การอนุรักษ์พลังงานของอาคารมีอะไรบ้าง

คำนำ

     กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) โดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงให้มีการออกแบบเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

     เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตพลังงานในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอปฏิรูปจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เห็นควรเร่งผลักดันให้มีการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้พิจารณาร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขร่างกฎกระทรวงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ โดยเห็นชอบร่วมกันที่จะให้มีการบังคับใช้กับอาคารที่มีความพร้อมก่อน และทยอยบังคับใช้กับอาคารทั้ง 9 ประเภท ภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2563) โดยปีที่ 1 บังคับกับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง ขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ปีที่ 2 บังคับกับอาคารทั้ง 9 ประเภท ขนาดตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และปีที่ 3 บังคับกับอาคารทั้ง 9 ประเภท ขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

     คู่มือฉบับนี้ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้กับหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กระทรวงพลังงาน
พฤศจิกายน 2560

1. เหตุผลและความจำเป็น

     กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ตามมาตรา 19 แห่ง
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) โดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ให้มีการออกแบบให้ระบบต่าง ๆ ของอาคารเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายกับอาคาร 9 ประเภท ประกอบด้วย

     (1) อาคารสำนักงาน
     (2) สถานศึกษา
     (3) โรงมโหรสพ
     (4) ห้างสรรพสินค้า
     (5) อาคารชุมนุมคน
     (6) อาคารสถานบริการ
     (7) สถานพยาบาล
     (8) อาคารชุด
     (9) โรงแรม

     ต้องออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยดำเนินการประหยัดพลังงานตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบด้วยการออกแบบอาคารที่สามารถกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     ในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่ากฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือนกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งจะส่งผลให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรืออาคารเดิมที่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมส่วนของอาคารที่มีขนาดพื้นที่และประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจะต้องได้รับการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับแก้ไข

     นอกจากนี้ ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้รับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่า อาคารดังกล่าวได้ออกแบบให้มีการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อได้มีการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จก่อนยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้รับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอีกครั้งหนึ่งด้วย

ความเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2550) และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

     

เพื่อให้การตรวจรับรองแบบอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้องกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพลังงานต่อไป

2. มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย       กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 กำหนดหลักเกณฑ์และสาระสำคัญไว้ดังนี้

     มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคาร ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่

     (1) ระบบกรอบอาคาร: ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (Overall thermal transfer value, OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (Roof thermal transfer value, RTTV) ในส่วนที่มีการปรับอากาศในแต่ละประเภทอาคาร ต้องมีค่าไม่เกินที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (2) ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง: การใช้ไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถ ต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างสำหรับงานแต่ละประเภทอย่างเพียงพอ และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้นกำหนด ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่องสว่างภายในอาคารต้องใช้กำลังไฟฟ้าในแต่ละประเภทของอาคารมีค่าไม่เกินที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (3) ระบบปรับอากาศ: ประเภทและขนาดต่าง ๆ ของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งภายในอาคาร ต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น และค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็น เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็น และค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็นของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งใช้งานในอาคาร พ.ศ. 2552
     (4) อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน: อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ติดตั้งภายในอาคาร ต้องมีค่าประสิทธิภาพขั้นต่ำและ
ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
     (5) การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร: การขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวงกำหนด
ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเรื่องระบบกรอบอาคาร เรื่องระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และเรื่องระบบปรับอากาศ  
ให้พิจารณาตามเกณฑ์การพิจารณาการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร เกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ต้องมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารดังกล่าวต่ำกว่าค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิงที่มีพื้นที่การใช้งาน ทิศทาง และพื้นที่ของกรอบอาคารแต่ละด้านเป็นเช่นเดียวกับอาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง และมีค่าของระบบกรอบอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและระบบปรับอากาศ เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละระบบ
     (6) การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร: เมื่อมีการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาคาร ให้ยกเว้นการนับรวมการใช้ไฟฟ้าบางส่วนในอาคารในกรณีที่ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคารมีการออกแบบเพื่อใช้แสงธรรมชาติเพื่อการส่องสว่างภายในอาคารในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคาร ให้ถือเสมือนว่าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ตามแนวกรอบอาคารนั้น โดยการออกแบบดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
          1. ต้องแสดงอย่างชัดเจนว่า มีการออกแบบสวิตช์ที่สามารถเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้กับพื้นที่ตามแนวกรอบอาคาร โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างต้องมีระยะห่างจากกรอบอาคารไม่เกิน 1.5 เท่าของความสูงของหน้าต่างในพื้นที่นั้น และ
          2. กระจกหน้าต่างตามแนวกรอบอาคารตามข้อ 1. ต้องมีค่าประสิทธิผลของสัมประสิทธิ์การบังแดด (Effective shading coefficient) ไม่น้อยกว่า 0.3 และอัตราส่วนการส่งผ่านแสงต่อความร้อน (Light to solar gain) มากกว่า 1.0 และต้องมีพื้นที่กระจกหน้าต่างตามแนวกรอบอาคารตามข้อ 1. ต้องไม่น้อยกว่าพื้นที่ผนังทึบ

          ทั้งนี้ อาคารที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในอาคาร สามารถนำค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร

มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคาร

     เกณฑ์การผ่านการตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ให้พิจารณาจากเกณฑ์การออกแบบ โดยแบ่งการผ่านเกณฑ์เป็น 2 ทางเลือก โดยพิจารณาจากทางเลือกที่ 1 คือ การผ่านเกณฑ์ทุกระบบ หากผลการตรวจประเมินผ่านทุกรายระบบ ได้แก่ ระบบกรอบอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ ก็จะถือว่าอาคารนี้ผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน แต่ถ้าหากมีบางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์รายระบบใดระบบหนึ่ง ให้พิจารณาทางเลือกที่ 2 คือการผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารต่อปี โดยนำค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารที่ออกแบบมาเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิงตามกฎกระทรวง โดยถ้ามีค่าต่ำกว่าจึงถือว่าเป็นการผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเช่นกัน

     ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 นั้น หากในอาคารมีการใช้อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องผ่านข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนด้วย

การผ่านเกณฑ์การออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

แนวทางการปรับแก้ไขเกณฑ์กฎกระทรวงฯ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการศึกษา
ความเหมาะสมในการปรับเกณฑ์กฎกระทรวงที่ได้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2552 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยมีแนวทางการปรับแก้ไขเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต ดังนี้

     1. การบังคับใช้มีแนวโน้มจะทยอยบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ก่อน แล้วจึงใช้กับอาคารขนาดใหญ่ (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป)

     2. แนวโน้มการปรับปรุงเกณฑ์การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร และเหตุผลในการปรับปรุง ดังนี้

3. ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย

     กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสามารถทำหน้าที่
ผู้ตรวจรับรองการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายได้ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือน
กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในอนาคตอันใกล้นี้

การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจรับรองการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

(ร่าง) คุณสมบัติของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน (รอประกาศใช้)

     (1) มีสัญชาติไทย
     (2) ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก 
     (3) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรหรือสถาปนิก
     (4) เป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรมในหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ตามที่
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประกาศกำหนด

4. ขั้นตอนการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

     ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระบวนการตรวจรับรองแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร และเพื่อขออนุญาตใช้อาคารที่ก่อสร้าง/ดัดแปลงแล้วเสร็จมีดังนี้
     1. เจ้าของอาคาร
     2. ผู้ออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร ทำหน้าที่ออกแบบอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน
     3. ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฯ โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนด
     4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

     ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประเมินแบบอาคารตามเกณฑ์กฎกระทรวงฯ ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่

  • ข้อมูลทั่วไปที่ใช้ในการติดต่อประสานงาน

  • ข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าอาคารเข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ หรือไม่

  • ข้อมูลประกอบการตรวจประเมินแบบอาคาร

ข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้าง

ประเภทแบบ รายละเอียด
แบบสถาปัตยกรรม ผังบริเวณ/ทิศของอาคาร
  ผังพื้นทุกชั้น และหลังคา
  รูปด้าน 4 ด้าน
  รูปตัด
  แบบขยายประตู หน้าต่าง
แบบวิศวกรรมโครงการ ผังโครงสร้าง
  ขนาดหน้าตัดโครงสร้างที่จำเป็น
แบบไฟฟ้าแสงสว่าง ผังแสดงดวงโคม สวิตซ์
แบบระบบปรับอากาศ ผังแสดงการจัดวางเครื่องปรับอากาศ
  Diagram ระบบปรับอากาศ (แบบรวมศูนย์)
แบบอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ใช้น้ำมัน/แก๊ส
เป็นเชื้อเพลิง หรือเครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั๊ม (ถ้ามี)
ชนิดของอุปกรณ์ทำน้ำร้อน
ประสิทธิภาพของอุปกรณ์
แบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (ถ้ามี) ประสิทธิภาพรวมของระบบ
  พื้นที่ ทิศ มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
รายการประกอบแบบสถาปัตยกรรม  รายละเอียดวัสดุกรอบอาคารและสีของวัสดุ
รายการประกอบแบบวิศวกรรมงานระบบไฟฟ้า/
ชนิด/Wattของหลอดและบัลลาสต์
ปรับอากาศ ชนิด/Watt เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ประกอบ
รายละเอียดประมาณการค่าก่อสร้าง (ถ้ามี) งบประมาณค่าก่อสร้าง
  รายการราคาค่าก่อสร้าง (BOQ)

     ซึ่งนอกจากเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตในการก่อสร้างตามปกติแล้ว ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

     1) ผลประเมินการใช้พลังงานที่ได้จากโปรแกรม BEC หรือโปรแกรมที่น่าเชื่อถืออื่น ตามรายละเอียดที่ได้ของแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/รายละเอียดที่ได้ก่อสร้างอาคารจริง (As-built drawing)
     2) หนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ตรวจรับรองฯที่ออกโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม 

 

ตัวอย่างผลการประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้โปรแกรม BEC

5. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร และการยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร

     ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้เสมือนกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะส่งผลให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรืออาคารเดิมที่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมส่วนของอาคารที่มีขนาดพื้นที่และประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจะต้องออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งขั้นตอนการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 2 ขั้นตอน ได้แก่

     (1) ขั้นตอนของการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารก่อนการเริ่มการก่อสร้างจริง

     (2) เมื่อการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จ

      โดยในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้รับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน  พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่า อาคารดังกล่าวได้ออกแบบให้มีการอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อได้มีการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จก่อนยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นเอกสารที่มีผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นผู้รับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอีกครั้งหนึ่งด้วย

ขั้นตอนและกระบวนการในการขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร

เอกสารประกอบการการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
ก่อนการเริ่มการก่อสร้างจริง
 

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในปัจจุบัน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในอนาคตเมื่อกฎกระทรวง
กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข
จะมีผลบังคับใช้
1. คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ  ข.1) ใช้เอกสารเช่นเดียวกับเอกสารที่ต้องใช้ในปัจจุบัน โดยจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
2. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด 1. หนังสือรับรองว่าอาคารที่จะก่อสร้าง ดัดแปลงได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 1 ชุด
3. รายการคำนวณ (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ
หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
จำนวน 1 ชุด
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขออนุญาต
(กรณีบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต และกรณีหลายคนให้ใช้ทุกคน)
พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน 1 ชุด
 
5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำขออนุญาต
(กรณีบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต และกรณีหลายคนให้ใช้ทุกคน)
พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน 1 ชุด
 
6. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
ผู้ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน พร้อมสำเนาหรือ
ภาพถ่ายบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจ
ลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)
จำนวน 1 ชุด
 
7. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของผู้ขออนุญาต
(หนังสือมอบอำนาจ) พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน
และทะเบียนบ้าน (กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นขออนุญาตแทน)
จำนวน 1 ชุด
 
8. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/
ส.ค.
1 เลขที่ (ขนาดเท่าต้นฉบับ และต้องครบถ้วน
ตามแผนผังบริเวณ หรือที่ระบุไว้ในคำขออนุญาต)
จำนวน 1 ชุด
 
9. หนังสือรับรองให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน พร้อมสำเนา
หรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านละบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน
และพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองในเอกสาร
(กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
 
10. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลเจ้าของที่ดิน
ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน
และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
(กรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
 
11. หนังสือรับรองของผู้ออกแบบอาคาร หรือผู้ออกแบบ
และคำนวณอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหรือวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อ
ตามมาตรา
49 ทวิ (กรณีที่อาคารมีลักษณะขนาด
อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ
วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี) จำนวน 1 ชุด
 
12. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน
(แบบ น.
4) ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับการแจ้งเวียนชื่อตามมาตรา
49 ทวิ (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี และผู้ขออนุญาตระบุชื่อมาในคำขออนุญาตด้วย) พร้อมทั้งสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบวิชาขีพฯ
ที่ยังไม่สิ้นอายุ จำนวน 1 ชุด
 
13. หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร (แบบ ผมร.
1)
 

เอกสารประกอบการยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร 

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในปัจจุบัน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ในอนาคตเมื่อกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้
1.หนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 32 วรรคสอง และมาตรา 39 ทวิ (แบบ กทม. 4) ใช้เอกสารเช่นเดียวกับเอกสารที่ต้องใช้ในปัจจุบัน โดยจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
2. ฉบับจริง จำนวน 1 ชุด

1. หนังสือรับรองว่าอาคารได้มีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน จาก
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์rลังงาน 
จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
ดัดแปลงอาคาร (แบบ อ.
1) หรือสำเนาใบอนุญาต
เคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ อ.
2)  หรือสำเนาใบรับหนังสือ
แจ้งความประสงค์จะก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร
หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา
39 ทวิ
(แบบ กทม.
6) พร้อมสำเนาหนังสือรับทราบแบบแปลน
ไม่ขัดข้องฯ จำนวน
1 ชุด
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ได้รับใบอนุญาต (กรณีบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต และหาก
ผู้ได้รับใบอนุญาต
มีหลายคนให้ใช้ทุกคน) พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือ
ประทับตรารับรองความถูกต้อง) จำนวน
1 ชุด
 
5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ได้รับใบอนุญาต
(กรณีบุคคล เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต และหากผู้ได้รับ
ใบอนุญาตมีหลายคนให้ใช้ทุกคน) พร้อมลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตรารับรองความถูกต้อง)
จำนวน
1 ชุด
 
6. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
ผู้ยื่นคำขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกินหกเดือนพร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต) จำนวน
1 ชุด
 
7. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของผู้ขออนุญาต
(หนังสือมอบอำนาจ) พร้อมสำเนาหรือภาพถ่าย
บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน (กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นขออนุญาตแทน) จำนวน
1 ชุด
 
8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
ลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ  (กรณีอาคารมีที่จอดรถยนต์ กลับรถยนต์ และทางเข้าออกของรถยนต์ ที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ)
จำนวน
1 ชุด
 
9. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสืออนุญาตระบายน้ำทิ้ง
หรือเชื่อมท่อระบายน้ำ (กรณีอาคารมีการระบายน้ำสู่ท่อ
ระบายน้ำสาธารณะ) จำนวน
1 ชุด

 

 

การอนุรักษ์พลังงานในอาคารมีอะไรบ้าง

กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารตามมาตรา 17 ได้แก่ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร 2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารที่อยู่ระดับที่เหมาะสม 3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้นๆ

การอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน มี อะไร บ้าง

การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน.
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิง.
2. การป้องกันการสูญเสียพลังงาน.
3. การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่.
4. การเปลี่ยนไปใช้พลังงานอีกประเภทหนึ่ง.
5. การปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าด้วยวิธีปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในช่วงความต้องการใช้.

การอนุรักษ์พลังงาน มีอะไรบ้าง

มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.
ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง.
ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน.
หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี.

กิจกรรมที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานตามมาตรา 7 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

มาตรา 7 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิง (2) การป้องกันการสูญเสียพลังงาน (3) การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita