วิศวกรรมอุตสาหการ สอบอะไรบ้าง

รอบที่เปิดรับสมัครให้สอบเข้าวิศวะ ผ่านระบบ TCAS

รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

คะแนนที่ใช้ประกอบด้วย เกรด แฟ้มสะสมผลงาน รางวัลที่เคยได้รับหรือที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรมศาสตร์ และทำการสอบสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัย

รอบที่ 2 โควตา

คะแนนที่ใช้ ประกอบด้วย ผลคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ คุณสมบัติพิเศษ (ทางมหาวิทยาลัยกำหนด) และเขตพื้นที่/โรงเรียนเครือข่าย

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน

คะแนนที่ใช้ ประกอบด้วย ผลคะแนนสอบ GAT/PAT 1, PAT 2, PAT 3 (ทั้งนี้แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีการใช้คะแนน PAT 1,2,3 ไม่เหมือนกัน)

รอบที่ 4 แอดมิชชัน (Admission)

คะแนนที่ใช้ประกอบด้วย เกรดเฉลี่ย ผลคะแนนสอบ O-NET และ GAT/PAT 1, PAT 2, PAT 3

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ

คะแนนที่ใช้ ประกอบด้วย เกรดเฉลี่ย ผลคะแนนสอบ O-NET และ GAT/PAT (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก)

อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องสอบอะไรบ้าง?
พื้นฐานวิชาที่ใช้ในการสอบเข้า ใช้คะแนน GAT PAT1 และ PAT3 ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต้องการสัดส่วนคะแนนแต่ละอย่างแตกต่างกันไป น้องๆ ต้องศึกษารายละเอียดเฉพาะลงไป เช่น วิศวฯ จุฬา ต้องการคะแนน GAT 20%, PAT1 20%, PAT 3 60% ถ้าอยากสอบเข้าให้ได้ ก็ต้องมีเน้นตั้งใจและฝึกฝนในส่วนต่างๆ ให้เจาะจงลงไป โดยเฉพาะเทคนิคในการทำข้อสอบแต่ละส่วน และนี่คือรายวิชาที่น้องๆ ทุกคนจะต้องสอบถ้าอยากเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ไม่ว่าสถาบันไหน

- GAT ทั้ง GAT1 , GAT 2 น้องๆ อย่าลืมฝึกทำโจทย์ให้เยอะและทบทวนบ่อยๆ เพื่อความเข้าใจอย่างรอบคอบ
- PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์จำสูตรและฝึกทำโจทย์เยอะๆ เข้าไว้ 
- PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เน้นเรื่องฟิสิกส์ คณิตเรื่องอนุกรม ตรีโกณ ตรรกศาสตร์ เคมี เน้นโพลีเมอร์ ฯลฯ

สุดท้ายขอให้น้องๆ ทุกคนตั้งใจและเตรียมตัวกันไว้ตั้งแต่ม.ต้น เมื่อถึงเวลาต้องสอบเข้า จะได้เต็มที่และได้เรียนในสิ่งที่รักและฝันให้สำเร็จนะคะ

วิศวกรอุตสาหการ คือ วิศวกรที่สร้างระบบต่างๆ เพราะพวกเราเน้นการศึกษาเรื่องระบบ เรื่องการออกแบบและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบที่พูดถึงนี้ไม่ได้จำเป็นที่จะอยู่แค่ในโรงงานเท่านั้น (ระบบผลิต – สายพาน, การวางตำแหน่งจุดต่างๆ ในโรงงาน ฯลฯ) แต่หมายถึงระบบที่อยู่ในธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจบริการ, ส่วนงานจัดการห่วงโซ่อุปทาน, ส่วนงานโลจิสติกส์/ขนส่ง ฯลฯ ซึ่งวิศวกรอุตสาหการก็สามารถเข้าไปทำงานได้ทั้งหมด

สิ่งที่วิศวกรอุตสาหการทำจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเดียว นั่นคือ การเพิ่มผลิตผล (productivity) ของระบบนั้นๆ ให้สูงขึ้น

วิศวกรอุตสาหการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนวางแผนที่จะดูเรื่องทรัพยากรการผลิต การวางแผนการผลิตว่าจะผลิตอย่างไรให้ดีต่อโรงงานที่สุด ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรอุตสาหการที่อยู่ในแผนกวางแผนการใช้ศักยภาพของโรงงาน ก็จะคิดวางแผนว่า จะใช้โรงงานนั้นๆ ผลิตสินค้าประเภทไหนบ้าง อย่างละเท่าไหร่ ให้ได้กำไรสูงสุด, ใช้คนทำงาน ใช้เครื่องจักรทำงาน วันละเท่าไหร่ สัปดาห์ละเท่าไหร, วางแผนการเปลี่ยนกะ การพัก การทำงานอย่างไร เป็นต้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ก็จะต้องทำทั้งจากการสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ เพื่อให้ได้ภาพการทำงานที่แท้จริงมาพิจารณา

ส่วนวิศวกรอุตสาหการที่ไปดูระบบการผลิตก็จะคอยดูระบบการผลิตให้ระบบการผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การลดขั้นตอนการทำงาน การเพิ่มคุณภาพในงาน เหมือนเพื่อนของพี่บางคนเขาก็ทำงานอยู่ในคลังสินค้า ที่จะคอยสังเกต คอยดู ขั้นตอนการทำงานบางอย่างที่มันเสียเวลาโดยไม่จำเป็น คอยหาวิธีลดของเสียจากการผลิต ฯลฯ

ถ้าเราทำงานอยู่ในโรงงาน เราก็ต้องทำงานกับวิศวกรอุตสาหการคนอื่น แต่คนอื่นๆ นอกจากนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเราทำงานอยู่ในธุรกิจประเภทใด เช่น ทำงานในฝ่ายผลิตของโรงงานที่ผลิตสินค้าอุปโภค ก็จะต้องประสานกับวิศวกรเครื่องกล กับหัวหน้าคนงานของฝ่ายปฏิบัติการ แต่ถ้าอยู่ในออฟฟิศก็จะประสานกับฝ่ายผลิตเหมือนกันแต่จะประสานในเรื่องการวางแผนมากกว่า และจะประสานกับทีมบริหาร ทีมผู้จัดการ เพราะฉะนั้นการต้องทำงานกับอาชีพอะไรบ้างจึงไม่สามารถกำหนดได้ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นวิศวกรอุตสาหการที่ไปทำงานอยู่ในจุดไหน

เนื่องจากวิศวกรอุตสาหการเป็นอาชีพที่ทำงานกับระบบต่างๆ และเนื่องจากธุรกิจทุกประเภทต้องทำงานบนระบบเหล่านี้ ดังนั้น วิศวกรอุตสาหการก็จะทำงานอยู่ในแทบทุกประเภทธุรกิจ (ใหญ่ๆ) ไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน ในซูเปอร์มาเก็ตก็มีระบบ เช่น ระบบแถวคอย ในสวนสนุก แม้กระทั่งระบบการศึกษาในโรงเรียน ระบบในโรงพยาบาล เป็นต้น

แต่ถ้าถามว่าทำงานประจำอยู่ที่ไหน อาจจะ 50% ก็อยู่ในโรงงานเพราะว่าเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและวิชาส่วนใหญ่ที่พวกเราเรียนก็มุ่งไปในทางนั้น แต่ว่าอีก 50% ก็อาจจะอยู่ในธุรกิจอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นๆ จะมีการจัดจ้างวิศวกรอคุสาหการเข้าไปประจำอยู่หรือไม่

ถ้าดูจากการทำงานในโรงงานโดยทั่วไป เนื่องจากโรงงานจะต้องดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นวิศวกรอุตสาหการก็อาจจะถูกคาดหวังว่าจะต้องพร้อมแก้ไขปัญหาได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย ถึงแม้ว่าตัวเราจะเข้าไปทำงานในโรงงานเป็นกะ หมายความว่า เข้างานตอน 8 โมงเช้าและเลิกงาน 4 โมงเย็น แต่นอกเหนือจากเวลางานเราก็ต้องพร้อมรับโทรศัพท์และเข้าไปแก้ไขปัญหาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

สิ่งแรกคือ ความเป็นผู้นำ อันที่จริงความเป็นผู้นำนี้ก็ไม่ใช่แค่วิศวกรอุตสาหการเท่านั้นที่ต้องมี ทุกวิศวกรก็ต้องมีสิ่งนี้เพราะการเป็นวิศวกรคือการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อทดแทนสิ่งเดิม เราในฐานะวิศวกรก็ต้องใช้ความเป็นผู้นำเพื่อนำทีม นำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง

นอกจากนั้นก็ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะเราต้องแก้ไขปัญหา ถึงแม้ว่าบางอย่างมันจะมีรูปแบบมาให้อยู่แล้ว แต่ก็มีบางอย่างเหมือนกันที่ต้องคิดขึ้นมาใหม่ๆ 

และสิ่งสำคัญอย่างสุดท้ายอีกหนึ่งอย่าง ก็คือ เราควรที่จะต้องเป็นคนที่ชอบแก้ไขปัญหา และก็ต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหาพอสมควร มีทักษะในการคิดวิเคราห์ปัญหาและการจัดระบบปัญหาให้ดี ซึ่งอันนี้ก็คิดว่าควรเป็นสิ่งที่วิศวกรโดยรวมต้องมี ไม่ใช่แค่วิศวกรอุตสาหการเท่านั้น

แต่ถ้าเกิดจะให้ระบุว่าอะไรที่วิศวกรอุตสาหการต้องมีจริงๆ ก็อจจะเป็นพวกความรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ สถิติ ซึ่งวิศวกรอุตสาหการจะลงลึกในเรื่องนี้มากกว่าวิศวกรอื่นๆ และความรู้อีกเรื่องหนึ่งที่วิศวกรอุตสาหการต้องใช้กันมาก คือ operation research

คุณค่าต่อตัวผู้ประกอบอาชีพอย่างแรกเลย ก็คือ ความรู้ใหม่ๆ เพราะโรงงานแต่ละส่วน แต่ละแผนกก็ทำงานไม่เหมือนกัน มีโจทย์ไม่เหมือนกัน โรงงานผลิตสินค้าแต่ละประเภทก็ไม่เหมือนกันอีก พอเราได้เข้าไปทำงานมันก็เหมือนกับว่าเราได้เจอโจทย์ใหม่ๆ เจอความรู้ใหม่ๆ ที่รอเราอยู่

ส่วนผลกระทบที่มีต่อสังคมอาจจะมีในรูปแบบของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ประหยัดไฟฟ้าในโรงงาน, ประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตลงไปได้, มีของเสียที่ถูกทิ้งจากกระบวนการผลิตน้อยลง เป็นต้น

กลับกันอาชีพนี้ก็มีสิ่งที่ต้องแลกมาเหมือนกัน ก็คือ ตารางทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ และการต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ในตอนกลางคืน มันเป็นการเสียสละเวลาเพราะว่าโรงงานต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงและดำเนินการทุกวัน แต่มันก็ไม่ได้หนักมากเกินไป เพราะระหว่างวิศวกรอุตสาหการก็จะมีตารางผลัดเปลี่ยนเวรกัน

การเติบโตในเส้นทางอาชีพนี้ จากวิศวกรอุตสาหการ เราก็สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นผู้จัดการโรงงาน (plant director) ได้ และก็เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ไปเป็นผู้บริหารในระดับต่างๆ

ส่วนการเติบโตข้ามสายงานนอกจากที่อาชีพนี้จะไปอยู่ในธุรกิจได้ทุกประเภทแล้ว เราก็สามารถเติบโตออกมาสร้างกิจการของตัวเองได้ด้วย

ถ้าจะเรียกตัวเองว่าวิศวกรอุตสาหการก็ต้องเรียนวิศวอุตสาหการมาถึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายบังคับ ส่วนวิชาต่างๆ ที่ควรจะหาความรู้เพิ่มเติมก็จะเป็นพวก คณิตศาสตร์ สถิติ ซึ่งก็ให้เน้นไปที่การทำปัญหาออกมาเป็นตัวเลข เช่น เรื่องการผลิตโต๊ะ เก้าอี้ภายใต้เวลาและทรัพยากรที่มีให้ควรจะผลิตโต๊ะ เก้าอี้ประเภทไหน อย่างละเท่าไหร่ มันคือการเอาปัญหามาสร้างเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ 

อีกอย่างนึงก็มีแคลคูลัสและฟิสิกส์ที่ต้องใช้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita