การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คืออะไร สามารถทําได้อย่างไรบ้าง

ตอนที่ 2 ระดับของเศรษฐกิจพอเพียง และการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคลและครอบครัวและชุมชน


ะดับของเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเตือนสติประชาชนให้มีความพอเพียง พออยู่พอกิน พอดีพอเหมาะตามอัตภาพ โดยทรงชี้ให้เห็นว่าความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนเป็นจุดที่ควรเริ่มต้นก่อน และเมื่อมีพื้นฐานมั่นคงแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ซึ่งหมายถึงการทำให้ประชาชน พอมี พอกิน เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งก่อนที่จะพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป

ความพอเพียงในนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความเพียงแค่บุคคลพึ่งตนเองได้ (Self Sufficiency) แต่เศรษฐกิจพอเพียง หรือ Sufficiency Economy มีความหมายกว้างมากกว่า เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสำหรับปรับใช้ได้ทุกคน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่การหยุดอยู่กับที่ แต่เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ทั้งกับกลุ่มบุคคล และชุมชน โดยมีความเป็นพลวัต (Dynamism) สามารถพัฒนาได้ตามเหตุผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ โดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ระดับ คือ

ระดับที่หนึ่ง – เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่บุคคลและสมาชิกในครอบครัวมีความพอประมาณในการกิน มีอาหารที่เพียงพอในการบริโภคของตนเองและครอบครัว สามารถสนองความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ของครอบครัวได้ มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีที่ไม่บริโภคนิยม ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต ไม่ประมาท รู้จักพึ่งตนเองและแบ่งปัน ช่วยเหลือคนในครอบครัว และคนอื่นๆ

ระดับที่สอง – เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ ยกระดับความพอเพียงที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือทั้งชุมชน โดยมีการร่วมคิดร่วมทำและร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือต่อส่วนรวม รักษาผลประโยชน์ภายในชุมชนและส่วนรวม มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการจัดการและแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน โดยมุ่งเน้นความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

ระดับที่สาม – เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวไกล โดยมีความร่วมมือกันสร้างเป็นเครือข่าย ที่เน้นความร่วมมือระหว่างชุมชน กลุ่ม องค์กรและภาคธุรกิจเอกชน หรือกิจกรรม หรือธุรกิจภายนอกกลุ่ม โดยมีการประสานงานเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ

ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือ การมีจิตสำนึก มีความศรัทธา มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่า และนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน/สถาบันการศึกษา องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว

ผู้นำไปประยุกต์ใช้ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและต้องให้คนในครอบครัวเป็นผู้ประเมินให้ว่ามีความก้าวหน้าในการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตพอเพียงมากน้อยเพียงใด (เพื่อไม่ให้เข้าข้างตัวเอง) สำหรับแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาฯ ในระดับบุคคลและครอบครัว มีดังนี้

1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่สุดโต่ง มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง และครอบครัว หรือบัญชีครัวเรือน มีการวางแผนในการหารายได้และจัดสรรรายจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น มีการผลิตและบริโภคที่พอประมาณ ไม่บริโภคนิยม เป็นต้น

2) ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และไม่ใช้อารมณ์

3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัวและทันโลก ด้านการเงินมีการออมในครัวเรือน ปลอดอบายมุขทั้งปวง มีสุขภาพใจและกายที่ดี สร้างความอบอุ่นในครอบครัว หารายได้เสริมเพื่อลดความเสี่ยง

4) การมีคุณธรรมและความรู้เป็นพื้นฐาน รู้จักเสียสละ แบ่งปันให้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเงินทองหรือทรัพย์สินตามอัตภาพ หรือบริจาคแรงงาน มีการขวนขวายหาความรู้ ใช้หลักวิชาการ และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหรือในครอบครัว มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต อดทน การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้และการทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วไปและในสังคม

แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน

1.ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ชุมชนที่สมาชิกของชุมชนรวมตัวกันตั้งแต่ 10 ครัวเรือนขึ้นไป สามารถพึ่งตนเองได้ มีความสามัคคี รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างประโยชน์สุขให้กับชุมชน โดยส่วนรวม

2.ในการดำเนินกิจกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ควรดำเนินการในรูปของคณะกรรมการของชุมชนและคณะกรรมการดังกล่าวควรมีหน้าที่ในการกำกับ การดำเนินงาน และการประเมินบทบาทของชุมชนในเรื่องความสัมฤทธิผลของการเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

3.แนวทางในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน มีประเด็นสำคัญที่ควรดำเนินการ ดังนี้

3.1 ในภาพรวมในชุมชนหรือหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีครอบครัวหรือครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือระดับปานกลาง

3.2 การดำเนินงานของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1) ความพอประมาณ
ให้มีการผลิตเพื่อบริโภคในชุมชน หากมีเหลือจึงจำหน่าย/วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน แล้วปฏิบัติตามหลักการพึ่งตนเอง โดยใช้ทรัพยากรภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน/มีการวางแผนค่าใช้จ่ายและจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างเหมาะสม

2) ความมีเหตุผล

สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน/สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน โดยคำนึงถึงผลลัพธ์และผลกระทบ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา ร่วมดำเนินการและร่วมติดตามและประเมินผล/ชุมชนรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รอบคอบ โดยเลือกใช้ทรัพยากรที่คำนึงถึงความยั่งยืน สมดุล และความสงบสุขในสังคม

3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

การสนับสนุนให้ครอบครัวและครัวเรือนทุกบ้านมีการทำบันทึกหรือบัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอ/การสนับสนุนให้ครอบครัวหรือครัวเรือนมีการออมเงิน เพื่อรองรับความจำเป็นฉุกเฉินหรืออุบัติภัยต่างๆ/การส่งเสริมให้ชุมชนมีการแบ่งปันกันและช่วยเหลือกันในชุมชน โดยการทำเป็นเครือข่ายความช่วยเหลือและการประกอบอาชีพต่างๆ ในชุมชน/การส่งเสริมให้ชุมชน รวมกลุ่มเป็นจิตอาสา หรืออาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือกันในชุมชน/การส่งเสริมให้ชุมชนมีการออกกำลังกายและเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีทั้งของชุมชนและของรัฐ เมื่อยามเจ็บป่วย/ชุมชนมีการจัดการและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า การมีระบบจัดการขยะที่ดี เป็นต้น / ชุมชนมีความหลากหลายในการผลิตทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง การตลาดหลักและการตลาดรอง เพื่อลดความเสี่ยง/ชุมชนมีกิจกรรมสร้างงานและสร้างรายได้ในชุมชน/ชุมชนมีการจัดตั้งองค์กรและกองทุนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกและสวัสดิการต่างๆ แก่คนในชุมชน

เช่น กองทุนสัจจะออมทรัพย์ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์กันในชุมชน เป็นต้น ฯลฯ

4)การสร้างองค์ความรู้ในชุมชน

ชุมชนมีการใช้หลักวิชาการในการดำเนินโครงการและกิจกรรมของชุมชน โดยมีการเผยแพร่ความรู้ภายในชุมชน/ชุมชนมีการจัดเวทีประชาคมและจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน/ชุมชนมีศูนย์เรียนรู้ของชุมชน รวมทั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง/ชุมชนมีการใช้ภูมิปัญญาของคนในชุมชน เพื่อการพัฒนาของชุมชน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพจากผู้รู้ให้แก่คนในชุมชน/ชุมชนมีการพึ่งตนเอง โดยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชน/ชุมชนมีการจัดทำแผนพัฒนาของชุมชนและสมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

5) การยึดหลักคุณธรรมในชุมชน

มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมีสัมพันธ์ที่ดีต่อสมาชิกในชุมชน/สมาชิกในชุมชน ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน/สมาชิกในชุมชน ยึดหลักปฏิบัติที่กำหนดร่วมกันอย่างเคร่งครัด/ชุมชนมีการพัฒนาวัดหรือศาสนสถานในชุมชน

หรือจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน/ชุมชนมีการขยายผลเรื่องการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชนอื่นๆ และร่วมมือเป็นเครือข่าย

(มีต่อตอนที่ 3)

การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวมีลักษณะอย่างไรบ้าง

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองใน ...

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลัก การทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาชุมชนสามารถทำได้กี่ด้าน

แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน.
ความพอประมาณ ... .
ความมีเหตุผล ... .
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ... .
การสร้างองค์ความรู้ในชุมชน ... .
การยึดหลักคุณธรรมในชุมชน.

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงช่วยในการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร

1) ในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเริ่มต้นจากการสร้าง กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับ สมาชิกของชุมชน และกระตุ้นเตือน พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จักมัธยัสถ์ รักสันโดษ สร้าง จิตส านึกให้รู้จักคุณค่าของการมีชีวิตที่พอดี รู้จัก ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita