วิจัย คืออะไร ทําไม ต้อง วิจัย

1. การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร

การวิจัยในชั้นเรียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Classroom Research คือกระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ    รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่ทำการศึกษา บางทีเราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  

2. ใครเป็นผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน

ผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนคือ ครูผู้สอน

3. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้

1. วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา

2. วางแผนแก้ปัญหา/การพัฒนา

3. จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/การพัฒนา

4. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล

5. สรุปผลการแก้ปัญหา/การพัฒนา

4. ครูผู้สอนจะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร

ครูผู้สอนจะเริ่มต้นด้วยวิธีง่าย ๆ คือ  สอนไปสังเกตไป ว่าผู้เรียนคนไหนมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน แล้วพยายามบันทึกไว้ จากนั้นสรุปข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเด็กในชั้นมีกลุ่มเก่งกี่คน  กลุ่มอ่อนกี่คน  ใครบ้างที่เรียนอ่อน  อ่อนในเรื่องอะไร  เพื่อจะได้คิดหานวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอ่อนต่อไป

5. ปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาต้องเป็นด้านความรู้เท่านั้นใช่หรือไม่           

ไม่ใช่ ปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาอาจเป็นด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือด้านความประพฤติ พฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนก็ได้

6. การทำวิจัยในชั้นเรียน จะทำให้ครูทิ้งชั้นเรียน   เพราะ ต้องไปค้นคว้าเกี่ยวกับนวัตกรรม ใช่หรือไม่

          ไม่ใช่ การทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเล็ก ๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง มุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน เป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหรืออ้างอิงแบบวิทยานิพนธ์ รูปแบบการหาความรู้อาจได้มาจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกัน จากเอกสารต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประชุมอบรม สัมมนา จากรายการ โทรทัศน์ทางการศึกษา จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น Internet วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้

7. รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนจะเขียนเมื่อไร

           เขียนขึ้นเมื่อครูผู้สอนเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว   ครูผู้สอนต้องเขียนสรุปผลการวิจัย  หากพบว่าผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ และ/หรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ครูผู้สอนอาจต้องทำวิจัย ในชั้นเรียนซ้ำอีกครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง   จนกว่าผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และ/หรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ตามหลักสูตรอย่างแท้จริง

8. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนต้องเขียนตามระเบียบวิธีวิจัย คือต้องมีบทที่ 1 ถึง บทที่ 5 ใช่หรือไม่

          ไม่จำเป็น การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน ครูสามารถเขียนง่าย ๆ โดยระบุปัญหาที่ พบ สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และผลการแก้ปัญหา อาจมีข้อเสนอแนะหรือ ข้อสังเกตต่อท้าย และแนบหลักฐานสิ่งที่ได้ ดำเนินการ เช่น แบบฝึก แบบบันทึก ฯลฯ

9. ทำวิจัยแล้วจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

           ทำวิจัยแล้วมีประโยชน์อย่างแน่นอน ประโยชน์ต่อนักเรียนคือ นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการพัฒนา หรือแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ประโยชน์ต่อครูคือ ครูมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ครูผู้สอนสามารถสรุปเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อรอรับการประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพครู และ สามารถรวบรวมเป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนระดับให้สูงขึ้น

10. การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยในโรงเรียนต่างกันอย่างไร

               การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยของครูที่ประจำอยู่ในห้องเรียน ซึ่งสังเกตพบว่า นักเรียนบางคนมีปัญหา และเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาของนักเรียนบางคนดังกล่าว ระบุได้หลายสาเหตุ จึงเลือกสาเหตุที่ตนสามารถ แก้ไขได้ หาวิธีแก้ไข (ซึ่งไม่ใช่วิธีสอน) ดำเนินการแก้ไขไปพร้อม ๆ กับการสอนนักเรียนกลุ่มใหญ่ จนปัญหา ดังกล่าวได้รับการคลี่คลาย จึงเขียนรายงานการวิจัยซึ่งมีความยาว 2-3 หน้า

               การวิจัยในโรงเรียน เป็นการวิจัยของผู้บริหารโรงเรียน หรือศึกษานิเทศก์ ซึ่งสังเกตพบว่า ครูบางคนมีปัญหา ในงานครู และเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุดังกล่าว ก็ระบุได้หลายสาเหตุ จึงเลือกสาเหตุที่ตนสามารถแก้ไขได้ หาวิธีการ แก้ไข ดำเนินการแก้ไข ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงานปกติของตน จนปัญหาดังกล่าวได้รับการคลี่คลาย จึงเขียน รายงานการวิจัยซึ่งมีความยาว 2-3 หน้า เช่นเดียวกัน

11. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจะทำได้ทุกกลุ่มสาระหรือไม่

               การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สามารถทำได้ทุกกลุ่มสาระไม่ว่าจะเป็นสาระความรู้ การปฏิบัติ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาคุณธรรม ลักษณะของแต่ละกลุ่มสาระใช้กระบวนการเดียวกัน คือ ก่อนวิจัยต้องมีการหาปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา หาแนวทางแก้ไข นำแนวทางไปดำเนินการ สรุปผล การเขียนรายงาน

12. โดยสรุปการวิจัยในชั้นเรียนจะมีลักษณะอย่างไร

                    การวิจัยในชั้นเรียนจะมีลักษณะดังนี้

1. ผู้วิจัยยังคงทำงานตามปกติของตน

2. ไม่ต้องสร้างเครื่องมือวิจัย

3. ไม่มีข้อมูลจำนวนมาก

4. ไม่ต้องทบทวนรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5. ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการสังเกต การพูดคุย และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

6. ใช้เวลาทำวิจัยไม่นาน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและจำนวนบุคคลที่ต้องการแก้ไข  

7. ความยาว 2-3 หน้าต่อเรื่อง

8. นักเรียน/ครู ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา

9. ไม่มีการระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง

10. ไม่ต้องใช้สถิติสรุปอ้างอิง และไม่มีระดับนัยสำคัญ

11. ไม่มีการทดสอบก่อนหลัง

12.ไม่มีกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

13. เป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative research มากกว่า Quantitative research)

14. เน้นการแก้ไขที่สาเหตุของปัญหาของนักเรียน/ครู บางคน บางเรื่อง

วิจัยต้องทำอะไรบ้าง

1. กำหนดเนื้อหางานวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษา ... .
2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด ... .
3. หัวข้อเรื่องวิจัย ... .
4. ตั้งสมมติฐาน ... .
5. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจน ... .
6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย ... .
7. การเก็บรวบรวมข้อมูล ... .
8. การวิเคราะห์แปลผลข้อมูล.

ความสําคัญของการวิจัย คืออะไร

จุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัย อย่างชัดเจน จะทำให้ทราบถึงชนิดของตัวแปรและจำนวนของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ทราบว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กัน และลักษณะความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางใด ต้องมีการควบคุมตัวแปรใดบ้าง และทำให้ทราบถึงแนวทางในการสร้างเครื่องมือ และใช้เครื่องมือวัดตัวแปร

การทำวิจัยเริ่มจากอะไร

กระบวนการวิจัย เริ่มจากการระบุปัญหา ข้อคาถาม ข้อขัดแย้งเสียก่อนแล้วพิจารณาการ แสวงหาคาตอบของข้อสงสัยหรือข้อคาถามโดยใช้กระบวนการวิจัย เริ่มศึกษากรอบขอบเขต สิ่งที่จะวิจัยเมื่อเลือกเนื้อหาสาระที่ตนเองสนใจตามภูมิความรู้แล้วจึงระบุปัญหาการวิจัย สมมุติฐาน การวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย(อุทุมพร จามรมาน(ทองอุไทย),2537 : 18)

การวิจัยคืออะไร ความหมาย

1. การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยอาศัยอุปกรณ์ หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita