจริญก้าวหน้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด
– ภาพเชิงนามธรรมของพืชพรรณและเฟืองจักร สื่อความหมายถึงการเกษตรและอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยนเรศวร-ตราช้างศึกในโล่กลม

ตราสัญลักษณ์ เป็นรูปช้างศึก อยู่ในโล่ห์กลมแบบโบราณ ตอนล่างรูปช้างศึกมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี-เจดีย์ทรงล้านช้าง

เจดีย์ทรงล้านช้าง หมายถึง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล

ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยบูรพา-เลข ๙ ไทย กนกเปลวเพลิงล้อม

ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา มี 2 แบบ ดังนี้

 

แบบที่ 1 เป็น รูปเลข ๙ ไทย มีกนกเปลวเพลิงล้อมรอบรัศมี ประกอบ มี ๘ แฉก ด้านล่างเป็นเส้นโค้ง ทั้งหมดบรรจุในวงกลมซ้อน ๒ วง ภายในวงกลม วงนอกเบื้องบนมีคำว่า มหาวิทยาลัยบูรพา เบื้องล่าง มีคำภาษาอังกฤษว่า BURAPHA UNIVERSITY

แบบที่ 2 เป็นวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมในมีรูปเลขไทย “๙” อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีรัศมีประกอบแปดแฉก ด้านล่างของเลข ๙ เป็นเส้นโค้งสามเส้น วงกลมนอกเบื้องบนมีคำว่า “สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ” เบื้อล่างมีคำว่า “มหาวิทยาลัยบูรพา”

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์-ตราพระนามย่อ จภ

ตราประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร “จ” เป็นสีแสด และอักขระ “ภ” เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วง รองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาว ขอบสีทอง รองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ประดับอยู่ภายในแพรแถบ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม-ตราโรจนากร

ตราโรจนากร มีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา ภายในมีสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างมีสุรยรังสีที่แผ่ขึ้นจากลายขิดซึ่งอยู่เหนือปรัชญาภาษาบาลี ว่า “พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว” ซึ่งหมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน ความหมายโดยสรุปคือ ความเจริญรุ่งเรือง อันเป็นมาจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมปัญญาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง-ตราพระนามาภิไธย ส.ว.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ มีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญ พระนามาภิไธย ส.ว. ประกอบเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีเลข 8 และเลข 9 ประกอบอยู่ด้วย

มหาวิทยาลัยได้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มาประดับไว้ในตราสัญลักษณ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นเครื่องหมายความจงรักภักดีของประชาชน บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งมวล

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้บรรจุเลข 8 และ 9 ไว้ในตราสัญลักษณ์ และได้อัญเชิญฉัตรมาประกอบเพื่อให้สมพระเกียรติ

ดอกไม้ใบไม้ หมายถึง ความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของปวงชนอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-พระพิรุณทรงนาค

พระพิรุณทรงนาค เทพที่เกี่ยวข้องกับน้ำ โดยตราพระพิรุณทรงนาคนี้ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยใช้เป็นตราประจำฝ่ายนาของจตุสดมภ์แล้วสืบทอดมาจนถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน อักษรแม่โจ้ 2477 คือปีที่ก่อตั้งมหาลัย กรอบสีเขียวขอบสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการเกษตร ขอบสีทองคือสีแห่งความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง

มหาวิทยาลัยทักษิณ-ตำราการศึกษา

มหาวิทยาลัยทักษิณมี ตรามหาวิทยาลัยเป็นรูปตำราเรียน ๓ เล่ม สีเทา (สีประจำมหาวิทยาลัย) สะท้อนปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม และการพัฒนา” ล้อมรอบด้วยอักษรสีฟ้า (สีประจำมหาวิทยาลัย) ภาษาไทย “มหาวิทยาลัยทักษิณ” และภาษาอังกฤษ “THAKSIN UNIVERSITY” ซึ่งหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้ ด้านบนเหนือรูปตำราเรียนเป็นมงกุฎสีฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศและเกียรติยศ

มหาวิทยาลัยพะเยา-รูปศิลาจารึกยอดกลีบบัว

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยพะเยา มีลักษณะเป็นรูปสัตภัณฑ์สีขาว บนพื้นหลังรูปศิลาจารึกยอดกลีบบัวสีม่วง เหนืออักษรย่อ “มพ” สีม่วง ซึ่งเป็นตัวอักษรฝักขามล้านนา ด้านล่างของอักษรย่อ มีชื่อมหาวิทยาลัยพะเยา สีม่วง และชื่อภาษาอังกฤษ UNIVERSITY OF PHAYAO สีขาวบนพื้นแถบโค้งสีทอง

โดยรูปร่างตราสัญลักษณ์อ้างอิงมากจากหลักศิลาจารึกในสมัยโบราณที่ค้นพบในเมืองพะเยา ซึ่งเมืองพะเยาเป็นแหล่งที่ค้นพบหลักศิลาจารึกมากที่สุดในประเทศไทย “เปรียบได้ว่าเมืองพะเยาเป็นแหล่งวิทยาการมาตั้งแต่โบราณ” อีกทั้งสัตภัณฑ์ทางพุทธศาสนา ยังเป็นสัญลักษณ์ขององค์แห่งธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือบรรลุอรหัตผล 7ประการหรือโพชฌงค์ 7 จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งพระธรรม หรือปัญญารู้แจ้ง

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช-พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

สัญลักษณ์พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นภาพจำลองจากฝีพระหัตถ์ของพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งได้เขียนทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวาระดิถี 60 พรรษาของพระองค์ โดยมีความหมายถึงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต-ตรามหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ความหมายตราของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นวงรีรูปไข่ 2 วงซ้อนกัน วงรีด้านนอกใช้สีทอง หมายถึง ความรุ่งเรือง ด้านบนมีข้อความว่า “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” ส่วนด้านล่างมีข้อความว่า “SUAN DUSIT UNIVERSITY” ใช้แบบรูปแบบอักษร SP Suan Dusit แทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัย

คั่นด้วยดอกเฟื่องฟ้าและดอกขจรเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต แสดงถึง การเฟื่องฟูของศิลปวิทยาการอันโดดเด่นขจรไกล ส่วนเครื่องหมาย “มสด” และ “SDU” ที่มีลักษณะเกาะเกี่ยวกัน หมายถึง ความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน และสีฟ้าน้ำทะเลในวงรีด้านใน เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏ-ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9

มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้งพระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเทศ  (รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ คลิกอ่าน)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล-ตราพระราชลัญจกรพร้อมพระมหาพิชัยมงกุฎ

ภาพ: rmutt.ac.th

เป็นตรารูปวงกลมมีรูปดอกบัวบาน 8 กลีบล้อมรอบดอกบัวบาน 8 กลีบ หมายถึงทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่นเบิกบาน ก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกร บรรจุอยู่อันเป็นสัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ท่านได้เป็นผู้พระราชทาน นามว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”

บนตรารูปวงกลมมีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบและมีเลข 9 บรรจุอยู่ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ด้านล่างของตราวงกลมทำเป็นกรอบโค้งรองรับ มีชื่อ“สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ทิพย์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หมายความว่า สถาบันเทคโนโลยี อันเป็นมงคลแห่งพระราชา

และทั้้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของตราสัญลักษณ์ของมหาลัยรัฐต่าง ๆ ในไทย ชาวแคมปัส-สตาร์ นอกจากตราสัญลักษณ์ของสถาบันที่เรียนแล้ว มีชอบของสถาบันไหนอีกบ้างมั้ยคะ …

บทความแนะนำ

  • รถราง ของแต่ละมหาลัย มีหน้าตาเป็นยังไง รวมภาพมาฝาก
  • 10 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่มหาวิทยาลัย จะขอเรื่องอะไรก็สมหวัง ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
  • ค้นหาคณะที่ใช่ จาก 11 หลักสูตร | จบสายวิทย์-คณิตฯ/สายศิลป์ เลือกต่อคณะไหนดี?

บทความความนี้เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita