ความมั่นคงของรัฐ มีอะไรบ้าง

���ҧ�á���  ������蹤���觪ҵ���������  �����������Ѻ������蹤��ء��ҹ �������ǹ����ѹ��ѹ���ҧ������� ����Ǥ�� �ҧ������Ҩ�դ�����蹤��ҧ���ɰ�Ԩ�٧ ��������ЪҪҵ��ҡ  ��ЪҪ���ǹ�����������آ �����ҡ������蹤���ҹ��蹹���   �蹷ҧ��ҹ��÷���������дѺ��� �蹹�� �ж�������һ���ȹ���դ�����蹤���觪ҵ��٧�����     ������ҧ ����ʴ������繪Ѵ���� ���������ȷҧ���ѹ�͡��ҧ �繵�   �����������������û �蹻������Ե�����Ź��  ��������������µ�ͺؤ�ŵ�ͻ��٧�ش��š �������դ�����蹤���觪ҵ�������٧�ͧ�š��� �й�� ��þԨ�óһ����Թ��Ҥ�����蹤���觪ҵ� �е�ͧ�������������§��ҹ㴴�ҹ˹����੾����� �� ��ҹ���ɰ�Ԩ��§��ҹ���� ���;Ԩ�ó�੾���ӹҨ��л���Է���Ҿ�ͧ���ظ ���;Ԩ�ó�੾���ӹҨ���ѧ����������ػ���� � ���    ��Ҫҵ���ջѨ��´ѧ������ҡ��������    �е�ͧ�繽��·���դ�����蹤���觪ҵ��٧�����ա�ҵ�˹��    ���ͨ�����ö�ѡ�Ҥ���ʧ��ͧ������������   

ผมเดาเอาว่านายทหารระดับสูงที่แสดงความคิดเห็นว่าบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ สะเทือนความรู้สึกของทหารนั้น

ผมเดาเอาว่านายทหารระดับสูงที่แสดงความคิดเห็นว่าบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ สะเทือนความรู้สึกของทหารนั้น คงไม่ได้มีเวลาอ่านบทความจริงๆ และคงแสดงความคิดเห็นจากการตีความชื่อบทความ ผมก็เลยคิดว่าน่าจะลองขยับมาพูดเรื่องนี้ดูสักหน่อย หวังว่าระบบราชการทหารคงจะไม่เอาเรื่องเอาราวกับผม (อีกนะครับ ฮา)

ประเด็นแรก การจรรโลงทหารของรัฐแต่ละรัฐในโลกทุนนิยมนี้ ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพราะธุรกิจอาวุธสงครามกลายเป็นพลังกระตุ้นให้ทหารในแต่ละรัฐต้องแสวงหาทางครอบครองอาวุธใหม่ๆ ราคาแพงๆ ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนที่กำลังเปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งหมด

ตัวอย่างความสิ้นเปลืองงบประมาณชิ้นหนึ่ง ได้แก่ ไทยและสิงคโปร์สั่งซื้ออาวุธจรวดแบบหนึ่งที่แพงมากจากสหรัฐอเมริกา แต่เขา “เก็บเอาไว้ให้” ไม่ได้ส่งให้ทั้งสองประเทศ จะส่งให้ก็ต่อเมื่อจำเป็นต้องใช้ แต่ความจำเป็นนั้นน่าจะไม่เกิดขึ้น แต่จรวดที่เราเสียเงินมหาศาลซื้อมาก็จะล้าสมัยไปทุกวัน และต้องโล๊ะทิ้งในที่สุด ดังนั้น เงินของรัฐทั้งสองจึงสลายไปอยู่ในกระเป๋าพ่อค้าอาวุธ โดยที่เราได้เพียงกระดาษที่ระบุว่าจรวดเป็นของเราเท่านั้นเอง

การใช้เงินงบประมาณในลักษณะนี้ไม่นำไปสู่ “การผลิต” อะไรเลยสำหรับประเทศหรือรัฐที่ไม่มีอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธนะครับ เช่น ประเทศไทย หรือ สิงคโปร์

ต้องเข้าใจนะครับ การต่อสู้/สงครามที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายใน มากไปกว่าการผลักดันให้เกิด/ขยายความขัดแย้งอันมาจากบรรดาประเทศผู้ขายอาวุธสงคราม

ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญในบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพราะท่านได้มองเห็นแล้วว่าในระบบความสัมพันธ์ทางอำนาจของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิมแล้ว

แล้วการคิดแบบนี้ ทหารควรจะคิด/ตระหนักบ้างไหม เพื่อที่จะทำให้เกิดการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้นำทางทหารของเราประกาศว่ารักชาติและหวังให้ชาติมั่นคงและเจริญก้าวหน้า ในท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าและต้องการงบประมาณอีกมากเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง การปรับตัวของภาคเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ความรักชาติควรแสดงออกด้วยการดึงงบประมาณมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ใช่หรือไม่

ประเด็นที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อยากจะให้สังคมตั้งคำถามมากขึ้น ได้แก่ คำถามถึงบทบาทของทหารในสังคม กล่าวคือ ทหารเป็นองค์กรเดียวในรัฐสมัยใหม่ที่จัดตั้งได้เข้มแข็งที่สุดและผูกขาดการใช้ความรุนแรงได้เพียงกลุ่มเดียว ดังนั้น หากสังคมไม่ระมัดระวังให้ดี เราจะถูกทำให้เชื่อว่าทหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงของรัฐ ดังที่ปรากฏมาในอดีต (และปัจจุบัน) ว่า ทหารในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เถลิงอำนาจมาได้เป็นเวลานานๆ ด้วยเหตุผลของการรักษาความมั่นคงของรัฐ พร้อมกันนั้น ระบอบทหารในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายตนเองเป็นเสมือนกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งที่ได้ใช้อำนาจพิเศษขององค์กรตนเองเถลิงอำนาจขึ้นมาครองอำนาจรัฐ เพื่อยังผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มการเมืองของตนเองในหลายรูปแบบ

สิ่งที่ต้องคิดในวันนี้ ก็คือ "ความมั่นคงของรัฐ” กับความมั่นคงทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเป็นคนละเรื่องกันนะครับ เพราะ “ความมั่นคงของรัฐ” ในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีกำลังทหารที่แข่งกับเพื่อนบ้าน เท่ากับว่าการมีนโยบายต่างประเทศที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้กระทั่งการจะกล่าวถึง “ความมั่นคงภายในของรัฐ” ก็ต้องใช้เครื่องมือทางการเมืองมากกว่าการใช้กลไกทางการทหาร

ผมคิดว่า “ความมั่นคงของรัฐไทย” ในสังคมโลกเข้มแข็งและมั่นคงจนไม่น่ากังวล ดูขนาดการเกิดรัฐประหารมาแล้วตั้งปีกับหกเดือน บรรดาประเทศมหาอำนาจที่สมาทานระบอบประชาธิปไตย (ไม่ว่าจริงใจหรือไม่จริงใจก็ตาม) ก็ยังไม่สามารถจะทำอะไรรัฐไทยได้เลย แต่แน่นอนว่าการรักษาอำนาจไว้ให้มั่นคงของกลุ่มการเมืองไม่ว่ากลุ่มใดก็ตาม

การเรียกร้องให้สังคมตั้งคำถามว่า “ทหารมีไว้ทำไม” จึงไม่ใช่การมองว่าทหารไร้ประโยชน์สำหรับปัจจุบันและยกเลิกเสียเลย หากแต่ท่านได้เสนอไว้ด้วยว่า “ แม้แต่จะธำรงรักษากองทัพแห่งชาติไว้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนการจัดองค์กร ขนาด เครื่องไม้เครื่องมือ สายการบังคับบัญชา กันใหม่หมด จึงจะเหมาะกับโลกปัจจุบันซึ่งมีกลไกระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและป้องปรามการสงครามที่สลับซับซ้อนเช่นนี้” เพราะท่านก็คงรู้ดีอยู่กว่าการเสนอให้ยกเลิกเลยนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน แต่เดาเอาว่าท่านคงคิดว่าหากสังคมตั้งคำถามเช่นนี้มากขึ้นๆ ก็จะเป็นพลังให้กองทัพได้ปรับตัวเองให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในด้านอื่นๆ และที่สำคัญ สังคมก็จะได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวของกองทัพด้วย เช่น กองทัพที่เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้มีงบประมาณเหลือพอสำหรับการคิดนโยบายเพื่อประชาชนด้านอื่นๆ

ในยามที่สังคมกำลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อก้าวให้พ้นวิกฤติการต่างๆ ดังที่ท่านผู้นำของเราได้กล่าวไว้เสมอๆ ผมคิดว่าในจังหวะสำคัญเช่นนี้ สังคมไทยยิ่งต้องการความหลากหลายทางความคิด โดยเฉพาะมุมมองต่อเรื่องต่างๆ เพื่อที่จะทำให้สังคมเรามีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในการเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมแก่สังคม

ผมอยากจะให้ท่านๆ ฟังผมหน่อยเถอะว่า หากปล่อยให้มีความคิดที่หลากหลายจะมีผลดีต่อสังคมมากกว่าความพยายามจะควบคุมไม่ให้คนคิดและแสดงความเห็นต่าง

ขอปิดท้าย ด้วยคำของพระพุทธองค์ ท่านทรงสอนไว้ว่าแนวทางที่นำไปสู่สัมมาทิฏฐินั้นมีสองทาง ได้แก่ ปรโตโฆสะ (รับฟังเสียงจากผู้อื่น) ซึ่งจะสัมพันธ์อยู่กับโยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดที่ถูกต้องถูกวิธี)

องค์ประกอบของความมั่นคงแห่งชาติมีอะไรบ้าง

ความมั่นคงแห่งชาติ.
การใช้การทูตเพื่อระดมพันธมิตรและแยกภัยคุกคาม.
การระดมอำนาจทางเศรษฐกิจเพื่ออำนวยหรือขับบริษัท.
การรักษากองทัพที่มีประสิทธิภาพ.
การใช้การป้องกันฝ่ายพลเรือนและมาตรการความพร้อมภาวะฉุกเฉิน (รวมทั้งกฎหมายต้านการก่อการร้าย).
การประกันความยืดหยุ่นและการมีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำรอง.

ด้านความมั่นคงคืออะไร

ความมั่นคง (อังกฤษ: security) เป็นระดับการต่อต้านหรือป้องกันจากภัย ใช้ได้กับสิ่งที่เป็นคุณเสี่ยงต่อภัยและมีคุณค่าใด ๆ เช่น บุคคล ผู้อยู่อาศัย ชุมชน ชาติหรือองค์การ

ประเทศประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบคือ (1) ประชากรที่อยู่รวมกันอย่างถาวร (2) ดินแดนที่ถูกก าหนดไว้อย่างชัดเจน (3) รัฐบาลและ (4) ความสามารถที่จะสถาปนาความสัมพันธ์กับต่างรัฐได้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน ว่า หากขาดไปเสียซึ่งองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งดังที่กล่าวไปนี้ ย่อมไม่ถือว่าเป็นรัฐใน ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือแม้แต่ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ...

นโยบายด้านความมั่นคงมีอะไรบ้าง

ส่วนที่ 1 นโยบายเสริมสร้างความมั่นคงที่เป็นแก่นหลักของชาติ -นโยบายที่ 1 เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข -นโยบายที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ -นโยบายที่ 3 ป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita