วรรณกรรมเล่มของไทยในสมัยสุโขทัย เรียกว่าอะไร

ในโลกของอารยประเทศนั้น ต่างยอมรับว่าวรรณคดีเป็นมรดกวัฒนธรรมทางภาษาที่บ่งชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนในแต่ละชาติ และสำหรับประ เทศไทยของเราก็ถือว่ามีมรดกทางวัฒนธรรมผ่านตัวอักษรในลักษณะดังกล่าวเป็นเครื่องสืบทอดภูมิปัญญาและบ่งบอกถึงความเป็นอารยะมาอย่างต่อเนื่อง 

แต่ในสังคมที่คนชอบเล่นกับภาษาในบ้านเรา เมื่อชาวตะวันตกนำคำว่า Literature เข้ามาสู่แวดวงหนังสือ เราก็จะคัดสรรค์จัดชั้นคุณภาพของสิ่งที่ชาวตะวันตกเรียกว่า Literature ออกเป็น 2 ระดับคือ “วรรณกรรม” กับ “วรรณคดี” โดยที่กำหนดใช้ “วรรณกรรม”กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary works หรือ General Literature 

คำว่า วรรณกรรม ปรากฏใช้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรม และศิลปกรรม พ.ศ.2474 ส่วนความหมายของวรรณกรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เพราะครอบคลุมถึงงานทุกชนิดที่ใช้ภาษาเป็นสื่อในการถ่ายทอดความหมายและความรู้สึกนึกคิด ไม่ว่างานนั้นจะได้รับการยกย่องแล้วหรือไม่ก็ตาม 

ส่วน “วรรณคดี” เป็นคำที่ใช้ในความหมายแคบกว่าวรรณกรรม กล่าวคือวรรณคดีมักใช้กับหนังสือ หรืองานนิพนธ์ที่มีศิลปะการเขียนแสดงออกอย่างประณีต ส่วนรายละเอียดในการพิจารณาคุณค่านั้นมักคำนึง ถึงผลในการยกระดับความนึกคิดและจิตใจเป็นสำคัญ และคุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือมักเป็นเรื่องที่ได้รับการยกย่องของคนทั่วไปมาเป็นเวลานานพอสมควร 

การบริหารจัดการเกี่ยวกับวรรณคดีของไทยเรา เริ่มแต่มีโบราณคดีสมาคมมาคัดหนังสือดีออกพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมปรากฏชัดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรขึ้น เพื่อประเมินคุณค่าหนังสือที่แต่งดีและยกระดับขึ้นเป็น “วรรณคดี” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประทับพระราชลัญจกรรูปพระคเณศไว้ที่ปกหนังสือ 

เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การดำเนินงานและบทบาทของวรรณคดีสโมสรก็สิ้นสุดลง ทำให้บรรดาผลงานวรรณ กรรมที่สรรค์สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศักราช 2468 จน ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 80 ปี ซึ่งหลายเรื่องเป็นหนังสือที่บริบูรณ์ด้วยคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ภูมิปัญญา จริย ธรรม ตลอดจนเป็นแบบอย่างในการประพันธ์ได้ แต่ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดทำหน้าที่ประเมินคุณค่าประกาศให้หนังสือเหล่านั้นเป็น “วรรณคดีของชาติ” เพิ่มขึ้นอีกเลย 

จากความเป็นมาและเหตุผลดังกล่าว สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีภาระรับผิดชอบมรดกวัฒนธรรมด้านภาษาและวรรณคดีของชาติ ได้หารือกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณคดีและอักษรศาสตร์ เห็นสมควรดำเนิน “โครงการวรรณคดีแห่งชาติ” เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและดำเนินงานที่เกี่ยวกับวรรณคดีของชาติให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ 

แล้วความตั้งใจที่จะสืบสานวรรณคดีให้มีอยู่คู่ชาติก็ประสบผล เมื่อนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 78/2553 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 แต่งตั้งคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้น ประกอบ ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านวรรณคดีและอักษรศาสตร์ โดยมี คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ เป็นประธาน 

จากการที่คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานพิจารณาวินิจฉัยข้อมูลเกี่ยวกับวรรณคดีไทย เพื่อจัดทำหนังสือประวัติวรรณคดีไทย กำ หนดหลักเกณฑ์และพิจารณาหนังสือที่แต่งดีเพื่อยกย่องให้เป็นวรรณคดีแห่งชาติ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยวรรณคดีไทยและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวรรณคดีไทยนั้น ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติที่ผ่านมา สามารถประกาศและจัดทำประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัยได้ว่ามีวรรณคดีในยุคนี้ 5เรื่อง อีกทั้งประกาศยก ย่อง “ไตรภูมิกถา” ขึ้นเป็นยอดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย โดยที่วรรณคดีแต่ละเรื่องมีสาระ ดังนี้ 

จารึกหลักที่1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบขณะเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ. 2376 นักวิชาการสันนิษ ฐานว่า จารึกหลักที่ 1 นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 1835 ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เหตุการณ์สำคัญ สภาพสังคม และขนบ ธรรม เนียมประเพณีในสมัยสุโขทัย 

จารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม พลโท หลวงสโมสรพลการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) เป็นผู้ค้นพบศิลาจารึกหลักนี้ในอุโมงค์วัดศรีชุม ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังรัชกาลพระธรรมราชาที่ 1 เนื่องจากมีพระนามพระมหาธรรมราชาที่ 1 ปรากฏในจารึกด้วย สาระสำคัญของจารึกหลักนี้คือ กล่าวถึงประวัติของสม เด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า ซึ่งเป็นบุตรของพระยาคำแหง (พระราม) เป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประวัติราช วงศ์สุโขทัย 

จารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพบที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ใน พ.ศ. 2464 สาระสำคัญของจารึกนี้กล่าวถึง พระยาฦๅไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิจากลังกาทวีป ไปประดิษฐานที่เมืองนครชุม จากนั้นกล่าวถึงเรื่องสัทธรรมอันตรธาน 5 และเป็นคำตักเตือนสัปบุรุษให้รีบเร่งทำบุญกุศล ตอนท้ายเป็นคำสรรเสริญพระเกียรติ 

สุภาษิตพระร่วง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง หรือสุภาษิตประดิษฐพระร่วง สันนิษฐานว่าผู้แต่งเป็นกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งในสมัยสุโขทัย โดยแต่งขึ้นเพื่อสั่งสอนประชาชน เนื้อหากล่าวถึง พระร่วงผู้รู้แจ้ง ทรงเล็งเห็นประโยชน์ในภายหน้า จึงทรงสั่งสอนชาวโลกเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่าง ๆ แบบแผนในการดำรงชีวิต เพื่อให้เป็นเครื่องเตือนสติ สำนวนโวหารในสุภาษิตพระร่วงแต่งด้วยภาษาไทย รุ่นเก่า ใช้ภาษาเรียบง่าย มีสัมผัสสะดวกแก่การจดจำ ซึ่งสุภาษิตหลายข้อยังได้ถือปฏิบัติต่อมาในสังคมไทย 

ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นราวปี พ.ศ. 1888 ลักษณะคำประพันธ์เป็นความเรียงร้อยแก้ว ประ เภทศาสนาและปรัชญา ไตรภูมิกถาเริ่มเรื่องด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี มีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง แสดงหลักฐานว่าผู้แต่งได้เรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือสำคัญเล่มต่างๆ เนื้อเรื่องกล่าวถึงภูมิทั้งสาม ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ โดยมีจุดประสงค์เพื่อโปรดพระราชมารดา สั่งสอนประชาชนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ยึดมั่นในหลักธรรมพุทธศาสนา รวมทั้งให้มุ่งไปสู่ดินแดนแห่งพระนิพพาน 

โดยมีรายละเอียดในคำประกาศยกย่องวรรณคดี ของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติว่า 

ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไท เป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัยซึ่งเรียบเรียงความรู้ด้านโลกศาสตร์และจักรวาลวิทยาจากคัมภีร์สำคัญถึง 30 คัมภีร์ ลักษณะคำประพันธ์เป็นความเรียงร้อยแก้ว วรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนังสือแต่งดีมีคุณค่าหลายประการ กล่าวคือ เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย ที่ยืนยันความรุ่งเรืองด้านอักษรศาสตร์สมัยสุโขทัย เป็นคลังทางปัญญาแห่งวิถีชีวิตของคนไทย ปรัชญาทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในไตรภูมิกถา มุ่งสอนจริยธรรมศีลธรรมให้แก่คนในสังคม โน้มน้าวให้บุคคลกระทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจผ่องใส ซึ่งเป็นแนวทางอันนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง 

นอกจากนี้ ไตรภูมิกถายังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติจึงมีมติประกาศยกย่องให้ไตรภูมิกถาเป็นยอดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย 

รู้ผลการประกาศวรรณคดีกันเช่นนี้แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคงต้องพิจารณากันแล้วว่าควรจะปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณคดีในหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดรับกันไปด้วยหรือไม่? 

ภูมิบ้านภูมิเมือง 

ดร.วัฒนะ บุญจับ 

สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร 

ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ : สยามรัฐ วันศุกร์ ที่ 01 ตุลาคม 2553 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita