การสืบทอดวัฒนธรรม มี อะไร บ้าง

“ตาเบาถิ่นฐาน นมัสการหลวงปู่กัน สืบสานงานประเพณี มีงานแซนโฏนตา น้อมนำปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเสียงเลื่องลืองานฮาวปลึงกระแบ็ย” นี่เป็นคำขวัญของคนตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

วิถีชุมชนของคนตำบลตาเบา คือ การดำเนินชีวิตของชุมชนการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย สืบมาในการทำนาทำไร่และเลี้ยงสัตว์ถ้าว่างเว้นจากการทำนาชาวบ้านก็จะปลูกพืชผักขาย บ้างก็ไปรับจ้างทั่วไป ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลตาเบาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำมาหากินอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาและการพึ่งตนเอง การทำนาแบบดั้งเดิมโดยการสร้างแรงจูงใจหลัก คือการ  อนุรักษ์จากผู้นำชุมชน การทำนาปลอดสารเคมีหรือการใช้ชีวิตในครอบครัวปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก มีอะไรก้อแบ่งกันกิน เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีเกื้อกูลกัน และช่วยเหลือกันในยามลำบาก เป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อนกัน เปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ไม่ทิ้งใครไว้เมื่อยามยาก

จากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมประเพณี งานสืบสานแซนโฏนตา งานฮาวปลึงกระแบ็ย รำตรุด หมู่บ้านถักทอผ้าไหม การสาวไหม การทอเสื่อกก การตำข้าว และการจักสานจากวัสดุเหลือใช้ โดยการนำความคิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือปราช์ญชาวบ้านยังคงดำเนินชีวิตเช่นเดิม เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดภูมิปัญญาของตนเองต่อไปได้ แม้แต่บางคนยังปลูกฝังอยู่ในความคิดที่ยังอยู่ในสมัยดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน

ผู้คนในตำบลตาเบายังรักและหวงแหนสิ่งดีๆ ต่างๆ ที่บรรพบุรุษสร้างสมมาให้และยังทำให้มีจิตสำนึกในการทำนุบำรุงรักษาไว้ให้คงอยู่ต่อไปตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน นี่คือปัจจัยหลัก ที่ล้วนมาจากภูมิปัญญา การจัดการและการจัดสรรภูมิปัญญา และคุณค่าต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้สึก และเป็นพลังความรักความผูกพันให้คนในชุมชนตำบลตาเบา มีจิตสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

และมีสิ่งยึดเหนียวในด้านพระพุทธศาสนาที่ชาวบ้านในชุมชนตำบลตาเบานำมาน้อมนำสักการะ และยึดถือในการน้อมนำจิตใจนั้น คือพระครูโสภณ บุญกิจ หรือหลวงปู่กันต์ที่ท่านได้สอนสั่งให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลตาเบาได้ยึดหลักชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี มีความรัก ความสามัคคีกันตลอดมา

“ตาเบา ถิ่นฐาน นมัสการหลวงปู่กัน”

สืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมตำบลตาเบา เดิมทีจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นงานประเพณีใหญ่ประจำปี ที่จะมีหลายกิจกรรมทางพุทธศาสนาและงานประเพณีพื้นบ้านจัดติดต่อกันยาวตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน แต่จะมีพิธีเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยในช่วงวันสงกรานต์ (วันที่ 12-14 เมษายนของทุกปี) มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ประเพณีข้ามสะพานคน รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ขบวนแห่สงกรานต์อันยิ่งใหญ่ตระการตา การประกวดนางสงกรานต์ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย และการเล่นน้ำสงกรานต์

 เพื่อเป็นการอนุรักษ์กิจกรรมทางพุทธศาสนาและงานประเพณีพื้นบ้าน หลวงพ่อกัน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมรินทราราม (วัดบ้านตาเตียว) ได้กล่าวกับผู้นำชุมชนและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า อยากให้วันสงกรานต์เป็นวันที่เราทั้งหลายได้ทำกิจกรรมในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณกาลไว้ ไม่อยากให้ประเพณีสำคัญจางหายไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ อาทิเช่น การแต่งกายช่วงสงกรานต์ เดิมที แต่งกายด้วยชุดไทยสวยงาม ก็กลับกลายเป็นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสั้นๆไม่สุภาพ ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ  นอกจากนี้ก็พบว่าเยาวชนจับกลุ่มดื่มสุรา เปิดเพลงเสียงดัง เต้นรำไม่สุภาพ ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาการทะเลาะวิวาท การเกิดอุบัติเหตุ เพราะเมาแล้วขับขี่  เป็นต้น ประเพณีและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่สืบทอดกันมายาวนาน กำลังจะสูญหายไปกับยุคสมัยเทคโนโลยีเจริญรุ่งเรือง หรือ ยุคโลกาภิวัตน์นั่นเอง จึงเป็นที่มาของงานสืบสาน นมัสการหลวงปู่กัน ซึ่งได้สืบทอดกันมายาวนานมากกว่า 30 ปี

“ฮาวปลึงกะแบ็ย”

“ฮาวปลึงกะแบ็ย” หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เรียกขวัญควาย” เดิมทีนั้นชาวนาไทยได้ใช้กระบือในการไถนามาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ต่อมาเมื่อประเทศไทยก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์จึงมีการนำรถไถนาประเภทต่างๆมาใช้แทนกระบือ ส่งผลให้ปริมาณกระบือไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการใช้ปุ๋ยเคมีแทนปุ๋ยจากมูลควาย ส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นผิวดินและระบบนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก ชาวบ้านปันรัว ซึ่งนำโดยท่านผู้ใหญ่ ดวง   ธานีพูน ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดงานประเพณีฮาวปลึงกระแบ็ยขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อนุรักษ์พันธุ์กระบือไทย และรณรงค์การใช้ปุ๋ยมูลควายก่อนลงเพาะปลูกข้าวนาปี

ชาวนาในพื้นที่ตำบลตาเบา จะประกอบพิธีฮาวปลึงกระแบ็ย (เรียกขวัญควาย) เพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งคนและกระบือ ก่อนฤดูการทำนา โดยจัดขึ้นที่บ้านปันรัว เขตพื้นที่ ต. ตาเบา อ. ปราสาท จ. สุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ อนุรักษ์ฟื้นฟูควายไทย และใช้แรงงานกระบือในการไถนา และลากเกวียน สำหรับพิธีฮาวปลึงกระแบ็ย เป็นพิธีที่ชาวนาตำบลตาเบา ได้ยึดถือกันมาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษ ในอดีตเรียกว่าพิธีจับจองกระบือ และพิธีปล่อยกระบือ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว ทำให้ครอบครัวอยู่ดีกินดี ทำให้คนมีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และต่อสัตว์  อีกทั้งยังเป็นการทำนายกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

พิธีฮาวปลึงกระแบ็ย หรือเรียกขวัญควาย จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยชาวบ้าน จะนำสำรับอาหาร เครื่องเซ่นไหว้และเส้นด้ายสายสินทธิ์ไปที่ศาลปู่ตา ตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อทำพิธี แซนตาน็วง (เซ่นปู่ตา)  โดยจะมีพราหมณ์ ประจำหมู่บ้าน เป็นผู้นำทำพิธีเซ่นไหว้ บอกกล่าวปู่ตาหรือตาน็วง ว่าลูกหลานจะทำอะไร เช่นก่อนจะลงมือทำนา ก็จะขอจับจองกระแบ็ย เพื่อใช้แรงงาน ขอให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ดี  เมื่อเสร็จจากพิธีกรรมที่ศาลปู่ตาแล้ว ชาวบ้านจะตั้งขบวนแห่ไปที่ปรารัมพิธีเพื่อทำพิธีฮาวปลึงกระแบ็ย โดยหมอพราหมณ์ จะสวดเรียกขวัญให้ทั้งคน และกระบือ ให้มีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรงอย่าเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อทำพิธีเสร็จ ก็จะนำเอาด้ายสายสินทธิ์ ไปผูกให้กับผู้ที่มาร่วมงาน ผูกแขนขาให้กระแบ็ย และ ผูกอุปกรณ์ในการทำนา เช่น ไถ คราด เกวียน จอบ เสียม และรดน้ำมนต์ให้คนและกระแบ็ย เพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งคนและกระบือ

ผนึกพลังร่วมกันดำเนินการ

          การดำเนินงานสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรม เป็นการดำเนินงานโดย หมู่บ้าน วัด องค์กร/หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมสนับสนุนทั้งการนำทรัพยากรที่มีในชุมชนมาใช้ และองค์กร/หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน ซึ่งเจ้าภาพหลักคือ องค์การบริหารส่วนตำบลตาเบา เดิมทีจัดขึ้นเฉพาะในชุมชนบ้านปันรัว ต่อมาสำนักงานปศุสัตว์อำเภอปราสาท ร่วมกับสภาชุมชนตำบลตาเบา ได้ให้ตำบลตาเบาจัดงานฮาวปลึงกระแบ็ยในเชิงการท่องเที่ยวได้ด้วยและให้บูรณาการทั้งตำบลตาเบา จึงมีการจัดกิจกรรมอื่นๆเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการเรียกขวัญควาย ได้แก่ กิจกรรมการประกวดธิดากระแบ็ยจำแลง การประกวดเลียนเสียงควาย การประกวดไถนาโดยเขยฝรั่ง การแข่งขันตำข้าว และกิจกรรมการประกวดกระบืองาม เป็นต้น

ซึ่งในการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วน เริ่มจากขั้นตอนประชุมวางแผนการดำเนินงาน แบ่งงานมอบหมายหน้าที่ตามความถนัดและความพร้อมในการดำเนินงาน จัดหางบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงาน และดำเนินงานตามแผนต่างๆ ที่วางไว้

 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการดำเนินงานสืบสานประเพณี ตาเบา ถิ่นฐาน นมัสการหลวงปู่กัน สืบสานงานประเพณีวัฒนธรรม ฮาวปลึงกระแบ็ยนั้น เกิดจากองค์ประกอบหลักดังนี้ 1) การดำเนินงานแบบทีมหรือแบบมีส่วนร่วม กล่าวคือ ประชาชนทุกคนทุกหมู่บ้านต้องมีส่วนร่วม เช่น ร่วมประกวดต่างๆ ร่วมขบวนแห่เครื่องเซ่น และเรียกขวัญควาย เป็นต้น 2) ประสานงบประมาณ แหล่งงบประมาณสำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน องค์การบริหารส่วนตำบลตาเบา สนับสนุนเงินรางวัลในการประกวดต่างๆ เงินที่หมู่บ้าน ทั้ง 19 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลตาเบาร่วมสมทบและจัดขบวนแห่ฯ และทรัพยากรต่างๆในชุมชน เช่น ทรัพยากรบุคคล ที่มีความสำคัญมากๆ คือ ผู้นำชุมชน ซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ มีความกระตือรือร้นในการนำประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ปราชญ์ชาวบ้านด้านประเพณี วัฒนธรรม และทรัพยากรสิ่งของต่างๆที่จะนำมาใช้ในกิจกรรม

ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ประชาชนตำบลตาเบาทุกกลุ่มวัย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสืบสานประเพณีวัฒนธรรมตำบลตาเบา งาน “สืบสานงานประเพณีวัฒนธรรม ฮาวปลึงกระแบ็ย” ได้จัดขึ้นทุกปี จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีของตำบลตาเบาจนพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน

สืบทอดวัฒนธรรมมีกี่ประการ

การสืบทอดทางวัฒนธรรมพิจารณาได้เป็น 3 มิติคือ มิติบุคคล (human) เป็นการสืบทอด ทางวัฒนธรรมจากบุคคลกลุ่มหนึ่งไปยังบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง มิติพื้นที่ (space) เป็นการสืบทอดทาง วัฒนธรรมจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานอีกที่หนึ่ง มิติเวลา (time) เป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมจาก ห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง เมื่อเรานิยามวัฒนธรรมว่าเป็น ...

การสืบสานวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญไทย ๑. สนใจศึกษาภูมิปัญญาไทยด้านต่างๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย อาจไปดูภูมิปัญญาในท้องถิ่นต่างๆ ๓. เผยแพร่ข้อมูลภูมิปัญญาไทยด้วยวิธีต่างๆ เช่น จัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ๔.ชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทย

การถ่ายทอดวัฒนธรรมคืออะไร

นิยามศัพท์ 2.การถ่ายทอดวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้และการส่งต่ออย่าง เป็นระบบเกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ ความคิด การกระท าและพฤติกรรม ของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการสื่อสารผ่านระบบสัญลักษณ์ของสังคมที่ได้มีการ ตกลงและได้ใช้ร่วมกัน

วัฒนธรรมพื้นบ้านมักสืบทอดด้วยวิธีใด

วัฒนธรรมพื้นบ้าน (อังกฤษ: folk culture) เป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่กล่าวถึงรูปแบบการดำรงชีวิตของกลุ่มคนท้องถิ่น ที่แสดงถึงลักษณะของบุคคลหรือท้องถิ่นนั้น มักจะส่งผ่านต่อกันทางคำพูดมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ วัฒนธรรมพื้นบ้านมักจะแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวแตกต่างกันไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita