ตัวทำละลายที่นำมาใช้สกัดสารมีลักษณะอย่างไร

                 หลักการของเครื่องมือซอกห์เลต(soxhlet extraction) ตัวทำละลายที่เราใส่ลงไปในเครื่องมือจะหมุนเวียนผ่านสารที่            เราต้องการสกัดหลายๆครั้ง จนกระทั่งสารที่เราต้องการสกัดออกมามีปริมาณเข้มข้นมากพอ ส่วนตัวทำละลายที่เราใช้สกัดแล้วนั้น           จะถูกทำให้ระเหยแล้วควบแน่นกลับมาใช้ได้อีกต่อไป

การสกัดด้วยตัวทำละลาย from ศศิกัญญา ดอนดีไพร

สำหรับผู้ที่ทำงานในวงการอาชีวอนามัยนั้น บ่อยครั้งเมื่อไปสำรวจสถานประกอบการจะพบว่ามีการใช้ตัวทำละลายแนฟทา (Solvent naphtha) หรือสารในกลุ่มใกล้เคียงเป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต ผู้เรียบเรียงได้รับคำถามจากสถานประกอบการและคนทำงานอยู่บ่อยๆ ว่า ตัวทำละลายแนฟทาหรือสารในกลุ่มใกล้เคียงนี้มีอันตรายต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง และจะทำงานโดยใช้มันให้ปลอดภัยได้อย่างไร จึงได้เรียบเรียงบทความนี้ขึ้นเพื่อให้ได้รู้จักกับสารเคมีกลุ่มนี้กันมากขึ้นครับ

นิยามของตัวทำละลายแนฟทา

ตัวทำละลายแนฟทา (Solvent naphtha หรือ Petroleum naphtha) และสารในกลุ่มใกล้เคียง ที่อาจพบเขียนชื่อไว้บนฉลากหรือใน Safety Data Sheet (SDS) ว่า White spirit, Mineral spirit, Petroleum spirit, Mineral turpentine, Turpentine substitute, Stoddard solvent, Varsol 1, Texsolve S สารเคมีเหล่านี้เป็นสารเคมีในกลุ่มตัวทำละลาย (Solvent) ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum product) มีลักษณะเป็นสารผสม (Mixture) ซึ่งมีสัดส่วนไม่แน่นอนคงที่ โดยจะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ที่มีคาร์บอนในช่วง 7 – 12 อะตอมในโมเลกุล (เรียกย่อๆ ว่า C7 – C12) เป็นองค์ประกอบหลัก

สารเคมีกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดไม่แน่นอนคงที่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของน้ำมันดิบ (Crude oil) ที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เนื่องจากน้ำมันดิบในแต่ละแหล่งของโลกมีองค์ประกอบของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (รวมถึงสารปนเปื้อน) ที่แตกต่างกัน ทำให้สัดส่วนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (รวมถึงสารปนเปื้อน) ที่ได้มามีความแตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วตัวทำละลายแนฟทาและสารเคมีในกลุ่มใกล้เคียงนี้ จะมีส่วนประกอบเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะลิฟาติก (Aliphatic) [คือชนิดที่โมเลกุลเป็นสายยาว] กับอะลิไซคลิก (Alicyclic) [คือชนิดที่โมเลกุลเป็นวง แต่ไม่ใช่วงเบนซีน] เป็นองค์ประกอบหลัก ประมาณร้อยละ 80 – 85 % [1] แต่จะมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะโรมาติก (Aromatic) [คือชนิดที่มีวงเบนซีนอยู่ในโมเลกุล] ปะปนอยู่ด้วยในสัดส่วนไม่เกิน 20 % [2]

เนื่องจากตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียง เป็นสารเคมีที่มีวัตถุประสงค์จะนำมาใช้ในการทำงานช่างหรืองานอุตสาหกรรม ในกระบวนการผลิตจึงมักมีการกำจัดเอาสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ออกไปเสียก่อน เช่นการผ่านกระบวนการกำจัดเอากำมะถัน (Desulfurization) ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำมันดิบออกไป หรือในบางกรณีจะผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัวด้วยไฮโดรเจน (Hydrogenation) เพื่อลดจำนวนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพันธะคู่และพันธะสาม ซึ่งมักมีความเป็นพิษมากกว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพันธะเดี่ยว

สารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในน้ำมันปิโตรเลียมอีกสารหนึ่งคือเบนซีน (Benzene) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 6 โมเลกุลจับกันเป็นวง (C6) เนื่องจากสารเบนซีนนี้ก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ในมนุษย์ [3] การผลิตตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงจึงมักจำกัดสัดส่วนของเบนซีนเอาไว้ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมักมีสัดส่วนของสารเบนซีนอยู่ไม่เกิน 0.1 % เสมอ [1,4]

ต่อมาจะขอขยายความหมายของตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงแต่ละชนิดเพิ่มเติมสักเล็กน้อย อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าสารในกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมกันคือเป็นตัวทำละลายที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน โดยมีองค์ประกอบเป็นสารผสม ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในช่วง C7 – C12 เป็นหลัก แต่รายละเอียดของคำเรียกสารแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้

(หมายเหตุ: รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับนิยามของสารเคมีในกลุ่มนี้แต่ละชนิดจริงๆ มีความสลับซับซ้อนมาก การเรียกชื่อและกำหนดนิยามของสารเคมีในกลุ่มนี้แต่ละชนิดก็มีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ แตกต่างกันไปตามแหล่งข้อมูล ผู้เรียบเรียงจึงไม่ขอกล่าวรายละเอียดทั้งหมดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากตำราทางด้านปิโตรเคมี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านปิโตรเคมีที่รู้จัก)

Solvent naphtha หรือ Petroleum naphtha จริงๆ คำๆ นี้ในวงการปิโตรเคมีจะไว้ใช้เรียกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นตัวกลาง (Intermediate) ในกระบวนการกลั่นน้ำมันเป็นหลัก ซึ่งจะใช้เรียกเมื่อได้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนในรูปของเหลวที่อยู่ในช่วง C5 – C10 โดยประมาณ และมักผ่านกระบวนการกำจัดเอากำมะถันออก (Desulfurization) และการเพิ่มค่าออกเทน (Catalytic reforming) แล้ว สารประกอบไฮโดรคาร์บอนในช่วง Solvent naphtha นี้เมื่อจบกระบวนการกลั่นแล้วจะไปเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในน้ำมันสำหรับเติมรถยนต์ (Gasoline) ในที่สุด และโดยทั่วไปจะมีการแบ่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในช่วง Solvent naphtha ออกตามจุดเดือดและจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลเป็น Light naphtha กับ Heavy naphtha ด้วย

แม้ว่าคำว่า Solvent naphtha จะเป็นคำที่ใช้เรียกช่วงของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในกระบวนการกลั่นน้ำมันเป็นหลัก แต่ผู้ผลิตบางรายก็จะนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในช่วงนี้มาแยกบรรจุขาย เพื่อนำไปใช้เป็นตัวทำละลายในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน

White spirit หรือ Mineral spirit คำว่า White spirit หรือ Mineral spirit ในที่นี้หมายถึงสารผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันเช่นกัน [ระวังสับสน...ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสุราสปิริต (Spirit) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง] คำว่า White spirit กับ Mineral spirit นั้นใช้เรียกสารผสมตัวเดียวกัน ต่างกันตรงที่คำว่า White spirit เป็นคำที่นิยมใช้เรียกในสหราชอาณาจักร ส่วนคำว่า Mineral spirit เป็นคำที่นิยมใช้เรียกในสหรัฐอเมริกา

White spirit เกิดจากการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในช่วงของ Solvent naphtha มาผ่านกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง White spirit แล้ว เชื่อได้ว่ามักจะมีความบริสุทธิ์มากกว่า (คือมีสารปนเปื้อนต่างๆ น้อยกว่า) Solvent naphtha

มีการแบ่ง White spirit ออกเป็นกลุ่มตามการผ่านกระบวนการกำจัดสารที่เป็นอันตรายออกจากน้อยไปมาก ได้แก่ Type 0 คือไม่ได้ผ่านกระบวนการใดๆ เป็นพิเศษเลย (ซึ่งมองในมุมหนึ่ง Type 0 ก็คือ Solvent naphtha นั่นเอง [5]), Type 1 คือผ่านกระบวนการกำจัดเอากำมะถันออก (Desulfurization), Type 2 คือผ่านกระบวนการสกัดตัวทำละลาย (Solvent extraction), และ Type 3 คือผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัวด้วยไฮโดรเจน (Hydrogenation) [6] White spirit ชนิด Type 3 จะมีความบริสุทธิ์มากที่สุด โดยปกติจะเหลือสัดส่วนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะโรมาติกอยู่ไม่ถึง 1 % [6] ส่วน White spirit ชนิด Type 2 จะมีสัดส่วนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะโรมาติกอยู่ไม่เกิน 5 % [6] นอกจากจะมีการแบ่งกลุ่มตามความบริสุทธิ์แล้ว ในแต่ละกลุ่มยังมีการแบ่งเกรด (Grade) ของ White spirit ออกตามระดับความสามารถในการติดไฟด้วย คือ Low flash grade มีจุดวาบไฟอยู่ที่ 21 – 30 องศาเซลเซียส, Regular flash grade มีจุดวาบไฟอยู่ที่ 31 – 54 องศาเซลเซียส, และ High flash grade มีจุดวาบไฟอยู่ที่ 55 องศาเซลเซียสขึ้นไป [7]

องค์ประกอบที่เฉพาะเจาะจงของ White spirit จากแต่ละบริษัทผู้ผลิตนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับชนิดของน้ำมันดิบที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต กระบวนการกำจัดสารที่เป็นอันตรายออก และสูตรเฉพาะในการผลิตของบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายด้วย

Stoddard solvent คำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกสารผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันเช่นกัน โดยอาจพบมีการเรียกตามชื่อทางการค้าคือ Varsol 1 หรือ Texsolve S ก็ได้ วัตถุประสงค์ของการผลิต Stoddard solvent แต่ดั้งเดิมนั้น ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นน้ำยาซักแห้ง (Dry cleaning) ที่ไม่มีกลิ่นฉุนเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา Stoddard solvent ก็ถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรมทั่วไปด้วย [2]

โดยปกติแล้ว Stoddard solvent ที่ดีต้องใส และไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นฉุนแบบน้ำมันก๊าดอยู่เพียงเล็กน้อย ความบริสุทธิ์ของ Stoddard solvent นั้น เทียบเท่าได้กับ White spirit ชนิด Type 1 คือชนิดที่ผ่านกระบวนการกำจัดเอากำมะถันออก (Desulfurization) [1,4]

Turpentine substitute คำว่า Turpentine substitute นั้น ในบางความหมายอาจจะหมายถึง White spirit โดยตรงเลยก็ได้ แต่ในบางความหมายก็อาจจะหมายถึง White spirit ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เกรดต่ำ) เช่น ใช้เพื่อเช็ดทำความสะอาดทั่วไปได้ แต่ใช้ผสมสีทาจะไม่ค่อยดีเนื่องจากระเหยได้ช้า หรือใช้ลบคราบสกปรกบนเสื้อผ้าไม่ดีเนื่องจากจะทิ้งคราบมันเอาไว้

จะเห็นได้ว่าความหมายในรายละเอียดของสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันและเหลื่อมซ้อนกันอยู่ แต่เนื่องจากทั้งหมดมีคุณสมบัติร่วมคือเป็นตัวทำละลายที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน โดยมีองค์ประกอบเป็นสารผสม ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะลิฟาติกและอะลิไซคลิกในช่วง C7 – C12 เป็นหลัก และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรมเหมือนกัน ดังนั้นในการกล่าวถึงการนำมาใช้ประโยชน์ ผลเสียต่อสุขภาพ และการป้องกันตนเองเมื่อต้องทำงานกับสารกลุ่มนี้ ผู้เรียบเรียงจะขอกล่าวรวมกันไปทั้งหมด

สำหรับลักษณะทางกายภาพของตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียง มักจะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองใส มีกลิ่นฉุนเหมือนกลิ่นน้ำมันก๊าด (มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด) ระเหยง่าย (มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด) และติดไฟง่าย (มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด)

เนื่องจากสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทานี้เป็นสารผสม เมื่อท่านอ่าน Safety Data Sheet (SDS) ของสารเคมีกลุ่มนี้ จะพบว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุแจกแจงได้ว่ามีส่วนประกอบของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารบริสุทธิ์แต่ละชนิดอยู่เท่าใด ในบางกรณีท่านอาจพบว่าไม่มีการระบุแจกแจงใดๆ ไว้เลย หรือบางกรณีมีการระบุแจกแจงไว้เพียงว่ามีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ละกลุ่มในสัดส่วนเท่าใด (เช่น มีสารประกอบอะลิฟาติก, อะลิไซคลิก, และอะโรมาติกอยู่ในสัดส่วนเท่าใด) บางกรณีจะมีการระบุแจกแจงสัดส่วนของสารบริสุทธิ์เพียงบางชนิดที่มีสัดส่วนมากๆ เอาไว้ให้ กรณีของ White spirit หากมีการระบุ Type ของ White spirit นั้นไว้ (Type 0, 1, 2, 3) ก็จะเป็นข้อมูลที่พอช่วยบอกความบริสุทธิ์ของ White spirit ชนิดนั้นๆ ได้ บริษัทผู้ผลิตบางรายอาจบอกสัดส่วนของสารอันตราย เช่น เบนซีน (Benzene) และกำมะถัน (Sulfur) ที่มีอยู่ในตัวทำละลายแนฟทาชนิดนั้นไว้ให้ หรือในบางกรณีอาจบอกไว้เพียงว่ามีเบนซีนและกำมะถันอยู่ด้วยแต่ไม่มีการระบุสัดส่วนไว้

การนำมาใช้ประโยชน์

ตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียง ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นตัวทำละลายในงานช่างและงานอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น ใช้เป็นทินเนอร์ (Thinner) ผสมในสีทาบ้าน (Paint) น้ำมันชักเงา (Lacquer) และน้ำมันวานิช (Varnish), ใช้ล้างคราบมัน (Degreasing) ในการทำความสะอาดเครื่องจักรหรือทำความสะอาดชิ้นงานโลหะในงานอุตสาหกรรม, ใช้ล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนรถยนต์, ใช้ผสมกับน้ำมันตัด (Cutting oil) เพื่อเป็นสารหล่อเย็นในงานตัดเจาะโลหะ, ใช้ในการซักแห้ง (Dry cleaning), ใช้ผสมสีน้ำมันเพื่อวาดภาพสำหรับจิตรกร, ใช้ผสมในหมึกสำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร, ใช้เป็นตัวล้างทำความสะอาดหมึกพิมพ์ในงานพิมพ์, ใช้ผสมกับยางมะตอย (Asphalt) เพื่อลดความข้นเหนียว

สำหรับการใช้ตามบ้าน มีการนำตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงที่แบ่งบรรจุขายมาใช้เป็นน้ำยาทำความสะอาดคราบสี, ใช้เป็นตัวเริ่มจุดไฟสำหรับเตาถ่าน, และใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาและตะเกียงบางชนิด

อันตรายต่อสุขภาพและการป้องกันเมื่อต้องใช้สารเคมีชนิดนี้

ในการกล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพและการป้องกันอันตรายเมื่อต้องทำงานกับตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียง (White spirit, Stoddard solvent, Turpentine substitute) ผู้เรียบเรียงจะกล่าวรวมกันไปทั้งกลุ่ม เนื่องจากสารในกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมทางเคมีที่เหมือนกัน ในภาพรวมทำให้เกิดอาการพิษในลักษณะเดียวกัน และมีวิธีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพที่เหมือนกันด้วย

ตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางช่องทางหลัก 3 ช่องทาง คือทางการหายใจ (Inhalation), ทางการกิน (Ingestion), และการสัมผัสทางผิวหนัง (Skin absorption) เช่นเดียวกับตัวทำละลายอื่นๆ ทั่วไป การรับสัมผัสในขนาด (Dose) ที่สูงมีโอกาสก่อให้เกิดพิษได้มาก ในขณะที่การรับสัมผัสในขนาดที่ต่ำ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่น้อยกว่า

อันตรายต่อสุขภาพอย่างแรกในการทำงานกับตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงคืออันตรายจากการถูกไฟไหม้ เนื่องจากสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเป็นสารไวไฟ การป้องกันอันตรายโดยงดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดประกายไฟเมื่อทำงานกับสารเคมีในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ การจัดเตรียมระบบดับเพลิงหากต้องทำงานกับสารเคมีในกลุ่มนี้ในปริมาณมากๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน

อันตรายต่อสุขภาพต่อมาคือผลจากการสัมผัสทางผิวหนัง โดยทั่วไปแล้วถือว่าสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเป็นสารที่ก่อความระคายเคือง (Irritant) แต่ฤทธิ์ระคายเคืองมักจะไม่สูงมาก หากสัมผัสโดนผิวหนังเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังเพียงเล็กน้อยหรือไม่เกิดอาการเลย แต่หากต้องทำงานกับสารเคมีกลุ่มนี้โดยสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองจนเป็นผื่นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis) ได้ หากต้องทำงานโดยผิวหนังสัมผัสกับสารเคมีกลุ่มนี้เป็นเวลานานๆ ควรใส่ถุงมือที่สามารถป้องกันการทะลุผ่านของตัวทำละลายได้ เช่น ถุงมือไนไตรล์ จะเป็นการลดความเสี่ยง และทุกวันหลังจากทำงานกับสารเคมีในกลุ่มนี้เสร็จแล้ว ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเพื่อชะล้างสารเคมีออกจากผิวหนัง

การสัมผัสต่อร่างกายโดยการกระเด็นเข้าตาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสารเคมีกลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน (กรณีที่ไม่ได้มีส่วนผสมอย่างอื่น) แต่มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองได้บ้าง หากโดนสารเคมีกลุ่มนี้กระเด็นเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา แสบตา น้ำตาไหล (ความรุนแรงจะพอๆ กับโดนน้ำมันเติมรถยนต์กระเด็นเข้าตา) แต่ไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อนต่อเนื้อเยื่อตาอย่างรุนแรง หากโดนสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทากระเด็นเข้าตา ควรรีบปฐมพยาบาลด้วยการล้างตาด้วยน้ำเปล่าอย่างรวดเร็ว ล้างนานอย่างน้อยเป็นเวลา 15 นาที หากล้างตาแล้วยังรู้สึกเคืองตามากหรือมองภาพมัวลง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว การป้องกันสารเคมีกลุ่มนี้กระเด็นเข้าตา ทำได้โดยใส่แว่นครอบตา (Goggles) ในระหว่างการทำงาน

การกินสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเข้าไปนั้นมีความเป็นไปได้ โดยอาจจะเกิดขึ้นจากความบังเอิญเสียเป็นส่วนมาก ข้อมูลพิษจากการกินสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเข้าไปเป็นการเฉพาะนั้นยังไม่มีชัดเจน [2] แต่เราสามารถเทียบเคียงกับข้อมูลพิษจากการกินสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันเติมรถยนต์ เข้าไปได้ [6] คือหากกินเข้าไปในปริมาณเพียงเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่หากกินเข้าไปในปริมาณมากเพียงพอจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มาก อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย อาจทำให้เกิดแผลไหม้ในช่องปาก อันตรายจากการกินเข้าไปในปริมาณมากอีกอย่างหนึ่งคืออาจทำให้เกิดการสำลักเข้าไปในปอด (Aspiration) แล้วทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักสารเคมีตามมา (Aspiration pneumonitis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีความรุนแรง ถ้าเกิดแบบรุนแรงมากทำให้ตายได้ หากมีการกินสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งพบแพทย์โดยเร็ว และในระหว่างการปฐมพยาบาลนั้นยังไม่ควรให้กินของอย่างอื่นตามเข้าไปหรือทำการกระตุ้นอาเจียนโดยเด็ดขาด

อันตรายจากการสัมผัสโดยการสูดดม เป็นช่องทางการสัมผัสที่พบได้บ่อยที่สุดของการทำงานกับสารเคมีกลุ่มนี้ เนื่องจากสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย การสูดดมเข้าไปในปริมาณไม่มาก อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก ระคายเคืองตา เวียนศีรษะ แต่ถ้าสูดดมเข้าไปในปริมาณมากๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง เคลิ้ม ตอบสนองช้า อ่อนเพลีย กดประสาท สมองเสื่อม ซึ่งเป็นผลของสารกลุ่มตัวทำละลายอินทรีย์ต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง การสูดดมเข้าไปในปริมาณมากๆ บ่อยๆ เช่นในกรณีของช่างทาสี ถ้าไม่มีการป้องกันการสัมผัสเลย อาจทำให้เกิดการกระตุ้นหัวใจ (Cardiac sensitization) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและผิดจังหวะ อาจทำให้ตายได้

ส่วนผลจากการสูดดมในปริมาณสูงในครั้งเดียวจนเป็นอันตราย เช่น ในกรณีที่เกิดการรั่วไหลแล้วคนทำงานติดอยู่ภายในอาคาร ไม่สามารถวิ่งหนีออกมาได้ทัน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอดอย่างรุนแรง เกิดเป็นภาวะปอดอักเสบจากสารเคมี (Chemical pneumonitis) หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก อาจกดประสาทจนหมดสติ และทำให้ตายได้

การป้องกันตนเองในกรณีที่ต้องทำงานสูดดมสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทา ทำได้โดยทำงานกับสารเคมีชนิดนี้ในที่เปิดโล่ง ใช้หน้ากากป้องกันสารเคมีชนิดป้องกันไอระเหยได้ในระหว่างการทำงาน สถานประกอบการต้องจัดระบบระบายอากาศ เช่น ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ให้กับคนทำงานถ้ามีความจำเป็น การป้องกันกรณีรั่วไหลจะต้องตรวจสอบสถานที่เก็บสารเคมีให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ

ผลต่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญเมื่อต้องทำงานกับสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาคือผลก่อมะเร็ง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าสารเบนซีน (Benzene) นั้นเป็นสารก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ในน้ำมันดิบตามธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อนำมาผ่านกระบวนการผลิตจนได้สารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทา มักจะต้องผ่านกระบวนการเพื่อลดสัดส่วนของเบนซีนลง ทำให้ส่วนใหญ่ตัวทำละลายแนฟทาและสารกลุ่มใกล้เคียงจะมีสัดส่วนของเบนซีนเหลืออยู่น้อยมาก อาจมีอยู่เพียง 0.001 % [4] หรือมากที่สุดไม่เกิน 0.1 % [4] ซึ่งในสัดส่วนที่ไม่เกิน 0.1 % นี้ หากทำงานสัมผัสสารเคมีกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาในปริมาณไม่มาก ในพื้นที่เปิดโล่ง เป็นระยะเวลาไม่นาน จัดว่ามีความเสี่ยงต่อการก่อมะเร็งค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม หากมีข้อมูลว่าสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาที่ใช้นั้นมีสัดส่วนของเบนซีนเกิน 0.1 % ควรจะต้องพิจารณาว่าสารที่ใช้นั้นจัดเป็นสารก่อมะเร็งทันที [1] และจะต้องหาทางลดการสัมผัสในคนทำงานให้ลดลงอย่างมากที่สุด (วิธีหนึ่งที่ดีคือเปลี่ยนมาใช้ตัวทำละลายแนฟทาของบริษัทผู้ผลิตที่มีมาตรฐานสูงกว่า เพื่อให้มีสัดส่วนของสารเบนซีนในสูตรน้อยลง คือไม่เกิน 0.1 % จะได้ไม่เกิดความเสี่ยงต่อคนทำงานมากจนเกินไป)

นอกจากสารเบนซีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ได้รับการยืนยันแล้ว [3] ในตัวทำละลายแนฟทาและสารในกลุ่มใกล้เคียงยังมักจะมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอะโรมาติกอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (Possibly carcinogenic to human) เช่น เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) [8] และคิวมีน (Cumene) [9] ผสมอยู่ด้วยในสัดส่วนต่างๆ กันไปในแต่ละสูตรของบริษัทผู้ผลิต หากพิจารณาในแง่นี้ การลดการสัมผัสในทุกช่องทางเมื่อทำงานกับสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทา ก็น่าจะก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อคนทำงานในระยะยาวในแง่ของการป้องกันมะเร็งได้มากที่สุด

ในการประเมินการสัมผัสเมื่อคนทำงานกับสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทานั้น สามารถประเมินระดับการสัมผัสได้ด้วยการตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม (Environmental monitoring) คือการวัดระดับไอระเหยของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาที่อยู่ในอากาศในที่ทำงาน ซึ่ง ณ เวลาที่เรียบเรียงบทความนี้ ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยในอากาศของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาในกฎหมายของประเทศไทย

สำหรับค่ามาตรฐานของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการกำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยในอากาศของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาไว้ตามกฎหมายโดยองค์กร Occupational Safety and Health Administration (OSHA) เป็นค่า Permissible exposure limit (PEL) ว่าค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้จะต้องไม่เกิน 2,900 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร (500 ส่วนในล้านส่วน) สำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง [5,10] และองค์กร National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ได้ให้ความเห็นทางวิชาการไว้เป็นค่า Recommended exposure limit (REL) ว่าค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้ไม่ควรเกิน 350 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร สำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง และค่าเพดานไม่ควรเกิน 1,800 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร [5,10] ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้โดยองค์กร OSHA สำหรับเทคนิคในการตรวจวัดค่าในอากาศนั้น องค์กร NIOSH แนะนำให้ใช้ NIOSH Method 1550 ( คือการวัดหาระดับ Naphthas ในอากาศ) เป็นวิธีมาตรฐาน [5,10] ผู้ที่ทำงานอาชีวอนามัยในประเทศไทยอาจนำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันอันตรายให้กับคนทำงานชาวไทยที่อยู่ในความดูแลของตนเองได้

หากสถานประกอบการตรวจวัดระดับของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาในสถานที่ทำงานแล้วพบว่ามีค่าเกินมาตรฐาน ควรแก้ไขโดยวิธีการทางวิศวกรรมตามหลักอาชีวอนามัย เพื่อให้มีระดับของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาในอากาศไม่สูงจนเกินไป

สำหรับการประเมินการสัมผัสโดยการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological monitoring) ของสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทานั้นยังไม่มีให้ใช้ในทางปฏิบัติชัดเจน [2] เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารผสม (Mixture) ที่มีสัดส่วนไม่แน่นอน ทำให้พิจารณาเลือกตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้ยาก การเลือกตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสารบริสุทธิ์ที่มีผสมอยู่ในสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาเป็นรายตัว เช่น ตรวจ t,t-muconic acid ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัสเบนซีน [11], ตรวจ mandelic acid plus phenylglyoxylic acid ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัสเอทิลเบนซีน [11], ตรวจ toluene ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัสโทลูอีน [11], หรือตรวจ methylhippuric acid ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัสไซลีน [11] สามารถทำได้ แต่อาจไม่มีประโยชน์มากนัก เนื่องจากสารบริสุทธิ์เหล่านี้เป็นเพียงส่วนผสมหนึ่งในสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทา และมักมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อย และเรามักไม่ทราบสัดส่วนที่มีอยู่แน่นอนด้วย กล่าวโดยสรุปคือแนะนำให้ตรวจประเมินการสัมผัสโดยการตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม (Environmental monitoring) โดยการวัดระดับตัวทำละลายแนฟทาในอากาศภายในสถานที่ทำงานจะเป็นการประเมินที่ดีกว่า

สำหรับการดูแลเรื่องสุขภาพของคนทำงานที่ต้องทำงานสัมผัสสารกลุ่มตัวทำละลายแนฟทาอยู่เป็นประจำนั้น การสอบถามถึงอาการระคายเคือง เช่น แสบตา แสบจมูก และอาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง ในคนทำงานว่ามีหรือไม่เป็นสิ่งที่ควรทำ ถ้ามีอาการเหล่านี้มากๆ เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าคนทำงานได้รับผลกระทบจากการทำงานสัมผัสสารนี้ การตรวจร่างกายโดยดูผิวหนังโดยเฉพาะที่บริเวณมือว่ามีผื่นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองเกิดขึ้นหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ

ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดควรมีลักษณะอย่างไร

1. ต้องละลายสารที่ต้องการสกัดได้ดี 2. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด 3. ถ้าต้องการแยกสี ตัวทำละลายจะต้องไม่มีสี ถ้าต้องการแยกกลิ่น ตัวทำละลายต้องไม่มีกลิ่น 4. ไม่มีพิษ มีจุดเดือดต่ำ และแยกตัวออกจากสารที่ต้องการสกัดได้ง่าย

ข้อใดคือลักษณะตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดด้วยตัวทำละลาย

ตัวทำละลายต้องมีจุดเดือดสูงและระเหยยาก ตัวทำละลายต้องแยกออกจากสารที่สกัดได้ง่าย ตัวทำละลายต้องไม่ละลายสารที่ไม่ต้องการแยก ตัวทำละลายต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด

สารที่สกัดได้มีลักษณะอย่างไร

สารสกัดจากพืชที่ดีควรมีคุณสมบัติคือ สลายตัวง่าย ไม่มีพิษตกค้าง ไม่เป็นพิษต่อ สัตว์เลือดอุ่น หรือมีพิษน้อย ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลายชนิด แต่ละชนิดมีอยู่ในปริมาณต ่า และมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในการป้องกันก าจัดศัตรูทางการเกษตร ทั้วไปแล้ว นับได้ว่าสารสกัดจากพืชมีข้อได้เปรียบมากมายดังต่อไปนี้ ( ...

การสกัดด้วยตัวทำละลายมีอะไรบ้าง

การสกัดด้วยตัวทำละลายมีหลายวิธี เช่น วิธีการหมัก (Maceration) วิธีการหมักแบบต่อเนื่อง (Percolation) การสกัดแบบใช้คลื่นเสียง (Ultrasonic extraction) การสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave extraction) เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita