ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบคืออะไร

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ และเปรียบเทียบความสามารถด้านการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ

1. แบบฝึกทักษะการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 การบวก ตอนที่ 2 การลบ ตอนที่ 3 โจทย์ปัญหา พร้อมแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน ซึ่งเป็นแผนการใช้ชุดฝึก มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) และด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 86.32 /81.20

2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้แบบฝึกการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน

  • ใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน
  • ดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง
  • ถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง

2. วิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method)

การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน

  • มีมาตรวัดคู่ขนานกัน 2 ชุด (parallel form)
  • นำไปวัดคนกลุ่มเดียวกัน
  • ดูความสัมพันธ์ของผลการวัดทั้ง 2 มาตรวัด

3. Split–halves method

            การทดสอบแบบการทดสอบแบบแบ่งครึ่ง (Split-Half Reliability ) เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการหาความคงที่ ภายในโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวและสอบครั้งเดียว แต่แบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วน คือ ข้อคู่ และข้อคี่
การหาค่าความเชื่อมั่น: การทดสอบแบบแบ่งครึ่ง ใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากการแบ่งครึ่งข้อสอบที่สมมูลกันโดยใช้สูตร Spearman Brown

  • วัดครั้งเดียว
  • แบ่งเครื่องมือเป็น 2 ส่วน
    • ส่วนบน/ส่วนล่าง
    • ข้อคู่/ข้อคี่
  • นำผลการวัดทั้งสองส่วนมาหาความสัมพันธ์กัน
  • ความยาวของมาตรวัดมีผลต่อความเชื่อถือ

4. การวัดความสอดคล้องภายใน

      วัดเพียงครั้งเดียว วิเคราะห์ค่า “ความสอดคล้องภายใน ” (ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้)

4.1 วิธี Kuder-Richardson (Zero/one Method)

การทดสอบโดยการหาความคงที่ภายใน Kuder-Richardson Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่าแบบทดสอบหรือแบบสอบถามแต่ละข้อ มีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ การหาค่าความเชื่อมั่น: การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรายข้อ (ให้คะแนนแบบ 0-1) และคะแนนรวมใช้สูตร Kuder-Richardson (KR-20, KR-21)

  •  มาตรวัดทำถูกได้ 1  ทำผิดได้ 0
  •  KR – 20 / KR – 21

            4.2 วิธี Cronbach’s Alpha (Coefficient Alpha)

การทดสอบโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่า Alpha Coefficient Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่า แบบสอบถามแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ (คะแนนตั้งแต่ 0-…) การหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรวมทั้งฉบับโดยใช้สูตรคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)

ผมรู้จักกับพี่คนหนึ่งซึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาจากโรงเรียนเก่าของผม คือ โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม พี่คนนี้เราเคยร่วมงานกันและสนิทสนมกันมาก วันนี้ท่านได้ขอความช่วยเหลือจากผมให้ช่วยดูงานวิจัยให้หน่อย เพราะส่ง คศ.3 ไปแล้วกรรมการต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติม คือ เพิ่ม การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามความพึงพอใจ และหาอำนาจจำแนกด้วยจึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ

แบบสอบถามความพึงพอใจ คือ อะไร

แบบสอบถามความพึงพอใจ จะแบ่งออกเป็นข้อๆ และให้นักเรียนตอบตามความรู้สึกของตัวเองว่ามีความพึงพอใจกับบทเรียนหรือหัวข้อนี้มากน้อยเพียงใด มีคำตอบคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด การทำแบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่านี้ เขาเรียกกันว่า ลิเคิร์ท (Likert) ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจ ดังภาพ

ตัวอย่างบางส่วนของแบบสอบถามความพึงพอใจ

ค่าความเชื่อมั่น คืออะไร

ผมอ้างอิงจากหนังสือ ของ ผศ.ดร.ไพศาล วรคำ นะครับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงที่ของผลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชุดใดชุดหนึ่งในการวัดหลายๆ ครั้ง เช่น เอาตุ้มน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ไปชั่งด้วยเครื่องชั่งเครื่องหนึ่ง เครื่องชั่งจะบอกค่าน้ำหนักออกมาค่าหนึ่ง อาจเป็น 1 กิโลกรัม หรือค่าอื่นๆ ก็ได้ เมื่อเอาตุ้มน้ำหนักนั้นชั่งด้วยเครื่องนี้กี่ครั้งก็ได้ค่าน้ำหนักเท่าเดิมเสมอ แสดงว่าเครื่องชั่งมีค่าความเชื่อมั่น

ในทางแบบทดสอบก็คิดเช่นเดียวกันครับ ถ้าหากแบบทดสอบชุดนี้มีค่าความเชื่อมั่นแล้ว จะเอาไปทดสอบคนคนนี้กี่ครั้ง ผลที่ออกมาก็จะได้เท่าเดิมนั่นเอง ค่าความเชื่อมั่นมีกี่แบบอะไรบ้างผมจะไม่อธิบายเพราะเนื้อหาเหล่านี้ถ้าเราไปหาในหนังสืออ้างอิงการทำงานวิจัยต่างๆ ก็สามารถหาได้โดยง่าย เอาแค่พอเข้าใจเท่านี้นะครับ

หาคุณภาพของแบบสอบถามความพึงพอใจอย่างไร

ปกติแล้วถ้าต้องการหาคุณภาพของพวกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ตอบถูกผิดได้คะแนน 0 หรือ 1 พวกนี้การหาคุณภาพก็พอเห็นได้ชัด คือหาค่าความเชื่อมั่นจาก KR20 หรือ KR21 (สูตรของคูเดอร์-ริชาร์จสัน) ถ้าเป็นแบบวัดความพึงพอใจ ที่มีการให้คะแนนเป็น Rating scale หรือมาตรวัดประมาณค่า จะทำได้อย่างไร

ผมศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ชื่อเรื่อง การวิจัยทางการศึกษา ของ ผศ.ดร.ไพศาล วรคำ พบคำตอบว่า การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสามารถหาได้จาก การหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาหาวิธีการหาค่านี้กันครับ

สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

สูตรของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค คือ

$$\alpha =\left [ \frac{k}{k-1} \right ]\left [ 1-\frac{\sum S_{i}^{2}} {S_{t}^{2}} \right ]$$

เมื่อ เป็นสัมประสิทธิ์แอลฟา
เป็นจำนวนข้อคำถามหรือข้อสอบ
เป็นความแปรปรวนของคะแนนข้อที่ i
เป็นความแปรปรวนของคะแนนรวม t

สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค หาเมื่อไร

เราจะหาค่าความเชื่อมั่นจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอน สามารถใช้ได้ทั้งแบบทดสอบที่ให้คะแนน 0 หรือ 1 หรือแบบทดสอบที่มีค่าถ่วงน้ำหนัก หรือแบบมาตรประมาณค่า แม้แต่ข้อสอบอัตนัยก็สามารถใช้สูตรนี้ในการหาค่าความเชื่อมั่นครับ นั่นหมายถึง สูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคนี้เป็นกรณีทั่วไปของสูตร KR20 นั่นเองครับ

หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคด้วย Excel

โปรแกรมพื้นฐานอย่าง excel สามารถนำมาหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ง่าย โดยใช้ฟังก์ชันต่างๆ ที่เกี่ยวกับสูตรที่ให้ไว้ด้านบนนะครับ เราจะใช้แค่ 2 ฟังก์ชันสำคัญคือ =sum เอาไว้หาผลรวม และ =var.p เอาไว้หาความแปรปรวน ผมมีไฟล์ Excel ที่เอามากรอกข้อมูลไว้แล้ว สำคัญคือ ข้อคำถามของผมเป็นแนวเดียวกันทั้งฉบับ หากแบบสอบถามมีหลายแนว หรือจัดเป็นกลุ่มๆ ก็สามารถแยกหาไปที่ละด้านก็ได้เช่นกันนะครับ แต่อันที่ผมจะอธิบายในบทความนี้ แบบสอบถามถูกออกแบบเป็นข้อๆ รวดเดียวจบ และเป็นแนวเดียวกันทั้งฉบับครับ

คะแนนจากแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ

ก่อนอื่นหากใครต้องการไฟล์ excel เพื่อจะได้นำไปทำตามตัวอย่างที่ผมจะทำ จะได้ตรวจสอบไปในตัวด้วยว่าถูกต้องหรือไม่นั้น ให้ดาวน์โหลดไฟล์คะแนนจากที่นี่ครับ

reliability-alpha-cronbachดาวน์โหลด

หาผลรวมคะแนนของนักเรียนแต่ละคน ใช้ฟังก์ชัน =sum(xx:xx) ในเซลล์ถัดจากคะแนนข้อสุดท้าย ดังนี้

เมื่อได้แล้วให้ลากจุดที่อยู่บริเวณมุมล่างขวาของเซลล์ลงมาเพื่อหาผลรวมของทุกๆ คน

ต่อไปหาความแปรปรวนของข้อสอบแต่ละข้อ โดยคลิกที่เซลล์ช่องด้านล่างสุดของ ข้อ 1 ใช้ฟังก์ชัน =var.p(xx:xx) เพื่อครอบคะแนนข้อ 1 ทั้งหมด

เช่นเดียวกับคะแนนรวม ลากจุดมุมล่างขวาไปยังขวามือ เพื่อหาความแปรปรวนของทุกๆ จะได้ข้อมูลดังภาพ

อย่าลืมหาผลรวมความแปรปรวนของแต่ละข้อไว้ โดยสามารถลากจุดที่อยู่ด้านล่างขวาของเซลล์สุดท้ายของคะแนนรวมลงมาได้เลย ดังภาพ

หาความแปรปรวนของคะแนนรวม โดยผมคลิกเลือกที่เซลล์ว่างๆ แล้วใช้สูตร =var.p(xx:xx) ลากครอบคะแนนรวมทุกเซลล์ดังภาพ

ได้ค่าดังดังภาพ โดยปรับทศนิยมให้เหลือ 2 ตำแหน่งครับ

คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาจากสูตรด้านบนได้เลยครับ เลข 20 คือจำนวนข้อสอบนะครับ และ 19 ก็คือ k-1 นั่นเอง

ได้ผลลัพธ์สัมประสิทธิ์ของแอลฟามาเป็น 0.85 นะครับ ถือว่าใช้ได้ ค่านี้จะโอเคก็ต่อเมื่อมากกว่า 0.7 ขึ้นไป ยิ่งใกล้ 1 ยิ่งดี หมายถึง ค่าความเชื่อมั่นจะสูงมากนั่นเองครับ แต่ถ้าเป็นลบ หรือน้อยๆ ก็แปลว่า ข้อสอบบางข้อยังไม่สัมพันธ์กับข้ออื่นๆ หมายถึงต้องแก้ไข ซึ่งจะแก้ได้อย่างไรอันนี้จะขั้นสูงหน่อย อาจต้องใช้โปรแกรม SPSS เข้ามาช่วยหาครับ ค่าความเชื่อมั่นที่ได้นี้เมื่อหาจากโปรแกรม SPSS ก็จะได้ค่าเช่นเดียวกันครับ ผมใช้ข้อมูลเดียวกันนี้คำนวณแล้ว ได้ดังนี้

หากต้องการไฟล์ excel ที่ผมคำนวณเสร็จ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.85 สามารถดาวน์โหลดไปดูได้จากที่นี่

reliability-alpha-cronbach-excelดาวน์โหลด

ถ้าหากว่าหาค่าความเชื่อมันแล้วติดลบ สามารถศึกษาวิธีการแก้ไขได้จากบทความนี้ครับ

เนื่องจากบทความนี้เป็นบทความที่มีประโยชน์มากแต่บางคนก็ยังไม่สามารถทำตามได้จากการอ่านบทความ ผมจึงอัดคลิปการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคเพื่อให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้นครับ แต่ในคลิปผมจะใช้สูตรความแปรปรวนของตัวอย่างนะครับ สำหรับไฟล์ word ในคลิปผมจะแนบไว้ใต้คลิปก็แล้วกันครับ

Reliability_Alpha_cronbachดาวน์โหลด

แหล่งอ้างอิง : ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

หากต้องการความช่วยเหลือในการคำนวณค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สามารถติดต่อผมได้โดยตรงนะครับ ถ้าพอจะช่วยเหลือหรือแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ไม่คิดค่าบริการ แต่ถ้าจะให้ช่วยคำนวณให้หมด โดยเอาคะแนนดิบมาเพื่อให้ช่วยหาให้ มีค่าบริการครั้งละ 200 บาทครับ โดยส่งไฟล์ excel เข้ามาทางไลน์ LineID: @krujakkrapong หรือ อีเมล mercedesbenz3010@gmail.com ครับ

ค่า Reliability คืออะไร

ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงที่ ความมั่น คง หรือความสม่ํา เสมอของผลการ วัด เชน ถานํา แบบทดสอบไปวัดสิ่ งเดียวกันสองครั้งแลวไดผลไมแตกตา งกัน ถือวา มีความคงที่ ของผลคะแนนที่ไดสูง อีกกรณีหนึ่งก็คือถาใหท ํา แบบทดสอบฉบับเดียวกันสองครั้งในเวลาตา งกัน และไดคะแนนเกือบเทากันทั้งสองครั้ง ก็จะหมายความวา ...

ระดับความเชื่อมั่นหมายถึงอะไร

ระดับความเชื่อมั่น (level of confidence) หมายถึง โอกาสที่พารามิเตอร์ของประชากรจะอยู่ในช่วงของค่าที่ ประมาณได้ เช่น P(L<µ< U) = 0.95 หมายความว่าโอกาสที่ค่า µ จะมีค่า อยู่ในช่วง L และ U เป็น 0.95 หรือ 95% และโอกาสที่ค่า µ จะมีค่าน้อย กว่า L หรือมากกว่า U เป็น 0.05 หรือ 5%

การหาค่าความเชื่อมั่น มีอะไรบ้าง

การหาความเชื่อมั่น.
วิธีการสอบซ้ํา (Test-Retest Method).
วิธีการใชเครื่องมือคูขนาน (Parallel forms Method).
วิธีการแบงครึ่ง (Split-Half Method).
วิธีการหาความเปนเอกพันธภายใน (Internal Consistency Method).

ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่าไร

การวัดหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach 1970 : 161) ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (∝-Coefficient) กำหนดให้ค่าความน่าเชื่อถือได้ของสัมประสิทธิ์แอลฟ่าจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 0.7 (ถ้าทดสอบได้น้อยกว่า 0.7 ต้องแก้ไขแบบสอบถาม ล้วทำการทดสอบแบบสอบถามที่แก้ไขกับกลุ่มตัวอย่างซ้ำ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita