แนวปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการไปศาสนสถานเป็นอย่างไร


ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมชมวัดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เราควรศึกษาและเรียนรู้มารยาทในการเที่ยวชมวัดไทยเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้ประพฤติหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกาลเทศะ ซึ่งมารยาทที่ว่านี้อาจมีบางข้อที่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทราบและมองข้ามไป วันนี้หรีดมาลาได้รวบรวมมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันอย่างละเอียดเลยค่ะ

มารยาทในการเข้าวัดไทยเกี่ยวกับการแต่งกาย

1. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อสถานที่

2. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าโทนอ่อนเรียบๆ

แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว หรือสีโทนอ่อน ๆ เรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีที่ฉูดฉาด

3. แต่งกายให้มิดชิด

เมื่อเข้าชมพระอุโบสถ หรือส่วนต่าง ๆ ภายในวัด ควรแต่งกายให้มิดชิด ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าแบบซีทรู โปร่งบาง สีขาวบางจนเห็นเสื้อชั้นในชัดเจน เสื้อสีเนื้อหรือสีครีม คอไม่เว้าลึก และเสื้อผ้าไม่หลวมหรือรัดรูปมากจนเกินไป เพื่อสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ แต่ถ้าจะให้ดี ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือกระโปรงคลุมเข่า

4. แต่งเสื้อผ้าที่ไม่ดูหรูหราจนเกินไป

ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่หรูหราจนเกินไป รวมไปถึงเครื่องประดับที่มีราคาแพง เช่น แหวนเพชร ต่างหู กำไลข้อมือ นาฬิกาเรือนทอง สร้อยคอทองคำต่าง ๆ

5. หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำหอม

เนื่องจากกลิ่นน้ำหอมอาจทำให้รบกวนผู้อื่น หากต้องการฉีดน้ำหอมจริง ๆ ควรใช้น้ำหอมที่มีกลิ่นอ่อนที่สุดจะดีกว่า

6. สำหรับผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือแต่งหน้าจัดจนเกินงาม

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนคิ้ว ทาปาก หรือทาเล็บที่เข้มจนเกินไป หากต้องการแต่งหน้าจริง ๆ ควรแต่งหน้าแบบอ่อน ๆ หรือแบบเป็นธรรมชาติจะดีกว่าค่ะ

7. สำหรับผู้หญิง ควรหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่เปิดเผยร่างกาย

ควรเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่เปิดเผยร่างกาย หรือเนื้อหนังมังสา หรือแบบวับ ๆ แวม ๆ มากจนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก, ไหล่ และหัวเข่า ซึ่งเสื้อผ้าที่ไม่ควรใส่เข้าวัด ได้แก่ เสื้อสายเดี่ยว, เสื้อเอวลอย, เสื้อแขนกุด, เกาะอก, เสื้อครอป, กางเกงขาสั้นเหนือเข่ามากจนเกินไป, กระโปรงสั้นเหนือเข่ามากจนเกินไป, กระโปรงแบบผ่าหน้าผ่าหลัง, กางเกงแบบผ้าขาด ๆ

8. ซื้อหรือเช่าชุดโสร่ง

หากต้องการแวะเยี่ยมชมโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่ว่าแต่งกายไม่สุภาพ ก็สามารถซื้อหรือเช่าชุดโสร่ง เพื่อใช้คลุมก่อนเข้าชมวัดได้ค่ะ

9. สำหรับผู้ชาย ควรตัดผมให้สั้น

ผู้ชายควรตัดผมสั้น หรือหากผมยาวควรหวีผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหรือเจลใส่ผม เนื่องจากกลิ่นของเจลหรือน้ำมันใส่ผมอาจทำให้รบกวนผู้อื่นได้

10. ไม่ปล่อยชายเสื้อออกนอกกระโปรงหรือกางเกง

มารยาทการเข้าวัดไทยเกี่ยวกับการปฏิบัติ

1. ถอดรองเท้า

และวางไว้บนชั้นวางรองเท้าที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ทางด้านหน้าพระอุโบสถ ก่อนเข้าไปข้างใน

2. สำรวมกาย วาจา และใจ

สำรวมกาย วาจา ใจ และระมัดระวังกิริยามารยาทให้สงบเรียบร้อย เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัด

3. ปิดโทรศัพท์มือถือหรือปิดเสียง

ปิดโทรศัพท์เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงโทรศัพท์รบกวนผู้อื่นที่เข้ามาทำบุญไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาค่ะ แต่หากจำเป็นต้องเปิดโทรศัพท์มือถือจริง ๆ ให้ปิดเสียงหรือเปิดระบบเสียงเรียกเข้าเป็นระบบสั่นแทน

4. รักษาความเงียบสงบ

ไม่พูดคุยหรือส่งเสียงดังเอะอะโวยวาย เมื่ออยู่หน้าประตูวัดหรือเข้ามาภายในบริเวณวัด โดยเฉพาะภายในพระอุโบสถ เนื่องจากอาจมีผู้ที่กำลังสวดมนต์หรือนั่งสมาธิอยู่ หากต้องการพูดคุยจริง ๆ ให้ใช้วิธีกระซิบแทนค่ะ

5. รักษาความสะอาด

รักษาความสะอาดศาสนสถานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการทิ้งขยะในถังขยะให้ถูกที่

6. ทำความเคารพพระพุทธรูป

เมื่อเข้ามาภายในพระอุโบสถ ควรแสดงความเคารพพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานและพระสงฆ์อย่างสำรวมและนอบน้อม

7. ห้ามถ่ายรูปในที่ห้ามถ่าย

ถ่ายรูปในสถานที่ที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้น หากไม่มีป้ายห้ามถ่ายรูปจึงจะสามารถถ่ายรูปได้

8. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัดอย่างเคร่งครัด

9. ช่วยกันดูแลรักษา

ช่วยกันดูแลรักษาหรือบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุภายในวัดให้มั่นคงแข็งแรงด้วยการบริจาคเงินหรือสิ่งของซ่อมแซม

10. ถ่ายรูปกับพระพุทธรูปอย่างสำรวม

หากต้องการถ่ายรูปกับพระพุทธรูป ควรอยู่ในกิริยาที่สำรวม สงบ สุภาพเรียบร้อย และให้ความเคารพต่อพระพุทธรูป

มารยาทห้ามปฏิบัติในการเข้าชมวัดไทย

1. ห้ามสูบบุหรี่และสารเสพติด

ห้ามสูบบุหรี่และเสพสารเสพติดทุกชนิดภายในวัด เพื่อให้เกียรติสถานที่และเคารพศาสนาพุทธของเราด้วย

2. ห้ามขีดเขียน ทำลาย หรือขโมย

ห้ามขีดเขียน ทำลาย หรือขโมยทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในวัด อย่างเช่น กำแพงฝาผนัง พระพุทธรูป โบราณวัตถุ

3. ห้ามชี้นิ้วโดยเด็ดขาด

เนื่องจากการชี้นิ้วเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพ หากต้องการให้ผู้อื่นดูส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในวัดให้ใช้วิธีผายมือแทน

4. ห้ามเหยียบธรณีประตู

เมื่อเข้าไปภายในพระอุโบสถหรือพระวิหาร ห้ามเหยียบธรณีประตูโดยเด็ดขาด เนื่องจากธรณีประตูเป็นขอบของพื้นประตูที่ยกสูงขึ้นมานั้นเชื่อกันว่าช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่สิงสถิตของทวารบาลหรือผู้รักษาประตูอีกด้วย

5. ห้ามถ่ายรูปผู้อื่นที่กำลังทำกิจกรรมทางศาสนา

ห้ามถ่ายรูปผู้อื่นที่กำลังทำบุญไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือประกอบกิจกรรมทางศาสนา เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น

6. ห้ามถ่ายรูปตนเองหรือเซลฟี่กับองค์พระพุทธรูป

เนื่องจากเป็นการลบหลู่หรือไม่ให้ความเคารพที่ยืนอยู่ในระดับความสูงเดียวกับพระพุทธรูป อีกทั้งอาจผิดกฎหมายด้วยค่ะ

7. ห้ามนั่งและปีนป่ายโบราณสถานภายในวัด

เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความชำรุดเสียหายแก่โบราณสถานนั้น ๆ

8. ห้ามนั่งด้วยการเอาเท้าชี้ไปทางพระ

เมื่ออยู่ในพระอุโบสถ ห้ามนั่งด้วยการเอาเท้าชี้ไปทางพระพุทธรูปและพระสงฆ์ แต่ควรนั่งงอเข่าโดยให้เท้าชี้ไปทางด้านหลัง หรือนั่งขัดสมาธิโดยไม่ให้เท้าชี้ไปทางพระหรือผู้อื่น

9. ห้ามยืนขึ้นขณะถ่ายภาพ

ห้ามยืนขึ้นตอนถ่ายภาพและห้ามถ่ายภาพในบริเวณที่ห้ามถ่ายรูป

10. ห้ามแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ห้ามแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ภายในบริเวณวัด โดยเฉพาะการแสดงความรักจนเกินงามหรือสื่อไปทางลามกอนาจาร

11. ห้ามนำสิ่งที่ไม่เหมาะสมเข้ามาภายในวัด

ห้ามนำอุปกรณ์การพนัน สารเสพติด สุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเข้ามาภายในบริเวณวัด

12. ห้ามฆ่าสัตว์

ห้ามฆ่าสัตว์ ยิงนกตกปลา หรือก่อเหตุทะเลาะวิวาทเด็ดขาด เนื่องจากวัดเป็นเขตอภัยทาน

เมื่อทราบถึงมารยาทในการเที่ยวชมวัดไทยทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามแล้วอย่าลืมปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดกันด้วยนะคะทุกคน

เครดิตภาพ:
//www.pixabay.com/

การเข้าไปในศาสนสถานควรปฏิบัติตนอย่างไร

ขณะที่เราอยู่ในบริเวณวัด เราควรสำรวมกาย วาจา ไม่ควรส่งเสียงดังและไม่ยิงนกตกปลาในวัด.
แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งการสำรวมกิริยามารยาท ตลอดจนการเข้าไปในบริเวณวัดควรจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อย.
ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตศีลธรรมอันดีงาม เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมยไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกัน.

มีวิธีดูแลรักษาศาสนวัตถุอย่างไร

1. การปฏิบัติตนต่อศาสนวัตถุ เมื่ออยู่ต่อหน้ารูปเคารพของศาสนาต่าง ๆ จะต้องสำรวมกาย วาจา และใจ แสดงความเคารพ หรือถ้ามีรูปเคารพของศาสนา ต่าง ๆ ที่บ้านจะต้องวางไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ คัมภีร์ของศาสนาควรแยกเก็บไว้เป็นสัดส่วนในที่ที่เหมาะสม ไม่ควรนำมาเล่นหรือปะปนกับสิ่งของอื่น

นักเรียนสามารถปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อศาสนบุคคลศาสนวัตถุและศาสนสถานอย่างไรบ้าง

๑. แต่งกายด้วยชุดสุภาพ เรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพสถานที่ เมื่อเข้าไปในศาสนสถาน ๒. ส ารวมกิริยาอาการใน ขณะที่อยู่ในศาสนสถาน ไม่พูดคุย เสียงดัง ๓. แสดงความเคารพศาสนวัตถุ ที่อยู่ในศาสนสถานอย่างถูกต้อง

การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์มีอะไรบ้าง

๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์ ๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน ๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ ๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita